โครงสร้างอะตอมตามทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม

                1. กลศาสตร์ควอนตัม กับ ตำแหน่งและลักษณะการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน รอบๆ นิวเคลียส
                เนื่องจากอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมาก และสามารถแสดงสมบัติเป็นคลื่นได้ ดังนั้น
                   1.1 กลศาสตร์ควอนตัม ไม่สามารถบอกตำแหน่งของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสได้
                   1.2 กลศาสตร์ควอนตัม ไม่สามารถบอกลักษณะการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสได้
                   กลศาสตร์ควอนตัม บอกได้แต่เพียงโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนรอบๆ นิวเคลียสเท่านั้น
                2. กลศาสตร์ควอนตัม กับโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนรอบๆ นิวเคลียส                    นักวิทยาศาสตร์ได้เสนอโครงสร้างอะตอมตามทฤษฎีควอนตัม ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้ อิเล็กตรอนรอบๆ อะตอม เปรียบเสมือนกลุ่มหมอกห่อหุ้มนิวเคลียสอยู่ ถ้ามีโอกาสพบอิเล็กตรอน ณ ที่ใดมาก ก็จะมีหมอกหนาแน่น ณ ที่นั้น
                ภาพกลุ่มหมอกหรือการแจกแจงโอกาส (ความน่าจะเป็น) ที่จะพบอิเล็กตรอนรอบๆ นิวเคลียส (อะตอม) อาจมีได้หลายแบบเมื่ออยู่ในสภาวะที่แตกต่างกัน
                สำหรับอะตอมไฮโดรเจน จากการคำนวณพบว่า
                     1.ในระดับพลังงานต่ำสุด (n=1) กลุ่มหมอกจะเป็นรูปทรงกลม กล่าวคือ มีโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในทิศทางต่างๆ จากนิวเคลียสเหมือนกันหมด
                    
2.ในระดับพลังงานสูงๆ ขึ้น (เช่น n=2) กลุ่มหมอกจะมีการจัดเรียงตัวที่แตกต่างออกไปจากระดับพลังงานต่ำสุด

 

สร้างโดย: 
KAI

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 241 คน กำลังออนไลน์