1. นักเรียนคิดว่า"กษัตริย์"ทรงมีความทุกข์หรือไม่ เพราะเหตุใด

ตอบ มี เพราะพระองค์ทรงคิดช่วยเหลือและหาทางแก้ปัญหาให้ประชาชนทุกสิ่งทุกอย่างจากความทุกข์ยากอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสิ่งๆหนึ่งที่พระองค์ทรงดูแลและห่วงใยอยู่ตลอดเวลา และทรงคิด พัฒนาประเทศให้เจริญ

2. สถานภาพของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะอย่างไร

พระราชสถานภาพของพระมหากษัตริย์ไทย ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ไม่มากนัก กล่าวคือ ทรงเป็นประมุขของประเทศ ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ทรงเป็นผู้ที่มิอาจถูกละเมิดได้ ทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก และทรงเป็นจอมทัพไทย การดำรงไว้ซึ่งพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ไทยในแต่ละเรื่อง มิได้เหมือนกับพระมหากษัตริย์ในแถบยุโรปและประเทศอื่น ๆ แต่มีความละเอียดอ่อน แฝงแร้นไปด้วยปรัชญา การเมือง การปกครองแบบไทย ๆ ที่ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน คือ

ประการที่ 1 ทรงเป็นพระประมุขที่คอยแบกความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน เหมือนบิดามารดาเลี้ยงดูบุตร ต้องทรงตรากตรำพระวรกายและทรงวางพระองค์เป็นกลางทางการเมืองท่ามกลางฝ่ายการเมืองต่าง ๆ

ประการที 2 ทรงเป็นที่เคารพสักการะของคนไทยทั้งชาติ อันเป็นไปโดยสายเลือดและความศรัทธาเลื่อมใสในพระราชปณิธานและพระราชกรณียกิจ และทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ

ประการที่ 3 ทรงมิอยู่ในฐานะจะถูกละเมิดหรือถูกฟ้องร้องใด ๆ ได้ การใช้พระราชอำนาจบริหารราชการแผ่นดินของพระองค์จะต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อันได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานองคมนตรี เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เป็นผู้รับผิดชอบในความถูกต้อง เนื้อหาสาระที่สามารถตรวจสอบได้ ชี้แจงได้

ประการที่ 4 ดำรงพระราชสถานะเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก ตามนิติราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณกาล วิธีการอุปถัมภ์ศาสนาต่าง ๆ ก็มีแตกต่างกันไปแต่ในศาสนาพุทธ ยึดหลักการถวายสมณศักดิ์และค่านิตยภัตต์ให้แก่พระเถรานุเถระ เพื่อไปปกครองดูแลสงฆ์ เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา ฯลฯ

ประการที่ 5 ดำรงพระราชสถานะ "จอมทัพไทย" เป็นมรดกตกทอดมาจากพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทยต้องต่อสู้รบพุ่งเพื่อปกปักรักษาคุ้มครองเอกราชของชาติ และปัจจุบันนี้รัฐธรรมนูญฯ ยังได้ถวายพระราชอำนาจเหนือบรรดาทหารทั้งปวงด้วย
ที่กล่าวมาในตอนนี้ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีพระราชสถานะที่ชัดเจนแตกต่างกับพระมหากษัตริย์ของชาติใด ๆ ในโลกนี้

 

 

3. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวพระราชดำริที่ส่งเสริมและเกี่ยวข้องกับบทบาทและหน้าที่ของกษัตริย์อย่างไร

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลอดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ และการอยู่รวมกันของทุกคนในสังคม
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทย ต้องประสบปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจ และ ต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพ เพื่อที่จะยืนหยัดในการพึ่งพาผู้อื่น และ พัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ก็คือต้องทำการพัฒนาประเทศให้ประชาชนอยู่ดีกินดี