• user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '18.219.54.66', 0, '7defe11a359d2609cb50418fcc411164', 119, 1717022853) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:b40242b10a0a0b05c155a7847d69dabc' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<span style=\"font-size: x-small; font-family: tahoma,arial,helvetica,sans-serif\">          ไปเที่ยวลพบุรี หาลิงง่ายยิ่งกว่าร้านกาแฟ และถ้าจะมีใครสักคนถูกแย่งขนม ถุงอาหาร หรือโทรศัพท์มือถือของคุณ ขอให้รู้ว่านั่นเป็นฝีมือเจ้าถิ่นอย่างเจ้าจ๋อเค้าแหละ<br />\n          ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยฺธยา ลพบุรีมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง ปกครองโดยพระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่ (พ.ศ.1893) เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคต พระราเมศวรต้องถวายบัลลังก์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์พระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 1 ส่วนพระราเมศวรยังครองเมืองลพบุรีต่อไป กระทั่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงขึ้นครองราชย์กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สอง <br />\n          สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงครั้งใหญ่ และทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาไม่ปลอดภัยจากการปิดล้อมระดมยิงของข้าศึกหากเกิดสงคราม ด้วยลักษณะยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม จึงสร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง <br />\n          สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลพบุรีหมดความสำคัญลง แต่ได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎในพระราชวังเป็นที่ประทับ พระราชทานนามว่าพระนารายน์ราชนิเวศน์   <br />\n          คำขวัญของจังหวัดลพบุรีคือ “วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์” </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"font-size: x-small; font-family: tahoma,arial,helvetica,sans-serif\"><br />\n          เฉพาะในเมืองมีที่เที่ยวน่าสนใจหลายแห่ง เช่น <strong><span style=\"color: #008000\">วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ</span></strong> จุดสำคัญภายในบริเวณวัดคือศาลาเปลื้องเครื่อง สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเปลื้องเครื่องทรงก่อนเข้าพิธีทางศาสนาในพระวิหารหรือพระอุโบสถ  เสียดายที่ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงเสาเอนอยู่เท่านั้น ถัดไปเป็นวิหารหลวง หน้าต่างเจาะช่องแบบโกธิคของฝรั่งเศส ห่างออกไปเป็นพระปรางค์องค์ใหญ่ที่สุดในลพบุรี <br />\n         <span style=\"color: #008000\"> <strong>วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร</strong></span> หรือคุ้นเคยในชื่อวัดเขาพระงาม  อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 12 กิโลเมตร  เป็นวัดเก่าแก่ที่มีหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย เช่น พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำพญามังกร ซากฐานพระสถูปเจดีย์เก่า และซากกำแพงเก่า ปัจจุบันวัดเขาพระงามยังใช้เป็นสถานที่จัดงานตักบาตรเทโวโรหณะในวันออกพรรษาด้วย<br />\n          มาถึงแล้วก็เดินขึ้นบันไดสองร้อยกว่าขั้น ไปกราบสักการะพระพุทธรูปขนาดใหญ่สีขาวชื่อว่า “พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล”<br />\n        <strong>  <span style=\"color: #008000\">พระนารายณ์ราชนิเวศน์</span></strong> พระราชวังที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2209 ใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง หลังพระองค์สวรรคต ที่นี่ก็ถูกทิ้งร้างจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้บูรณะพระราชวังและสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่พ.ศ.2399 พร้อมพระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” <br />\n        <strong>  <span style=\"color: #008000\">พระปรางค์สามยอด</span></strong> ปราสาทขอม 3 องค์ ทำจากศิลาแลงฉาบปูน ประดับประดาด้วยงานปูนปั้น สถาปัตยกรรมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งกัมพูชา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยพระองค์ครองราชย์ พ.ศ.1724-1757<br />\n        <span style=\"color: #008000\">  <strong>ศาลพระกาฬ</strong></span>  สร้างขึ้นสมัยขอมเรืองอำนาจ มีการค้นพบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยม จารึกอักษรมอญโบราณ สร้างทับบนรากฐานเดิมในสมัยระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ประทับยืน  <br />\n          จังหวัดลพบุรีห่างจากกรุงเทพฯ 153 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณสองชั่วโมง สังเกตง่าย ๆ ว่าเข้าสู่ตัวอำเภอเมืองแล้ว ดูได้จากฝูงลิงที่วิ่งเล่นตามสถานที่สำคัญ ไม่เว้นแม้กระทั่งตึกรามบ้านคนหรือบนเสาไฟฟ้า<br />\n          บอกได้คำเดียวเยอะจนน่าหวาดเสียว!</span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"font-size: x-small; font-family: tahoma,arial,helvetica,sans-serif\"><br />\n </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"font-size: x-small; font-family: tahoma,arial,helvetica,sans-serif\"></span></p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img width=\"670\" src=\"http://inhouse.ejobeasy.com/html/l1.JPG\" height=\"602\" />\n</div>\n<p>\n</p>\n', created = 1717022863, expire = 1717109263, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:b40242b10a0a0b05c155a7847d69dabc' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง

          ไปเที่ยวลพบุรี หาลิงง่ายยิ่งกว่าร้านกาแฟ และถ้าจะมีใครสักคนถูกแย่งขนม ถุงอาหาร หรือโทรศัพท์มือถือของคุณ ขอให้รู้ว่านั่นเป็นฝีมือเจ้าถิ่นอย่างเจ้าจ๋อเค้าแหละ
          ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยฺธยา ลพบุรีมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง ปกครองโดยพระราเมศวร ราชโอรสองค์ใหญ่ (พ.ศ.1893) เมื่อพระเจ้าอู่ทองสวรรคต พระราเมศวรต้องถวายบัลลังก์ให้แก่พระปิตุลาของพระองค์ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์พระนามว่า พระบรมราชาธิราชที่ 1 ส่วนพระราเมศวรยังครองเมืองลพบุรีต่อไป กระทั่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 สวรรคต พระราเมศวรจึงขึ้นครองราชย์กรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สอง
          สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2199-2231) ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงครั้งใหญ่ และทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาไม่ปลอดภัยจากการปิดล้อมระดมยิงของข้าศึกหากเกิดสงคราม ด้วยลักษณะยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม จึงสร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง
          สิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ลพบุรีหมดความสำคัญลง แต่ได้รับการบูรณะอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งพิมานมงกุฎในพระราชวังเป็นที่ประทับ พระราชทานนามว่าพระนารายน์ราชนิเวศน์  
          คำขวัญของจังหวัดลพบุรีคือ “วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเลื่อง เมืองแห่งดินสอพอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เกริกก้อง แผ่นดินทองสมเด็จพระนารายณ์” 


          เฉพาะในเมืองมีที่เที่ยวน่าสนใจหลายแห่ง เช่น วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จุดสำคัญภายในบริเวณวัดคือศาลาเปลื้องเครื่อง สำหรับพระเจ้าแผ่นดินเปลื้องเครื่องทรงก่อนเข้าพิธีทางศาสนาในพระวิหารหรือพระอุโบสถ  เสียดายที่ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงเสาเอนอยู่เท่านั้น ถัดไปเป็นวิหารหลวง หน้าต่างเจาะช่องแบบโกธิคของฝรั่งเศส ห่างออกไปเป็นพระปรางค์องค์ใหญ่ที่สุดในลพบุรี
          วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร หรือคุ้นเคยในชื่อวัดเขาพระงาม  อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 12 กิโลเมตร  เป็นวัดเก่าแก่ที่มีหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย เช่น พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำพญามังกร ซากฐานพระสถูปเจดีย์เก่า และซากกำแพงเก่า ปัจจุบันวัดเขาพระงามยังใช้เป็นสถานที่จัดงานตักบาตรเทโวโรหณะในวันออกพรรษาด้วย
          มาถึงแล้วก็เดินขึ้นบันไดสองร้อยกว่าขั้น ไปกราบสักการะพระพุทธรูปขนาดใหญ่สีขาวชื่อว่า “พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล”
          พระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระราชวังที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2209 ใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง หลังพระองค์สวรรคต ที่นี่ก็ถูกทิ้งร้างจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้บูรณะพระราชวังและสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่พ.ศ.2399 พร้อมพระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์”
          พระปรางค์สามยอด ปราสาทขอม 3 องค์ ทำจากศิลาแลงฉาบปูน ประดับประดาด้วยงานปูนปั้น สถาปัตยกรรมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งกัมพูชา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยพระองค์ครองราชย์ พ.ศ.1724-1757
          ศาลพระกาฬ  สร้างขึ้นสมัยขอมเรืองอำนาจ มีการค้นพบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยม จารึกอักษรมอญโบราณ สร้างทับบนรากฐานเดิมในสมัยระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ประทับยืน 
          จังหวัดลพบุรีห่างจากกรุงเทพฯ 153 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณสองชั่วโมง สังเกตง่าย ๆ ว่าเข้าสู่ตัวอำเภอเมืองแล้ว ดูได้จากฝูงลิงที่วิ่งเล่นตามสถานที่สำคัญ ไม่เว้นแม้กระทั่งตึกรามบ้านคนหรือบนเสาไฟฟ้า
          บอกได้คำเดียวเยอะจนน่าหวาดเสียว!


 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 452 คน กำลังออนไลน์