ใบความรู้ที่ 2.2 เรื่อง “การใช้เครื่องมือแลกเปลี่ยนแบ่งปัน”
UTQ online e-Training Course
ใบความรู้ที่ 2.2 เรื่อง “การใช้เครื่องมือแลกเปลี่ยนแบ่งปัน”
โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ ภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง
(Upgrading Teacher Qualification Through the Whole System: UTQ)
Web 2.0 กับการการเรียนรู้เพื่อสร้างปัญญาสาธารณะ
สุนิตย์ เชรษฐา
ชิตพงษ์ กิตตินราดร
Thai RuralNet (TRN)
ความสำคัญของการเรียนรู้ คือการที่ทั้งบุคคลและสังคมสามารถเข้าถึงข้อมูล คิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์สิ่งใหม่ๆ หรือแก้ปัญหาที่มีอยู่ อันนำไปสู่สังคมที่ก้าวหน้าด้วยภูมิปัญญา ความก้าวหน้าดังกล่าวจะเป็นไปไม่ได้เลย หากการเรียนรู้ของบุคคลสิ้นสุดลงที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย และวิธีการเรียนรู้ยังคงเป็นแบบรับ (Passive) และแยกส่วน (Isolated) ตั้งแต่ระบบอินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลาย วิธีการเรียนรู้ของคนจำนวนมากเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะสำคัญ กล่าวโดยสรุปคืออินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคหลังปี 2003 เป็นต้นมาที่เทคโนโลยี Web 2.0 เริ่มแพร่หลาย การเรียนรู้ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเริ่มเปลี่ยนแปลง จากการเรียนรู้แบบรับเป็นแบบรุก จากการเรียนรู้แบบแยกส่วนเป็นร่วมมือกันเรียนรู้ จากการรับข้อมูลจากศูนย์กลาง เป็นรับข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง จากการจำกัดบทบาทตนเป็นผู้รับความรู้ มาเป็นการเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ในเวลาเดียวกัน
อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของเราอย่างไร
ลองคิดถึงแหล่งความรู้แบบดั้งเดิมแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือหนังสือ แต่เดิม หากร้านขายหนังสือจะสั่งหนังสือมาขาย ร้านจะต้องคิดคาดการณ์ว่าควรจะสั่งหนังสือเล่มไหนที่ขายได้ หนังสือที่ขายไม่ได้ สั่งมาก็เป็นต้นทุนจม และเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Inventory Cost) โดยไม่จำเป็น ร้านจะไม่สั่งหนังสือขายยากมา ทั้งๆ ที่หนังสือเล่มนั้นอาจน่าสนใจมีคุณประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง
ลองมองถึงผู้ผลิตหนังสือ ซึ่งก็คือสำนักพิมพ์ พวกเขาจะไม่พิมพ์หนังสือที่ขายไม่ได้ เพราะเห็นได้ชัดว่าตนเองจะขาดทุน ถึงแม้หนังสือเล่มนั้นจะเต็มไปด้วยความคิดล้ำหน้าและทรงคุณค่า
ส่วนผู้บริโภคหนังสือ หากต้องการอ่านหนังสือเรื่องเฉพาะเจาะจงที่ไม่เหมือนใคร อาจหาอ่านไม่ได้ เพราะไม่มีทั้งผู้ผลิต(สำนักพิมพ์) และช่องทางการจัดจำหน่าย (ร้านหนังสือ) ที่ยอมสนองความต้องการของเขา
และเมื่อพิจารณาเห็นว่า ความก้าวหน้าของสังคมเกิดจากความคิดเห็นที่หลากหลายมาผสมผสานกัน สังเคราะห์เป็นสิ่งใหม่ๆ การอ่านหนังสือเล่มเดียวกันคงสร้างได้แต่สังคมเชิงเดี่ยว ที่ผู้คนมองเห็นทุกอย่างเป็นสิ่งเดียวกัน มีทัศนะเหมือนกัน และแก้ปัญหาด้วยวิธีเดียวกัน สังคมเช่นนี้เป็นสังคมที่ไม่พร้อมที่จะรับมือกับความแปรปรวนและปัญหาใหม่ๆ อีกทั้งยังขาดปัจจัยที่เกื้อหนุนแก่ความก้าวหน้า ซึ่งก็คือความคิดเห็นที่หลากหลาย
แต่โชคดีที่ว่า อินเทอร์เน็ต สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ได้ ลองมองย้อนกลับไปถึงร้านหนังสือของเรา ที่ตอนนี้กลายสภาพมาเป็นสารานุกรมออนไลน์เช่น Wikipedia ที่มีข้อมูลความรู้แทบทุกอย่างที่ทุกคนต้องการ ไม่ว่าใครก็ตามก็สามารถเข้าถึงความรู้นั้นได้ฟรีโดยไม่ต้องเดินทางและเสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งไม่ต้องเสียเวลาเดินหาร้านหนังสือและตู้หนังสือที่ถูกต้อง เพราะเขาเพียงพิมพ์หัวข้อที่เขาต้องการข้อมูลลงไป และยิ่งไปกว่านั้น ด้วยเทคโนโลยี Web 2.0 ใครก็ตามก็สามารถเขียนหรือแก้ไขความรู้ใน Wikipedia ได้อย่างไม่ยากด้วยอินเทอร์เน็ต:
- ผู้ผลิตเนื้อหาสามารถผลิตเนื้อหาโดยมีต้นทุนต่อหน่วย (Marginal Cost) ต่ำ เพราะข้อมูลดิจิตอลสามารถทำซ้ำได้โดยแทบไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- ผู้เผยแพร่เนื้อหาสามารถเก็บเนื้อหาจำนวนมากๆ แม้จะเป็นเนื้อหาที่มีคนสนใจน้อย เพราะต้นทุนในการเก็บรักษาและแจกจ่ายเนื้อหานั้นต่ำ
- ผู้หาข้อมูลสามารถค้นพบข้อมูลที่ตนเองต้องการได้อย่างรวดเร็วและไม่มีค่าใช้จ่าย โดยการใช้เครื่องมีเช่น Search Engine ต่างจากเดิมที่ต้องเดินทางไปร้านแหล่งข้อมูลที่เสียทั้งเงินทั้งเวลา
ด้วยคุณลักษณะดังกล่าวของอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างถูกวิธี สามารถที่จะค้นคว้าเรียนรู้อะไร เมื่อไหร่ก็ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผล ค่าใช้จ่ายต่ำ และรวดเร็ว นี่คือสังคมที่อารยธรรม ไม่ได้ถูกกำหนดโดยความขาดแคลนทางเศรษฐกิจ เพราะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตสามารถผลิตและเผยแพร่ได้ด้วยต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำ (Low Marginal Cost of Production and Distribution) ผู้ใช้มีต้นทุนในการเข้าถึงข้อมูลที่ต่ำ (Low Cost of Consumption) และการเข้าถึงข้อมูลของคนคนหนึ่งไม่เบียดเบียนความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลของอีกคนหนึ่ง (Non-rivalous Consumption)
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนในการใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนรู้ คือโครงการ OpenCourseWare ของ MIT (ocw.mit.edu) ที่ตั้งเป้าจะนำบทเรียนและสื่อการเรียนการสอนทั้งหมดใน MIT เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตให้ครบภายในปี 2007 โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบทเรียนเหล่านั้นได้อย่างไม่มีข้อจำกัด ปัจจุบัน มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งในโลกที่นำาต้นแบบของ MIT มาประยุกต์ใช้ในการเผยแพร่สื่อการเรียนบนอินเทอร์เน็ต การที่มหาวิทยาลัยสามารถเผยแพร่บทเรียนทั้งหมดให้สาธารณะชนได้ ก็เพราะการที่มหาวิทยาลัยสามารถเก็บและเผยแพร่ข้อมูลได้โดยใช้ค่าใช้จ่ายที่น้อยมากเมื่อเทียบกับการตีพิมพ์แจกจ่ายหรือการเปิดมหาวิทยาลัยให้ใครก็ได้เข้าเรียนแบบมหาวิทยาลัยเปิด ดังนั้น ประโยชน์ก็ตกอยู่กับผู้เรียนที่สามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างอิสระโดยไม่มีค่าใช้จ่ายและข้อจำกัดอื่นๆ
Web 2.0: นวัตกรรมที่ปฏิวัติการเรียนรู้
Web 2.0 เป็นชื่อเรียกชุดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ที่มาแทนที่ชุดเทคโนโลยีเก่าซึ่งก็คือ Web 1.0 โดยจุดเด่นของ Web 2.0 คือการที่ผู้ใช้มีส่วนสร้างเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตได้ โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นทีมงานของเจ้าของหรือผู้ดำเนินการเว็บไซต์ แทนที่จะเป็นการที่เจ้าของเว็บเป็นผู้จัดหาหรือผลิตเนื้อหาเพื่อให้ผู้ชมเป็นผู้อ่านโดยไม่มีส่วนร่วมอย่าง Web 1.0 นอกจากนั้น ผู้ใช้ยังเป็นผู้ร่วมกำหนดคุณค่าของเนื้อหาหนึ่งๆ ผ่านกระบวนการเช่นการให้คะแนนเนื้อหา ทำให้สังคมพิจารณาได้ว่าเนื้อหาใดมีคุณภาพควรแก่การเสพย์
ตัวอย่างพื้นฐานของ Web 2.0 คือ Wikipedia ซึ่งเป็นสารานุกรม Online ขนาดใหญ่ที่สุด โดยเนื้อหาทั้งหมดใน Wikipedia ถูกสร้างโดยผู้ใช้เช่นพวกเรา ใน Wikipedia ไม่ว่าใครก็ได้สามารถสร้าง แก้ไข และปรับปรุงเนื้อหาอย่างแทบไม่มีขีดจำกัด ความถูกต้องเที่ยงตรงของ Wikipedia ได้รับการประเมินว่ามีไม่แพ้ Britannica ซึ่งเป็นสารานุกรมแบบเก่าเลย
Wikipedia สารานุกรมเปิด ปัจจุบันมีบทความภาษาอังกฤษกว่า 1.3 ล้านบทความ
ถึงตรงนี้ อาจเกิดคำถามว่า ทำไมผู้ใช้ทั่วๆ ไปถึงต้องการสร้างเนื้อหาให้ผู้อื่นอ่านโดยไม่มีผลตอบแทนที่เป็นรูปธรรมเช่นตัวเงินด้วย อะไรคือแรงกระตุ้นให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนับล้านทั่วโลก สละเวลามาเขียนและตรวจแก้ไขสารานุกรม ให้คนอื่นได้อ่านโดยไม่มีใครจ้าง เราอาจตอบคำาถามนี้ได้ดังนี้
1. อินเทอร์เน็ตและ Web 2.0 ทำให้ผู้ใช้ที่มีความสนใจเฉพาะเจาะจงมีที่ยืนในสังคม ลองพิจารณาถึงการสร้างและเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่มีค่าใช้จ่าย เมื่อเทียบกับสื่อที่เป็นวัตถุ เช่นกระดาษแบบเดิมแล้ว การสร้างและเผยแพร่เนื้อหาใดๆ บนอินเทอร์เน็ตปราศจากข้อจำกัดด้านทรัพยากร นอกเสียจากทรัพยากรเวลา ที่ผู้ใช้ยินดีสละเพื่อความ “สุนทรีย์” ของตนที่ได้แสดงออกในสิ่งที่ตนหลงไหล
2. หากผู้ใช้สร้างเนื้อหาที่มีคุณค่า ชื่อเสียงที่ได้จากการสร้างเนื้อหานั้นสามารถแปลงเป็นตัวเงินได้ในทางอ้อม เพราะนอกจากความอิ่มใจ ยังอาจใช้ชื่อเสียงเป็นประโยชน์ในการทำกิจการของตนต่อไป
นอกจากจะมีบทบาทเป็นผู้สร้างเนื้อหาแล้ว Web 2.0 ยังทำให้ผู้ใช้ทราบว่า ข้อมูลชิ้นใดมีประโยชน์ ข้อมูลชิ้นใดตรงกับความต้องการของตน ตัวอย่างแรกก็คือเว็บไซต์ digg.com ที่เป็นเว็บไซต์ข่าวสารและสาระน่ารู้เรื่องเทคโนโลยี ที่ผู้ใช้สร้างเนื้อหาโดยการเขียนสรุปสั้นๆ พร้อม Link ไปยังแหล่งเนื้อหาดั้งเดิม และผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถให้คะแนน หรือ “digg” เนื้อหาชิ้นนั้นๆ ได้ รวมทั้งสามารถแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหานั้นได้ตามต้องการ ด้วยวิธีนี้ เนื้อหาที่มีคะแนน digg มากก็จะเป็นที่สนใจ เพราะแปลว่าคนจำานวนมากเห็นว่าเนื้อหานั้นน่าสนใจหรือมีประโยชน์ นี่ก็คือกลไกที่ทำาให้กระบวนการตัดสินใจของสังคมตั้งอยู่บนพื้นฐานของ Input ของสมาชิกในสังคมเอง
ผู้ใช้ digg สามารถส่งบทความ โหวตให้คะแนน และเขียนความเห็นได้
สำหรับเว็บไซต์ที่เป็นตัวอย่างข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเลือกให้ตรงความต้องการของตนได้ ให้ลองดู flickr.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถส่งรูปภาพอะไรก็ได้ขึ้นระบบ ใส่คำจำกัดความที่เรียกว่า “tag” ให้รูปภาพของตน ผู้ที่ต้องการค้นหาภาพก็เพียงพิมพ์ tag ที่คิดว่าตรงกับความต้องการของตนลงไป ระบบก็จะแสดงภาพที่มี tag ตรงกับความต้องการทันที ด้วยวิธีนี้ ทำให้สังคมสามารถจัดระบบข้อมูลได้ด้วยตนเอง โดยผู้ใช้แต่ละคนเพียงใส่คำาที่คิดว่าสามารถเป็นตัวแทนข้อมูลของตนได้ แค่นี้ ข้อมูลก็พร้อมให้ผู้ใช้คนอื่นๆ ค้นหาและเข้าถึงแล้ว โดยไม่ต้องมีคนคอยดูแลจัดระบบข้อมูลลงแฟ้ม แยกข้อมูลเป็นชุดๆ อีกต่อไป
ภาพที่เกี่ยวข้องกับ “university” ที่ผู้ใช้ส่งขึ้นระบบ
Web 2.0 ยังเปิดโอกาสให้ใครก็ได้สามารถเผยแพร่ความรู้หรือประสบการณ์ของตนอย่างง่ายดาย โดยการสร้าง Blog ซึ่งก็คือเว็บไซต์ส่วนตัวสำเร็จรูป ที่ผู้ใช้เพียงสมัครสมาชิกกับผู้ให้บริการ และเขียนข้อความที่ต้องการลงไป ข้อความเหล่านั้นก็จะแสดงบนหน้า Blog ของผู้ใช้ พร้อมให้ใครก็ได้เข้ามาอ่านทันที
Blog เป็นเครื่องมีที่ปฏิวัติการสร้างสื่อ โดยแต่ก่อน ผู้ที่จะสร้างสื่อเผยแพร่ได้ต้องเป็นสำนักพิมพ์หรือหน่วยงานที่มีกำลังและทุนทรัพย์ แต่ Blog เปิดโอกาสให้ใครก็ได้เปิด “สำนักพิมพ์” ของตนเอง ทำให้สังคมมีแหล่งความรู้ที่กระจายและหลากหลายมากขึ้น
Blog ยังเชื่อมโยงแนบแน่นกับเทคโนโลยี Feed ซึ่งกล่าวสั้นๆ ก็คือระบบที่ส่งข้อมูลขึ้นหน้าจอคอมพิวเตอร์ของท่านอย่างอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล โดยผู้ใช้ใช้โปรแกรมจำพวก Feed Aggregator เป็นตัวอ่าน Feed สำหรับบทบาทของ Feed ใน Blog ก็คือเจ้าของ Blog สามารถรับ Feed จาก Blog อื่นที่เกี่ยวข้อง และแสดงเนื้อหาของ Feed นั้นๆ บน Blog ของตนได้ เช่น หากนาย ก เขียน Blog เรื่องๆ วรรณกรรม และไปพบ Blog ของนาย ข ที่เขียนเรื่องวรรณกรรมเช่นกัน นาย ก สามารถใช้ระบบ Feed แสดงเนื้อหาของ Blog นาย ข บนหน้า Blog ของนาย ก ได้ทันที ด้วยวิธีการนี้ ผู้อ่าน Blog จะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ตนสนใจได้จากหลากหลายแหล่งมากขึ้น ด้วยการเยี่ยมชมแหล่งข้อมูลเพียงแหล่งเดียว
Blog ที่ใครๆ ก็เป็นเจ้าของได้ภายใน 5 นาที
สำหรับเรื่อง Feed นอกจากจะสามารถนำมาใช้ใน Blog ได้แล้ว ยังสามารถใช้ได้ในอีกหลายลักษณะ เช่น การที่ผู้ใช้รับFeed จากเว็บไซต์ต่างๆ ให้มาปรากฏบนหน้าจอ เพื่อติดตามข่าวสารจากหลายแหล่งที่ตนเองต้องการจากหน้าจอเดียว โดยไม่ต้องไปเข้าหน้าเว็บไซต์หลายที่
จะเห็นว่า เทคโนโลยี Web 2.0 สามารถมีส่วนเกื้อหนุนเป็นอันมากต่อการสร้างสังคมที่มีการเรียนรู้ในลักษณะที่เอื้อต่อการเกิดปัญญาอย่างรวมกลุ่มที่เกิดจากการคิดด้วยกันอย่างไม่ได้นัดหมาย หรือ “ปัญญาสาธารณะ” เพราะ Web 2.0 ทำให้สังคมมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้1
1. สังคมประกอบด้วยผู้คนหลากหลายที่มีความเห็นและมีการตัดสินใจต่างกัน (Diversity of Opinion) เช่น การที่ผู้ใช้ Wikipedia สามารถเลือกสร้างเนื้อหาที่ตนเองสนใจ
2. การตัดสินใจของคนในสังคมเป็นไปอย่างอิสระ ไม่ถูกใครบังคับ (Independence) เช่น การที่ผู้ใช้ digg สามารถให้คะแนนเนื้อหาที่ผู้ใช้คนอื่นส่งขึ้นระบบได้อย่างอิสระ
3. บุคคลในสังคมสามารถค้นหาและแสดงความรู้เฉพาะทางของตนได้ (Decentralization) เช่น การที่ใครก็ได้สามารถเขียน Blog แสดงทัศนะ ความรู้ หรือประสบการณ์ของตนเอง
4. มีกลไกในการเปลี่ยนการตัดสินใจของคนแต่ละคน มาเป็นการตัดสินใจรวมกลุ่ม (Aggregation)
ข้อนี้เป็นการเชื่อมโยงคุณลักษณะข้อที่ 1 ถึง 3 เข้าด้วยกัน ทำาให้การตัดสินใจจากคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีความเห็นหลากหลาย และอยู่ห่างไกลไม่เชื่อมโยงกัน กลายเป็นการตัดสินใจรวมกลุ่มโดยสังคม สอดคล้องกับปรัชญาเริ่มต้นของระบอบทุนนิยมที่ Adam Smith เป็นผู้คิดค้น ที่เชื่อว่า เมื่อแต่ละคนทำสิ่งที่ตนเองถนัดที่สุดและคิดว่าดีต่อตนเองที่สุด สังคมโดยรวมจะก้าวหน้าและมั่งคั่งกว่าการที่การตัดสินใจทั้งหมดถูกรวมศูนย์อยู่ที่จุดกลาง และมนุษย์ไม่มีความหลากหลายทางความคิดและประสบการณ์ โดยตัวอย่างต่อไปนี้จะชี้ให้เห็นถึงตัวอย่างที่เป็นจริงเมื่อคนในสังคมใช้เทคโนโลยี Web 2.0 ในการเรียนรู้ของตนมากขึ้น
- ใน Wikipedia มีบทความที่คนนับล้านช่วยกันเขียนขึ้นมา โดยแต่ละคนเขียนเรื่องที่ตนถนัด (Decentralization) โดยต่างคนต่างตัดสินใจเขียนของตนเอง (Independence) ความหลากหลาย (Diversity) ทางความคิด ความถนัด และประสบการณ์ของผู้ใช้ Web 2.0 นี่เองที่ทำให้ Wikipedia มีประโยชน์มหาศาลต่อทุกๆ คน เพราะผู้ใช้ที่มีความสนใจหลากหลายสามารถพบข้อมูลเรื่องที่ตนสนใจได้ใน Wikipedia โดย Wikipedia ทำาหน้าที่เป็นตัวรวมความสนใจเหล่านั้น (Aggregation) เข้าด้วยกันบนเว็บไซต์
- ผู้ใช้ Digg จำนวนมากต่างส่งเรื่องที่ตนเองสนใจขึ้นสู่ระบบตามความสมัครใจของตน (Decentralization & Independence) ผู้ใช้เข้ามาอ่านเรื่องราวใหม่ๆ ใน Digg เพราะเรื่องราวมีความหลากหลาย (Diversity) ซึ่งเป็นผลมาจากฐานผู้ใช้จำานวนมากที่มีความสนใจต่างกัน นอกจากนั้น ผู้ใช้แต่ละคนยังสามารถให้คะแนนเรื่องที่ตนชอบ ทำาให้ผู้ใช้รู้ว่าเรื่องไหนมีคนนิยมกระบวนการให้คะแนนนี้เองก็คือการรวมความสนใจหลากหลาย (Aggregation) อย่างมีความหมาย
- ผู้เขียน Blog ต่างเขียนเรื่องที่ตนสนใจตามความสมัครใจของตน (Decentralization & Independence) ความหลากหลายของ Blog (Diversity) ที่ให้ผู้ต้องการความรู้สามารถค้น Google เพื่อหาข้อมูลที่อยู่ใน Blog ได้ การเชื่อมโยงข้อมูลอย่างมีความหมายยังเกิดขึ้นได้จากการที่แต่ละ Blog ปล่อย Feed เนื้อหาของตนให้ Blog อื่นๆ รับและแสดงเนื้อหาบน Blog เป็นการรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันอย่างมีความหมาย (Aggregation)
-----------------
1 จากหนังสือ The Wisdom of Crowds ของ James Surowiecki, 2004.
บทสรุป
Web 2.0 คือระบบที่:
- ผู้ใช้เป็นผู้สร้างและแก้ไขเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาที่สร้างคนเดียว (Blog) และเผยแพร่ให้คนอื่นได้อ่าน หรือเนื้อหาสาธารณะที่ทุกคนสามารถมีส่วนช่วยกันสร้าง (Wikipedia) นี่ทำให้ปริมาณและความหลากหลายของเนื้อหาในสังคมมีมากขึ้น เพราะทุกๆ คนสามารถเป็นผู้สร้างเนื้อหาได้
- ผู้ใช้เป็นผู้กำาหนดคุณค่าของเนื้อหา ไม่ว่าจะด้วยการให้คะแนน (Digg) การโหวต หรือแม้แต่การค้นหาเข้าชมเว็บไซต์ผ่าน Search Engine ก็มีส่วนให้เว็บไซต์นั้นมี Rank สูงขึ้น ทำให้เว็บไซต์นั้นปรากฏอยู่ในอันดับต้นๆ ของ Search Engine ส่งผลให้คนอื่นๆ มีโอกาสจะค้นพบเว็บไซต์นั้นได้ง่ายขึ้น เป็นระบบที่แปลงการตัดสินใจและการให้คุณค่าของคนแต่ละคน มาเป็นการตัดสินใจของสาธารณะ คล้ายกับระบอบประชาธิปไตยในอุดมคติที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
- เนื้อหาทั้งระบบมีการเชื่อมโยงถึงกันอย่างเหมาะสม ทำาให้ง่ายต่อการเข้าถึงเนื้อหาที่ต้องการ เช่น การที่ผู้ใช้กำหนด Keyword หรือ Tag ในบทความหรืองานที่ตนสร้าง ทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆ ที่ต้องการข้อมูลที่เกี่ยวข้องสามารถค้นพบข้อมูลของเจ้าของเนื้อได้โดยง่ายโดยการพิมพ์ Tag ที่ต้องการลงไปในช่องค้นหา นอกจากนั้น ระบบ Feed ยังทำาให้ผู้ใช้สามารถรวบรวมเนื้อหาที่ตนเองต้องการให้แสดงผลบนที่ที่เดียวกันได้โดยง่ายและเป็นอัตโนมัติ
จินตนาการถึงสังคมที่คนจำนวนมากใช้เทคโนโลยี Web 2.0 สังคมที่นักเขียนใช้ Blog เผยแพร่เทคนิคการเขียนและตัวอย่างงานเขียนของตน สังคมที่แพทย์ช่วยกันเขียนบทความเรื่องโรคอัลไซน์เมอร์ใน Wikipedia เพื่อให้ใครก็ได้เข้ามาอ่าน สังคมที่ทักท่องเที่ยวเผยแพร่ภาพถ่ายของสถานที่สวยงามน่าสนใจใน Flickr และใครก็ตามที่สนใจก็สามารถค้นหาภาพเหล่านั้นได้ง่ายๆ หากสนใจ สังคมที่นักข่าวรับข่าวจากสำานักข่าว 10 แห่งด้วยระบบ Feed ส่งตรงมายังหน้าจอของนักข่าวคนนั้น และมีข่าวใหม่ปรากฏทุกๆ 5 นาที เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สังคมลักษณะนี้ น่าจะเป็นสังคมที่พึงปรารถนา ที่ผู้คนสามารถเป็นทั้งผู้รับและผู้ให้ได้ในเวลาเดียวกัน
ด้วยคุณลักษณะพิเศษของ Web 2.0 ที่เอื้อต่อการเรียนรู้อันนำไปสู่ปัญญาสาธารณะ ทำาให้ Web 2.0 เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลักดันให้ควบรวมเป็นหนึ่งเดียวกับวิธีการเรียนรู้ของคนในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมที่การใช้เทคโนโลยีกำาลังจะกลายเป็นวิถีชีวิตของทุกๆ คน
------------------------------
แหล่งข้อมูล
http://www.trnlab.org/data/web2.0-whitepaper.pdf
ผมได้คำตอบอีกหนึ่งคำตอบจากใบงานนี้ ถ้าไม่อ่านก็ไม่มีความรู้ สุดยอด...
เข้ามาอ่านทำได้ค่ะ แต่ไม่ได้ตรงการทำหน่วยการเรียนรู้ค่ะ อาจารย์จะเฉลยจริง ๆ เมื่อไรคะ
ได้ความรู้เกี่ยวกับ Web 2.0
สนใจการใช้ICTไปใช้บูรณาการเกี่ยวกับการเรียนการสอน
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเว็บ2.0มากขึ้น ว่าสามารถ มีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหาได้ มีการแสดงความคิดเห็นได้ ได้แบ่งปันความรู้ระหว่างผู้สร้างและผู้เข้า่ไปใช้
สนใจการใช้ICTไปใช้บูรณาการเกี่ยวกับการเรียนการสอน
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเว็บ2.0มากขึ้น ว่าสามารถ มีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหาได้ มีการแสดงความคิดเห็นได้ ได้แบ่งปันความรู้ระหว่างผู้สร้างและผู้เข้า่ไปใช้
สนใจการใช้ICTไปใช้บูรณาการเกี่ยวกับการเรียนการสอน
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเว็บ2.0มากขึ้น ว่าสามารถ มีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหาได้ มีการแสดงความคิดเห็นได้ ได้แบ่งปันความรู้ระหว่างผู้สร้างและผู้เข้า่ไปใช้
สนใจการใช้ICTไปใช้บูรณาการเกี่ยวกับการเรียนการสอน
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเว็บ2.0มากขึ้น ว่าสามารถ มีส่วนร่วมในการสร้างเนื้อหาได้ มีการแสดงความคิดเห็นได้ ได้แบ่งปันความรู้ระหว่างผู้สร้างและผู้เข้า่ไปใช้
ขอขอบคุณ คุณครูพูนศักดิ์มากครับ ดีมากครับผม ผมมีความรู้เพิ่มขึ้นหลายเรื่องจริงๆ ขอบคุณจริงๆ
สวัสดีค่ะ ตอนนี้สรุปเรื่องweb2.o ได้แล้วคือไม่มีความรู้เรื่องการเขียนไก็ทำได้ แต่
เพียงแต่มีความตั้งใจ และใฝ่รู้ใฝ่้เรียนก็ไม่ยากจนเกินไป
มีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นครับขอบคุณมาก
ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะ แต่ติดขัดที่สายตาและวัยวุฒิ ทำให้อ่านในจอได้ช้ามาก แต่จะพยายามศึกษาเรียนรู้ค่ะ
สารภี
ความรู้ใหม่ แต่ก่อน ไม่เคยรู้จักเลย web 2.0 หมายถึงอะไร ระบบการทำงานอย่างไรพอได้อ่านสรุปทำให้รู้ว่า web2.0 ผู้ใช้เป็นผู้สร้างและแก้ไขเนื้อหา กำหนดคุณค่าของเนื้อหา เนื้อหาทั้งระบบมีการเชื่อมโยงถึงกันและกัน เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลักดันให้ คนในสังคมเกิดการเรียนรู้
เพิ่งทราบครับ
ยิ่งอ่าน ยิ่งสนุก พบว่า โลกเรา ได้เข้าสู่มิติของโลกอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนเข้าถึงได้ อย่างเท่าเทียม
อ่านแล้ว ได้รับความรู้มากมาย โลกกว้างไกลต้องใช้ ICT
เห็นภาพ จากการหาความรู้เดิมๆ เป็นมาจากความรู้จากเน็ต ซึ่งเป็นความรู้ที่ไปเร็วมากครับ ครูบ้านนอก และนักเรียนบ้านนอกอยากเข้าถึง แต่ขาดอุปกรณ์ครับ เน็ตช้ามาก หลุดก็บ่อย
เนื้อหาให้รายละเอียดเข้าใจง่ายครับ แต่คนแก่อย่างผมก็เรียนรู้พอเข้าใจ แต่ยังไม่ลึกซึ้งจะพยายามต่อไปครับ
ยอมรับว่าปัจจุบันนี้การติดต่อสื่อสารและการศึกษาหาความรู้รวดเร็วและทันสมัยมากๆๆเลยนะค่ะ ไม่รู้อะไร ก็สามารถค้นคว้าได้ทาง Internet แต่ในบางครั้งก็ไม่เข้าใจวิธีใช้บางอย่าง เลยไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ก็หวังว่า จะมีความรู้ในการใช้มากขึ้น ขอบคุณสำหรับการให้ความรู้ค่ะ
อ่านแล้วมีความคิดว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีได้ก้าวไปไกลจริง ๆ ถ้าเรามัวชักช้า คงเป็นคนตกยุกต์แน่ แต่มีข้อสงสัยคือ ระหว่าง blog กับ Facebook เป็น web2.0 หรือไม่ อย่างไร
ได้ความรู้มากเลยครับ
สว้สดีครับ
ผมเพิ่งเข้ามาได้วันนี้ ก็ได้ความรู้มากมายหลากหลายแบบมากขึ้นครับ ขอบคุณครับที่นำสิ่งดี ๆ มาเผยแพร่เพื่อพัฒนาครูไทยอีก
สวัสดีค่ะ อ.พูนศักดิ์
ชอบรูปวาดการ์ตูนของ อาจารย์ค่ะ น่ารัก เหมาะ เท่ ดีค่ะ เนื้อหาเริ่มเข้มข้นขึ้น ได้ความรู้เพียบ มากมาย โอ้ สุดยอดค่ะ ขอบคุณหลาย ๆ เด้อ อาจารย์ ต้องได้คะแนนเต็มแน่ ๆ เลย หน่วยที่ 2 นี่
ปัจจุบันนี้การติดต่อสื่อสารและการศึกษาหาความรู้รวดเร็วและทันสมัยมากๆๆเลยนะค่ะ ไม่รู้อะไรก็สามารถค้นคว้าได้ทาง Internet ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้เรื่องการใช้สื่อICTอย่างจริงจังค่ะ ขอบคุณสำหรับการให้ความรู้ค่ะ
อ่านเเล้วได้ความรู้ดีมากค่ะ ขอบคุณที่ให้บริการ และสร้างทางเลือกให้ครู แต่การเข้าใช้งานและไปเรียนรู้ในเว็บเป็นเรื่องยากสำหรับครูบางคนที่ไม่มีความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ และมีอายุมาก ถ้าเรียนไม่ทันตามกำหนดจะทำอย่างไรดีคะ ช่วยเเนะนำด้วยค่ะ
ขอบคุณคุณครูอีกครั้งหนึ่งนะคะ ขออนุญาตคัดลอกเนื้อหาของอาจารย์ เพื่อพิมพ์ไปอ่านที่บ้านนะคะ
เพราะมีชั่วโมงว่างน้อยมาก จะตั้งใจทำงานค่ะ
ขอขอบคุณ คุณครูพูนศักดิ์ เป็นอย่างสูง ที่ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มขึ้น ขอขอบคุณอีกครั้งครับ