ภูมิศาสตร์กายภาพ

 

 ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติ  ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์สามารนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. ทรัพยากรดิน
2. ทรัพยากรน้ำ
3. ทรัพยากรป่าไม้
4. ทรัพยากรแร่ธาตุ
ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปไม่สามารถเกิดมาทดแทนใหม่ได้ เช่น น้ำมันแร่ธาตุ
2.ทรัพยากรที่ใช้แล้วสามารถสร้างทดแทนได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์บกสัตว์น้ำ
3.ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่หมดไป เช่น น้ำ อากาศ เป็นต้น
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
การอนุรักษ์ หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
วัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาต
1.         เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ หมายถึง การใช้ประโยชน์สูงสุดและรักษาสมดุลของธรรมชาติไว้ด้วยในเวลาเดียวกัน    โดยใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด
2.         เพื่อรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพสมดุลโดยไม่เกิสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (
Polution)  จนทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.         การเพิ่มประชากร มีผลทำให้ต้องใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นจึงเกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมตามมามากขึ้น
2.         การใช้เทคโนโลยีทันสมัย ซึ่งอาจทำให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรดิน
ดินเกิดจากการสลายตัวของหินแร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ อันเนื่องมาจากการกระทำของลม ฟ้า อากาศและอื่น ๆส่วนประกอบที่สำคัญของดิน ได้แก่
- อนินทรีย์วัตถุ หรือแร่ธาตุ ประมาณ 45%
- อินทรีย์วัตถุ ประมาณ 5%
- น้ำ ประมาณ 25%
- อากาศ ประมาณ 25%
ดินที่พบในประเทศไทย
1. ดินอุลติซอลเป็นดินที่สะสมตัวอยู่ในชั้นรองของดินเหนียว พบอยู่กว้างขวางที่สุดในประเทศไทย**
2. ดินฮีสโตซอลเป็นดินที่มีอินทรีย์วัตถุปนอยู่มาก พบในภาคใต้
3.ดินอัลฟิซอล ดินชั้นบนและชั้นรองมีดินเหนียวสะสมมากพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้
4. ดินมอลติซอล เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์มากพบในภาคกลาง
5. ดินอินเซฟติซอล เป็นดินที่มีเนื้อละเอียดพบในภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6.ดินเอ็นติซอล พบบริเวณชายฝั่งทะเลและที่ราบริมแม่น้ำ
7. ดินเวอร์ติซอลเป็นดินเหนียวที่หดและขยายตัวตามความชื้น พบในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี และสิงห์บุรี

8. ดินสโปโตซอลเป็นดินทรายมีการสะสมของสารสีแดงในชั้นดินรอง พบในชายฝั่งสงขลาถึงปัตตานี
9. ดินออกซิซอล เป็นดินร่วนหรือดินเหนียวมีสีแดงเหลือง มีอาหารของพืชต่ำ มีเหล็ก และอะลูมินัมสูง พบในเขตภูเขาในภาคต่าง ๆ
ปัญหาของการใช้ทรัพยากรดิน
1. เกิดจากการกระทำของธรรมชาติ เช่นการสึกกร่อนพังทลายที่เกิดจากลมกระแสน้ำ และการชะล้างแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน
2. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น
- การทำลายป่าไม้
- การปลูกพืชชนิดเดียวซ้ำซาก
- การเผาป่าและไร่นาทำให้สูญเสียหน้าดิน
- ขาดการบำรุงรักษาดิน
การอนุรักษ์ทรัพยากรดิน
1. ปลูกพืชหมุนเวียน
2. การปลูกพืชแบบขั้นบันไดป้องกันการเซาะของน้ำ
3. ปลูกพืชคลุ่มดิน ป้องกันการชะล้างหน้าดิน
4. ไม่ตัดไม้ทำลายป่า
5. การปลูกป่าในบริเวณที่มีความลาดชันเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน
ทรัพยากรน้ำ

น้ำเป็นทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตใช้แล้วไม่หมดสิ้นไป แบ่งเป็น
1.น้ำบนดินได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ทะเลสาบ ปริมาณน้ำขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน
2. น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาล ปริมาณน้ำขึ้นอยู่กับน้ำที่ไหลซึมลงไปจากพื้นดิน
และความสามารถในการกักน้ำในชั้นหินใต้ดิน
3. น้ำฝนได้จากฝนตก ซึ่งแต่ละบริเวณจะมีปริมาณน้ำแตกต่างกันปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ
1. เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำ

2.เกิดมลพิษทางน้ำเช่น น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

ทรัพยากรป่าไม้
ป่าไม้มีความสำคัญต่อมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อมเช่น ช่วยรักษาสภาพดิน น้ำ อากาศ บรรเทาความรุนแรงของลมพายุและยังได้รับผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ หรือใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจได้
ประเภทของป่าไม้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ
- ป่าดงดิบ หรือป่าดิบ เป็นป่าไม้บริเวณที่มีฝนตกชุก พบมากทางภาคใต้และภาคตะวันออก ไม้ที่เกิดบริเวณป่าดงดิบ เช่น ไม้ยางไม้ตะเคียน กระบาก และเถาวัลย์ต่าง ๆ
- ป่าดิบเขา พบมากในภาคเหนือ ไม้ที่พบในบริเวณป่าดิบเขา เช่น ไม้กำยาน
ไม้จำปีป่า
- ป่าสนเขา พบทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม้สำคัญคือ ไม้สน
ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ
- ป่าชายเลนน้ำเค็ม เป็นป่าไม้ตามดินเลนน้ำเค็มและน้ำกร่อย ไม้ที่พบได้แก่
ไม้โกงกาง แสมทะเล ปรง ตะบูน ลำพู พบบริเวณชายฝั่ง
2. ป่าไม้ผลัดใบ
-ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าผลัดใบผสม พบมากที่สุดภาคเหนือ ไม้ที่พบในบริเวณป่านี้คือไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้ชิงชัง ไม้แดง ไม้มะค่า ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูง
- ป่าแดง ป่าโคก ป่าแพะ เป็นป่าโปร่งพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น
ไม้เต็ง ไม้รัง พะยอม
- ป่าชายหาด เป็นต้นไม้เล็ก ๆ ขึ้นตามชายหาด เช่น สนทะเล โพธิ์ทะเล
- ป่าพรุ หรือป่าบึง เป็นป่าไม้ที่เกิดตามดินเลน เช่น ต้นสนุ่น จิก หวายน้ำ
อ้อมและแขน
การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
1. ออกกฎหมายคุ้มครองป่าไม้คือ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
2. ป้องกันไฟไหม้ป่า
3. ปลูกป่าทดแทนไม้ที่ถูกทำลายไป
4.ป้องกันการลักลอบตัดไม้
5. ใช้ไม้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด

ทรัพยากรแร่ธาตุ
แร่ธาตุ หมายถึงสารประกอบเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น
-แร่โลหะ ได้แก่ เหล็ก ทองแดง สังกะสี ดีบุก ตะกั่ว
-แร่อโลหะ ได้แก่ ยิปซั่ม ฟลูออไรด์ โปแตช เกลือหิน
-แร่เชื้อเพลิง ได้แก่ ลิกไนต์ หินน้ำมัน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ
-แร่รัตนชาติ ได้แก่ พลอยสีต่าง ๆ
แหล่งกำเนิดของแร่
1. เกิดจากหินอัคนีหรือหินแกรนิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นแร่โลหะ
2. เกิดจากหินชั้นและหินแปรซึ่งจะเป็นแร่อโลหะและแร่เชื้อเพลิง
 

 

สร้างโดย: 
tanooaek15

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 400 คน กำลังออนไลน์