• user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ฉบับที่16', 'node/90166', '', '18.224.62.105', 0, '5c69a0b9b10bceb0320cdb0dc9dba0cd', 186, 1716144067) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:a99fbf1093c4cd5370b9a839c5297df2' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<span style=\"font-size: x-small\">     <span style=\"color: #808080\">     ม้าดอกรักกับลุงป๋อง อดีตอบต.ที่หันมาเป็นสารถีและไกด์ ควบก็อบ ๆ.. พาย้อนเวลาย่ำไปบนดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยรุ่งเรืองและล่มสลาย จมหายกลายเป็นเมืองใต้ดิน</span> </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"font-size: x-small\">          เป็นเวลากว่า 700 ปีที่เวียงกุมกามแห่งล้านนาถูกสร้างขึ้นในสมัยพญามังราย (พ.ศ.1804-1854) เพื่อเป็นเมืองหลวงใหม่แทนที่เวียงหริภุญไชย โดยเลือกหมู่บ้านแห่งหนึ่งริมแม่น้ำปิง (ปิงห่าง) ที่ได้ชื่อว่าเป็นเส้นทางการคมนาคมและศูนย์กลางทางการค้า  <br />\n          มีฐานะเป็นเมืองหลวงได้ไม่นานพญามังรายได้ย้ายมาสร้างเวียงที่เชียงใหม่เพราะมองเห็นที่ตั้งที่เหมาะสมกว่า <br />\n          ใช่ว่าเวียงกุมกามจะสิ้นสลายลงหลังจากที่พญามังรายย้ายเมือง แต่ยังเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องอีกสองร้อยกว่าปี (พ.ศ.1854-2101) มาสิ้นสลายลงเพราะถูกน้ำท่วมใหญ่เมื่อตอนพม่าปกครองล้านนา (พ.ศ.2101-2317) <br />\n          เสียดายในช่วงนั้นไม่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ถึงเหตุการณ์นี้  เท่าที่มีหลักฐานมีการตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นว่า เกิดน้ำท่วมใหญ่พ.ศ.2200 เป็นปีที่พระแสนเมืองผู้ครองเมืองเชียงใหม่เพิ่งกลับจากอังวะหลังถูกพม่ากักตัวไว้ 3 ปี เมื่อเมืองเชียงใหม่ขาดคนปกครอง การดูแลฝายในแม่น้ำปิงไม่ได้รับการเอาใจใส่เหมือนตอนที่บ้านเมืองปรกติสุข อาจเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมได้ เนื่องจากการดูแลฝายในแม่น้ำปิง เป็นงานใหญ่ที่ควบคุมโดยกษัตริย์</span>\n</p>\n<p><span style=\"font-size: x-small\"></span></p>\n<p>\n<br />\n          เวียงกุมกามถูกปล่อยให้จมตะกอนและทิ้งร้างเป็นเมืองใต้ดิน ด้วยความระส่ำระสายของสถานการณ์บ้านเมืองในยุคนั้น ทั้งข้าวของแพง อีกทั้งเมืองเชียงใหม่ยังถูกรุมเร้าจากกองทัพพม่าและกองทัพอยุธยา<br />\n          ถูกฝังอยู่ใต้ตะกอนดิน ทิ้งร้างมาหลายร้อยปี จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มกลับมามีสภาพเป็นชุมชนในชื่อบ้านช้างค้ำ <br />\n          บริเวณวัดกานโถมหรือวัดช้างค้ำ ในอดีตถือเป็นศูนย์กลางเวียงกุมกาม ดังจะเห็นได้จากหลักฐานการขุดค้นพบพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลาจารึกเก่า เศษภาชนะดินเผา หม้อดินเผา และพระพิมพ์ดินเผาจำนวนมาก <br />\n          ก่อนหน้านั้นคนในชุมชนแห่งนี้นับถือต้นไม้เดื่อ เพราะขอลูกได้ดังใจ แม้ต้นไม่เดื่อจะตายก็ยังมีคนไปสักการะบูชาไม่ขาด ต่อเนื่องมาถึงสมัยพญามังรายตั้งเวียงกุมกาม มีพระมหากัสปเถระและภิกษุรวม 5 รูป มาตั้งสำนักบำเพ็ญธรรมกันที่นี่ พญามังรายจึงทรงสร้างวัดกานโถมขึ้น แล้วปลูกต้นศรีมหาโพธิ์แทนต้นมะเดื่อที่ตายไป ปัจจุบันในวัดกานโถมยังมีต้นโพธิ์อยู่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นที่พญามังรายทรงปลูก \n</p>\n<p>\n          นครใต้พิภพกำเนิดขึ้นบนผืนดินอีกครั้ง แม้ไม่งามสง่าเช่นวันที่รุ่งเรือง แต่ได้หวนให้นึกถึงความรุ่งเรืองในครั้งอดีต เมื่อมีการขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน 20 วัด ระหว่างพ.ศ.2527-2545 <br />\n          หนึ่งในภาพการค้นพบที่น่าทึ่ง เช่น วิหารและอุโบสถวัดปู่เปี้ย อยู่ลึกลงไปในพื้นดินราว 1.5-2 เมตร ขณะที่ด้านบนคือสวนลำใย เช่นเดียวกับอีกหลายวัดที่จมอยู่ใต้ดินในพื้นที่ของชาวบ้านที่มีทั้งบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่กำแพงคันดินเวียงกุมกามถูกทำลายลงไปด้วย ดังนั้นเวลาไปชมอาจต้องสร้างจินตนาการบวกข้อมูลที่รับฟังจากไกด์บรรยายจะนึกภาพชัดขึ้น <br />\n          วัดแรกของเวียง คือ วัดเจดีย์เหลี่ยม (วัดกู่คำ) เป็นวัดที่พญามังรายสร้างเพื่อบรรจุอัฐิมเหสีของพระองค์ เมื่อช่างพม่าเข้ามาบูรณะ จึงปรากฏศิลปะในแนวของพม่าผสมผสานอย่างที่เห็น ส่วนวัดอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น วัดอีก้าง วัดพระธาตุขาว วัดกู่ป้าด้อม วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพญามังราย วัดหัวหนอง <br />\n          การกลับมาของเวียงกุมกาม ใช่ว่าจะมีแค่วัดปรากฏขึ้นหลังจากอยู่ใต้ดินมานานกว่า 300 ปี วันดีคืนดีชาวบ้านก็ได้ยินเสียงกลองโบราณและเสียงผู้คนกรีดร้อง!<span style=\"font-family: tahoma,arial,helvetica,sans-serif\"> </span><span style=\"font-family: tahoma,arial,helvetica,sans-serif\"></span></p>\n<p>\n<br />\n<span style=\"font-size: x-small\">          เวียงกุมกามอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอสารภี ตำบลท่าวังตาล<br />\n          ติดต่อศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกามก่อนเข้าชม เวลา 08.30-17.00 น. โทร.0-5327-7322 มีบริการทั้งรถม้า จักรยาน และรถราง <br />\n          อยากเข้าใจเวียงกุมกามอย่างลึกซึ้ง แนะนำให้อ่าน “เวียงกุมกาม” การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา” โดยศาสตราจารย์ สรัสวดี อ๋องสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (จำหน่ายที่เวียงกุมกาม) ศึกษาวิจัยระหว่างปี 2529-2532 และพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2537  <br />\n          จะได้รับทั้งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และภาพถ่ายก่อนหน้าที่เวียงกุมกามจะกลับมางามสง่าอีกครั้ง </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"font-size: x-small\"></span>\n</p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<span style=\"font-size: x-small\"><img width=\"878\" src=\"http://inhouse.ejobeasy.com/html/vienggumgam.JPG\" height=\"624\" style=\"width: 694px; height: 522px\" /></span>\n</div>\n<p></p>\n', created = 1716144077, expire = 1716230477, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:a99fbf1093c4cd5370b9a839c5297df2' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

เวียงกุมกาม ดินแดนใต้พิภพแห่งล้านนา

          ม้าดอกรักกับลุงป๋อง อดีตอบต.ที่หันมาเป็นสารถีและไกด์ ควบก็อบ ๆ.. พาย้อนเวลาย่ำไปบนดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยรุ่งเรืองและล่มสลาย จมหายกลายเป็นเมืองใต้ดิน 

          เป็นเวลากว่า 700 ปีที่เวียงกุมกามแห่งล้านนาถูกสร้างขึ้นในสมัยพญามังราย (พ.ศ.1804-1854) เพื่อเป็นเมืองหลวงใหม่แทนที่เวียงหริภุญไชย โดยเลือกหมู่บ้านแห่งหนึ่งริมแม่น้ำปิง (ปิงห่าง) ที่ได้ชื่อว่าเป็นเส้นทางการคมนาคมและศูนย์กลางทางการค้า  
          มีฐานะเป็นเมืองหลวงได้ไม่นานพญามังรายได้ย้ายมาสร้างเวียงที่เชียงใหม่เพราะมองเห็นที่ตั้งที่เหมาะสมกว่า 
          ใช่ว่าเวียงกุมกามจะสิ้นสลายลงหลังจากที่พญามังรายย้ายเมือง แต่ยังเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องอีกสองร้อยกว่าปี (พ.ศ.1854-2101) มาสิ้นสลายลงเพราะถูกน้ำท่วมใหญ่เมื่อตอนพม่าปกครองล้านนา (พ.ศ.2101-2317) 
          เสียดายในช่วงนั้นไม่มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ถึงเหตุการณ์นี้  เท่าที่มีหลักฐานมีการตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นว่า เกิดน้ำท่วมใหญ่พ.ศ.2200 เป็นปีที่พระแสนเมืองผู้ครองเมืองเชียงใหม่เพิ่งกลับจากอังวะหลังถูกพม่ากักตัวไว้ 3 ปี เมื่อเมืองเชียงใหม่ขาดคนปกครอง การดูแลฝายในแม่น้ำปิงไม่ได้รับการเอาใจใส่เหมือนตอนที่บ้านเมืองปรกติสุข อาจเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมได้ เนื่องจากการดูแลฝายในแม่น้ำปิง เป็นงานใหญ่ที่ควบคุมโดยกษัตริย์


          เวียงกุมกามถูกปล่อยให้จมตะกอนและทิ้งร้างเป็นเมืองใต้ดิน ด้วยความระส่ำระสายของสถานการณ์บ้านเมืองในยุคนั้น ทั้งข้าวของแพง อีกทั้งเมืองเชียงใหม่ยังถูกรุมเร้าจากกองทัพพม่าและกองทัพอยุธยา
          ถูกฝังอยู่ใต้ตะกอนดิน ทิ้งร้างมาหลายร้อยปี จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มกลับมามีสภาพเป็นชุมชนในชื่อบ้านช้างค้ำ 
          บริเวณวัดกานโถมหรือวัดช้างค้ำ ในอดีตถือเป็นศูนย์กลางเวียงกุมกาม ดังจะเห็นได้จากหลักฐานการขุดค้นพบพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลาจารึกเก่า เศษภาชนะดินเผา หม้อดินเผา และพระพิมพ์ดินเผาจำนวนมาก 
          ก่อนหน้านั้นคนในชุมชนแห่งนี้นับถือต้นไม้เดื่อ เพราะขอลูกได้ดังใจ แม้ต้นไม่เดื่อจะตายก็ยังมีคนไปสักการะบูชาไม่ขาด ต่อเนื่องมาถึงสมัยพญามังรายตั้งเวียงกุมกาม มีพระมหากัสปเถระและภิกษุรวม 5 รูป มาตั้งสำนักบำเพ็ญธรรมกันที่นี่ พญามังรายจึงทรงสร้างวัดกานโถมขึ้น แล้วปลูกต้นศรีมหาโพธิ์แทนต้นมะเดื่อที่ตายไป ปัจจุบันในวัดกานโถมยังมีต้นโพธิ์อยู่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นที่พญามังรายทรงปลูก 

          นครใต้พิภพกำเนิดขึ้นบนผืนดินอีกครั้ง แม้ไม่งามสง่าเช่นวันที่รุ่งเรือง แต่ได้หวนให้นึกถึงความรุ่งเรืองในครั้งอดีต เมื่อมีการขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน 20 วัด ระหว่างพ.ศ.2527-2545 
          หนึ่งในภาพการค้นพบที่น่าทึ่ง เช่น วิหารและอุโบสถวัดปู่เปี้ย อยู่ลึกลงไปในพื้นดินราว 1.5-2 เมตร ขณะที่ด้านบนคือสวนลำใย เช่นเดียวกับอีกหลายวัดที่จมอยู่ใต้ดินในพื้นที่ของชาวบ้านที่มีทั้งบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่กำแพงคันดินเวียงกุมกามถูกทำลายลงไปด้วย ดังนั้นเวลาไปชมอาจต้องสร้างจินตนาการบวกข้อมูลที่รับฟังจากไกด์บรรยายจะนึกภาพชัดขึ้น 
          วัดแรกของเวียง คือ วัดเจดีย์เหลี่ยม (วัดกู่คำ) เป็นวัดที่พญามังรายสร้างเพื่อบรรจุอัฐิมเหสีของพระองค์ เมื่อช่างพม่าเข้ามาบูรณะ จึงปรากฏศิลปะในแนวของพม่าผสมผสานอย่างที่เห็น ส่วนวัดอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น วัดอีก้าง วัดพระธาตุขาว วัดกู่ป้าด้อม วัดพระเจ้าองค์ดำ วัดพญามังราย วัดหัวหนอง 
          การกลับมาของเวียงกุมกาม ใช่ว่าจะมีแค่วัดปรากฏขึ้นหลังจากอยู่ใต้ดินมานานกว่า 300 ปี วันดีคืนดีชาวบ้านก็ได้ยินเสียงกลองโบราณและเสียงผู้คนกรีดร้อง!


          เวียงกุมกามอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอสารภี ตำบลท่าวังตาล
          ติดต่อศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกามก่อนเข้าชม เวลา 08.30-17.00 น. โทร.0-5327-7322 มีบริการทั้งรถม้า จักรยาน และรถราง 
          อยากเข้าใจเวียงกุมกามอย่างลึกซึ้ง แนะนำให้อ่าน “เวียงกุมกาม” การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา” โดยศาสตราจารย์ สรัสวดี อ๋องสกุล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (จำหน่ายที่เวียงกุมกาม) ศึกษาวิจัยระหว่างปี 2529-2532 และพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2537  
          จะได้รับทั้งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และภาพถ่ายก่อนหน้าที่เวียงกุมกามจะกลับมางามสง่าอีกครั้ง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 252 คน กำลังออนไลน์