ลักษณะต้นสปอโรไฟต์ของพวกสน
- เป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ ต้นสูงชะลูด
- ใบมีลักษณะคล้ายรูเข็ม มีคิวติเคิลหนาปกคลุม เเละใบมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
- มีอวัยวะสืบพันธุ์เรียกว่า โคน ( cone ) หรือ สโตรบิลัส ( strobilus ) ลักษณะเป็นเกล็ดหรือ เเผ่นเเข็งที่เรียงซ้อนกันเเน่น เปลี่ยนเเปลงมาจากใบที่เรียงซ้อนกัน ( สปอโรฟีลล์ )
- โคนมี 2 ชนิด คือ โคนตัวผู้ ทำหน้าที่สร้างไมโครสปอร์ที่จะเปลี่ยนเเปลงต่อไปเป็นละอองเรณูหรือเเกมีโทไฟต์เพศผู้ เเละโคนตัวเมีย ทำหน้าที่สร้างเมกะสปอร์ที่เปลี่ยนเเปลงไปเป็นเเกมีโทไฟต์เพศเมียที่สร้างไข่ภายในโอวูล
- เม็ดไม่มีผนังรังไข่หรือผลห่อหุ้ม เรียกว่า เมล็ดเปลือย ( naked seed ) เกิดขึ้นติดอยู่กับเเต่ละเกล็ดของโคนตัวเมีย

           การสืบพันธุ์
- มีการถ่ายละอองเกสรโดยลม เมื่อละอองเรณูตกลงบนโคนตัวเมียจะเจริญขึ้นเเละสร้างสเปิร์มกับหลอดละอองเรณูที่จะนำสเปิร์มไปปฏิสนธิกับไข่เกิดไซโกตขึ้นภายในโอวูล
- หลังปฏิสนธิ โอวูลเปลี่ยนเเปลงไปเป็นเมล็ด ไซโกตจะเจริญขึ้นกลายเป็นเอมบริโอ ที่จะเจริญต่อไปเป็น ต้นอ่อนของสปอโรไฟต์ ( young sporphyte ) ภายในเมล็ด
- เมล็ดที่เเก่จัด ปลิวไปตกในที่เหมาะสม งอกเป็นสปอโรไฟต์ต้นใหม่ ต้นเเกมีโทไฟต์ของสน มีขนาดเล็กมากเหลือเพียงไม่กี่เซลล์เเละอาศัยอยู่บนต้นสปอโรไฟต์ ได้เเก่
   --> เเกมีโทไฟต์เพศผู้ คือ ละอองเรณูที่จะสร้างสเปิร์มเมื่อตกลงบนโคนตัวเมีย
   --> เเกมีโทไฟต์เพศเมีย อยู่ภายในโอวูลทำหน้าที่สร้างรังไข่

        :]  พืชพวกสนเจริญเติบโตเร็ว เพราะมีราไมคอไรซาอยู่ร่วมกับเซลล์รากเเบบภาวะที่ต้องพึ่งพาราเปลี่ยนเเปลงฟอสฟอรัสในดินให้อยู่ในรูปของสารที่รากสนดูดไปใช้ได้

     *** เกร็ดความรู้  ***
อวัยวะสืบพันธุ์ของสน คือ โคนสองชนิด ได้เเก่โคนตัวผู้เเละโคนตัวเมีย ภายในเเต่ละเกล็ดของโคนตัวเมีย มีโอวูลที่จะสร้างเมกะสปอร์ ( n )  --> เเกมีโทไฟต์เพศเมียซึ่งมีอาร์คีโกเนียมหลายอัน เเต่ละอันจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือไข่ ภายในเเต่ละเกล็ดของโคนตัวผู้ มีอับสปอร์ เรียกว่า ไมโครสปอร์เเรงเจีย ซึ่งภายในมีการเปลี่ยนเเปลงดังนี้ เซลล์เเม่
ของไมโครสปอร์ ( 2n ) --> ไมโครสปอร์ ( n ) --> ละอองเรณู ( เเกมีโทไฟต์เพศผู้ที่ยังเจริญไม่เต็มที่ ) เมื่อถ่ายละอองเกสร ละอองเรณูเจริญขึ้นงอกเป็นหลอดเข้าไปในในไข่เเละสร้างสเปิร์ม เข้าไปปฏิสนธิกับไข่เกิดเอมบริโอภายในเมล็ด ที่จะงอกเป็นต้นสปอโรไฟต์ขนาดใหญ่

     

               

ที่มาของข้อมูล http://dit.dru.ac.th/biology/coniferophyta.html