ประวัติบาสเกตบอล

รูปภาพของ chatta2010

ก้มแตะสลับปลายเท้า

           บาสเกตบอล ( Basketball ) เป็นกีฬาประจำชาติอเมริกัน ถูกคิดขึ้น เพื่อต้องการช่วยเหลือบรรดาสมาชิก Y.M.C.A. ได้เล่นกีฬาในฤดูหนาว เนื่องจากในช่วงฤดูหนาวสภาพพื้นภูมิประเทศโดยทั่วๆไป ถูกหิมะปกคลุม อันเป็นอุปสรรคในการเล่น
กีฬากลางแจ้ง เช่น อเมริกันฟุตบอล เบสบอล คณะกรรมการสมาคม Y.M.C.A. ได้พยายามหาหนทางแก้ไขให้บรรดาสมาชิกทั้งหลายได้เล่นกีฬาในช่วงฤดูหนาวโดยไม่บังเกิดความเบื่อหน่าย

 

ประวัติบาสเกตบอล        ตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยเจมส์ ไนสมิท บาสเกตบอลได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นกีฬาสากล กีฬานี้มีจุดเริ่มต้นจากในวายเอ็มซีเอ ลีกที่เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมากลายเป็นกีฬาอาชีพ มีการจัดตั้งลีกเอ็นบีเอ (National Basketball Association, NBA) และเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ถึงแม้ว่าในระยะแรกยังเป็นกีฬาที่เล่นเฉพาะในสหรัฐอเมริกา กีฬาชนิดนี้แพร่ขยายไปสู่ระดับสากลด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบันมีนักกีฬาและทีมที่มีชื่อเสียงตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก          บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นในร่มเป็นหลัก สนามที่ใช้เล่นมีขนาดค่อนข้างเล็ก คะแนนจะได้จากการโยนลูกเข้าห่วงจากด้านบน (เรียกว่า ชู้ต, shoot) ทีมที่มีคะแนนมากกว่าในตอนจบเกมจะเป็นฝ่ายชนะ สามารถนำพาลูกโดยการกระเด้งกับพื้น (เลี้ยงลูก, dribble) หรือส่งลูกกันระหว่างเพื่อนร่วมทีม เกมจะห้ามการกระทบกระแทกที่ทำให้เป็นฝ่ายได้เปรียบ (ฟาล์ว, foul) และมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการครองบอล         เกมบาสเกตบอลมีการพัฒนาเทคนิคการเล่นต่าง ๆ เช่น การชู้ต การส่ง และ การเลี้ยงลูก รวมไปถึงตำแหน่งผู้เล่น (ซึ่งตามกฎแล้วไม่จำเป็นต้องมี) และตำแหน่งการยืนในเกมรุกและเกมรับ ผู้เล่นที่ตัวสูงถือเป็นข้อได้เปรียบ ถึงแม้ว่าในการเล่นแข่งขันจะควบคุมโดยกฎกติกา การเล่นรูปแบบอื่น ๆ สำหรับเล่นผ่อนคลายก็มีการคิดขึ้น บาสเกตบอลยังเป็นกีฬาที่คนนิยมดูอีกด้วย ยุคแรกของบาสเกตบอล        ความพิเศษอย่างหนึ่งของบาสเกตบอล คือถูกคิดขึ้นโดยคนเพียงคนเดียว ต่างจากกีฬาส่วนใหญ่ที่วิวัฒนาการมาจากกีฬาอีกชนิด ช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ. 2434 ดร. เจมส์ ไนสมิท นายแพทย์ชาวอเมริกันที่เกิดในแคนาดา และเป็นผู้ดูแลสถานที่ของวิทยาลัยแห่งหนึ่งของสมาคมวายเอ็มซีเอ (ปัจจุบันคือ วิทยาลัยสปริงฟิลด์, Springfield College) ในเมืองสปริงฟิลด์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ค้นหาเกมในร่มที่ช่วยให้คนมีกิจกรรมทำระหว่างฤดูหนาวในแถบนิวอิงแลนด์ ว่ากันว่า หลังจากเขาไตร่ตรองหากิจกรรมที่ไม่รุนแรงเกินไปและเหมาะสมกับโรงยิม เขาเขียนกฎพื้นฐานและตอกตะปูติดตะกร้าใส่ลูกท้อเข้ากับผนังโรงยิม เกมแรกที่เล่นเป็นทางการเล่นในโรงยิมวายเอ็มซีเอในเดือนถัดมา คือเมื่อ 20 มกราคม พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1892) ในสมัยนั้น เล่นโดยใช้ผู้เล่นเก้าคน สนามที่ใช้ก็มีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของสนามเอ็นบีเอในปัจจุบัน ชื่อ บาสเกตบอล เป็นชื่อที่เสนอโดยนักเรียนคนหนึ่ง และก็เป็นชื่อที่นิยมมาตั้งแต่ตอนต้น เกมแพร่ขยายไปยังวายเอ็มซีเอที่อื่นทั่วสหรัฐอเมริกา ไม่นานนักก็มีเล่นกันทั่วประเทศ

 

  
        แต่ที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ว่าวายเอ็มซีเอจะเป็นผู้ที่พัฒนาและเผยแพร่เกมในตอนแรก ภายในหนึ่งทศวรรษสมาคมก็ไม่สนับสนุนกีฬานี้อีก เนื่องจากการเล่นที่รุนแรงและผู้ชมที่ไม่สุภาพ สมาคมกีฬาสมัครเล่นอื่น ๆ มหาวิทยาลัย และทีมอาชีพก็เข้ามาแทนที่ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 สหภาพการกีฬาสมัครเล่น (Amateur Athletic Union) และ สมาคมการแข่งขันกีฬาระหว่างวิทยาลัย (Intercollegiate Athletic Association) (ซึ่งปัจจุบันคือเอ็นซีดับเบิลเอ, NCAA) ได้แข่งกันเพื่อจะเป็นผู้กำหนดกติกาของเกม
        เดิมนั้นการเล่นบาสเกตบอลจะลูกฟุตบอล ลูกบอลที่ทำขึ้นสำหรับบาสเกตบอลโดยเฉพาะในตอนแรกมีสีน้ำตาล ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกสีส้มเพื่อให้ผู้เล่นและผู้ชมมองเห็นลูกได้ง่ายขึ้น และก็ใช้ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่ริเริ่มใช้ลูกบาสเกตบอลสีส้มคือนาย โทนี ฮิงเคิล (Tony Hinkle) โค้ชมหาวิทยาลัยบัตเลอร์ (Butler University)          แต่ที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ว่าวายเอ็มซีเอจะเป็นผู้ที่พัฒนาและเผยแพร่เกมในตอนแรก ภายในหนึ่งทศวรรษสมาคมก็ไม่สนับสนุนกีฬานี้อีก เนื่องจากการเล่นที่รุนแรงและผู้ชมที่ไม่สุภาพ สมาคมกีฬาสมัครเล่นอื่น ๆ มหาวิทยาลัย และทีมอาชีพก็เข้ามาแทนที่ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 สหภาพการกีฬาสมัครเล่น (Amateur Athletic Union) และ สมาคมการแข่งขันกีฬาระหว่างวิทยาลัย (Intercollegiate Athletic Association) (ซึ่งปัจจุบันคือเอ็นซีดับเบิลเอ, NCAA) ได้แข่งกันเพื่อจะเป็นผู้กำหนดกติกาของเกม         เดิมนั้นการเล่นบาสเกตบอลจะลูกฟุตบอล ลูกบอลที่ทำขึ้นสำหรับบาสเกตบอลโดยเฉพาะในตอนแรกมีสีน้ำตาล ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกสีส้มเพื่อให้ผู้เล่นและผู้ชมมองเห็นลูกได้ง่ายขึ้น และก็ใช้ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ผู้ที่ริเริ่มใช้ลูกบาสเกตบอลสีส้มคือนาย โทนี ฮิงเคิล (Tony Hinkle) โค้ชมหาวิทยาลัยบัตเลอร์ (Butler University)  ระดับมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา และลีกอื่น ๆ        ไนสมิทเป็นตัวตั้งตัวตีในการเริ่มบาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัย โดยเป็นโค้ชให้กับมหาวิทยาลัยแคนซัส (University of Kansas) เป็นเวลาหกปี ลีกระดับมหาวิทยาลัยถือกำเนิดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 และเริ่มทัวร์นาเมนต์ที่ชื่อเอ็นไอที (National Invitation Tournament, NIT) ในนิวยอร์กเมื่อปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) ช่วง พ.ศ. 2491 ถึง 2494 บาสเกตบอลระดับมหาวิทยาลัยประสบปัญหานักกีฬาโดนซื้อเพื่อผลทางการพนัน เนื่องจากกลุ่มคนที่โกงนี้เกี่ยวข้องกับเอ็นไอที ทำให้อีกทัวร์นาเมนต์ซึ่งเป็นของเอ็นซีเอเอ (NCAA) ขึ้นแซงเอ็นไอทีในแง่ความสำคัญ ปัจจุบันทัวร์นาเมนต์เอ็นซีดับเบิลเอ หรือที่นิยมเรียกกันว่า มาร์ชแมดเนส (March Madness ซึ่งแข่งในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี) ถือเป็นรายการแข่งขันระดับต้น ๆ ในสหรัฐเป็นรองแค่เพียงซูเปอร์โบลของกีฬาอเมริกันฟุตบอล และ เวิลด์ซีรีส์ของกีฬาเบสบอลเท่านั้น 
        ในคริสต์ทศวรรษ 1920 มีทีมบาสเกตบอลอาชีพเกิดขึ้นเป็นร้อยทีมตามเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ไม่มีการจัดระบบเกมอาชีพ เช่น นักกีฬาย้ายทีมไปมา ทีมแข่งกันในโรงเก็บอาวุธและโรงเต้นรำ มีลีกเกิดใหม่และล้มไป บางทีมเล่นถึงสองร้อยเกมในปีหนึ่งก็มี
        ส่วนระดับไฮสกูล (มัธยมปลาย) ของสหรัฐก็เป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน ปัจจุบันเกือบทุกโรงเรียนจะมีทีมบาสเกตบอลประจำโรงเรียน ในฤดูกาล ทั่วทั้งสหรัฐมีนักเรียนชายหญิงรวมกันถึง 1,002,797 คนเล่นเป็นตัวแทนในการแข่งขันระหว่างโรงเรียน มลรัฐอินดีแอนาและเคนทักกีเป็นสองมลรัฐที่คนให้ความสนใจบาสเกตบอลระดับไฮสกูลมากเป็นพิเศษ  เอ็นบีเอ
        ในปี พ.ศ. 2489 ถือกำเนิดลีกเอ็นบีเอ (National Basketball Association, NBA) ก่อตั้งโดยรวบรวมทีมอาชีพชั้นนำ และทำให้กีฬาบาสเกตบอลระดับอาชีพได้รับความนิยมสูงขึ้น ปี พ.ศ. 2510 มีการจัดตั้งลีกเอบีเอ (American Basketball Association, ABA) ขึ้นอีกลีกมาเป็นคู่แข่งอยู่พักหนึ่ง ลีกทั้งสองก็ควบรวมกันในปี พ.ศ. 2519
        ในเอ็นบีเอมีผู้เล่นมีชื่อเสียงหลายคน เช่น จอร์จ มิคาน (George Mikan) ผู้เล่นร่างใหญ่ที่โดดเด่นคนแรก บอบ คอสี (Bob Cousy) ผู้มีทักษะการครองบอล บิล รัสเซล (Bill Russell) ผู้ที่เก่งด้านการตั้งรับ วิลท์ แชมเบอร์เลน (Wilt Chamberlain) รวมถึง ออสการ์ รอเบิร์ตสัน (Oscar Robertson) และ เจอร์รี เวสต์ (Jerry West) ผู้ที่เก่งในรอบด้าน คารีม อับดุล-จับบาร์ (Kareem Abdul-Jabbar) และ บิล วอลตัน (Bill Walton) ผู้เล่นร่างยักษ์ในยุคหลัง จอห์น สต็อกตัน (John Stockton) ผู้ที่มีทักษะการคุมเกม ตลอดจนผู้เล่นสามคนที่ทำให้เอ็นบีเอได้รับความนิยมจนถึงขีดสุด คือ แลร์รี เบิร์ด (Larry Bird) แมจิก จอห์นสัน (Magic Johnson) และ ไมเคิล จอร์แดน (Michael Jordan)         ลีกดับเบิ้ลยูเอ็นบีเอ (Women's National Basketball Association, WNBA) สำหรับบาสเกตบอลหญิงเริ่มเล่นในปี พ.ศ. 2540 ถึงแม้ว่าในฤดูกาลแรกจะไม่ค่อยมั่นคงนัก นักกีฬามีชื่อหลายคน เช่น เชอริล สวูปส์ (Sheryl Swoopes), ลิซา เลสลี (Lisa Leslie) และ ซู เบิร์ด (Sue Bird) ช่วยเพิ่มความนิยมและระดับการแข่งขันของลีก ลีกบาสเกตบอลหญิงอื่น ๆ ล้มไปเนื่องจากความสำเร็จของดับเบิ้ลยูเอ็นบีเอ  บาสเกตบอลระดับสากล        สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ (International Basketball Federation) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีสมาชิกก่อตั้งแปดชาติ ได้แก่ อาร์เจนตินา เชคโกสโลวาเกีย กรีซ อิตาลี ลัตเวีย โปรตุเกส โรมาเนีย และสวิตเซอร์แลนด์ ในสมัยนั้นหน่วยงานดูแลเฉพาะนักกีฬาสมัครเล่น ดังนั้นในชื่อย่อจากภาษาฝรั่งเศสของสหพันธ์ หรือ ฟีบา' (FIBA) ตัวอักษร '"A" ย่อมาจากคำว่า "amateur" ซึ่งแปลว่าสมัครเล่น         บาสเกตบอลถูกบรรจุในกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2479 ถึงแม้ว่าเคยจัดการแข่งขันเป็นกีฬาสาธิตก่อนหน้านั้นนานมากเมื่อ พ.ศ. 2447 สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศที่เก่งกีฬานี้ และทีมชาติสหรัฐพลาดเหรียญทองเพียงสามครั้งเท่านั้น โดยครั้งแรกที่พลาดแข่งที่มิวนิกในปี พ.ศ. 2515 โดยแพ้ให้กับทีมสหภาพโซเวียต การแข่งขันเวิลด์แชมเปียนชิปส์ (World Championships) สำหรับบาสเกตบอลชายเริ่มแข่งปี พ.ศ. 2493 ที่ประเทศอาร์เจนตินา ส่วนประเภทหญิงเริ่มแข่งสามปีถัดมาในประเทศชิลี กีฬาบาสเกตบอลหญิงเริ่มแข่งในโอลิมปิกปี พ.ศ. 2519 โดยมีทีมที่โดดเด่นเช่น บราซิล ออสเตรเลีย และ สหรัฐอเมริกา         ฟีบา ยกเลิกการแบ่งผู้เล่นเป็นสมัครเล่นและอาชีพเมื่อ พ.ศ. 2532 และปี พ.ศ. 2535 ผู้เล่นอาชีพก็ได้แข่งในกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกากลับมาอีกครั้งโดยการส่งดรีมทีม ที่ประกอบด้วยผู้เล่นจากเอ็นบีเอ แต่ปัจจุบันประเทศอื่นสามารถพัฒนาตามทันสหรัฐอเมริกา ทีมที่มีผู้เล่นเอ็นบีเอล้วน ๆ ได้ที่หกในการแข่งเวิลด์แชมเปียนชิปส์ในปี พ.ศ. 2545 ที่เมืองอินดีอานาโปลิส ตามหลัง เซอร์เบียและมอนเตเนโกร อาร์เจนตินา เยอรมนี นิวซีแลนด์ และ สเปน ในโอลิมปิกปี พ.ศ. 2547 สหรัฐแพ้เป็นครั้งแรกนับจากที่เริ่มใช้ผู้เล่นอาชีพ โดยพ่ายให้กับทีมชาติเปอร์โตริโก และสุดท้ายได้เป็นอันดับสาม รองจากอาร์เจนตินา และอิตาลี         ปัจจุบัน มีการแข่งขันทัวร์นาเมนต์บาสเกตบอลทั่วโลกในทุกระดับอายุ ตั้งแต่ห้าจนถึงหกสิบปี ระดับไฮสกูล (มัธยมปลาย) มหาวิทยาลัย ไปจนถึงระดับลีกอาชีพ และมีแข่งทั้งประเภทชายและหญิง         ความนิยมกีฬาชนิดนี้ทั่วโลกสังเกตได้จากสัญชาติของผู้เล่นในเอ็นบีเอ จะสามารถพบนักกีฬาจากทั่วทุกมุมโลก สตีฟ แนช (Steve Nash) ผู้ที่ได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าในเอ็นบีเอปี พ.ศ. 2548 เป็นชาวแคนาดาที่เกิดที่ประเทศแอฟริกาใต้ ดาราดังของทีมดัลลัส แมฟเวอริกส์ เดิร์ก โนวิตสกี (Dirk Nowitzki) ก็เกิดในประเทศเยอรมนีและเล่นให้กับทีมชาติเยอรมนี         อีกตัวอย่างซึ่งแสดงให้เห็นการพัฒนาถึงระดับโลก คือทีมออลทัวร์นาเมนต์ ซึ่งประกอบด้วยผู้เล่นยอดเยี่ยมจากการแข่งเวิลด์แชมเปียนชิปส์ปี พ.ศ. 2545 ได้แก่ เดิร์ก โนวิตสกี, เพยา สโตยาโควิช (Peja Stojakovic) จากเซอร์เบียและมอนเตเนโกร, มานู จิโนบิลี (Manu Ginobili) จากอาร์เจนตินา, เหยา หมิง (Yao Ming) จากจีน และ เพโร คาเมรอน (Pero Cameron) จากนิวซีแลนด์ ทุกคนยกเว้นคาเมรอนเป็นหรือจะเป็นผู้เล่นในเอ็นบีเอในเวลาต่อมา  
กฎและกติกา        กฎเกี่ยวกับขนาดและเวลาที่ใช้แข่ง อาจแตกต่างกันขึ้นกับทัวร์นาเมนต์หรือองค์กรที่จัดการแข่งขัน รายละเอียดในส่วนนี้จะใช้ของสากลและเอ็นบีเอเป็นหลัก         จุดมุ่งหมายของเกมคือ การทำคะแนนให้ได้มากกว่าคู่แข่งโดยการโยนลูกเข้าห่วงของคู่ต่อสู้จากด้านบน ในขณะที่ป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู่โยนลูกลงห่วงของฝ่ายตน การโยนลูกในลักษณะนี้เรียกว่าการชู้ต (หรือช็อต shot) การชู้ตที่เข้าห่วงจะได้สองคะแนน แต่ถ้าผู้ชู้ตอยู่เลยเส้นสามคะแนนออกไปในขณะชู้ตลูกก็จะได้สามคะแนน เส้นสามคะแนนจะอยู่ห่างจากห่วงเป็นระยะ 6.25 เมตร (20 ฟุต 5 นิ้ว) ในกติกาสากล และ 23 ฟุต 9 นิ้ว (7.24 เมตร) ในกติกาเอ็นบีเอ การชู้ตลูกโทษหรือที่เรียกว่า ฟรีโทรว์ (free throw) เมื่อฟาล์วมีค่าหนึ่งคะแนน            กติกาการเล่น        เกมจะแบ่งการเล่นเป็น 4 ควาเตอร์ (quarter) แต่ละควาเตอร์มี 10 นาที (สากล) หรือ 12 นาที (เอ็นบีเอ) ช่วงพักครึ่งนาน 15 นาที ส่วนพักอื่นๆ ยาว 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) ยาว 5 นาที ทีมจะสลับด้านสนามเมื่อเริ่มครึ่งหลัง เวลาจะเดินเฉพาะระหว่างที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดเดินเมื่อเกมหยุด เช่น เมื่อเกิดการฟาล์ว หรือระหว่างการชู้ตลูกโทษ เป็นต้น ดังนั้นเวลาทั้งหมดที่ใช้แข่งมักยาวกว่านี้มาก (ประมาณสองชั่วโมง) 
 
  
 

  ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และจะมีผู้เล่นสำรองสูงสุดทีมละเจ็ดคน สามารถเปลี่ยนตัวได้ไม่จำกัดและเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุด ทีมยังมีโค้ชที่ดูแลทีมและวางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้ช ผู้จัดการทีม นักสถิติ แพทย์ และเทรนเนอร์         เครื่องแบบนักกีฬาสำหรับทีมชายและหญิงตามมาตรฐานได้แก่ กางเกงขาสั้นและเสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รองเท้าเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า อาจมีชื่อทีม ชื่อนักกีฬา และสปอนเซอร์ ปรากฏบนชุดด้วยก็ได้         แต่ละทีมจะได้เวลานอกจำนวนหนึ่งสำหรับให้โค้ชและผู้เล่นปรึกษากัน มักยาวไม่เกินหนึ่งนาที ยกเว้นเมื่อต้องการโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสด         เกมควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ กรรมการโต๊ะมีหน้าที่บันทึกคะแนน ควบคุมเวลา บันทึกจำนวนฟาล์วผู้เล่นและฟาล์วทีม ดูเรื่องการเปลี่ยนตัว โพเซสซันแอร์โรว์ และช็อตคล็อก ข้อบังคับ        ลูกสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเข้าหาห่วงโดยการชู้ต การส่งระหว่างผู้เล่น การขว้าง การเคาะลูก การกลิ้งลูก หรือ การเลี้ยงลูก (โดยการให้ลูกกระเด้งกับพื้นขณะวิ่ง ภาษาอังกฤษเรียก ดริบบลิง, dribbling)         ลูกจะต้องอยู่ในสนาม ทีมสุดท้ายที่สัมผัสลูกก่อนที่ลูกจะออกนอกสนามจะสูญเสียการครองบอล ผู้เล่นห้ามขยับขาทั้งสองพร้อมกันในขณะเลี้ยงลูก (เรียกว่า แทรเวลลิง, travelling) เลี้ยงลูกพร้อมกันทั้งสองมือ หรือเลื้ยงลูกแล้วจับลูกแล้วเลี้ยงลูกต่อ (เรียกว่า ดับเบิล-ดริบบลิง, double-dribbling) เวลาเลี้ยงมือของผู้เล่นต้องอยู่ด้านบนของลูก มิฉะนั้นจะนับว่า ถือลูก (carrying) ถ้าทีมพาลูกไปยังแดนของฝ่ายตรงข้ามของสนาม (frontcourt) แล้ว ห้ามนำลูกกลับเข้าแดนตนเอง (backcourt) อีก ห้ามเตะหรือชกลูก ถ้าทำผิดกฎข้อห้ามเหล่านี้จะเสียการครองบอล อีกฝ่ายจะเป็นฝ่ายได้ลูกไปเล่น แต่ถ้าฝ่ายรับทำผิดกฎฝ่ายที่ครองบอลจะได้เริ่มช็อตคล็อกใหม่         ผู้เล่นจะต้องนำลูกจากแดนตัวเองข้ามเข้าแดนตรงข้ามภายในเวลาที่กำหนด (8 วินาทีทั้งในกติกาสากลและเอ็นบีเอ) ต้องชู้ตภายในเวลา 24 วินาที ถือลูกขณะที่ถูกยืนคุมโดยฝ่ายตรงข้ามไม่เกิน 5 วินาที อยู่ในบริเวณใต้แป้นไม่เกิน 3 วินาที กฎเหล่านี้มีไว้เป็นรางวัลแก่การตั้งรับที่ดี         ห้ามผู้เล่นรบกวนห่วง หรือ ลูกขณะเคลื่อนที่คล้อยลงมายังห่วง หรือ ขณะอยู่บนห่วง (ในเอ็นบีเอ ยังรวมกรณีลูกอยู่เหนือห่วงพอดี) การฝ่าฝืนข้อห้ามนี้เรียก โกลเทนดิง (goaltending) ถ้าฝ่ายรับทำผิด จะถือว่าการชู้ตสำเร็จและอีกฝ่ายได้คะแนน แต่ถ้าฝ่ายรุกทำผิด จะไม่คิดคะแนนการชู้ตนี้ และเสียการครองบอล  ฟาล์ว        การเล่นที่กระทบกระทั่งผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามให้อีกฝ่ายเสียเปรียบและไม่เป็นธรรม ถือเป็นข้อห้ามที่ถ้าฝ่าฝืนจะนับเป็น ฟาล์ว (foul) ผู้เล่นตั้งรับมักจะเป็นคนทำฟาล์วแต่ผู้เล่นฝ่ายรุกก็สามารถทำฟาล์วได้เช่นเดียวกัน คนที่ถูกฟาล์วจะได้ส่งลูกจากข้างสนาม (inbound) เพื่อเล่นต่อ หรือได้ชู้ตลูกโทษ หรือ ฟรีโทร (free throw) ถ้าการฟาล์วเกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูก การชู้ตลูกโทษลงห่วงครั้งหนึ่งจะได้หนึ่งคะแนน ผู้เล่นจะได้ชู้ตลูกโทษหนึ่งกี่ครั้งขึ้นกับว่าลูกที่ผู้เล่นชู้ตตอนถูกฟาล์วนั้นได้แต้มหรือไม่ เวลาชู้ตลูกโทษผู้เล่นต้องยืนหลังเส้นลูกโทษซึ่งห่างจากห่วง 4.5 เมตร (15 ฟุต)         การที่จะมีฟาล์วหรือไม่อยู่วิจารณญาณของกรรมการผู้ตัดสิน ว่าผู้เล่นเกิดการได้เปรียบในการเล่นอย่างขาวสะอาดหรือไม่ ทำให้บางครั้งมีความเห็นขัดแย้งกับการเรียกฟาล์วของกรรมการ การกระทบกระทั่งในกีฬาบาสเกตบอลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และการเรียกฟาล์วอาจแตกต่างกันในแต่ละเกม ลีก หรือแม้กระทั่งกรรมการตัดสินแต่ละคน ผู้เล่นหรือโค้ชซึ่งแสดงน้ำใจนักกีฬาที่แย่ เช่น เถียงกับกรรมการ หรือ ชกกับผู้เล่นอื่น อาจโดนเทคนิคัลฟาล์ว หรือ ฟาล์วเทคนิค (technical foul) ซึ่งถูกลงโทษโดยให้อีกทีมได้ชู้ตลูกโทษ (รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าเกิดเหตุการณ์ซ้ำก็อาจถูกไล่ออกจากสนามได้ ฟาล์วที่เกิดจากการเล่นที่รุนแรงเกินไป จะเรียกว่าฟาล์วขาดน้ำใจนักกีฬา หรือ ฟาล์วรุนแรง (unsportsmanlike foul ในสากลหรือ flagrant foul ในเอ็นบีเอ) ก็จะได้รับโทษที่สูงขึ้นกว่าฟาล์วธรรมดา บางครั้งอาจถูกให้ออกจากสนามด้วย         ถ้าทีมทำฟาล์วเกินกว่าที่กำหนด (ในหนึ่งควาเตอร์ หรือ ในครึ่งเกม) ซึ่งก็คือ สี่ครั้งสำหรับกติกาสากลและเอ็นบีเอ ทีมตรงข้ามสามารถชู้ตลูกโทษสำหรับฟาล์วที่เกิดขึ้นครั้งต่อ ๆ ไปจากนั้นจนกว่าจะจบช่วง ไม่ว่าการฟาล์วจะเกิดขึ้นขณะกำลังชู้ตลูกหรือไม่ (รายละเอียดขึ้นอยู่กับลีก) ถ้าผู้เล่นฟาล์วรวมห้าครั้งนับเทคนิคัลฟาล์วด้วย (บางลีก รวมถือเอ็นบีเอ ยอมให้ฟาล์วได้หกครั้ง) ผู้เล่นนั้นไม่สามารถเล่นในเกมได้อีก เรียกว่าฟาล์วเอาท์ (foul out)            
    

    อุปกรณ์ที่จำเป็นจริง ๆ ในกีฬาบาสเกตบอลมีเพียงลูกบอลและสนามที่มีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้าน การเล่นในระดับแข่งขันต้องใช้อุปกรณ์อื่น เช่น นาฬิกา กระดาษบันทึกคะแนน สกอร์บอร์ด โพเซสซันแอร์โรว์ ระบบหยุดนาฬิกาด้วยนกหวีด เป็นต้น         ลูกบาสเกตบอลชายมีเส้นรอบวงประมาณ 30 นิ้ว (76 เซนติเมตร) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 5 ออนส์ (ุ600 กรัม) ลูกบาสเกตบอลหญิงมีเส้นรอบวงประมาณ 29 นิ้ว (73 ซม.) และหนักประมาณ 1 ปอนด์ 3 ออนส์ (540 กรัม) สนามบาสเกตบอลมาตรฐานในเกมสากลมีขนาด 28 คูณ 15 เมตร (ประมาณ 92 คูณ 49 ฟุต) ส่วนในเอ็นบีเอมีขนาด 94 คูณ 50 ฟุต (29 คูณ 15 เมตร) พื้นสนามส่วนใหญ่ทำด้วยไม้         ห่วงที่ทำจากเหล็กหล่อ พร้อมทั้งเน็ต และแป้น ติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านของสนาม ในการแข่งขันเกือนทุกระดับ ขอบห่วงด้านบนอยู่สูงจากพื้น 10 ฟุต (3.05 เมตร) พอดีและถัดเข้ามาจากเส้นหลัง 4 ฟุต (1.2 เมตร) ถึงแม้ว่าขนาดของสนามและแป้นอาจแตกต่างกันออกไป แต่ความสูงของห่วงถือว่าสำคัญมาก ถึงตำแหน่งจะคลาดเคลื่อนไปไม่เพียงกี่นิ้วก็มีผลต่อการชู้ตอย่างมาก  
ในปี ค.ศ.1891 Dr.James A.Naismith ครูสอนพลศึกษาของ The International Y.M.C.A. Training School อยู่ที่เมือง Springfield รัฐ Massachusetts ได้รับมอบหมายจาก Dr.Gulick ให้เป็นผู้คิดค้นการเล่นกีฬาในร่มที่เหมาะสมที่จะใช้เล่นในช่วงฤดูหนาว Dr.James ได้พยายามคิดค้นดัดแปลงการเล่นกีฬาอเมริกันฟุตบอลและเบสบอลเข้าด้วยกันและให้มีการเล่นที่เป็นทีม

ในครั้งแรก Dr.James ได้ใช้ลูกฟุตบอลและตะกร้าเป็นอุปกรณ์สำหรับให้นักกีฬาเล่น เขาได้นำตะกร้าลูกพีชไปแขวนไว้ที่ฝาผนังของห้องพลศึกษา แล้วให้ผู้เล่นพยายามโยนลูกบอลลงในตะกร้านั้นให้ได้ โดยใช้เนื้อที่สนามสำหรับเล่นให้มีขนาดเล็กลงแบ่งผู้เล่นออกเป็นข้างละ 7 คน ผลการทดลองครั้งแรกผู้เล่นได้รับความสนุกสนานตื่นเต้น แต่ขาดความเป็นระเบียบ มีการชนกัน ผลักกัน เตะกัน อันเป็นการเล่นที่รุนแรง

ในการทดลองนั้น ต่อมา Dr.James ได้ตัดการเล่นที่รุนแรงออกไป และได้ทำการวางกติกาห้ามผู้เล่นเข้าปะทะถูกเนื้อต้องตัวกัน นับได้ว่าเป็นหลักเบื้องต้นของการเล่นบาสเกตบอล Dr.James จึงได้วางกติกาการเล่นบาสเกตบอลไว้เป็นหลักใหญ่ๆ 4 ข้อ ด้วยกัน คือ

1. ผู้เล่นที่ครอบครองลูกบอลอยู่นั้นจะต้องหยุดอยู่กับที่ห้ามเคลื่อนที่ไปไหน
2. ประตูจะต้องอยู่เหนือศีรษะของผู้เล่น และอยู่ขนานกับพื้น
3. ผู้เล่นสามารถครอบครองบอลไว้นานเท่าใดก็ได้ โดยคู่ต่อสู้ไม่อาจเข้าไปถูกต้องตัวผู้เล่นที่ครอบครองบอลได้
4. ห้ามการเล่นที่รุนแรงต่างๆโดยเด็ดขาด ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายจะต้องไม่กระทบกระแทกกัน

เมื่อได้วางกติกาการเล่นขึ้นมาแล้วก็ได้นำไปทดลอง และพยายามปรับปรุงแก้กไขระเบียบดีขึ้น เขาได้พยายามลดจำนวนผู้เล่นลงเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน จนในที่สุดก็ได้กำหนดตัวผู้เล่นไว้ฝ่ายละ 5 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมที่สุดกับขนาดเนื้อที่สนาม

Dr.James ได้ทดลองการเล่นหลายครั้งหลายหน และพัฒนาการเล่นเรื่อยมา จนกระทั่งเขาได้เขียนกติกาการเล่นไว้เป็นจำนวน 13 ข้อ ด้วยกัน และเป็นต้นฉบับการเล่นที่ยังคงปรากฏอยู่บนกระดานเกียรติยศในโรงเรียนพลศึกษา ณ Springfield อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้

กติกา 13 ข้อ ของ Dr.James มีดังนี้
1. ผู้เล่นห้ามถือลูกบอลแล้ววิ่ง
2. ผู้เล่นจะส่งบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้
3. ผู้เล่นจะเลี้ยงบอลไปทิศทางใดก็ได้ โดยใช้มือเดียวหรือสองมือก็ได้
4. ผู้เล่นต้องใช้มือทั้งสองเข้าครอบครองบอล ห้ามใช้ร่างกายช่วยในการครอบครองบอล
5. ในการเล่นจะใช้ไหล่กระแทก หรือใช้มือดึง ผลัก ตี หรือทำการใดๆให้ฝ่ายตรงข้ามล้มลงไม่ได้ ถ้าผู้เล่นฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง ถ้า ฟาวล์ 2 ครั้ง หมดสิทธิ์เล่น จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำประตูกันได้จึงจะกลับมาเล่นได้อีก ถ้าเกิดการบาดเจ็บระหว่างการแข่งขัน จะไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น
6. ห้ามใช้ขาหรือเท้าแตะลูก ถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง
7. ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำฟาวล์ติดต่อกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู
8. ประตูที่ทำได้หรือนับว่าได้ประตูนั้น ต้องเป็นการโยนบอลให้ลงตะกร้า ฝ่ายป้องกันจะไปยุ่งเกี่ยวกับประตูไม่ได้เด็ดขาด
9. เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำลูกบอลออกนอกสนาม ให้อีกฝ่ายหนึ่งส่งลูกเข้ามาจากขอบสนามภายใน 5 วินาที ถ้าเกิน 5 วินาที ให้เปลี่ยนส่ง และถ้าผู้เล่นฝ่ายใดพยายามถ่วงเวลาอยู่เสมอให้ปรับเป็นฟาวล์
10. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าผู้เล่นคนใดฟาวล์ และลงโทษให้ผู้เล่นหมดสิทธิ์
11. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าลูกใดออกนอกสนาม และฝ่ายใดเป็นฝ่ายส่งลูกเข้าเล่น และจะทำหน้าที่เป็นผู้รักษาเวลาบันทึกจำนวนประตูที่ทำได้ และทำหน้าที่ทั่วไปตามวิสัยของผู้ตัดสิน
12. การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ครึ่งๆละ 20 นาที
13. ฝ่ายที่ทำประตูได้มากที่สุดเป็นผู้ชนะ ในกรณีคะแนนเท่ากันให้ต่อเวลาออกไป และถ้าฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนถือว่าเป็นฝ่ายชนะ

แม้ว่ากติกาการเล่นจะกำหนดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้เล่นเพื่อความสนุกสนานในแง่นันทนาการ แต่กีฬานี้ก็ได้รับความนิยมจากเยาวชนอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่มีผู้คนเป็นจำนวนมากเห็นว่าเป็นกีฬาสำหรับผู้อ่อนแอ และพยายามที่จะพิสูจน์ความเห็นนี้ด้วยการหาเรื่องทะเลาะวิวาทกับผู้เล่นบาสเกตบอลก็ตาม อย่างไรก็ดี ความรู้สึกเช่นนี้ค่อยๆเริ่มจางหายไปเมื่อความรวดเร็วและความแม่นยำในการเล่นบาสเกตบอล ได้สร้างความประทับใจและดึงดูดความสนใจของผู้คนเพิ่มมากขึ้น และได้แพร่กระจายไปทางตะวันออกของอเมริกาอย่างรวดเร็วและเมื่อโรงเรียนต่างๆได้ตระหนักถึงความสำคัญของกีฬาชนิดนี้ จึงพากันนิยมเล่นไปทั่วประเทศ

ก่อนปี ค.ศ. 1915 แม้ว่าบาสเกตบอลจะเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเป็นอย่างมากก็ตาม แต่ก็จำกัดเป็นเพียงการเล่นเพื่อออกกำลังกายในห้องพลศึกษาเท่านั้น ไม่มีองค์กรใดรับผิดชอบจัดการเล่นเป็นกิจลักษณะ ยกเว้นองค์กรบาสเกตบอลอาชีพที่เกิดขึ้นเพียง 2-3 องค์กรแล้วก็เลิกล้มไป ฉะนั้นการเล่นบาสเกตบอลในแต่ละที่แต่ละแห่งจึงต่างก็ใช้กติกาผิดแผกแตกต่างกันออกไป ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนากีฬาบาสเกตบอลเป็นอย่างมาก

ดังนั้นในปี ค.ศ. 1915 สมาคม Y.M.C.A. สมาคมกีฬามหาวิทยาลัยแห่งชาติและสมาพันธ์กีฬาสมัครเล่น ได้ร่วมประชุมเพื่อร่างกติกาการเล่นบาสเกตบอลขึ้นมาเพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน กติกานี้ไดใช้สืบมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1938 และได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 11 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี โดยคณะกรรมการโอลิมปิกนานาชาติเป็นผู้พิจารณา

สหรัฐอเมริกายอมรับการเล่นบาสเกตบอลเป็นกีฬาประจำชาติเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ. 1892 ซึ่งได้มีการเล่นบาสเกตบอลอย่างเป็นทางการขึ้นเป็นครั้งแรก สมาคม Y.M.C.A. ได้นำกีฬาบาสเกตบอลไปเผยแพร่ในทุกส่วนของโลก ได้แพร่เข้าไปในประเทศจีนและอินเดียในราวปี ค.ศ. 1894, ฝรั่งเศส ในราวปี ค.ศ. 1895, ญี่ปุ่นราวปี ค.ศ. 1900 เกือบจะกล่าวได้ว่า บาสเกตบอลมีการเล่นในทุกประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 และคาดว่าก่อนปี ค.ศ. 1941 มีประชาชนทั่วโลกเล่นกีฬาบาสเกตบอลเป็นจำนวนถึง 20 ล้านคน ในขณะนี้มีผู้นิยมเล่นบาสเกตบอลกันทั่วทุกมุมโลก ไม่น้อยกว่า 52 ประเทศ นอกจากนี้ได้มีการแปลกติกาการเล่นเป็นภาษาต่างๆมากกว่า 30 ภาษา
ประวัติบาสเกตบอลในประเทศไทย
กีฬาบาสเกตบอลแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในสมัยใด ปีใดนั้น มิได้มีหลักฐานที่จะปรากฏยืนยันแน่ชัดได้ ทราบแต่เพียงว่า ในปี พ.ศ.2477 นายนพคุณ พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนที่โรงเรียนมัธยมวัดบพิตรพิมุข ได้ช่วยเหลือกรมพลศึกษาจัดแปลกติกาการเล่นบาสเกตบอลขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2478 กระทรวงธรรมการ ได้จัดการอบรมครูจังหวัดต่างๆจำนวน 100 คน ภายในระยะเวลา 1 เดือน และได้รับความช่วยเหลือจาก พ.ต.อ. หลวงชาติตระการโกศล ผู้ซึ่งมีความรู้และเชี่ยวชาญทางการเล่นกีฬาบาสเกตบอลคนหนึ่ง ทั้งได้>เคยเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อครั้งท่านกำลังศึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริกา มาเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีเล่นบาสเกตบอลแก่บรรดาครูที่เข้ารับการอบรม ต่อมาก็เป็นผลทำให้กีฬาบาสเกตบอลแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2496 สมาคมบาสเกตบอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามแบบอันถูกต้อง โดยจดทะเบียนที่สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และได้กลายมาเป็นสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยในปีเดียวกันนั้นเอง และในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 สมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทยก็ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศ
แนะนำอุปกรณ์บาสเกตบอล

สนาม - ขนาด

สนามที่ใช้เล่นบาสเกตบอลจะต้องเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นเรียบแข็งปราศจากสิ่งกีดขวางใด ๆ ซึ่งสนามที่ใช้แข่งขันโอลิมปิกและชิงแชมเปี้ยนโลกจะต้องมีขนาด ยาว 28 เมตร และกว้าง 15 เมตร โดยวัดจากขอบในของเส้นเขตสนาม
สำหรับการแข่งขันระดับอื่นๆ ในองค์กรภายใต้การควบคุมของฟีบ้า (FIBA) เช่น คณะกรรมการบริหารของโซน (Zone) ในกรณีการแข่งขัน ระดับโซน และระดับทวีปหรือสมาคมกีฬาบาสเกตบอลของชาตินั้นๆ ในกรณีการแข่งขันภายในประเทศ จะมีอำนาจในการรับรองสนามแข่งขันซึ่งมีขนาดตามกำหนดดังต่อไปนี้คือ ความยาวลดลงกว่ามาตรฐานได้ไม่เกิน 4 เมตร และความกว้างลดลงกว่ามาตรฐานได้ไม่เกิน 2 เมตร ทั้งนี้อัตราส่วนของการลดขนาดของสนามต้องเป็นสัดส่วนต่อกัน
สนามที่จะสร้างขึ้นใหม่ต้องมีขนาดตามที่กำหนด เพื่อใช้แข่งขันระดับสำคัญๆ ของฟีบ้า คือ ขนาด 28 x 15 เมตร สำหรับเพดานนั้นให้มีความสูงอย่างน้อย 7 เมตร และพื้นสนามควรได้รับแสงสว่างเพียงพอและทั่วถึงกัน ทั้งนี้ควรติดตั้งโคมไฟโดยมิให้ปิดบังสายตาของผู้เล่นขนาดและพื้นของสนามต้องตรงกับเกณฑ์ที่ระบุไว้ เพื่อใช้แข่งขันระดับสำคัญๆ ของฟีบ้า

 

เส้นขอบสนาม
สนามแข่งขันต้องมีเส้นขอบสนามอย่างชัดเจน โดยทุกจุดต้องมีระยะห่างจากคนดู ป้ายโฆษณา หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ อย่างน้อย 2 เมตร เส้นขอบสนามทางด้านยาวมีชื่อเรียกว่า เส้นข้าง และเส้นขอบสนามทางด้านสั้นมีชื่อเรียกว่า เส้นหลัง เส้นต่างๆ ที่กล่าวในข้อนี้ และในข้ออื่นๆ จะต้องเห็นได้อย่างชัดเจน และมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร

 

วงกลมกลาง
วงกลมกลางต้องมีรัศมี 1.80 เมตร และอยู่ที่กลางสนาม ให้วัดรัศมีจากขอบนอกของเส้นรอบวง

 

เส้นกลาง แดนหน้า และแดนหลัง
เส้นกลางต้องลากให้ขนานกับเส้นหลังจากจุดกึ่งกลางของเส้นข้าง และต้องยื่นเลยเส้นข้างออกไปอีกข้างละ 15 เซนติเมตร
แดนหน้าของทีม คือส่วนของสนามระหว่างเส้นหลังที่อยู่ด้านหลังของห่วงประตูของคู่แข่งขันกับขอบด้านใกล้ของเส้น กลาง สำหรับส่วนที่เหลือของสนามรวมทั้งเส้นกลางคือ แดนหลังของทีม

 

เขตยิงประตูเพื่อทำ 3 คะแนน
เขตยิงประตูเพื่อทำ 3 คะแนน คือส่วนของพื้นสนามที่มีเส้นแสดงเป็นเส้นโค้ง 2 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะเป็นเส้นครึ่งวงกลม ขนาดรัศมี 6.25 เมตร โดยวัดจากขอบนอกของเส้นครึ่งวงกลม ทั้งนี้จะมีศูนย์กลางอยู่ที่จุดของเส้นดิ่งที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของ ห่วงประตูลงจดถึงพื้นสนาม และลากเส้นที่ต่อจากปลายเส้นครึ่งวงกลมให้ขนานกับเส้นข้างบรรจบกับเส้นหลัง ระยะห่างระหว่างจุด กึ่งกลางของเส้นหลังวัดจากขอบในไปยังจุดศูนย์กลางของครึ่งวงกลมคือ 1.575 เมตร

 

เขต 3 วินาที (เขตกำหนดเวลา) เขตโยนโทษ และเส้นโยนโทษ
เขต 3 วินาที คือพื้นที่ในสนามที่มีเขตตั้งแต่เส้นหลัง เส้นโยนโทษ และเส้นที่ลากจากเส้นโยนโทษไปบรรจบกับเส้นหลังจากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังไปสิ้นสุดที่ขอบนอกของเส้นแนวยืนการโยนโทษ ระยะห่าง 3 เมตร
เขตโยนโทษ คือพื้นที่กำหนดที่ต่อจากเขต 3 วินาที เข้าไปในสนามโดยทำครึ่งวงกลมรัศมี 1.80 เมตร และมีจุดศูนย์กลางที่กึ่งกลางของเส้นโยนโทษ ให้ทำครึ่งวงกลมขนาดเดียวกัน แต่ตีเส้นปะเข้าไปในเขต 3 วินาทีด้วย
ช่องยืนตามแนวการโยนโทษ เป็นช่องที่ผู้เล่นยืนขณะมีการโยนโทษ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คือ
เส้นแรกของช่องที่จะต้องอยู่ห่างจากขอบในของเส้นหลัง 1.75 เมตร วัดตามแนวของเส้นแนวยืนโยนโทษ พื้นที่ของช่องแรกจะมีเส้นกำหนดห่างจากเส้นแรก 85 เซนติเมตร ส่วนช่องที่สองจะอยู่ถัดจากเขตปลอดผู้เล่น (Neutral Zone) ซึ่งมีขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ส่วนช่องที่สองจะอยู่ถัดจากเขตปลอดผู้เล่น และมีขนาดกว้าง 85 เซนติเมตร ถัดจากเส้นกำหนดช่องที่สองจะเป็นช่องที่สามซึ่งมีขนาด 85 เซนติเมตรเช่นเดียวกัน เส้นที่แสดงช่องต่างๆ เหล่านี้มีความยาว 10 เซนติเมตร และกว้าง 5 เซนติเมตรตั้งฉากกับเส้นแนวยืนการโยนโทษ และให้ลากจากขอบนอกของพื้นที่เขตกำหนดเวลา
เส้นโยนโทษ จะต้องลากให้ขนานกับเส้นหลัง โดยมีขอบนอกห่างจากขอบในของเส้นหลัง 5.80 เมตร และยาว 3.60 เมตรจุดกึ่งกลางของเส้นโยนโทษต้องอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันกับจุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้งสองเส้น

 

พื้นที่นั่งของทีม พื้นที่นั่งของทีม กำหนด ณ พื้นที่นอกเขตสนามทางด้านเดียวกันกับโต๊ะเจ้าหน้าที่ พื้นที่กำหนดคือเส้นตรงยาว 2 เมตร ที่ลากต่อจากเส้นหลัง และเส้นตรงยาว 2 เมตร ลากจากจุดที่ห่างจากเส้นกลาง 5 เมตร ให้ตั้งฉากกับเส้นข้าง เส้นตรง 2 เมตรจะต้องมีสีแตกต่างจากสีของเส้นข้างและเส้นหลัง

 

กระดานหลัง (แป้น) ขนาด วัสดุ และตำแหน่งที่ติดตั้ง กระดานหลังจะต้องทำจากไม้เนื้อแข็งหนา 3 เซนติเมตร หรือเป็นวัสดุโปร่งใสที่เหมาะสม (แผ่นเดียวและมีความหนาแน่นเช่นเดียวกับไม้เนื้อแข็ง)
การแข่งขันระดับโอลิมปิกและชิงแชมเปี้ยนโลก กระดานหลังจะต้องมีขนาดความยาว 1.80 เมตร กว้าง 1.05 เมตรและขอบล่างสูงจากพื้นสนาม 2.90 เมตร
สำหรับการแข่งขันระดับอื่นๆ ให้องค์กรภายใต้การควบคุมของฟีบ้า เช่น คณะกรรมการบริหารของโซนในกรณีการแข่งขันของโซนหรือทวีป หรือสมาคมกีฬาบาสเกตบอลของชาตินั้นๆ สำหรับการแข่งขันของโซนหรือทวีป หรือสมาคมกีฬาบาสเกตบอลของชาตินั้นๆ สำหรับการแข่งขันภายในประเทศ จะมีอำนาจในการรับรองขนาดของกระดานหลัง ซึ่งจะเป็นขนาดยาว 1.80 เมตร กว้าง 1.20 เมตร ขอบล่างสูงจากพื้นสนาม 2.75 เมตร หรือขนาดยาว 1.80 เมตร กว้าง 1.05 เมตร และมีขอบล่างสูงจากพื้นสนาม 2.90 เมตรก็ได้
ส่วนกระดานหลังที่ติดตั้งใหม่ทั้งหมด จะต้องมีขนาดเท่ากับที่ระบุไว้สำหรับการแข่งขันระดับโอลิมปิก และชิงแชมเปี้ยนโลก คือขนาด 1.80 x 1.05 เมตร พื้นด้านหน้าของกระดานหลังต้องเรียบและมีสีขาว ยกเว้นกระดานหลังที่เป็นแบบโปร่งใส ให้มีเครื่องหมายต่อไปนี้ที่พื้นด้านหน้าของกระดานหลังคือ ทำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหลังห่วง โดยมีเส้นขอบหนา 5 เซนติเมตร มีขนาดยาวตามแนวนอน 59 เซนติเมตร และกว้าง 45 เซนติเมตร ทั้งนี้ให้ขอบบนเส้นล่างของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ในระดับเดียวกันกับห่วง และขอบของกระดานหลังจะต้องตีกรอบด้วยเส้นหนา 5 เซนติเมตร ถ้าเป็นแบบโปร่งใสให้ใช้สีขาวทำกรอบ นอกจากนั้นให้ใช้สีดำทำกรอบ ทั้งขอบของกระดานหลัง และสี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในกระดานหลังจะต้องมีสีเดียวกัน
กระดานหลังจะต้องติดตั้งอย่างมั่นคงที่ด้านเส้นหลังของสนามแต่ละข้าง และยื่นเข้าไปในสนามให้ตั้งฉากกับพื้นสนาม และขนานกับเส้นหลัง จุดศูนย์กลางของกระดานหลังห่างจากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังวัดจากขอบใน 1.20 เมตร ส่วนเสาที่ยึดกระดานหลังจะต้องห่างจากขอบนอกของเส้นหลังอย่างน้อย 1 เมตร และทาสีสดใสตัดกับสีด้านหลัง เพื่อให้ผู้เล่นมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ขอบล่างของกระดานหลังให้บุขอบล่างของกระดานหลัง และขอบด้านข้างสูงขึ้นไปอย่างน้อย 35 เซนติเมตร พื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังของกระดานหลังจะต้องถูกบุอย่างน้อย 2 เซนติเมตรต่อจากขอบล่าง ทั้งนี้วัสดุที่ใช้บุจะต้องหนาไม่ต่ำกว่า 2 เซนติเมตร ส่วนขอบล่างของกระดานหลังจะต้องบุด้วยวัสดุที่หนาไม่ต่ำกว่า 5 เซนติเมตร อุปกรณ์ที่ใช้ยึดกระดานหลังซึ่งอยู่ด้านหลัง และสูงจากพื้นสนามไม่ถึง 2.75 เมตร จะต้องบุพื้นผิวของอุปกรณ์นั้นๆ เป็นระยะทาง 60 เซนติเมตร วัดจากด้านหน้าของกระดานหลังออกไป สำหรับกระดานหลังที่โยกย้ายเคลื่อนที่ได้ซึ่งมีฐานรองรับ จะต้องบุพื้นผิวด้านเขตสนามขึ้นสูง 2.15 เมตร

 

ห่วงประตู
ห่วงต้องเป็นเหล็กตัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในของห่วง 45 เซนติเมตร ทาด้วยสีส้ม เหล็กที่ทำห่วงต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 1.70 เซนติเมตร และขนาดใหญ่ที่สุด 2 เซนติเมตร โดยมีตะขอเล็ก ๆ เกี่ยวอยู่ข้างล่าง หรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเพื่อใช้ยึดเกี่ยวตาข่าย ห่วงต้องติดแน่นกับกระดานหลัง และอยู่ในแนวขนานกับพื้นสนาม สูงจากพื้นสนาม สูงจากพื้นสนาม 3.05 เมตร ทั้งนี้ต้องอยู่กึ่งกลางด้านตั้งของกระดานหลัง ขอบห่วงด้านที่ใกล้กับกระดานหลังจะห่างจากพื้นด้านหน้าของกระดานหลัง 15 เซนติเมตร
ตาข่ายต้องเป็นเส้นด้ายสีขาวผูกติดกับห่วง และมีลักษณะช่วยต้านลูกบอลเล็กน้อย เพื่อให้เป็นที่สังเกตขณะที่ลูกบอลผ่านลงไปในห่วงประตู ตาข่ายมีความยาว 40 เซนติเมตร
ห่วงที่ยุบตัวได้ (เพราะแรงอัดแบบไฮดรอลิก) จะต้องตรงกับเกณฑ์กำหนดต่อไปนี้
1. จะต้องมีลักษณะการคืนตัวเหมือนกับห่วงปกติที่ไม่ยุบตัว อุปกรณ์กลไกที่ทำให้เกิดการยุบตัวต้องแน่นอนที่จะควบคุมการคืนตัวดังกล่าว พร้อมกับช่วยป้องกันห่วงและกระดานหลัง การออกแบบห่วงและการสร้างห่วงควรจะประกันความปลอดภัยของผู้เล่นได้
2. ห่วงที่มีกลไกเฉพาะสำหรับล็อคกลไกของการยุบตัว จะต้องไม่ทำงานจนกว่าจะมีน้ำหนักถึง 105 กิโลกรัม ณ ปลายสุดด้านบนของห่วง
3. เมื่อยุบตัว การหย่อนของห่วงต้องไม่เกินกว่า 30 องศา จากตำแหน่งแนวระดับเดิม
4. หลังจากการยุบตัวและไม่มีน้ำหนักถ่วงอยู่ต่อไปแล้ว ห่วงจะต้องคืนตัวสู่ตำแหน่งเดิมโดยอัตโนมัติทันที

ลูกบอล วัสดุ ขนาด และน้ำหนัก

ลูกบอลต้องเป็นทรงกลม และมีสีส้มตามที่ได้รับรองแล้ว โดยมีเปลือกนอกทำด้วยหนัง ยาง หรือวัสดุสังเคราะห์ ทั้งนี้จะมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 74.9 เซนติเมตร และไม่เกิน 78 เซนติเมตร หนักไม่น้อยกว่า 567 กรัม และไม่เกิน 650 กรัม จะต้องสูบลมให้แข็งโดยประมาณว่าเมื่อปล่อยลูกบอลจากที่สูงประมาณ 1.80 เมตรลงสู่พื้นไม้แข็งหรือพื้นสนามแข่งขัน ลูกบอลจะกระดอนขึ้นไม่ต่ำกว่า 1.20 เมตร หรือสูงไม่เกิน 1.40 เมตร เมื่อวัดจากส่วนบนของลูกบอล ตะเข็บและ / หรือร่องของรอยต่อลูกบอลจะต้องไม่เกิน 0.635 เซนติเมตร
ทีมเหย้าต้องจัดหาลูกบอลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้อย่างน้อย 1 ลูก สำหรับแข่งขัน ทั้งนี้ผู้ตัดสินที่หนึ่งมีอำนาจเพียงผู้เดียว ที่จะตัดสินว่าลูกบอลใดเข้าเกณฑ์ของกติกา และอาจเลือกเอาลูกบอลที่ทีมเยือนจัดหามาใช้แข่งขันก็ได้

อุปกรณ์ทางเทคนิค

อุปกรณ์ทางเทคนิคต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของทีมเหย้าจะต้องจัดเตรียมไว้ และมีพร้อมไว้ให้ผู้ตัดสินและผู้ช่วงผู้ตัดสิน คือ
1. นาฬิกาจับเวลาการแข่งขัน และนาฬิกาจับเวลานอก ผู้จับเวลาต้องมีนาฬิกาจับเวลาการแข่งขัน และนาฬิกาจับเวลาธรรมดา เพราะนาฬิกาจับเวลาการแข่งขันมีไว้สำหรับจับเวลานอก นาฬิกาทั้งสองเรือนนี้จะต้องจัดตั้งไว้ให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนโดยผู้จับเวลาและผู้บันทึก
2. นาฬิกาจับเวลา 30 วินาที เป็นอุปกรณ์จำเป็นที่จะต้องติดตั้งให้สามารถมองเห็นได้ทั้งผู้เล่นและผู้ชม และดำเนินการควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ที่จับเวลา 30 วินาที
3. ใบบันทึก จะต้องเป็นแบบที่กำหนดโดยสหพันธ์บาสเกตบอลสมัครเล่นนานาชาติ และต้องให้ผู้บันทึกเป็นผู้ดำเนินการกรอกข้อความก่อนการแข่งขัน และระหว่างที่การแข่งขันตามที่ระบุไว้ในกติกา
4. อย่างน้อยจะต้องมีอุปกรณ์เพื่อแสดงสัญญาณ 3 ชนิด ที่ระบุไว้ในกติกา นอกจากนั้นยังจะต้องมีป้ายบอกคะแนนที่สามารถมองเห็นโดยผู้เล่น ผู้ชมและเจ้าหน้าที่โต๊ะ
5. ป้ายแจ้งหมายเลขตั้งแต่ 1 ถึง 5 ต้องจัดให้ผู้บันทึกทุกครั้งที่ผู้เล่นกระทำฟาวล์ ผู้บันทึกต้องยกป้ายนี้แสดงจำนวนฟาวล์ของผู้เล่นคนนั้นให้สามารถมองเห็นได้โดยโค้ชทั้งสองทีม ป้ายนี้ให้มีพื้นสีขาว และเขียนหมายเลข 1 ถึง 4 ด้วยสีดำ ส่วนหมายเลข 5 เขียนด้วยสีแดง โดยมีขนาดของป้ายอย่างน้อย 20 x 10 เซนติเมตร
6. ต้องจัดเครื่องหมายแสดงจำนวนการฟาวล์ของทีมให้แก่ผู้บันทึก ซึ่งเครื่องหมายนี้จะเป็นสีแดง จัดตั้งไว้บนโต๊ะเจ้าหน้าที่เพื่อให้มองเห็นได้ง่ายโดยผู้เล่น โค้ช และผู้ตัดสิน ทันทีที่ลูกบอลเข้าสู่การเล่นภายหลังการฟาวล์ของผู้เล่นครั้งที่ 7 ของทีมนั้นๆ ให้แสดงเครื่องหมายนี้บนโต๊ะเจ้าหน้าที่ทางด้านที่นั่งของทีมที่กระทำฟาวล์ของผู้เล่นครั้งที่ 7
7. เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อแสดงจำนวนฟาวล์ของทีม สถานที่ และอุปกรณ์ที่ระบุไว้เพื่อการแข่งขันระดับนานาชาติต่อไปนี้จะ ต้องได้รับการอนุมัติจากฟีบ้า คือ โอลิมปิก ชิงแชมเปี้ยนโลก สำหรับประเภทชาย ประเภทหญิง เยาวชนชาย เยาวชนหญิง และสำหรับประเภทชายอายุไม่เกิน 22 ปี
1. ที่นั่งสำหรับผู้ชมในสนามแข่งขัน จะต้องมีที่นั่งไม่น้อยกว่า 6,000 ที่นั่ง สำหรับระดับชิงแชมเปี้ยนโลก เยาวชนชาย เยาวชนหญิง และสำหรับประเภทชายอายุไม่เกิน 22 ปี และต้องมีที่นั่งไม่น้อยกว่า 12,500 ที่นั่งสำหรับระดับโอลิมปิก และชิงแชมเปี้ยนโลก สำหรับประเภทชายและหญิง
2. พื้นสนามที่ใช้แข่งขันต้องทำด้วยไม้หรือวัสดุอื่นซึ่งมีคุณลักษณะเหมือนไม้ และได้รับความเห็นชอบโดย ฟีบ้า สนามแข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าราบเรียบ มีพื้นแข็ง ขนาดยาว 28 เมตร และกว้าง 15 เมตร เมื่อสนามแข่งขันออกแบบโดยไม่ตีเส้นขอบสนาม ซึ่งมีความหนา 5 เซนติเมตรไว้ แต่ใช้สีซึ่งตัดกันเป็นสิ่งกำหนดพื้นที่ของเขตสนาม และพื้นที่นอกเขตสนามแล้ว ให้ถือว่าเส้นที่แบ่งสีที่ตัดกันนั้นเป็นขอบในของเส้นสนาม
3. จะต้องมีกระดานหลังเป็นวัสดุโปร่งใส ทำด้วยวัสดุที่มีความหนาแน่นเหมือนไม้ที่มีความหนา 3 เซนติเมตร มีขนาดยาวตามแนวนอน 1.80 เมตร และกว้างตามแนวตั้ง 1.05 เมตร ทั้งนี้ขอบล่างของกระดานหลังจะต้องสูงจากพื้นสนาม 2.90 เมตร
4. อุปกรณ์ที่ใช้ยึดกระดานหลัง จะต้องตั้งอยู่นอกเขตสนามห่างจากขอบนอกของเส้นหลังอย่างน้อย 2 เมตรและต้องมีสีสดใสตัดกับสีด้านหลัง เพื่อให้ผู้เล่นมองเห็นได้อย่างชัดเจน
5. ลูกบอลต้องทำด้วยหนังและได้รับอนุมัติจากฟีบ้า ฝ่ายจัดการแข่งขันจะต้องจัดหาลูกบอลอย่างน้อย 12 ลูก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เดียวกัน เพื่อการใช้ฝึกซ้อม และอบอุ่นร่างกายก่อนเริ่มการแข่งขัน แสงสว่างที่ใช้กับสนามแข่งขันจะต้องไม่ต่ำกว่า 1,500 ลักซ์ (Lux) ซึ่งวัดความสว่างระดับความสูง 1 เมตร เหนือพื้นสนาม แสงสว่างดังกล่าวต้องตรงกับเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อถ่ายทอดทางโทรทัศน์ด้วย
6. สนามแข่งขันจะต้องติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่อไปนี้ ซึ่งจะต้องให้เห็นเด่นชัดจากโต๊ะเจ้าหน้าที่ สนามแข่งขัน และที่นั่งของทีม คือ
6.1 ป้ายแสดงคะแนนขนาดใหญ่สองป้าย แต่ละป้ายติดนาฬิกาชนิดตัวเลขที่นับถอยหลังซึ่งมองเห็นได้เด่นชัด พร้อมกับมีอุปกรณ์ที่ให้สัญญาณเสียงอัตโนมัติที่ดังมากๆ เพื่อบอกการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันในแต่ละครึ่งเวลา และเวลาเพิ่มพิเศษ นาฬิกาจะต้องออกแบบอย่างสมบูรณ์และแสดงเวลาที่เหลือตลอดการแข่งขัน และอย่างน้อยที่สุดในช่วง 60 วินาที นาทีสุดท้ายของแต่ละครึ่ง และเวลาเพิ่มพิเศษ จะต้องแสดงเวลาทุก 1/10 วินาที ผู้ตัดสินที่หนึ่งจะเป็นผู้กำหนดให้นาฬิกาเรือนหนึ่งเป็นนาฬิกาจับเวลาของการแข่งขัน ป้ายแสดงคะแนนจะต้องบอกคะแนนที่แต่ละทีมทำได้ พร้อมกับบอกจำนวนฟาวล์ของผู้เล่นในแต่ละทีม ขบวนการดังกล่าวมิได้หมายความว่าให้ติดป้ายแสดงการฟาวล์ที่เจ้าหน้าที่บันทึกใช้แจ้งจำนวนฟาวล์
6.2 อุปกรณ์อัตโนมัติที่ใช้จับเวลา 30 วินาที ชนิดตัวเลขนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาที จะต้องมีอุปกรณ์ดังกล่าว 2 ชุด ถ้าติดตั้งตรงแนวส่วนบนของกระดานหลัง หรือมี 4 ชุด ถ้าติดตั้งด้วยความเหมาะสมตามมุมของสนามแข่งขัน อุปกรณ์ 30 วินาทีจะต้องพ่วงเข้ากับนาฬิกาที่จับเวลาการแข่งขัน ทั้งนี้เมื่อเวลาหมดลงเป็น " ศูนย์ " จะมีสัญญาณดังขึ้น ก็จะทำให้หยุดเวลาการแข่งขันโดยอัตโนมัติด้วย
6.3 อุปกรณ์ที่มีแสงสว่างเพื่อบอกจำนวนฟาวล์ของแต่ละทีม ซึ่งควรมีตัวเลขจาก 1 ถึง 7
6.4 สัญญาณเสียงที่แยกกัน 3 ชุด และมีเสียงแตกต่างกันจะต้องจัดให้มีคือ ชุดหนึ่งเพื่อให้แก่เจ้าหน้าที่จับเวลา ซึ่งจะต้องส่งสัญญาณเสียงโดยอัตโนมัติเมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันในแต่ละครั้ง หรือแต่ละครั้งเพื่อบอกการสิ้นสุดเวลาการแข่งขัน อีกชุดหนึ่งเพื่อให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้จับเวลา 30 วินาที อุปกรณ์ทั้ง 3 ชุดนี้จะต้องมีสัญญาณเสียงดังมากพอที่จะได้ยินอย่างชัดเจนภายใต้สถานการณ์วุ่นวาย หรือเสียงรบกวนอื่นๆ
7. เขต 3 วินาที (เขตกำหนดเวลา) และวงกลมกลางจะต้องเป็นสีที่แตกต่างจากสีของพื้นสนามแข่งขันมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น ควรจะนำไปใช้ในการแข่งขันระดับสำคัญอื่นๆ ด้วย
กติกาบาสเกตบอล
บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นระหว่างผู้เล่น 2 ชุด ชุดละ 5 คน โดยมีจุดมุ่งหมายว่า แต่ละชุดต้องนำลูกบอลไปโยนให้ลงห่วงประตูของคู่แข่งขัน และพยายามป้องกันมิให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ครอบครองลูกบอล หรือทำคะแนน ทั้งนี้ผู้เล่นอาจจะส่ง โยน ปัดกลิ้ง หรือเลี้ยงลูกบอลไปยังทิศทางใดก็ได้ให้ถูกต้องตามกติกา

ทีม

แต่ละทีมจะประกอบไปด้วยผู้เล่นไม่เกิน 10 คน และโค้ช 1 คน ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งจะเป็นหัวหน้าทีม แต่ละทีมอาจจะมีผู้ช่วยโค้ชอีก 1 คน สำหรับทัวร์นาเมนต์ที่ทีมนั้นจะต้องแข่งขันมากกว่า 3 ครั้ง จำนวนผู้เล่นในแต่ละทีมอาจจะเพิ่มเป็น 12 คนก็ได้ ผู้เล่น 5 คนของแต่ละทีมจะต้องอยู่ในสนามแข่งขันระหว่างเวลาการแข่งขัน และสามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ตามที่ระบุไว้ในกติกา
ผู้เล่นของทีมคือผู้เล่นที่อยู่ในสนามแข่งขัน และถูกกำหนดว่าจะลงแข่งขันนอกเหนือจากนี้แล้วจะเป็นผู้เล่นสำรอง ดังนั้นผู้เล่นสำรองจะกลายเป็นผู้เล่นเมื่อผู้ตัดสินได้ให้สัญญาณแจ้งให้เขาเข้าไปในสนามแข่งขัน และผู้เล่นจะกลายเป็นผู้เล่นสำรองทันทีที่ผู้ตัดสินได้ส่งสัญญาณแก่ผู้ที่จะเข้ามาแทนผู้เล่นคนนั้นให้เข้าไปในสนามแข่งขัน ผู้เล่นแต่ละคนจะต้องมีหมายเลขที่ด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อที่ตนสวมใส่ โดยมีลักษณะเรียบธรรมดา (ไม่มีลวดลาย) และมีสีทึบติดกับเสื้อ หมายเลขจะต้องเด่นชัด สำหรับหมายเลขที่ติดด้านหลังจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร และหมายเลขที่ติดด้านหน้าจะต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร ทำด้วยวัสดุที่กว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร ทีมหนึ่ง ๆ จะต้องใช้หมายเลขตั้งแต่ 4 ถึง 15 ผู้เล่นในทีมเดียวกันจะต้องไม่ใช้หมายเลขซ้ำกัน

 

ชุดที่ผู้เล่นสวมใส่จะต้องประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้
- เสื้อทีม จะเป็นสีเดียว มีลักษณะทึบสม่ำเสมอเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ต้องสวมใส่โดยผู้เล่นทุกคนในทีมนั้นเสื้อที่มีลายทางแบบริ้วลายจะไม่อนุญาตให้ใช้

 

- กางเกงขาสั้น จะเป็นสีเดียว มีลักษณะทึบสม่ำเสมอเหมือนกันทั้งทีม และจะต้องสวมใส่โดยผู้เล่นทุกคนในทีมนั้น

 

- เสื้อคอกลม (ทีเชิ้ต) อาจจะสวมใส่ได้ภายในเสื้อทีม แต่ถ้าสวมเสื้อคอกลมจะต้องใช้เสื้อคอกลมมีสีเดียว และให้เหมือนกับสีของเสื้อทีม

 

- ชุดชั้นในของกางเกง ที่ยื่นเลยต่ำกว่ากางเกงขาสั้น อาจจะสวมใส่ได้โดยมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีสีเดียว และเหมือนกับกางเกงขาสั้น

 

ในกรณีที่เสื้อทีมมีสีตรงกันให้ทีมเหย้าเปลี่ยนสีเสื้อทีมเมื่อแข่งขันที่สนามกลาง หรือในทัวร์นาเมนต์ทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน และต้องเป็นชื่อแรกในใบบันทึกจะต้องเปลี่ยนสีเสื้อทีม เพราะในทัวร์นาเมนต์หนึ่งๆ แต่ละทีมจะต้องมีเสื้อทีมอย่างน้อย 2 ชุด คือชุดที่เป็นสีจาง และชุดที่เป็นสีเข้ม

 

สำหรับการแข่งขันที่ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ ให้ทีมที่มีชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน (ทีมเหย้า) สวมเสื้อสีจาง และทีมที่มีชื่อที่สอง (ทีมเยือน) สวมเสื้อสีเข้ม

 

สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญๆ ของฟีบ้า ผู้เล่นในทีมเดียวกันจะต้องปฏิบัติดังนี้
1. สวมรองเท้าซึ่งมีสีเหมือนกัน
2. สวมถุงเท้าซึ่งมีสีเหมือนกัน

 

ผู้เล่นออกจากเขตสนามแข่งขัน
จะไม่อนุญาตให้ผู้เล่นออกจากเขตสนาม เพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่งขันอย่างไม่ยุติธรรม

 

หัวหน้าทีม หน้าที่ และอำนาจ
เมื่อมีเหตุจำเป็น หัวหน้าทีมจะต้องเป็นผู้แทนของทีมในสนามแข่งขันสามารถพูดกับผู้ตัดสินเพื่อขอคำอธิบาย หรือเพื่อขอทราบข้อมูลที่จำเป็น แต่ต้องกระทำด้วยความสุภาพ

แนะนำการดูบาสเกตบอล บาสเกตบอล เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมติด 1 ใน 3 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ที่จะสามารถเล่นกีฬานี้ได้ดีจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงพอสมควร รวมถึงส่วนสูงด้วย วิธีการเล่นมีดังนี้ มีทีมอยู่ 2 ทีม ทีมละ 5 คน ผู้เล่นของแต่ละทีมต้องนำบอลไปโยนลงในห่วงประตูของอีกฝ่ายและป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายสามารถทำคะแนนได้ ทีมใดทำคะแนนได้มากว่าเป็นฝ่ายชนะ สนามเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นต่างๆ เส้นรอบสนามด้านยาวเรียกว่าเส้นข้าง ส่วนเส้นด้านกว้างเรียกว่าเส้นหลัง มีเขตใต้แป้นเป็นรูปตัว U เป็นเขตป้องกัน และเป็นเขตยิงจุดโทษด้วย รวมไปถึงเส้นวงกลมที่อยู่ตรงกึ่งกลางสนาม

กรรมการ

มีกรรมการ 2 คน ผู้จับเวลา 1 คน ผู้บันทึก 1 คน ผู้ควบคุมทีมจับเวลา 1 คน ระยะเวลาการเล่น
แบ่งออกเป็น 4 ควอเตอร์ ควอเตอร์ละ 12 นาที หยุดพักระหว่างควอเตอร์ 5 นาที เมื่อหมดครึ่งจะมีการเปลี่ยนแดนกัน การเริ่มเล่น
จะเรื่มด้วยการที่กรรมการโยนลูกให้ลอยขึ้นไปตรงกลางระหว่างผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่ง อยู่ในครึ่งวงกลม 2 คน ทางด้านห่วงประตูของตน ผู้เล่นมีสิทธิ์ถูกลูกบอลได้เมื่อลูกบอลถึงจุดสูงสุดแล้ว(ลูกบอลเริ่มตก) และเมื่อทีมใดสามารถครอบครองบอลได้ ก็จะเป็นฝ่ายที่สามารถเล่นเกมรุกก่อน การได้ประตู ลูกบอลโยนไปลงห่วงประตูให้นับว่าได้ประตู ประตูที่ได้จากการเล่นธรรมดาแต่ละครั้งมีค่าเท่ากับ 2 คะแนน ประตูที่ได้จากการยิงลูกโทษ ณ จุดโทษ แต่ละครั้งเท่ากับ 1 คะแนน หลังจากได้ประตูให้ฝ่ายเสียประตูเป็นผู้ส่งบอลเข้ามานอกเส้นหลังด้านที่มีการทำประตูได้ภายใน 5 วินาที เมื่อหมดเวลาการแข่งขันทีมที่ทำคะแนนสูงกว่าเป็นฝ่ายชนะ และในกรณีที่มีคะแนนเท่ากันหรือเสมอกันจะมีการต่อเวลาพิเศษอีกครั้งละ 5 นาทีไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้ชนะ สามารถขอเวลานอกเพื่อพักหรือกระทำการต่างๆได้ 2 นาที การเล่น ใช้ได้เฉพาะมือ ผู้เล่นที่กำลังเลี้ยงบอล (หรือลูกยังไม่ตาย) ถือเป็นผู้ครอบครองบอล (ทีมนั้นเป็นฝ่ายครอบครองบอล) บอลออกนอกเขตสนามผู้ที่ถูกบอลครั้งสุดท้ายเป็นผู้ทำออก ถ้าบอลออกโดยผู้ที่อยู่บนเส้นหรือนอกเส้นสนามถือว่าเป็นผู้ทำออก อีกฝ่ายจะเป็นผู้ได้บอล ผู้เล่นสามารถเคลื่อนไหวขณะจับลูกโดยการใช้เท้าใดเท้าหนึ่งหมุนตัวโดยมีอีกเท้าหนึ่งเป็นหลักอยู่กับที่ และสามารถเลี้ยงลูกเมื่อหยุดเลี้ยงลูกต้องถือลูกไว้และไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ การกำหนดเวลาต่างๆ มีด้วยกันหลายอย่าง เช่น
1.การกำหนด 3 วินาที คือเวลาที่กำหนดของผู้เล่นในขณะที่ทีมเป็นฝ่ายรุก เมื่อเข้าไปอยู่ในบริเวณหัวกะโหลกของทีมฝ่ายตรงข้าม สามารถเข้าไปยืนหรือกระทำการใดๆ ก็ตามแต่มีเวลาให้อยู่ภายในบริเวณหัวกะโหลกแค่ 3 วินาที ถ้าหมดเวลานี้แล้วต้องออกมาทันที โดยจะต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าเหยียบอยู่แม้แต่เส้นของบริเวณหัวกะโหลก แต่หลังจากออกมาแล้วสามารถที่จะเข้าไปใหม่ได้
2.การกำหนด 5 วินาที คือ เวลาที่จำกัดให้ผู้เล่นที่กำลังครอบครองลูกบอล ในกรณีที่ถูกฝ่ายตรงข้ามป้องกันอย่างใกล้ชิดจนไม่สามารถส่ง ยิงประตู ปัดลูก หรือเลี้ยงบอลได้ภายใน 5 วินาที ผู้ตัดสินจะขานเป็นลูกยึด (การที่ผู้ตัดสินนำบอลมาโยนระหว่างผู้เล่นที่เป็นตัวแทนของทั้ง 2 ทีม เพื่อแย่งการครอบครองบอลใหม่ เหมือนกับตอนเริ่มเล่นครั้งแรก)
นอกจากนั้นยังมีกติกาบางอย่างที่ควรทราบเพื่ออรรถรสในการชมกีฬาประเภทนี้ เช่น การส่งลูกบอลกลับมาแดนหลัง (pass back) กติกาข้อนี้ใช้กับทุกสถานการณ์ กำหนดให้ฝ่ายที่ครอบครองบอลต้องพาบอลเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามภายใน 10 วินาที และเมื่อลูกบอลได้ข้ามผ่านแดนตัวเองไปแล้วจะไม่สามารถ ส่งลูกบอลกลับเข้าไปในแดนตนเองได้ การทำผิดกติกาข้อนี้จะถูกทำโทษโดยการเสียสิทธิ์การครอบครองบอลให้แก่ฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ยังมีกติกาการทำ goldtending คือ การที่ผู้เล่นฝ่ายเกมรับ ใช้มือปัดลูกบอลที่จุดที่ลูกบอลเลยจุดสูงสุดไปแล้ว (ลูกบอลเริ่มจะตก) ในบริเวณเหนือห่วงตาข่ายของตนเอง จะถือเป็นการได้คะแนนของฝ่ายรุกทันที
การทำผิดกติกาหรือการทำฟาวล์
มีกติกาหรือข้อกำหนดบางอย่างที่ควรจะทราบ ยกตัวอย่างเช่น การทำฟาวล์บุคคล มีด้วยกันหลายอย่าง ได้แก่ การหนุน ดึง ปัดลูกบอลแล้วโดนอวัยวะส่วนอื่นของคู่ต่อสู้ เป็นต้น การทำฟาวล์แบบนี้ถ้าผู้เล่นที่ถูกทำฟาวล์นั้นไม่อยู่ในขณะที่กำลังทำประตู จะให้ทีมที่ถูกทำฟาวล์ได้สิทธิ์ครองบอล โดยส่งบอลจากเส้นข้างตรงระยะที่มีการทำฟาวล์แต่ถ้าขณะนั้นผู้เล่นกำลังจะทำประตู จะให้ผู้เล่นคนที่ถูกทำฟาวล์นั้นได้สิทธิ์โยนลูกโทษ ณ จุดโยนโทษ การฟาวล์บุคคลนั้น ถ้าบุคคลใดทำฟาวล์ครบ 5 ครั้งในเกมเดียวจะต้องออกจากการแข่งขันในเกมนั้น ส่วนการทำฟาวล์แบบเทคนิเคิลฟาวล์ ได้แก่ การใช้วาจาไม่สุภาพ หรือ ใช้คำพูดไม่เหมาะสม แสดงกิริยาก้าวร้าว เป็นต้น การทำฟาวล์แบบนี้ ถ้าภายในเกมเดียวกันผู้เล่นคนใดทำเทคนิเคิลฟาวล์ครบ 5 ครั้งจะถูกไล่ออกจากการแข่งขันทันที และการฟาวล์ทีม คือ การนับรวมการทำฟาวล์ของทีมใดทีมหนึ่ง เมื่อครบ 7 ครั้งจะเสียลูกโยนโทษให้ฝ่ายตรงข้าม 1 ครั้ง

กติกาบาสเกตบอล
 กติกาข้อที่
กติกาข้อที่
กติกาข้อที่
กติกาข้อที่
กติกาข้อที่
3 อุปกรณ 17 ข้อบังคับการแข่งขัน 27 การให้เวลานอก  37 กติกา24 วินาท 47 ฟาล์วเสียสิทธิ์
4 ผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่ 18 การเริ่มเกมการแข่งขัน 28 การเปลี่ยนตัว  38 ถูกป้องกันอย่างใกล้ชิด 48 การประพฤติตัว 
5 - 8 หน้าที่ผู้ตัดสิน 19 สถานภาพของลูกบอล 29 สิ้นสุดการแข่งขัน  39 กติกา 8 วินาท 49-51 ฟาล์วเทคนิค 
9 หน้าที่ผู้บันทึก 20 ตำแหน่งผู้เล่น-ผู้ตัดสิน  30 การถูกปรับแพ้  40 บอลกลับสู่แดนหลัง 52 การชกต่อย 
10-11หน้าที่ผู้จับเวลา 21 การเล่นลูกกระโดด 31 แพ้ผู้เล่นน้อยกว่ากำหนด  41ขัดขวางบอลลงห่วง 53 การขานฟาล์ว 
12 ทีม 22 วิธีการเล่นลูกบอล  32 ทำผิดระเบียบ  42 การฟาล์ว 54 ฟาล์ว 5 ครั้ง 
13 ผู้เล่นและผู้เล่นสำรอง 23 การครอบครองบอล  33 ผู้เล่น-บอลออกนอกสนาม  43 การถูกต้องตัว 55 ฟาล์วทีม 
14 การบาดเจ็บ 24 ลักษณะการยิงประตู  34 การเลี้ยงบอล  44 ฟาล์วบุคคล 56 สถานการณ์พิเศษ 
15 หน้าที่หัวหน้าทีม 25 การได้ประตู  35 การพาบอลเคลื่อนที่  45 ฟาล์วคู่ 57 การโยนโทษ 
16 หน้าที่ผู้ฝึกสอน 26 การส่งบอลนอกสนาม  36 กติกา3 วินาที  46 ฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา 58 ข้อผิดพลาด 
 ข้อ 1 คำจำกัดความ (Definitions) และลักษณะการเล่นบาสเกตบอล

1.1 เกมการแข่งขันขันบาสเกตบอล (Basketball game)
บาสเกตบอลเป็นการเล่นที่ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมมีผู้เล่น 5 คน จุดมุ่งหมายของแต่ละทีมคือ ทำคะแนนโดย
การโยนลูกบอลให้ลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม และป้องกันอีกฝ่ายหนึ่งไม่ให้ครอบครองบอลหรือทำคะแนน

1.2 ห่วงประตูฝ่ายตนเอง/ฝ่ายตรงข้าม (Basket : own/opponents’)
ฝ่ายรุกทำคะแนนโดยนำลูกบอลโยนให้ลงห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามและป้องกันห่วงประตูของฝ่ายตนเอง

1.3 การเคลื่อนที่ของลูกบอล (Ball movement)
ลูกบอลอาจจะถูกส่ง โยน ปัด กลิ้ง หรือเลี้ยงในทิศทางใด ๆ ก็ได้ ภายใต้ข้อจำกัดที่กำหนดไว้ในกติกา

1.4 ผู้ชนะของเกมการแข่งกัน (Winner of a game)
เมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันของช่วงการเล่นที่ 4 หรือถ้าจำเป็นต้องต่อเวลาพิเศษ ทีมที่มีคะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ
ในเกมการแข่งขัน

 ข้อ 2 ขนาดสนามและขนาดของเส้น (Court and line dimensions)

2.1 สนามแข่งขัน (Playing Court)
สนามต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นผิวเรียบ แข็งปราศจากสิ่งกีดขวางที่ทำให้เกิดความล่าช้าสำหรับการแข่งขันซึ่งจัด
โดยสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ ขนาดสนามที่จะสร้างขึ้นใหม่ต้องยาว 28 เมตรและกว้าง 15 เมตร โดยวัดจากขอบใน
ของเส้นเขตสนาม สำหรับการแข่งขันอื่นทั้งหมดที่สหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติรับรอง เช่น สหพันธ์ระดับโซน หรือสมาคม
แห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจเห็นชอบให้ใช้สนามขนาดเล็กสุดในการแข่งขันได้ คือ ยาว 26 เมตรและกว้าง 14 เมตร

2.2 เพดาน (Ceiling)
ความสูงของเพดานหรือสิ่งกีดขวางต้องไม่ต่ำกว่า 7 เมตร

2.3 แสงสว่าง (Lighthing)
พื้นผิวของสนามควรจะเหมือนกันและมีแสงสว่างเพียงพอ แสงสว่างต้องอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นของ
ผู้เล่นและของผู้ตัดสิน

2.4 เส้น (Lines)
เส้นทุกเส้นต้องเป็นสีเดียวกัน (ควรเป็นสีขาว) กว้าง 5 เซนติเมตร และมองเห็นได้อย่างชัดเจน

2.4.1 เส้นหลังและเส้นข้าง (End lines and side-lines)
สนามจะต้องถูกจำกัดโดยเส้นหลัง 2 เส้น (ด้านกว้างของสนาม) และเส้นข้าง 2 เส้น (ด้านยาวของสนาม) เส้นไม่เป็นส่วนหนึ่ง
ของสนาม สนามต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวาง รวมถึงที่นั่งของทีมอย่างน้อย 2 เมตร

2.4.2 เส้นกลาง (Center line)
เส้นกลาง ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังที่จุดกึ่งกลางของเส้นข้างต้องมีส่วนยื่นออกไป 15 เซนติเมตร จากเส้นข้างแต่ละด้าน

2.4.3 เส้นโยนโทษ (Free-throw lines) พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที (Restricted areas) และเขตโยนโทษ (Free-throw lanes)
เส้นโยนโทษ ต้องเขียนเส้นให้ขนานกับเส้นหลังแต่ละด้าน ห่างจากขอบในของเส้นหลัง 5.80 เมตร และมีความยาว 3.60 เมตร
จุดกึ่งกลางของเส้นโยนโทษที่สมมุติขึ้นเป็นแนวเดียวกับจุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้ง 2 เส้น พื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ต้องเป็นพื้นที่
ในสนามที่กำหนดโดยเส้นหลัง เส้นโยนโทษ และเส้นซึ่งเริ่มต้นจากเส้นหลังห่าง 3 เมตร จากจุดกึ่งกลางของเส้นหลังและขอบนอก
ของเส้นโยนโทษ เส้นจะแยกออกจากเส้นหลัง เส้นเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที ภายในของพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที
ีอาจจะทาสีก็ได้แต่ต้องเป็นสีเดียวกับสีที่ทาวงกลมกลางสนาม เขตโยนโทษเป็นพื้นที่ที่ต่อออกจากพื้นที่เขตกำหนด 3 นาที
เข้าไปในสนามโดยขีดเส้นเป็นครึ่งวงกลมรัศมี 1.80 เมตร ใช้จุด กึ่งกลางของเส้นโยนโทษเป็นจุดศูนย์กลาง เขตช่องยืนตามแนว
เขตโยนโทษ เป็นช่องที่ให้ผู้เล่นยืนระหว่างการโยนโทษ จะต้องเขียนเส้นลักษณะ

2.4.4 วงกลมกลาง (Center circle)
วงกลมกลางต้องเขียนไว้กลางสนามรัศมี 1.80 เมตร โดยวัดจากขอบนอกของเส้นรอบวง ถ้าทาสีภายในพื้นที่วงกลมต้องเป็น
สีเดียวกับสีที่ทาพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที

2.4.5 พื้นที่ยิงประตู 3 คะแนน (Three-point field goal area)
พื้นที่ยิงประตู 3 คะแนนของทีมจะเป็นพื้นที่ทั้งหมดของสนามยกเว้นพื้นที่ที่ใกล้ห่วงประตูฝ่ายตรงข้ามซึ่งถูกจำกัดโดยสิ่งต่อไปนี้
- เส้นขนาน 2 เส้น จากเส้นหลังไปถึงปลายเส้นโค้งครึ่งวงกลมรัศมี 6.25 เมตร จากจุดนี้ตั้งฉากกับจุดศูนย์กลางของห่วงประตู
ของฝ่ายตรงข้าม ระยะห่างถึงขอบในของจุดกึ่งกลางเส้นหลัง 1.575 เมตร
- รูปครึ่งวงกลมมีรัศมี 6.25 เมตร จากจุดศูนย์กลางถึงขอบนอก (ซึ่งเป็นจุดเดียวกัน) ลากไปต่อกับเส้นขนาน

2.4.6 พื้นที่เขตที่นั่งของทีม (Team bench areas)
พื้นที่เขตที่นั่งของทีมต้องอยู่นอกสนามด้านเดียวกับโต๊ะบันทึกคะแนน ที่นั่งของทีมเป็นดังต่อไปนี้
-แต่ละพื้นที่เขตที่นั่งของทีมจะถูกกำหนดโดยเส้นที่ต่อออกจากเส้นหลัง ยาวอย่างน้อย 2 เมตร และอีกเส้นหนึ่งยาวไม่น้อยกว่า
2 เมตร ห่างจากเส้นสนาม 5 เมตร

2.5 ตำแหน่งของโต๊ะเจ้าหน้าที่และที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่น
การจัดที่นั่งของทีม และที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัวผู้เล่น เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการแข่งขันทุกครั้งที่จัดโดยสหพันธ์บาสเกตบอล
นานาชาติ และได้แนะนำให้กระทำสำหรับการแข่งขันอื่น ๆ ด้วย


สำหรับรายละเอียดที่อธิบายถึงอุปกรณ์บาสเกตบอล ให้ดูในภาคผนวกเกี่ยวกับอุปกรณ์บาสเกตบอล
3.1 กระดานหลัง และสิ่งยึดกระดานหลัง (Backboards and backboard supports)
3.1.1 กระดานหลังที่สร้างขึ้นต้องทำด้วยวัสดุโปร่งใส (เลือกใช้กระจกนิรภัย) แผ่นเดียวกันตลอด ถ้าทำด้วยวัสดุอื่นที่ไม่
โปร่งใสจะต้องทาพื้นสีขาว
3.1.2 ขนาดความกว้าง ยาว และหนาของกระดานหลังตามแนวนอนจะเป็น 1.80 เมตร และตามแนวตั้ง 1.50 เมตร
3.1.3 เส้นทุกเส้นบนกระดานหลังจะต้องเขียนดังต่อไปนี้
- เป็นสีขาว ถ้ากระดานเป็นวัตถุโปร่งใส
- เป็นสีดำ ถ้ากระดานหลังเป็นวัสดุอื่น
- เส้นมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร
เพิ่มเติม หน้ากระดานเหนือห่วงให้เขียนดังนี้
   
    เขียนรูปสี่เหลี่ยมมุมมฉากด้วยเส้นกว้าง 5 ซ.ม ตรงหลังห่วงประตู วัดริมนอกด้านขวางยาว 59 ซ.ม และด้านตั้งยาว 45 ซ.ม
ริมบนสุดของเส้นด้านฐานอยู่ในระดับเดียวกับขอบห่วง
3.1.4 พื้นผิวหน้าของกระดานหลังจะต้องเรียบ
3.1.5 กระดานหลังต้องติดยึดอย่างมั่นคง
- ที่เส้นหลังแต่ละด้านของสนามแข่งขัน โดยติดตั้งสิ่งยึดกระดานให้ตั้งฉากกับพื้น ขนานกับเส้นหลัง
- จุดกึ่งกลางของพื้นผิวด้านหน้าของกระดานหลัง ทิ้งดิ่งลงมายังพื้นสนามแข่งขัน จะสัมผัสจุดบนพื้น ซึ่งมีระยะห่าง
1.20 เมตร จากจุดกึ่งกลางของขอบในของเส้นหลังแต่ละเส้น
3.1.6 เบาะหุ้มกระดานหลัง
3.1.7 สิ่งยึดกระดานหลัง
- ด้านหน้าของสิ่งยึดกระดานหลังที่สร้างขึ้น (หุ้มเบาะตลอด) ต้องอยู่ห่างจากขอบของเส้นหลังอย่างน้อย 2 เมตร มีสีสดใส
แตกต่างจากพื้นหลัง เพื่อให้ผู้เล่นมองเห็นได้อย่างชัดเจน
- สิ่งยึดกระดานหลังต้องติดตั้งอย่างมั่นคงบนพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้เคลื่อนที่เมื่อมีแรงกระแทรก
- สิ่งยึดกระด้านหลังที่อยู่ด้านหลังต้องหุ้มเบาะต่ำกว่าพื้นผิวของสิ่งยึดมีระยะห่างจากด้านหน้าของกระดานหลัง 1.20 เมตร
ความหนาของเบาะหุ้ม 5 เซนติเมตร และต้องมีคุณสมบัติเหมือนกับเบาะหุ้มกระดานหลัง
- สิ่งยึดกระดานหลังทั้งหมดต้องหุ้มเบาะเต็มพื้นที่ฐานของสิ่งยึดกระดานหลังสูงจากพื้นอย่างน้อย 2.15 เมตร บนสิ่งยึดด้าน
ข้างสนาม มีความหนาเบาะหุ้ม 10 เซนติเมตร
3.1.8 เบาะหุ้มกระดานหลังที่สร้างขึ้นจะป้องกันแขนมือจากการปัด

3.2 ห่วงประตู (Baskets)
ห่วงประตูต้องประกอบด้วย ห่วงและตาข่าย
3.2.1 ห่วง (The Rings) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- วัสดุต้องเป็นเหล็กกล้าแข็ง เส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร ทาด้วยสีส้ม
- โลหะที่ใช้ทำห่วงจะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดจากขอบในอย่างน้อย 16 เซนติเมตร และไม่เกิน 2.0 เซนติเมตรพร้อมด้วยที่ยึดตาข่ายด้านล่างสำหรับเกี่ยวตาข่ายในลักษณะป้องกันนิ้วมือไปเกี่ยวจากการปัดซึ่งเป็นการป้องกัน
การยิงประตู
- ตาข่ายจะผูกติดกับห่วงแต่ละด้านในตำแหน่งที่ต่างกัน 12 จุด มีระยะห่างเท่ากันรอบห่วง การผูกติดกันของตาข่ายจะต้อง
ไม่คมหรือมีช่องว่างที่นิ้วมือสามารถเขาไปเกี่ยวได้
- ห่วงจะต้องยึดติดกับโครงสร้างที่ยึดกระดานหลังโดยไม่ทำให้เกิดแรงส่งตรงไปยังห่วงซึ่งไม่สามารถทำให้กระดานหลังสั่น
ด้วยตัวของมันเองดังนั้น จะไม่เป็นการปะทะโดยตรงของห่วงระหว่างสิ่งค้ำที่เป็นโลหะกับกระดานหลัง (กระจกหรือวัสดุโปร่งใสอื่น)
อย่างไรก็ตาม ช่องว่างจะต้องแคบพอเพื่อป้องกันนิ้วมือเข้าไปเกี่ยว
- ขอบบนสุดของห่วงแต่ละข้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งตามแนวนอน สูง 3.05 เมตร จากพื้นสนามซึ่งกระดานหลังมีความสูง
เท่ากันทั้ง 2 ด้าน
- จุดที่ใกล้ที่สุดของขอบในของห่วงจะต้องห่าง 15 เซนติเมตร จากด้านหน้าของกระดานหลัง
3.2.2 ห่วงที่มีแรงอัด อาจจะใช้ในการแข่งขันได้
3.2.3 ตาข่าย (The nets) ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- เป็นด้ายสีขาว แขวนติดกับห่วงและมีความฝืดเพื่อทำให้ลูกบอลผ่านห่วงประตูช้ากว่าปกติ ตาข่ายต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า
40 เซนติเมตร และไม่เกิน 45 เซนติเมตร
- ตาข่ายแต่ละข้างต้องมีห่วง 12 จุด สำหรับเกี่ยวติดกับห่วง
- ส่วนบนของตาข่ายต้องยืดหยุ่นได้เพื่อป้องกันสิ่งต่อไปนี้
- ตาข่ายเกี่ยวติดห่วง สะบัดขึ้นไปบนห่วงทำให้เกิดปัญหาตาข่ายเกี่ยวติดห่วง
- ลูกบอลค้างในตาข่ายหรือกระดอนออกจากตาข่าย

3.3 ลูกบาสเกตบอล (Basketballs)
3.3.1 ลูกบอล ต้องเป็นรูปทรงกลมและมีสีส้ม ซึ่งได้รับการรับรอง มี 8 ช่องกลีบ ตามแบบเดิม กรุและเย็บเชื่อต่อกัน
3.3.2 ผิวนอกต้องทำด้วยหนัง หนังที่เป็นสารสังเคราะห์ ยาง หรือวัสดุสารสังเคราะห์
3.3.3 ลูกบอลจะขยายตัวเมื่อสูบลมเข้าไป ถ้าปล่อยลงสู่พื้นสนามจากความสูงโดยประมาณ 1.80 เมตร วัดจากส่วนล่าง
ของลูกบอล ลูกบอลจะกระดอนขึ้นสูงวัดจากส่วนบนสุดจากของลูกบอลระหว่าง 1.20 เมตร ถึง 1.40 เมตร
3.3.4 ความกว้างของช่องกลีบที่เชื่อมต่อกันของลูกบอลต้องไม่มากกว่า 0.635 เซนติเมตร
3.3.5 ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า 74.9 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 78 เซนติเมตร (ลูกบอลเบอร์ 7) จะต้องมีน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่า 567 กรัม และไม่มากกว่า 650 กรัม
3.3.6 ทีมเหย้า (The home team) ต้องเตรียมลูกบอลที่ใช้แล้วโดยได้รับการยินยอมจากผู้ตัดสินอย่างน้อย 2 ลูก ผู้ตัดสินต้อง
พิจารณาเลือกลูกบอลที่ถูกต้องเพียงลูกเดียว ถ้าลูกบอลทั้ง 2 ลูก (ing team) หรือเลือกลูกบอลที่ใช้ในการอบอุ่นร่างกายมา
ใช้แข่งขันก็ได้

3.4 อุปกรณ์เทคนิค (Technical equipment)
อุปกรณ์เทคนิคต่อไปนี้ต้องเตรียมโดยทีมเหย้าและต้องดำเนินการ โดยผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่โต๊ะ
3.4.1 นาฬิกาแข่งขันและนาฬิกาจับเวลา (Game clock and stopawtch)
3.4.1.1 นาฬิกาแข่งขันจะต้องใช้สำหรับช่วงการเล่นและช่วงพักการแข่งขัน และจะต้องติดตั้งให้ทุกคนที่เกี่ยวกับเกมการ
แข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วย
3.4.1.2 นาฬิกาจับเวลา (ไม่ใช่นาฬิกาแข่งขัน) จะต้องใช้สำหรับการจับเวลานอก
3.4.1.3 ถ้านาฬิกาแข่งขันติดตั้งไว้ที่กึ่งกลางเหนือสนามแข่งขัน ต้องมีนาฬิกาแบบเดียวกันเพิ่มขึ้นมาแต่ละด้านของสนาม
ด้านหลัง สูงพอประมาณ สามารถที่จะให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วย
นาฬิกาแข่งขันที่เพิ่มนี้ จะต้องแสดงเวลาการแข่งขันที่เหลือ
3.4.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที (24 second device)
3.4.2.1 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ต้องมีควบคุมเครื่องและแสดงสิ่งต่าง ๆ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาที
- ไม่แสดงตัวเลขบนเครื่องจับเวลา 24 วินาที เมื่อไม่มีทีมใดครอบครองบอล
- ความสามารถในการหยุดและเดินนับถอยหลังอย่างต่อเนื่องเมื่อเครื่องจับเวลา 24 วินาที เดินเวลาต่อจากที่ได้หยุดเวลาไว้
3.4.2.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ต้องติดตั้งดังต่อไปนี้
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 2 เครื่องตั้งอยู่ข้างบนเหนือกระดานหลังแต่ละข้าง มีระยะห่างระหว่าง 30 เซนติเมตร ถึง
50 เซนติเมตร
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 4 เครื่องให้ติดตั้งไว้ทั้ง 4 มุมของสนาม อยู่ห่างเส้นหลังแต่ละด้าน 2 เมตร
- มีเครื่องจับเวลา 24 วินาที 2 เครื่องให้ติดตั้งโดยการวางไว้ในแนวทแยงมุมตรงข้าม เครื่องหนึ่งวางทางด้านซ้ายของ
โต๊ะบันทึกคะแนน ซึ่งจะวางใกล้มุม เครื่องจับเวลา 24 วินาที ทั้ง 2 เครื่อง จะวางห่างจากเส้นแต่ละด้าน 2 เมตร และ
จากเส้นข้าง 2 เมตร
3.4.2.3 เครื่องจับเวลา 24 วินาที ทุกเครื่องจะต้องให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้วย
3.4.3 สัญญาณเสียง (Signals)
ต้องกำหนดสัญญาณเสียงอย่างน้อย 2 ชุด ซึ่งมีเสียงแตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีเสียงดังมากพอ
- สัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลาแข่งขันและผู้บันทึกคะแนน สัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดังอัตโนมัติเพื่อแจ้งการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันต้องเป็นเสียงที่ดังอัตโนมัต
ิเพื่อแจ้งการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ สัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนและผู้จับเวลา
แข่งขันต้องควบคุมด้วยมือ เพื่อดำเนินการแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบว่ามีการขอเวลานอก เปลี่ยนตัวและมีการต้องขออื่น ๆ เช่นหลัง
เวลาผ่านไป 50 วินาทีของการขอเวลานอก หรือสถานการณ์ข้อผิดพลาดที่แก้ไขได้
- อีกสัญญาณเสียงหนึ่งสำหรับผู้จับเวลา 24 วินาที ซึ่งสัญญาเสียงดังอัตโนมัติเพื่อแสดงการสิ้นสุดช่วงเวลาการเล่น 24 วินาที
สัญญาณเสียงทั้ง 2 ชุด ต้องมีเสียงดังมากพอที่จะได้ยินภายใต้เสียงรบกวน หรือปรับเสียงให้ดังมากพอกับสภาพสิ่งแวดล้อม
3.4.4 ป้ายคะแนน (Scoreboard)
ต้องเป็นป้ายคะแนนที่ติดตั้งให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนรวมถึงผู้ชมด้วย
ป้ายคะแนนต้องแสดงรายละเอียดอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- เวลาการแข่งขัน
- คะแนน
- จำนวนของช่วงการเล่นปัจจุบัน
- จำนวนของเวลานอก
3.4.5 ใบบันทึกคะแนน (Scoresheet)
ใบบันทึกคะแนนจะต้องได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการเทคนิคโลกของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติซึ่งจะใช้สำหรับ
การแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ
3.4.6 ป้ายแสดงการฟาล์วของผู้เล่น (Player foul markers)
ต้องจัดเตรียมป้ายแสดงการฟาว์ลของผู้เล่นสำหรับผู้บันทึกคะแนน ป้ายต้องเป็นสีขาวพร้อมตัวเลขขนาดความยาว 20 เซนติเมตร
และกว้าง 10 เซนติเมตร และมีตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 5 (ตัวเลข 1 ถึง 4 เป็นสีดำ ตัวเลข 5 เป็นสีแดง)
3.4.7 อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีม (Team foul markers)
อุปกรณ์แสดงการฟาล์วทีมต้องเตรียมสำหรับผู้บันทึกคะแนน
อุปกรณ์แสดงการฟาล์วต้องเป็นสีแดง กว้าง 20 เซนติเมตร สูง 35 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และติดตั้งบนโต๊ะผู้บันทึก ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันมองเห็นได้อย่างชัดเจน รวมถึงผู้ชมด้วย
อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะใช้ได้โดยมีข้อแม้ว่าต้องมีสีที่เหมือนกัน และมีขนาดความกว้าง ยาวและหนาตามที่
ระบุไว้ข้างต้น
3.4.8 ป้ายแสดงจำนวนการฟาล์วทีม (Team foul indicator)
จะต้องมีป้ายที่เหมาะสมเพื่อแสดงตัวเลขจำนวนฟาล์วทีมถึงเลข 5 แสดงให้ทราบว่าทีมนั้นได้กระทำฟาล์วครบจำนวนที่จะต้อง
ถูกลงโทษ (กติกาข้อ 55 บทลงโทษของฟาล์วทีม)
3.4.9 เครื่องชี้ทิศทางการครอบครองบอลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้งานด้วยมือ ซึ่งมองเห็นได้ชัดเจน

3.5 เครื่องอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ
เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่กล่าวถึงจะต้องเตรียมสำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ
เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ชิงแชมป์โลก ชาย หญิง เยาวชนชาย เยาวชนหญิง ยุวชนชายและยุวชนหญิง ชิงแชมป์ทวีป
ชายหญิง เยาวชนชายและเยาวชนหญิง
เครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์สามารถใช้กับการแข่งขันระดับอื่นทั้งหมดได้
3.5.1 ผู้ชมทุกคนจะต้องนั่งห่างอย่างน้อย 5 เมตร จากขอบด้านนอกของเส้นเขตสนามแข่งขัน
3.5.2 พื้นสนามต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ทำด้วยไม้
- เส้นเขตสนาม กว้าง 5 เซนติเมตร
- เส้นเขตสนามรอบนอก กว้างอย่างน้อย 2 เมตรทาด้วยสีแตกต่างกันอย่างชัดเจน สีของเขตสนามรอบนอกควรจะเป็นสีเดียวกับวงกลมกลางและพื้นที่เขตกำหนด 3 วินาที
3.5.3 ต้องมีคนถูพื้นสนาม 4 คน โดย 2 คนทำหน้าที่แต่ละครึ่งของสนาม
3.5.4 กระดานหลังต้องทำด้วยกระจกนิรภัย
3.5.5 ผิวของลูกบอลต้องทำด้วยหนัง ฝ่ายจัดการแข่งขันต้องเตรียมลูกบอลอย่างน้อย 12 ลูก มีลักษณะและรายละเอียดเหมือนกันสำหรับการฝึกซ้อมระหว่างการอบอุ่นร่างกาย
3.5.6 แสงสว่างเหนือสนามแข่งขันต้องมีความสว่างไม่น้อยกว่า 1,500 ลักซ์ ความสว่างนี้จะวัดเหนือพื้นสนามขึ้นไป 1.5 เมตร แสงสว่างต้องตรงหลักเกณฑ์ในการถ่ายทอดโทรทัศน์
3.5.7 สนามแข่งขันต้องติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากโต๊ะบันทึกคะแนน สนามแข่งขัน
ที่นั่งของทีม และทุกคนเกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขัน รวมทั้งผู้ชมด้วย
3.5.7.1 ป้ายคะแนนขนาดใหญ่ 2 ชุด ติดตั้งที่ด้านหลังแต่ละด้านของสนาม
- ป้ายคะแนน ติดตั้งที่กึ่งกลางเหนือสนามขึ้นไป ไม่มีความจำเป็นต้องงดใช้ป้ายคะแนน 2 ชุด
- แผงควบคุมสำหรับนาฬิกาแข่งขันต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข แยกแผงควบคุมสำหรับผู้จับเวลาแข่งขันและผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนนออกจากกัน
- ป้ายคะแนนต้องประกอบด้วยตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังของนาฬิกา พร้อมสัญญาณเสียงดังมากพอซึ่งจะดังอัตโนมัติเมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- นาฬิกาแข่งขันและคะแนนที่แสดงในป้ายคะแนน มีความสูงอย่างน้อย 30 เซนติเมตร
- นาฬิกาทั้งหมดต้องเดินเป็นจังหวะเดียวกันและแสดงจำนวนของเวลาที่เหลือตลอดเกมการแข่งขัน
- ระหว่าง 60 วินาทีสุดท้ายของแต่ละช่วงการเล่น หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ จำนวนของเวลาที่เหลือต้องแสดงเป็นวินาที และเป็น
1 ส่วน 10 ของวินาที
- เลือกนาฬิกาอีก 1 เรือน โดยผู้ตัดสินสำหรับเป็นนาฬิกาแข่งขัน
- ป้ายคะแนน ต้องแสดงสิ่งต่อไปนี้
- หมายเลขของผู้เล่นแต่ละคนและชื่อ-สกุลของผู้เล่น ถ้าสามารถแสดงได้
- คะแนนที่แต่ละทีมทำได้ และคะแนนของผู้เล่นแต่ละคนที่ทำให้ ถ้าสามารถแสดงได้
- จำนวนครั้งของการฟาล์วทีมจาก 1 ถึง 5 (สามารถหยุดที่ตัวเลข 5)
- ตัวเลขของช่วงการเล่น จาก 1 ถึง 4 และ E สำหรับช่วงต่อเวลาพิเศษ
- ตัวเลขของเวลานอกจาก 0 ถึง 3
3.5.7.2 เครื่องจับเวลา 24 วินาที พร้อมนาฬิกาแข่งขันที่ทำใหม่ตามแบบของเดิม และแสงสีแดงสดใสจะติดตั้งเหนือขึ้นไปและอยู่ด้านหลังกระดานหลังทั้ง 2 ข้างมีระยะห่างระหว่าง 30 เซนติเมตร
- เครื่องจับเวลา 2 วินาที ต้องเป็นแบบอัตโนมัติ ตัวเลขระบบดิจิตอลแบบนับถอยหลังแสดงเวลาเป็นวินาที และพร้อมด้วยสัญญาณเสียงดังมากพอโดยดังอัตโนมัติ เมื่อสิ้นสุดเวลาการเล่น 24 วินาที
- เครื่องจับเวลา 24 วินาที จะต้องจะต่อเชื่อมกับนาฬิกาการแข่งขันเรือนหลัก
- เมื่อนาฬิกาแข่งขันเรือนหลักหยุดเดิน เครื่องนี้จะหยุดเดินด้วย
- เมื่อนาฬิกาแข่งขันเรือนหลักเดินต่อ เครื่องนี้เริ่มเดินจากการควบคุมด้วยมือของผู้ควบคุม
- สีของตัวเลขของเครื่องจับเวลา 24 วินาที และนาฬิกาแข่งขันที่ทำขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมจะต้องแตกต่างกัน
- นาฬิกาการแข่งขันที่ทำขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมจะต้องมีรายละเอียดตรงกัน
- หลอดไฟที่อยู่ข้างบนด้านหลังกระดานหลังแต่ละข้างต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
-แสงสีแดงสดใสเกิดขึ้นพร้อมกับนาฬิกาแข่งขันเรือนหลัก เมื่อสัญญาณเสียงดังขึ้นสำหรับสิ้นสุดเวลาการแข่งขันของช่วงการเล่น
หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- แสงสีแดงสดใสเกิดขึ้นพร้อมกับเครื่องจับเวลา 24 วินาที เมื่อสัญญาณเสียงดังขึ้น สำหรับการสิ้นสุดเวลาการเล่น 24 วินาที

 ข้อ 4 ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่โต๊ะ และกรรมการเทคนิค (Officials,Table Officials and Commissioner )

4.1 ผู้ตัดสิน (Officials) จะมีผู้ตัดสิน (Referee) และผู้ช่วยตัดสิน (Umpire) มีผู้ช่วยเป็นเจ้าหน้าที่โต๊ะและกรรมการเทคนิคสิ่งที่เพิ่มในปัจจุบันนี้คือ ถ้าเป็นการแข่งขันของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ
คณะกรรมการโซน หรือสมาคมแห่งประเทศ เป็นผู้ที่มีอำนาจประยุกต์ใช้ระบบผู้ตัดสิน 3 คน นั่นคือ ผู้ตัดสิน 1 คน และผู้ช่วยผู้ตัดสิน
2 คน
4.2 เจ้าหน้าที่โต๊ะ (Table officials)
จะมีผู้บันทึกคะแนนผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน ผู้จับเวลาแข่งขัน และผู้จับเวลา 24 วินาที

4.3 กรรมการเทคนิค (Commissioner) อาจร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วย
ซึ่งนั่งอยู่ระหว่างผู้บันทึกคะแนนกับผู้จับเวลาแข่งขันมีหน้าที่ระหว่างเกมการแข่งขัน คือคอยชี้แนะเกี่ยวกับงานของเจ้าหน้าที่โต๊ะ รวมถึงผู้ตัดสินและผู้ช่วยสินผู้ตัดสิน เพื่อให้เกมการแข่งขันดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
4.4 เป็นการสุดวิสัยที่จะกำหนดว่าผู้ตัดสินของแต่ละเกมการแข่งขันจะต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรที่ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันในสนาม
4.5 ผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่โต๊ะ หรือกรรมการเทคนิค จะควบคุมดูแลเกมการแข่งขันให้สอดคล้องกับกติกา ไม่มีอำนาจใด ๆ ที่จะตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงกติกา
4.6 ชุดแต่งกายของผู้ตัดสิน ประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตสีเทากางเกงขายาวสีดำ รองเท้าบาสเกตบอลสีดำ และถุงเท่าสีดำ
4.7 สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ เจ้าหน้าที่โต๊ะควรจะแต่งกายให้เป็นแบบเดียวกัน
 ข้อ 5 หน้าที่และอำนาจของผู้ตัด (Referee : Duties and powers)

ผู้ตัดสินจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ :
5.1 ต้องตรวจสอบและรับรองอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ระหว่างการแข่งขัน
5.2 ต้องกำหนดนาฬิกาแข่งขัน เครื่องจับเวลา 24 วินาที นาฬิกาจับเวลา และยอมรับเจ้าหน้าที่โต๊ะทุกคนด้วย
5.3 ต้องไม่อนุญาตให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งสวมใส่อุปกรณ์ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการบาดเจ็บ
5.4 ดำเนินการเล่นลูกกระโดดที่วงกลมกลางสนามในการเริ่มการแข่งขัน ช่วงการเล่นที่ 1 ช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงต่อเวลาพิเศษ
5.5 มีอำนาจสั่งหยุดเกมการแข่งขันได้เมื่อเห็นว่ามีสถานการณ์อันควรแก่เหตุเกิดขึ้น
5.6 มีอำนาจตัดสินใจปรับให้ทีมแพ้ในเกมการแข่งขันนั้นถ้าทีมปฎิเสธการแข่งขันหลังจากสั่งให้ทีมแสดงการกระทำการขัดขวาง
ไม่ให้เริ่มการแข่งขัน
5.7 ต้องตรวจใบบันทึกคะแนนอย่างละเอียด เมื่อสิ้นสุดเวลาการแข่งขันสำหรับช่วงขันสำหรับช่วงการเล่นที่ 2 ช่วงการเล่นที่ 4
และช่วงต่อเวลาพิเศษ (ถ้ามี)หรือเวลาใดก็ได้ที่จำเป็นต้องรับรองคะแนน
5.8 ต้องตัดสินใจครั้งสุดท้ายไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม ถ้าจำเป็นหรือเมื่อผู้ตัดสินไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจ อาจจะปรึกษากับผู้ช่วยผู้ตัดสิน
กรรมการเทคนิค และ/หรือเจ้าหน้าที่โต๊ะ
5.9 มีอำนาจตัดสินใจเหตุการณ์ ใด ๆ ก็ได้ที่ไม่ได้ระบุไว้ในกติกา
 ข้อ 6 เวลาและขอบเขตการตัดสินของผู้ตัดสิน (Officials : Time and place for decisions)
6.1 ผู้ตัดสินมีอำนาจในการตัดสินสำหรับการลงละเมิดกติกาทั้งภายในและภายนอกสนาม ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะผู้บันทึกคะแนนที่นั่งของทีมและพื้นที่ด้านหลังเส้น
6.2 อำนาจของผู้ตัดสิน จะเริ่มเมื่อผู้ตัดสินมาถึงสนาม ซึ่งจะเป็นเวลา 20 นาที ก่อนการแข่งจะเริ่มตามกำหนดเวลาและสิ้นสุดเกมการแข่งขันซึ่งรับรองการแข่งขันโดยผู้ตัดสินลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนน ทำให้เวลาการแข่งขันสิ้นสุดการดำเนินการของผู้ตัดสินและการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเกมการแข่งขันนั้นสิ้นสุดลงด้วย
6.3 พฤติกรรมที่ผิดวิสัยนักกีฬาของผู้เล่น ผู้ฝึกสอนผู้ช่วยผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีม ที่เกิดขึ้นก่อน 20 นาที ก่อนการแข่งขันจะเริ่มตาม
กำหนดเวลา หรือสิ้นสุดเกมการแข่งขันแล้ว การยอมรับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ผู้ตัดสินต้องบันทึกใบบันทึกคะแนนก่อนสัญญาณเสียงเริ่ม
การแข่งขัน กรรมการเทคนิคหรือผู้ตัดสินต้องส่งรายงานอย่างละเอียดให้กับฝ่ายจัดการแข่งขันต่อไป
6.4 การประท้วงโดยคนใดคนหนึ่งของทีม กรรมการเทคนิคหรือผู้ตัดสินดำเนินการรายงานเหตุการณ์ถึงฝ่ายจัดการแข่งขันภายใน
1 ชั่วโมง หลังสิ้นสุดเวลาการเล่นของเกมการแข่งขันนั้น
6.5 ถ้าจำเป็นต้องต่อเวลาพิเศษ ซึ่งเป็นผลมาจากการโยนโทษของการกระทำฟาล์ว ก่อนหรือเวลาใกล้เคียงกับสิ้นสุดเวลาการเล่นของช่วง
การเล่นที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาพิเศษในขณะนั้นการกระทำฟาล์วทั้งหมดเป็นการกระทำฟาล์วหลังเสียงสัญญาณ การสิ้นสุดเวลาการแข่งขันก่อนการโยนจะต้องไตร่ตรองถึงผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นการกระทำฟาล์วระหว่างช่วงพักการแข่งขันและ
ลงโทษให้ ้สอดคล้องกัน
6.6 ไม่มีผู้ตัดสินคนใดที่จะมีอำนาจยกเลิกหรือสอบถามการตัดสินที่กระทำโดยผู้ตัดสินอีกคนภายใต้เงื่อนไขกำหนดไว้ในกติกา
 ข้อ 7 น้าที่ของผู้ตัดสินมีการละเมิดกติกา (Officials : Duties when an infraction is committed)
7.1 คำจำความ (Definitions)
การทำผิดระเบียบหรือฟาล์วทั้งหมดที่กระทำโดยผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีม เป็นการละเมิดกติกา
7.2 วิธีการปฏิบัติ (Procedure)
7.2.1 เมื่อมีการกระทำผิดระเบียบ (Violation) หรือ การฟาล์ว (Foul) ผู้ตัดสินจะเป่านกหวีด และในเวลาเดียวกันให้สัญญาณหยุด
เวลาการแข่งขัน ซึ่งทำให้เกิดบอลตาย (ดูคู่มือผู้ตัดสินในหัวข้อสัญญาณและวิธีปฏิบัติ)
7.2.2 ผู้ตัดสินต้องไม่เป่านกหวีดหลังจากการโยนโทษหรือการยิงประตูเป็นผล หรือเมื่อเป็นบอลดี
7.2.3 ภายหลังการฟาล์วหรือเกิดการเล่นลูกกระโดดผู้ตัดสินจะต้องเปลี่ยนแปลงตำแหน่งในสนามกันเสมอ
7.2.4 สำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติ ถ้าจำเป็นต้องสื่อสารกันด้วยคำพูด เพื่อให้สิ่งที่ตัดใจไปนั้นชัดเจนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษ
 ข้อ 8 การบาดเจ็บของผู้ตัดสิน (Official : Injury)
ถ้าผู้ตัดสินบาดเจ็บไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ภายใน 10 นาทีของเหตุการณ์นั้นการแข่งขันจะเริ่มต่อไปด้วยผู้ตัดสินที่เหลือเพียงคนเดียว จนกว่าจะสิ้นสุดเกมการแข่งขัน นอกเสียจากว่าเปลี่ยนตัวผู้ตัดสินแทนผู้ตัดสินที่บาดเจ็บ ภายหลังได้ปรึกษากับกรรมการเทคนิค ซึ่งผู้ตัดสินที่เหลือจะเป็นผู้ตัดสินใจในการเปลี่ยนตัวผู้ตัดสิน
 ข้อ 9 หน้าที่ผู้บันทึกคะแนนและผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน (Scorer and assistant scorer : duties)
9.1 ผู้บันทึกคะแนน จะบันทึกในใบบันทึกคะแนน ดังต่อไปนี้ ( 5 คนแรก) และผู้เล่นสำรองทั้งหมดซึ่งเข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อมีการละเมิดกติกาเกี่ยวกับผู้เล่น 5 คนแรก ซึ่งเริ่มเกมการแข่งขัน การเปลี่ยนตัวหรือเปลี่ยนหมายเลขของผู้เล่น ผู้บันทึกคะแนนจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่อยู่ใกล้ทราบทันทีหลักจากการละเมิดนั้นถูกค้นพบ
- บันทึกผลของคะแนนตามลำดับเหตุการณ์ และบันทึกการยิงประตูและการโยนโทษ
- บันทึกการฟาล์วบุคคลและฟาล์วเทคนิคของผู้เล่นแต่ละคน ผู้บันทึกจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีเมื่อมีผู้เล่นฟาล์วครั้งที่ 5 โดยในทำนองเดียวกันจะต้องบันทึกฟาล์วเทคนิคผู้ฝึกสอนแต่ละคนและต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีเมื่อผู้ฝึกสอนต้องออกจาก
การแข่งขัน
9.2 ผู้บันทึกคะแนน ต้องปฏิบัติดังนี้
- แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบเมื่อมีการขอเวลานอกในโอกาสที่เหมาะสมเมื่อทีมร้องขอเวลานอก บันทึกเวลานอกและแจ้งให้ผู้ฝึกสอนทราบ
โดยผ่านผู้ตัดสิน เมื่อผู้ฝึกสอนมีเวลานอกเหลืออยู่ในช่วงการเล่นนั้น
- แสดงจำนวนครั้งการกระทำฟาล์วของผู้เล่นแต่ละคนแสดงที่ริมโต๊ะของผู้บันทึกคะแนนด้านใกล้กับที่นั่งของทีมในขณะเป็นบอลดี เป็นการกระทำฟาล์วครั้งที่ 4 ของทีม ไม่ว่าจะเป็นฟาล์วบุคคลหรือฟาล์วเทคนิคซึ่งกระทำโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของทีมในช่วง
การเล่นนั้น
- เปลี่ยนตัวผู้เล่นให้ถูกต้อง
- ให้สัญญาณเสียงเฉพาะเมื่อเกิดบอลตายและก่อนที่จะกลับเป็นบอลดีอีกครั้ง สัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนต้องไม่ทำให้นาฬิกา
แข่งขันหยุดเดิน หรือเกมการแข่งขันหยุดซึ่งไม่เป็นสาเหตุให้เกิดบอลตาย
9.3 ผู้ช่วยผู้บันทึกคะแนน ต้องควบคุมป้ายคะแนน และมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บันทึกคะแนน ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างป้ายคะแนนกับผู้บันทึกคะแนน ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ ผู้บันทึกคะแนนต้องยึดใบบันทึกคะแนนเป็นหลัก และต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกัน
9.4 สิ่งต่อไปนี้เป็นข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่บันทึกคะแนนตามลำดับลงไปในบันทึกคะแนน
- ยิงประตูได้ 3 คะแนน แต่บันทึก 2 คะแนน
- ยิงประตูได้ 2 คะแนน แต่บันทึกเพิ่มเป็น 3 คะแนน คะแนนจะต้องรอจนกว่าเกิดบอลตายครั้งแรกก่อนจึงให้สัญญาณเสียงแจ้งผู้ตัดสินทราบเพื่อสั่งหยุดเกมการแข่งขัน
ถ้าค้นพบข้อผิดพลาดหลังสัญญาณเสียงของนาฬิกาแข่งขันสัญญาณการสิ้นสุดการแข่งขัน ใบบันทึกคะแนนจะต้องถูกตรวจสอบโดยผู้ตัดสิน ก่อนผู้ตัดสินจะลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนนผู้ตัดสินต้องแก้ไขข้อผิดพลาด และถ้าเป็นไปได้ก็แก้ไขผลการแข่งขันตามด้วย ถ้าหากเกิดการผิดพลาดจริง
ถ้าค้นพบข้อผิดพลาดหลังจากใบบันทึกคะแนนถูกลงลายมือชื่อโดยผู้ตัดสินแล้ว ข้อผิดพลาดไม่อาจแก้ไขได้ ผู้ตัดสินต้องส่งรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อฝ่ายจัดการแข่งขัน

 

 ข้อ 10 หน้าที่ของผู้จับเวลาแข่งขัน (Timekeeper : Duties)
10.1 ผู้จับเวลาแข่งขันต้องจัดเตรียมนาฬิกาแข่งขันและนาฬิกาจับเวลา และต้อง
- บันทึกเวลาในการแข่งขันและเวลาที่หยุดไว้ภายใต้เงื่อนไขของกติกา
- แจ้งให้ทีมและผู้ตัดสินทราบเกี่ยวกับเวลา 3 นาทีก่อนเริ่มการแข่งขันในช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 3
- เริ่มจับเวลานอกและให้สัญญาณเสียง เมื่อเวลาผ่านไป 50 วินาทีของการให้เวลานอก
- รับรองสัญญาณเสียงซึ่งต้องดังมากพอ และดังอย่างอัตโนมัติเมื่อเวลาการแข่งขันสิ้นสุดลง สำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ ถ้าสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันเกิดขัดข้องหรือไม่
ดังพอ ผู้จับเวลาแข่งขันจะต้องใช้วิธีการใดก็ได้แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันที
สัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันเป็นสัญญาณที่ทำให้เกิดบอลตาย และนาฬิกาแข่งขันหยุดเดิน แต่อย่างไรก็ตาม สัญญาณเสียงของผู้จับเวลาแข่งขันไม่ทำให้เกิดบอลตาย เมื่อลูกบอลลอยอยู่ในอากาศจากการยิงประตูหรือการโยนโทษ
10.2 นาฬิกาแข่งขันจะเริ่มเดิน เมื่อ
- ระหว่างการเล่นลูกกระโดด เมื่อลูกบอลถูกปัดอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นถูกกระโดด
- หลังจากการโยนโทษไม่เป็นผลและลูกบอลกลายเป็นบอลดี เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นในสนาม
- ระหว่างการส่งบอลเข้าเล่นเมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นในสนาม
10.3 นาฬิกาแข่งขันจะหยุดเดิน เมื่อ
- เวลาการเล่นสิ้นสุดสำหรับช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
- ผู้ตัดสินเป่านกหวีดในขณะที่เป็นบอลดี
- สัญญาณเสียงเครื่องจับเวลา 24 วินาที ดังขึ้นในขณะที่เป็นบอลดี
- การยิงประตูเป็นผล ทีมที่เสียคะแนนร้องขอเวลานอก
- การยิงประตูเป็นผลในช่วง 2 นาทีสุดท้ายของช่วงการเล่นที่ 4 และช่วงต่อเวลาพิเศษ

 ข้อ 11 หน้าที่ของผู้จับเวลา 24 นาที (24-second operator : Duties)
ผู้จับเวลา 24 วินาที ต้องจัดเตรียมเครื่องจับเวลา 24 วินาทีและดำเนินการดังต่อไปนี้
11.1 เริ่มเดินหรือเดินต่อ ทันทีที่ผู้เล่นครอบครองบอลดีในสนาม
11.2 หยุดและเริ่มใหม่ 24 วินาที จะไม่แสดงตัวเลขให้เห็น
- ผู้ตัดสินเป่านกหวีดสำหรับการฟาล์ว การเล่นลูกกระโดดหรือการทำผิดระเบียบ แต่ไม่ใช่บอลออกนอกสนาม เมื่อทีมครอบครองบอลเดิมเป็นฝ่ายส่งบอลเข้าเล่น
- การยิงประตู เมื่อลูกบอลลงห่วงตาข่าย
- การยิงประตูเมื่อลูกบอลถูกห่วง
- เกมการแข่งขันหยุดเพราะการกระทำหน้าที่ต่อเนื่องซึ่งเป็นการกระทำของฝ่ายตรงข้ามกับทีมครอบครองบอล
11.3 24 วินาที เริ่มใหม่ แลเดินต่อ ทันทีที่ฝ่ายตรงข้ามครอบครองบอลดีในสนาม
การถูกลูกบอลโดยฝ่ายตรงข้าม จะไม่เริ่ม 24 วินาทีใหม่ ถ้าทีมเดิมยังครอบครองบอลอยู่
11.4 24 วินาที หยุดแต่ไม่เริ่มใหม่ เมื่อทีมเดินก่อนหน้านี้ ครอบครองบอลอยู่ได้ส่งบอลเข้าเล่น ซึ่งเป็นผลมาจากสิ่งต่อไปนี้
- ลูกบอลออกนอกสนาม
- ฟาล์วคู่
- เกมการแข่งขันหยุดเพื่อชี้แจงเหตุผล ซึ่งเป็นผล ซึ่งเป็นผลทำให้ทีมเดิมครอบครองบอล
11.5 หยุดและไม่แสดงให้เห็น เช่น ไม่แสดงตัวเลข 24 วินาที ให้เห็นเมื่อทีมครองบอลและเวลาการแข่งขันเหลือน้อยกว่า 24 วินาที ในแต่ละช่วงการเล่น หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ

 ข้อ 12 ทีม (Team)
12.1 คำจำความ (Definitions)
12.1.1 คุณสมบัติที่ถูกต้องในการเล่นนั้น เป็นการมอบอำนาจให้ฝ่ายจัดการแข่งขันเป็นผู้กำหนดเกี่ยวกับการแข่งขันซึ่งการกำหนด
เงื่อนไขข้อตกลงต่าง ๆ โดยเฉพาะการจำกัดอายุน่าจะนำมาพิจารณา
12.1.2 สมาชิกของทีมที่อยู่ในการแข่งขัน ต้องมีชื่อในใบบันทึกคะแนนก่อนเริ่มการแข่งขัน และเป็นระยะเวลานานพอ ซึ่งเขาต้องไม่ถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ หรือฟาล์วครั้งที่ 5
12.1.3 ระหว่างการแข่งขัน สมาชิกของแต่ละทีมถ้าไม่เป็นผู้เล่น ก็จะเป็นผู้เล่นสำรอง
12.1.4 ผู้ติดตามทีม อาจจะนั่งในบริเวณที่นั่งของทีมได้ ถ้าหากเขามีหน้าที่พิเศษ เช่นผู้จัดทีม แพทย์ประจำทีมนักกายภาพบำบัด
นักสถิติ ล่าม เป็นต้น ผู้เล่นซึ่งกระทำฟาล์วครบ 5 ครั้ง จะกลายเป็นผู้ติดตามทีม
12.2 กฎ (Rule)
แต่ละทีม จะประกอบด้วย
- สมาชิกของทีมไม่เกิน 10 คน ที่มีคุณสมบัติถูกต้องในการแข่งขัน
- สมาชิกของทีมไม่เกิน 12 คน ที่มีคุณสมบัติถูกต้องในการแข่งขัน สำหรับการแข่งขันซึ่งทีมมีการแข่งขันมากกว่า 3 เกม
- มีผู้ฝึกสอนทีม 1 คน ซึ่งเป็นคนใดคนหนึ่งในสมาชิกของทีมที่ลงเล่นในการแข่งขัน
- ผู้ติดตามทีมให้มีมีสูงสุดได้ 5 คน มีหน้าที่รับผิดชอบพิเศษ

 ข้อ 13 ผู้เล่นและผู้เล่นสำรอง (Players and substitutes)
13.1 คำจำกัดความ (Definitions)
สมาชิกของทีม คือผู้เล่น เมื่อเขาอยู่ในสนามแข่งขันและมีคุณสมบัติถูกต้องในการแข่งขัน หรือคือผู้เล่นสำรองเมื่อเขาไม่อยู่ในสนามแข่งขัน หรืออยู่ในสนามแข่งขัน แต่เขาไม่มีคุณสมบัติที่ถูกต้องในการแข่งขันเพราะเขาฟาล์วเสียสิทธิ์หรือฟาล์วครั้งที่ 5
13.2 กฎ (Rule)
13.2.1 ผู้เล่นที่อยู่ในสนามระหว่างเวลาการแข่งขันและอาจจะเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้
13.2.2 ผู้สำรองกลายเป็นผู้เล่น เมื่อผู้ตัดสินอนุญาตโดยใช้ท่าทางให้เข้ามาแทนตำแหน่งของผู้เล่นในสนาม
13.2.3 ชุดแข่งขันของผู้เล่นสำหรับแต่ละทีมจะประกอบด้วย
- เสื้อ มีสีที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
ผู้เล่นทุกคน (ชายและหญิง) ต้องสวมชายเสื้อไว้ในกางเกงระหว่างเกมการแข่งขัน ชุดที่เป็นชุดเดียวกันทั้งเสื้อและกางเกงอนุญาตให้ใช้ได้
- เสื้อคอกลม (T-shirt) ไม่ว่าลักษณะใดก็ตามไม่อนุญาตให้สวมใส่เป็นเสื้อชั้นในของเสื้อแข่งขัน ยกเว้น มีใบรับรองแพทย์ ถ้าได้รับอนุญาต เสื้อคอกลมนั้นต้องเป็นสีที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนเหมือนเสื้อแข่งขัน
- กางเกง ต้องเป็นสีที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนเหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่ไม่จำเป็นต้องมีสีเหมือนกับสีเสื้อแข่งขัน
- กางเกงชั้นใน (Undergarments) ที่ยาวกว่ากางเกงแข่งขัน อาจสวมใส่ได้แต่สีของกางเกงชั้นในต้องเป็นสีเดียวกับสีของกางเกงแข่งขัน
13.2.4 ผู้เล่นแต่ละคนต้องสวมใส่เสื้อที่มีหมายเลขทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้วยหมายเลขที่ชัดเจนมีแตกต่างกับสีของเสื้อแข่งขัน
หมายเลขจะต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจน และ
- หมายเลขที่ติดด้านหลังต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตร
- หมายเลขที่ติดด้านหน้าต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
- หมายเลขจะมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เซนติเมตร
- ผู้เล่นทีมเดียวกันต้องไม่สวมใส่เสื้อแข่งขันที่มีหมายเลขซ้ำกัน
การโฆษณา อนุญาตให้ได้แต่ต้องปฏิบัติตามที่กำหนดเอาไว้จากการควบคุมดูแลของเกมการแข่งขัน และจะต้องไม่ปิดบังทำให้มองหมายเลขไม่ชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเสื้อแข่งขัน
- ไม่อนุญาต ในสิ่งต่อไปนี้
- อุปกรณ์ป้องกันนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก หรือแขนท่อนล่าง เฝือกหรือเครื่องประดับที่ทำด้วยหนัง พลาสติกอ่อนนุ่ม โลหะ หรือวัสดุอื่นที่ม
ีความแข็ง ถึงแม้จะห่อหุ้มด้วยสิ่งอ่อนนุ่มก็ตาม
- อุปกรณ์ที่มีความคมหรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยขูดขีด (เล็บนิ้วมือจะต้องตัดให้สั้น)
- อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ เครื่องประดับผมและเครื่องประดับที่เป็นเพชรพลอย
- อนุญาต ในสิ่งต่อไปนี้
- อุปกรณ์ป้องกันไหล่ แขนท่อนบน ต้นขาหรือขาท่อนล่างถ้าการห่อหุ้มไม่น่าจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้คนอื่น
- แว่นตา ถ้าไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นคนอื่น ๆ
- อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ มีความกว้างไม่เกิน 5 เซนติเมตร ทำจากผ้าสีเดียวกัน พลาสติกอ่อน หรือยาง
13.2.6 อุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้โดยผู้เล่นต้องเหมาะสมกับการเล่นกีฬาบาสเกตบอล อุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อเพิ่มความสูงหรือความยาวช่วง
แขนของผู้เล่น หรือทำให้เกิดการได้เปรียบอย่างไม่ยุติธรรม ไม่อนุญาตให้ใช้
13.2.7 อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อนี้ สิ่งแรกต้องได้รับการรับรองโดยคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคโลก ของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติก่อน
13.2.8 ทีมจะต้องมีเสื้อแข่งขันอย่างน้อย 2 ชุด
- ทีมชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน (ทีมเหย้า) จะสวมใส่เสื้อสีอ่อน (โดยมากเป็นสีขาว)
- ทีมชื่อหลังในโปรแกรมการแข่งขัน (ทีมเยือน) จะสวมใส่เสื้อสีเข้ม
- แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงกันได้จะสลับสีเสื้อแข่งขันได้
13.2.9 สำหรับการแข่งขันระดับสำคัญของสหพันธ์บาสเกตบอลนานาชาติ ผู้เล่นทุกคนในทีมเดียวกันจะต้องสวมใส่สิ่งต่อไปนี้
- รองเท้าต้องมีสี หรือหลากสีเหมือนกัน
- ถุงเท้าต้องมีสี หรือหลากสีเหมือนกัน
 ข้อ 14 การบาดเจ็บของผู้เล่น (Players : Injury)
14.1 ในกรณีของผู้เล่นบาดเจ็บ ผู้ตัดสินอาจจะสั่งหยุดการแข่งขันได้
14.2 ถ้าเป็นบอลดี เมื่อเกิดการบาดเจ็บขึ้น ผู้ตัดสินจะยับยั้งเสียงนกหวีดไว้ก่อนจนกว่าการเล่นช่วงนั้นจะเสร็จสมบูรณ์ นั้น คือ
ทีมครอบครองบอลยิงประตู เสียการครอบครองบอล ถือลูกบอลเพื่อหยุดการเล่นหรือเกิดบอลตาย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อจำเป็นต้อง
ป้องกันผู้เล่นที่บาดเจ็บผู้ตัดสินอาจสั่งหยุดการแข่งขันทันที
14.3 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่บาดเจ็บ
- ถ้าผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่สามารถเล่นต่อไปได้ทันที (โดยประมาณ 15 วินาที) หรือถ้ามีการรักษา จะต้องเปลี่ยนตัวภายในเวลา 1 นาที หรือทันทีทันใดถ้าเป็นไปได้
- อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นที่บาดเจ็บซึ่งได้รับการรักษาหรือหายบาดเจ็บแล้วภายในเวลา 1 นาที อาจกลับเข้ามาในเกมการแข่งขันต่อไปได้ แต่ทีมของผู้เล่นที่บาดเจ็บจะต้องถูกปรับเป็นเวลานอก
- นอกจากผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่สามารถกลับเข้ามาในเกมการแข่งขันต่อไปนี้ได้และต้องเปลี่ยนตัวถ้าผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่สามารถแข่งขัน
ต่อไปได้ภายใน 1 นาที หรือทีมของผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่มีเวลานอกเหลืออยู่อีก
ข้อยกเว้น (Exception) ทีมจะเล่นต่อไปได้ต้องเหลือผู้เล่นจำนวนน้อยกว่า 5 คน
14.4 ถ้าผู้เล่นที่บาดเจ็บได้โยนโทษต้องให้ผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวเข้ามาได้โยนโทษแทน การเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่อาจเปลี่ยนตัวกลับเข้ามาได้จนกว่าจะมีการเล่นในช่วงนาฬิกาแข่งขันเดินในครั้งต่อไป
14.5 ผู้เล่นซึ่งถูกกำหนดโดยผู้ฝึกสอนในการเริ่มการแข่งขันอาจเปลี่ยนตัวได้ในกรณีเกิดการบาดเจ็บ โดยมีข้อแม้ว่าผู้ตัดสินเห็นว่าการบาดเจ็บนั้นเป็นจริง ในกรณีนี้ฝ่ายตรงข้ามสามารถเปลี่ยนตัวตามได้ 1 คน ถ้าฝ่ายตรงข้ามต้องการ
เปลี่ยนตัว
14.6 ระหว่างเกมการแข่งขัน ผู้ตัดสินจะสั่งให้ผู้เล่นซึ่งมีในกรณีนี้ให้ผู้เล่นเปลี่ยนตัวได้ ผู้เล่นอาจจะกลับเข้ามาในสนามได้ แต่ต้องให้การไหลของเลือดหยุดก่อน และบริเวณบาดแผลที่มีเลือดไหลหรือบาดแผลเปิดนั้นต้องได้รับการปิดบาดแผลอย่างสนิทและ
ปลอดภัยแล้ว
 ข้อ 15 หน้าที่และอำนาจของหัวหน้าทีม (Captain : Duties and power)
15.1 หัวหน้าทีม คือผู้เล่นที่เป็นตัวแทนของทีมในสนามอาจจะติดต่อสื่อสารกับผู้ตัดสินระหว่างเกมการแข่งขันเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความสุภาพ และเฉพาะเมื่อบอลตายและนาฬิกาแข่งขันหยุดเดินเท่านั้น
15.2 เมื่อหัวหน้าทีมออกจากสนาม ด้วยเหตุผลใดก็ตามผู้ฝึกสอนจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบถึงหมายเลขผู้เล่นซึ่งเป็นหัวหน้าทีมแทนในสนามระหว่างที่หัวหน้าทีม
คนเดิมไม่อยู่ในสนาม
15.3 หัวหน้าทีมอาจจะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนได้
15.4 หัวหน้าทีมจะต้องกำหนดตัวผู้โยนโทษในสถานการณ์การโยนโทษของทีมในทุกกรณีที่ไม่ได้ระบุตัวผู้โยนโทษตามกติกา
15.5 หัวหน้าทีมจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบทันทีภายหลังสิ้นสุดเกมการแข่งขันว่า ทีมของตนเองต้องการประท้วงผลการแข่งขันโดยลงนามชื่อในใบบันทึกคะแนนที่ช่องว่างคำว่าลายมือชื่อของหัวหน้าทีมในกรณี
ประท้วง
 ข้อ 16 หน้าทีและอำนาจของผู้ฝึกสอน (Coaches : Duties and power)
16.1 ผู้ฝึกสอนหรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนเป็นผู้แทนคนเดียวของทีมซึ่งอาจจะติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่โต๊ะบันทึกคะแนนระหว่างเกมการ
แข่งขันเกี่ยวกับข้อมูลสถิติ ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความสุภาพเฉพาะเมื่อบอลตายและนาฬิกาแข่งขันหยุดเดินเท่านั้น และต้องไม่ขัดขวาง
การเล่นของเกมการแข่งขันตามปกติ
16.2 อย่างน้อย 20 นาที ก่อนเริ่มการแข่งขันตามกำหนดเวลา ผู้ฝึกสอนหรือผู้แทนแต่ละทีมจะต้องส่งรายชื่อและหมายเลขสมาชิก
ของทีมที่ลงเล่นในการแข่งขันนั้นให้กับผู้บันทึกคะแนนพร้อมทั้งระบุชื่อหัวหน้าทีม ผู้ฝึกสอน และผู้ช่วยผู้ฝึกสอนของทีมด้วย
16.3 อย่างน้อย 10 นาที ก่อนเริ่มเกมการแข่งขันตามกำหนดเวลา ผู้ฝึกสอนทั้ง 2 ทีม จะต้องยืนยันรับรองรายชื่อและหมายเลข
สมาชิกของทีมและชื่อผู้ฝึกสอน โดยลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนน ในเวลาเดียวกันจะต้องแจ้งให้ผู้เล่น 5 คนแรกซึ่งเริ่มเกม
การแข่งขัน ผู้ฝึกสอนทีม “A” จะเป็นฝ่ายแจ้งก่อน
16.4 ผู้เล่นสำรองที่มาช้าอาจจะลงแข่งขันได้ โดยมีข้อแม้ว่าผู้ฝึกสอนต้องส่งรายชื่อของเขาในใบรายชื่อสมาชิกของทีมให้กับผู้บันทึกคะแนนก่อนเริ่มเกมการแข่งขัน
16.5 เฉพาะผู้ฝึกสอนหรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่ร้องขอเวลานอก
16.6 เฉพาะผู้ฝึกสอนหรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอน แต่ไม่ใช่พร้อมกันทั้ง 2 คน อนุญาตให้ยืนขึ้นได้ระหว่างเกมการแข่งขัน รวมถึงหัวหน้าทีมซึ่งทำหน้าที่แทนผู้ฝึกสอนสำหรับเหตุผลใดก็ตาม
16.7 เมื่อผู้ฝึกสอนหรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนร้องขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นต้องรายงานตัวต่อผู้บันทึกคะแนนและต้องพร้อมที่จะเข้าเล่นทันที
16.8 ถ้าผู้ช่วยผู้ฝึกสอนลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนนก่อนเกมเริ่มการแข่งขัน (เขาไม่จำเป็นต้องลงลายมือชื่อ) เขาจะรับหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนมีอำนาจและหน้าที่ทั้งหมด ถ้าผู้ฝึกสอนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
16.9 หัวหน้าทีมจะทำหน้าที่แทนผู้ฝึกสอน ถ้าไม่มีผู้ฝึกสอนหรือถ้าผู้ฝึกสอนไม่สามารถปฏิบัติหน้าทีต่อไปได้และไม่มีชื่อผู้ช่วยผู้ฝึกสอนในใบบันทึกคะแนน (หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้) ถ้าหัวหน้าทีมต้องออกจากสนามสำหรับเหตุผลใดก็ตาม เขาอาจจะปฏิบัติหน้าท
ี่ผู้ฝึกสอนต่อไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเขาต้องออกจากเกมแข่งขันเนื่องจากการฟาล์วเสียสิทธิ์ หรือถ้าเขาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ฝึกสอน
ได้ เพราะการบาดเจ็บ ผู้เล่นที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมแทนต้องปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้ฝึกสอนด้วย
 ข้อ 17 ข้อบังคับเกี่ยวกับการแข่งขัน (Playing Regulations)
17.1 เกมการแข่งขันประกอบด้วยการแข่งขัน 4 ช่วงการเล่น ช่วงละ 10 นาที
17.2 พัก 2 นาที ระหว่างช่วงการเล่นที่ 1 กับช่วงการเล่นที่ 2 และระหว่างช่วงการเล่นที่ 3 กับช่วงเวลาที่ 4 และก่อนช่วงต่อเวลา
พิเศษในแต่ละช่วง
17.3 พักครึ่งเวลา 15 นาที
17.4 ถ้าคะแนนเท่ากันหลังจากสิ้นสุดการแข่งขันในช่วงการเล่นที่ 4 เกมการแข่งขันจะเล่นต่อไปด้วยช่วงต่อเวลาพิเศษ 5 นาทีหรืออาจจะแข่งขันต่อไปอีกกี่ช่วงก็ได้ ช่วงการเล่นละ 5 นาที ซึ่งถ้ายังมีคะแนนเท่ากันอีก
17.5 ทุกช่วงต่อเวลาพิเศษ ทีมจะเล่นต่อไปในทิศทางของห่วงประตูเดิมต่อจากการแข่งขันในช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงการเล่นที่ 4
 ข้อ 18 การเริ่มเกมการแข่งขัน (Beginning of the game)
18.1 สำหรับเกมการแข่งขัน ทีมชื่อแรกในโปรแกรมการแข่งขัน (ทีมเหย้า) จะมีสิทธิ์เลือกห่วงประตูและที่นั่งของทีมก่อน
ในการเลือกนี้จะต้องดำเนินการและแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบอย่างน้อย 20 นาที ก่อนเกมการแข่งขันเริ่มตามโปรแกรมการแข่งขัน
18.2 ก่อนช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 3 ทีมเข้าไปอบอุ่นร่างกายในครึ่งสนามซึ่งห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามตั้งอยู่
18.3 ทีมจะเปลี่ยนห่วงประตูในช่วงการเล่นที่ 3
18.4 เกมการแข่งขันมีสามารถเริ่มได้ ถ้าทีมใดทีมหนึ่งมีผู้เล่นในสนามไม่ครบ 5 คน และพร้อมที่จะแข่งขัน
18.5 เกมการแข่งขันเริ่มอย่างเป็นทางการ ด้วยการเล่นลูกกระโดที่วงกลมกลาง เมื่อลูกบอลถูกปัดอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นลูกกระโดด
 ข้อ 19 สถานภาพของลูกบอล (Status of the ball)
ลูกบอลสามารถเป็นบอลดีหรือบอลตาย
19.1 ลูกบอลเป็นบอลดี เมื่อ :
- ระหว่างการเล่นลูกกระโดด ลูกบอลถูกปัดอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นลูกกระโดด
- ระหว่างการโยนโทษผู้ตัดสินส่งลูกบอลให้กับผู้โยนโทษถือ เพื่อดำเนินการโยนโทษ
- ระหว่างการส่งบอลเข้าเล่น ผู้เล่นที่จะส่งบอลเข้าเล่นถือลูกบอลพร้อมส่งบอลเข้าเล่น
19.2 ลูกบอลเป็นบอลตาย เมื่อ
- ยิงประตูหรือโยนโทษเป็นผล
- เสียงนกหวีดของผู้ตัดสินดังขึ้นในขณะที่เป็นบอลดี
- เป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่าลูกบอลไม่ไปที่ห่วงประตูจากการโยนโทษ ซึ่งมีเหตุการณ์อื่นเกิดตามมาโดย
- มีการโยนโทษอีก 1 ครั้ง
- มีการลงโทษอื่นอีก (การโยนโทษ และ/หรือการส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม)
- สัญญาณเสียงการสิ้นสุดเวลาการแข่งขันแต่ละช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษดังขึ้น
- ลูกบอลลอยอยู่ในอากาศจากการยิงประตู ถูกผู้เล่นทีมใดทีมหนึ่ง

 ข้อ 20 ตำแหน่งของผู้เล่นและผู้ตัดสิน (Location of a player and official)
20.1 ตำแหน่งของผู้เล่น พิจารณาจุดที่ผู้เล่นสัมผัสพื้นสนามในขณะที่ผู้เล่นกระโดดขึ้นไปในอากาศให้ถือเสมือนหนึ่งว่าเขายังคงยืน
อยู่บนพื้นสนามครั้งสุดท้ายไม่ว่าจะเป็นเส้นกำหนดเขต 3 วินาที
20.2 ตำแหน่งของผู้ตัดสินพิจารณาในทำนองเดียวกันตำแหน่งของผู้เล่น เมื่อลูกบอลสัมผัสถูกผู้ตัดสินให้ถือเสมือนว่าลูกบอลถูกพื้นสนามที่ตำแหน่งของผู้ตัดสินยืนอยู่

 ข้อ 21 การเล่นลูกกระโดด (Jump ball)
21.1 คำจำกัดความ
21.1.1 การเล่น ลูกกระโดด เป็นวิธีการทำให้เป็นบอลดี เริ่มเมื่อผู้ตัดสินโยนลูกบอลขึ้นระหว่างผู้เล่นต่างฝ่ายกัน 2 คน ในวงกลมกลางสนามของแต่ละครึ่งเวลาหรือช่วงต่อเวลาพิเศษทุกช่วง ไม่มีผู้เล่นคนในครอบครองบอลได้ โดยปราศจากความรุนแรง
21.1.2 วิธีการปฏิบัติ สำหรับการดำเนินการเล่นลูกกระโดด
21.2.1 ผู้เล่นลูกกระโดดแต่ละคนจะยืนด้วยเท้าทั้งสองข้างภายในครึ่งวงกลม ซึ่งอยู่ใกล้กับห่วงประตูของทีมตนเองโดยเท้าข้างหนึ่งอยู่ใกล้เส้นกลางของวงกลม

 ข้อ 22 วิธีการเล่นลูกบอล (How the ball is played)
22.1 ในกีฬาบาสเกตบอล ลูกบอลจะเล่นด้วยมือข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างเท่านั้น
22.2 การวิ่งไปพร้อมกับลูกบอล การเตะลูกบอลอย่างจงใจการสกัดกั้นลูกบอลด้วยบางส่วนของขา หรือทุบลูกบอลด้วยกำปั้นเป็น
การผิดระเบียบ
22.3 การที่ลูกบอลถูกเท้าหรือขาโดยบังเอิญ ไม่เป็นการทำผิดระเบียบ

 ข้อ 23 การครอบครองบอล (Control of the ball)
23.1 ผู้เล่นครอบครองบอลเมื่อเขาถือลูกบอล หรือเลี้ยงลูกบอล หรือจัดการกับลูกบอลในขณะเป็นบอลดี
23.2 ทีมครอบครองบอลเมื่อผู้เล่นของทีมนั้นครอบครองบอลดี หรือลูกบอลถูกส่งไปมาระหว่างผู้เล่นในทีมเดียวกัน
23.3 ทีมครอบครองบอลต่อไปจนกว่าฝ่ายตรงข้ามแย่งลูกบอลไปครอบครอง เป็นบอลตาย หรือลูกบอลหลุดออกจากมือของผู้เล่นจากการยิงประตูหรือการโยนโทษ

 ข้อ 24 ลักษณะการยิงประตู
24.1 ลักษณะการยิงประตูจะเริ่มเมื่อผู้เล่นเริ่มเคลื่อนที่ตามปกติก่อนปล่อยลูกบอล และในการพิจารณาของผู้ตัดสินจะพิจารณาว่าผู้เล่นได้เริ่มความพยายามในการทำคะแนนในการโยนการยัดห่วง หรือการปัด ให้ลูกบอลลงห่วงประตูฝ่ายตรงข้าม ลักษณะการยิงประตูนี้จะพิจารณาต่อไปจนกว่าลูกบอลหลุดออกจากมือขงผู้เล่นที่พยายามทำคะแนน อาจถูกยึดแขนโดยฝ่ายตรงข้ามทำให้ไม่สามารถทำคะแนนได้ แต่อย่างไรก็ตาม การพิจารณาของผู้ตัดสินจะพิจารณาความพยายามใน
การทำคะแนน ความพยายามนั้นไม่จำเป็นว่าลูกบอลจะหลุดจากมือของผู้เล่นหรือไม่
ไม่มีความเกี่ยวข้องกันระหว่างจำนวนก้าวของการเคลื่อนที่และลักษณะกำลังยิงประตู
24.2 ในกรณีของผู้ยิงประตูกระโดดลอยตัวอยู่ในอากาศการกระทำของการยิงประตูยังคงต่อเนื่อง จนกระทั่งความพยายามจะสิ้นสุด (ลูกบอลหลุดออกจากมือของผู้ยิงประตู) และเท้าของผู้เล่นทั้ง 2 ข้าง ลงสู่พื้นเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม การครอบครองบอลของทีมสิ้นสุดเมื่อสุดบอลหลุดออกจากมือของผู้ยิงประตู
24.3 สำหรับการพิจารณาการฟาล์วต่อผู้เล่นที่อยู่ในลักษณะกำลังยิงประตูซึ่งการกระทำฟาล์วต้องเกิดขึ้น การพิจารณาของผู้ตัดสินหลังจากผู้เล่นเริ่มเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องของแขนและ/ หรือบางส่วนของร่างกายในการพยายามยิงประตู
การเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง
- เริ่มต้นเมื่อลูกบอลอยู่ในมือของผู้เล่นและกำลังเคลื่อนที่ยิงประตูตามปกติขึ้นไปข้างบน
- อาจรวมถึงแขนของผู้เล่นและ/หรือการเคลื่อนที่ของร่างกายโดยผู้เล่นพยายามยิงประตูเพื่อทำคะแนน
- ความพยายามยิงประตูสิ้นสุด ถ้าเริ่มความพยายามเคลื่อนที่ใหม่
ถ้าหลักการเกี่ยวกับการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องตรงกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ให้พิจารณาว่าผู้เล่นอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู
 ข้อ 25 ได้ประตูเมื่อไรและค่าของประตู (Goal : When made and its value)
25.1 คำจำกัดความ
25.1.1 ได้ประตู เมื่อลูกบอลลงห่วงประตูจากด้านบนและค้างอยู่ในห่วงประตูหรือผ่านห่วงประตูลงมา
25.1.2 การพิจารณาว่าลูกบอลอยู่ในห่วงประตูเมื่อเห็นว่าบางส่วนของลูกบอลอยู่ภายในห่วงและอยู่ต่ำกว่าส่วนบนสุดของห่วง
25.2 กฎ
25.2.1 ให้ประตูกับทีมฝ่ายรุกที่เข้ายิงประตูซึ่งโยนลูกบอลลงห่วงประตู ดังต่อไปนี้
- ให้ประตูจากการโยนโทษ นับ 1 คะแนน
- ให้ประตูจากการยิงประตูบริเวณพื้นที่ยิงประตู 2 คะแนน นับ 2 คะแนน
- ให้ประตูจากการยิงประตูบริเวณพื้นที่ยิ่งประตู 3 คะแนน นับ 3 คะแนน
25.2.2 ถ้าบังเอิญยิงประตูตนเองลงห่วงประตูคะแนนจะบันทึกเป็นของหัวหน้าทีมฝ่ายตรงข้าม
25.2.3 ถ้าผู้เล่นจงใจ ยิงประตูตนเองลงห่วงประตูเป็นการทำผิดระเบียบและคะแนนไม่นับ
25.2.4 ถ้าผู้เล่นทำให้ลูกบอลเข้าห่วงประตูจากด้านล่างเป็นการทำผิดระเบียบ
 ข้อ 26 การส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม (Throw-in)
26.1หลักการทั่วไป
26.1.1 ไม่ว่าเมื่อใดก็ตามที่ลูกบอลลงห่วงประตูจากการยิงประตู หรือการโยนโทษแต่ไม่นับคะแนน การส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม
จะส่งที่เส้นข้างตามแนวเส้นโยนโทษ
26.1.2 หลังการโยนโทษจากการฟาล์วเทคนิคฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา หรือการฟาล์วเสียสิทธิ์ การส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามจะนำไปส่งที่จุดกึ่งกลางสนามตรงข้ามโต๊ะผู้บันทึกคะแนนไม่ว่าการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือ
ครั้งเดียว เป็นผลหรือไม่ก็ตาม
การส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่จุดกึ่งกลางสนาม ผู้เล่นจะยืนคร่อมแนวเส้นกึ่งกลางสนามและ สามารถส่งลูกบอลไปให้ผู้เล่นที่ใด
ก็ได้ในสนาม
26.1.3 หลังการฟาล์วบุคคลซึ่งกระทำโดยผู้เล่นของทีมครอบครองบอลดี หรือทีมที่ได้ส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามจะให้ฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามใกล้จุดที่ละเมิดกติกา
26.1.4 ผู้ตัดสินอาจจะโยนลูกบอล หรือส่งลูกบอลกระทบพื้นไปให้ผู้เล่นที่จะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม นั้นคือ
- ผู้ตัดสินจะต้องอยู่ห่างจากผู้เล่นที่จะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามเกินกว่า 3 หรือ 4 เมตร
- ผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเข้าจากนอกสนามต้องยืนอยู่ที่จุดซึ่งกำหนดโดยผู้ตัดสิน
- ทีมที่ครอบครองบอลจะไม่เป็นฝ่ายได้เปรียบ
26.2 ผลที่ตามมาภายหลังการยิงประตูหรือการโยนโทษครั้งสุดท้ายเป็นผล
26.2.1 ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งของทีมที่เสียคะแนนจะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่เส้นหลัง ภายหลังการยิงประตูเป็นผล
ข้อปฏิบัตินี้ใช้ได้หลังจากผู้ตัดสินยื่นลูกบอลให้กับผู้เล่นหรือส่งลูกบอลให้ เพื่อส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามภายหลังการขอเวลานอกหรือภายหลังหยุดการแข่งขันหลังการได้คะแนน
26.2.2 ผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นอาจเคลื่อนไปทางด้านข้างและ/หรือถอยหลัง และ/หรืออาจส่งลูกบอลไปมาระหว่างเพื่อนร่วมทีมซึ่งอาจเหยียบเส้นหรืออยู่หลังเส้นหลัง แต่การนับ 5 วินาทีเริ่มนับเมื่อลูกบอลพร้อมส่งเข้าเล่นของผู้เล่นคนแรกนอกสนาม
26.2.3 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับทีมที่จะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม จะต้องไม่ถูกลูกบอลภายหลังลูกบอลผ่านห่วงประตูลงมา
อาจอนุญาตให้ถูกลูกบอลได้โดยบังเอิญหรือโดยสัญชาตญาณ แต่ถ้าหลังจากการการเตือนในครั้งแรกทำให้การส่งบอลเข้าเล่นล่าช้าโดยการเกี่ยวข้องกับลูกบอล จะเป็นฟาล์วเทคนิค
26.3 ผลที่ตามมาภายหลังการละเมิดหรือหยุดการเล่นอื่น ๆ
26.3.1 ผู้เล่นส่งบอลจะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่จุดใกล้กับที่เกิดการละเมิดกติกา หรือที่กำหนดจุดโดยผู้ตัดสินซึ่งหยุด
การเล่นนั้น ยกเว้นใต้กระดานหลังโดยตรง
26.3.2 ผู้ตัดสินต้องยื่น ส่ง หรือวางลูกบอลที่จุดกำหนดของผู้เล่นที่พร้อมจะส่งบอลเข้าเล่น
26.4 กฎ
26.4.1 ผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นจะไม่ทำผิดระเบียบดังต่อไปนี้
- ถูกลูกบอลในสนามก่อนที่ลูกบอลจะถูกผู้เล่นคนอื่น
- ก้าวเท้าเข้าไปในสนามก่อนหรือในขณะที่กำลังปล่อยลูกบอล
- ใช้เวลาเกิน 5 วินาที ก่อนปล่อยลูกบอล
- ในขณะปล่อยลูกบอล ลูกบอลถูกพื้นนอกสนามก่อนถูกผู้เล่นในสนาม
- ลูกบอลลงห่วงประตูโดยตรง
- การเคลื่อนที่จะต้องก้าวเท้าไม่เกิน 1 ก้าวปกติไม่เคลื่อนที่มากกว่าว่าทิศทางเดียวจากจุดที่กำหนดโดยผู้ตัดสินก่อนหรือในขณะ
ปล่อยลูกบอล แต่อย่างไรก็ตาม อนุญาตให้เคลื่อนที่ถอยหลังเป็นแนวตั้งฉากกับเส้นเขตสนาม ไกลเท่าไรก็ได้ตามสภาพแวดล้อม
26.4.2 ผู้เล่นคนอื่นจะต้องไม่ปฏิบัติในสิ่งต่อไปนี้
- ไม่อาจยื่นบางส่วนของร่างกายออกนอกเขตสนามก่อนที่ลูกบอลจะถูกส่งข้ามเส้นเขตสนามเข้าไปในสนาม
- ไม่เข้าใกล้ผู้เล่นที่ส่งบอลเข้าเล่นอย่างน้อย 1 เมตร เมื่อพื้นที่มีที่ว่างนอกเส้นเขตสนามที่จุดส่งบอลเข้าเล่นน้อยกว่า 2 เมตร
การละเมิดกติกาข้อ 26.4 เป็นการทำผิดระเบียบ
26.5 บทลงโทษ
ให้ฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่จุดส่งบอลจุดเดิม
 ข้อ 27 การให้เวลานอก (Charged time-out)
27.1 คำจัดกัดความ
การให้เวลานอกเป็นการขัดจังหวะเกมการแข่งขันซึ่งร้องขอโดยผู้ฝึกสอน หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนของทีม
27.2 กฎ
27.2.1 เวลานอกแต่ละครั้ง เท่ากีบ 1 นาที
27.2.2 โอกาสการให้เวลานอก เริ่มต้นเมื่อ
- บอลตายและนาฬิกาแข่งขันหยุดเดินและเมื่อผู้ตัดสินสิ้นสุดการสื่อสารกับโต๊ะผู้บันทึกคะแนนเพื่อแจ้งการกระทำฟาล์วหรือการทำ
ผิดระเบียบ
-การยิงประตูเป็นผล ฝ่ายตรงข้ามร้องขอเวลานอกก่อนหรือหลังการยิงประตู
27.2.3 โอกาสการให้เวลานอกสิ้นสุด เมื่อ
- ผู้ตัดสินถือหรือปราศจากจากลูกบอลเข้าไปในเขตโยนโทษ เพื่อดำเนินการโยนโทษครั้งแรกหรือครั้งเดียว
- ผู้เล่นถือลูกบอลสำหรับการส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม
27.2.4 แต่ละทีมขอเวลานอกได้ 2 ครั้ง ระหว่างครึ่งเวลาแรก (ช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 2) ขอเวลานอกได้ 3 ครั้ง
ระหว่างครึ่งเวลาหลัง (ช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงการที่เล่นที่ 4) และขอเวลานอกได้ 1 ครั้ง ระหว่างช่วงต่อเวลาพิเศษแต่ละช่วง
27.2.5 ให้เวลานอกต่อผู้ฝึกสอนของทีมซึ่งได้ร้องขอไว้ก่อน นอกเสียจากว่าเวลานอกที่ให้ภายหลังจาการยิงประตูเป็นผลโดยฝ่ายตรงข้ามและปราศจากการกระทำฟาล์ว
27.2.6 การร้องขอของทีมสำหรับเวลานอก อาจขอยกเลิก แต่ต้องก่อนสัญญาณของผู้บันทึกคะแนนดังขึ้นเพื่อแจ้งให้นั่งในที่นั่งของทีมอาจจะเข้าไปในสนาม โดยมีข้อแม้ว่ายังคงอยู่บริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่นั่งของทีม
27.3 วิธีการปฏิบัติ
27.3.1 ผู้ฝึกสอนหรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนเป็นผู้ที่ร้องขอเวลานอกที่ถูกต้อง โดยการเดินทางไปแจ้งกับผู้บันทึกคะแนน และพูดอย่างชัดเจนสำหรับการขอเวลานอกด้วยการทำสัญญาณมือตามที่กำหนดไว้
27.3.2 โอกาสในการให้เวลานอก เริ่มต้นเมื่อผู้บันทึกคะแนนแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบโดยสัญญาณเสียงในโอกาสที่เริ่มให้เวลานอก
ถ้าการยิงประตูเป็นผลต่อทีมซึ่งต้องขอเวลานอกไว้ ผู้จับเวลา แข่งขันจะหยุดนาฬิกาแข่งขันและให้สัญญาณเสียงทันที
27.3.3 เวลานอกเริ่มเมื่อผู้ตัดสินเป่านกหวีดและให้สัญญาณเวลานอก
27.3.4 เวลานอกสิ้นสุดเมือผู้ตัดสินเป่านกหวีดและเรียกผู้เล่นของทีมกลับเข้าสนาม

27.4 ข้อจำกัด (Restrictions)

27.4.1 ไม่อนุญาตให้เวลานอก ระหว่างหรือภายหลังการโยนโทษ ในกรณีเกิดการลงโทษของการฟาล์วครั้งเดียว จนกว่าจะเกิดบอลตายขึ้นอีกครั้งภายหลังนาฬิกาแข่งขันเดินในช่วงของเกมการแข่งขัน
ข้อยกเว้น(Exceptions)
- ขานฟาล์วระหว่างการโยนโทษ ในกรณีนี้ให้โยนโทษให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงให้เวลานอก แต่ต้องก่อนที่จะดำเนินการตามบทลงโทษของการฟาล์วครั้งใหม่
- ขานฟาล์วก่อนเป็นบอลดีหลังการโดยโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว ในกรณีนี้จะให้เวลานอกก่อนที่จะดำเนินการตามบทลงโทษ
ของการฟาล์วครั้งใหม่
- ขานผิดระเบียบก่อนเป็นบอลดีจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว บทลงโทษสำหรับกรณีนี้คือการเล่นลูกกระโดหรือ
ส่งบอลเข้าเล่น ในกรณีที่โยนโทษเป็นชุดโดยบทลงโทษการฟาลว์มากกว่า 1 ครั้ง แต่ละชุดดำเนินการแยกออกจากกัน
27.4.2 ไม่อนุญาตให้เวลานอก กับทีมที่ได้คะแนนเมื่อนาฬิกาแข่งขันหยุดจากการยิงประตูเป็นผลระหว่าง 2 นาทีสุดท้ายของ
ช่วงการเล่นที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ
27.4.3 เวลานอกที่ไม่ใช้ ไม่อาจนำมาใช้ในครึ่งเวลาหรือช่วงต่อเวลาพิเศษต่อไปได้

 ข้อ 28 การเปลี่ยนตัวผู้เล่น (Substitutions)
28.1 กฎ
28.1.1 ทีมอาจเปลี่ยนตัวผู้เล่น ซึ่งเป็นโอกาสในการเปลี่ยนตัว
28.1.2 โอกาสในการเปลี่ยนตัว เริ่มขึ้นเมื่อ
- เป็นบอลตายและนาฬิกาแข่งขันหยุดเดินและเมื่อผู้ตัดสินสิ้นสุดการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่โต๊ะบันทึกคะแนนเพื่อแจ้งการกระทำฟาล์ว
หรือการทำผิดระเบียบ
- การยิงประตูเป็นผลใน 2 นาทีสุดท้ายของช่วงการเล่นที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ ทีมที่เสียคะแนนร้องขอเปลี่ยนตัวได้ โอกาส
ในการเปลี่ยนตัว สิ้นสุดเมื่อ
- ผู้ตัดสินถือลูกบอลหรือปราศจากลูกบอลเข้าไปในเขตโยนโทษ เพื่อดำเนินการโยนครั้งแรกหรือครั้งเดียว
- ผู้เล่นถือลูกบอลพร้อมที่จะส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม
28.1.3 ผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวออกและการเปลี่ยนตัวเข้าที่ถูกต้อง ไม่สามารถกลับเข้ามาหรือไม่สามารถออกจากเกมการแข่งขันได้จนกว่าจะเกิดบอลตายอีกครั้งภายหลังนาฬิกาแข่งขันเดินในช่วง
ของเกมการแข่งขัน
ข้อยกเว้น (Exceptions)
- ทีมมีผู้เล่นเหลือน้อยกว่า 5 คน
- ผู้เล่นเปลี่ยนตัวผิดพลาดเข้าไปยังในที่นั่งของทีมแล้ว หลังจากมีการเปลี่ยนตัวอย่างถูกต้อง
28.2 วิธีการปฏิบัติ (Procedure)
28.2.1 การเปลี่ยนตัวที่ถูกต้องจะร้องขอเปลี่ยนตัวโดยเข้าไปหาผู้บันทึกคะแนนด้วยตนเองและแจ้งการเปลี่ยนตัวอย่างชัดเจน พร้อมกับทำสัญญาณมือ ซึ่งจะต้องนั่งบนที่นั่ง/เก้าอี้เปลี่ยนตัว
28.2.2 จนกว่าโอกาสการเปลี่ยนตัวจะเริ่มขึ้นผู้บันทึกคะแนนจะแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบว่ามีการร้องขอเปลี่ยนตัว โดยใช้สัญญาณเสียงในโอกาสการเปลี่ยนตัวเริ่มขึ้น
28.2.3 การเปลี่ยนตัวต้องรออยู่นอกสนาม จนกว่าผู้ตัดสินจะให้สัญญาณการเปลี่ยนตัว
28.2.4 ผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวออกไม่ต้องแจ้งผู้บันทึกคะแนนหรือผู้ตัดสิน อนุญาตให้ไปยังที่นั่งของทีมได้
28.2.5 การเปลี่ยนตัวเสร็จสิ้นอย่างรวดเร็วเท่าที่เป็นไปได้กับผู้เล่นที่กระทำฟาล์วครั้งที่ 5 หรือฟาล์วเสียสิทธิ์ ซึ่งต้องเปลี่ยนภายใน 30 วินาที ถ้าในการพิจารณาของผู้ตัดสินเห็นว่าการเปลี่ยนตัวเกิดความล่าช้าอย่างไรเหตุผล จะให้เป็นเวลานอกกับทีมที่กระทำความล่าช้านั้นถือว่า
เป็นการละเมิด
28.2.6 ถ้าร้องขอเปลี่ยนตัวระหว่างเวลานอก ผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวเข้าต้องรายงานตัวต่อผู้บันทึกคะแนนก่อนเข้าไปในสนาม
28.2.7 การร้องขอเปลี่ยนตัวอาจจะยกเลิกได้เฉพาะก่อนสัญญาณเสียงของผู้บันทึกคะแนนจะเริ่มดังขึ้นสำหรับการเปลี่ยนตัวนั้น
28.3 ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนผู้เล่น
28.3.1 ภายหลังการกระทำผิดระเบียบโดยทีมที่ไม่ได้ส่งบอลเข้าเล่น
ข้อยกเว้น (Exceptions)
28.3.2 ระหว่างหรือหลังจากการโยนโทษ ในกรณีที่มีบทลงโทษครั้งเดียว จนกว่าจะเกิดบอลตายอีกครั้งหลังจากนาฬิกาแข่งขันเดินในช่วงของเกมการแข่งขัน
ข้อยกเว้น (Exceptions)
- ขานฟาล์วระหว่างการโยนโทษ ในกรณีนี้ให้การโยนโทษดำเนินไปให้เสร็จสิ้นและการเปลี่ยนตัวจะเปลี่ยนก่อนดำเนินการตามบทลงโทษของการฟาล์วครั้งต่อไป
- ขานฟาล์วก่อนบอลดี ภายหลังการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว ในกรณีนี้การเปลี่ยนตัวจะเปลี่ยนก่อนดำเนินการตามบทลงโทษของการฟาล์วครั้งใหม่
- ขานผิดระเบียบก่อนบอลดี ภายหลังการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว บทลงโทษคือเล่นลูกกระโดหรือส่งบอลเข้าเล่น
ในกรณีที่มีการโยนโทษเป็นชุด เนื่องจากมีบทลงโทษหารฟาล์วมากกว่า 1 ครั้ง แต่ละชุดดำเนินการแยกออกจากกัน
28.3.3 สำหรับผู้โยนโทษ
ข้อยกเว้น (Exceptions)
- ผู้โยนโทษบาดเจ็บ
- ผู้โยนโทษกระทำฟาล์วครั้งที่ 5
- ผู้โยนโทษถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์
28.3.4 เมื่อนาฬิกาแข่งขันหยุด ภายหลังการยิงประตูเป็นผลโดยทีมซึ่งร้องขอเปลี่ยนตัวระหว่าง 2 นาทีสุดท้ายของช่วงการเล่นที่ 4 หรือช่วงต่อเวลาพิเศษแต่ละช่วง
ข้อยกเว้น (Exceptions)
- ระหว่างมีการขอเวลานอก
- ทีมที่เสียคะแนนร้องขอเปลี่ยนตัว
- ผู้ตัดสินสั่งหยุดเกมการแข่งขันอย่างมีเหตุผล
28.4 การเปลี่ยนตัวผู้โยนโทษ
ผู้เล่นซึ่งเป็นผู้โยนโทษอาจจะเปลี่ยนตัวได้โดยมีข้อแม้ว่า
- ได้ร้องขอเปลี่ยนตัวก่อนโอกาสการเปลี่ยนตัวสิ้นสุดสำหรับการโยนโทษครั้งแรกหรือครั้งเดียว
- ในกรณีโยนโทษเป็นชุด เนื่องจากเป็นบทลงโทษของการฟาล์วมากกว่า 1 ครั้ง แต่ละชุดให้ดำเนินการแยกออกจากกัน
- เป็นบอลตายภายหลังจากการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว
ถ้าผู้โยนโทษเปลี่ยนตัว ฝ่ายตรงข้ามอาจขอเปลี่ยนตัวตามได้ 1 คน แต่ต้องร้องขอเปลี่ยนตัวก่อนเป็นบอลดีสำหรับการโยนโทษครั้ง
สุดท้ายหรือครั้งเดียว
 ข้อ 29 เมื่อสิ้นสุดช่วงการเล่นหรือเกมการแข่งขัน (When aperiod of agame has ended)
29.1 ช่วงการเล่น ช่วงต่อเวลาพิเศษ หรือเกมการแข่งขันจะสิ้นสุดเมื่อสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาดังขึ้น เพื่อแสดงให้ทราบว่า
หมดเวลาการแข่งขัน
29.2 ถ้ามีการกระทำฟาล์วพร้อมกันหรือใกล้เคียง ก่อนช่วงที่สัญญาณเสียงเวลาแข่งขันทีแสดงวาหมดเวลาของช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษดังขึ้น เป็นผลให้เกิดการโยนโทษขึ่น
จากผลของการกระทำฟาล์วนั้นจะต้องดำเนินการ

 ข้อ 30 การแพ้โดยยกถูกปรับเป็นแพ้ (Game lose by forfeit)
30.1 กฎ
ทีมจะแพ้โดยถูกปรับเป็นแพ้ ถ้า
- ปฏิเสธการแข่งขันหลังจากสั่งให้ทำการแข่งขันโดยผู้ตัดสิน
- การกระทำที่ขัดขวางเกมการแข่งขันจากการเริ่มเล่น
- 15 นาทีหลังจากเริ่มเวลาการแข่งขันตามโปรแกรมการแข่งขัน ทีมไม่มารายงานตัวหรือมีผู้เล่นในสนามไม่ครบ 5 คนที่พร้อมจะ
แข่งขัน
30.2 บทลงโทษ
30.2.1 ให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นทีมชนะและคะแนนจะเป็น 20 ต่อ 0 จากนั้นทีมที่ถูกปรับเป็นแพ้จะได้ 0 คะแนนในการจัดลำดับที่
30.2.2 สำหรับการแข่งขัน 2 เกม (เหย้าและเยือน) คะแนนรวมในการจัดลำดับที่ของทีมและสำหรับการแข่งขันเพลย์ออฟ
(ชนะ 2 ใน 3) ทีมที่ถูกปรับเป็นแพ้ในเกมแรก เกมที่ 2 หรือเกมที่ 3 จะต้องแพ้โดย “การถูกปรับเป็นแพ้” ลักษณะนั้นไม่น่าไปประยุกต์ใช้สำหรับการ แข่งขันเพลย์ออฟ (ชนะ 3 ใน 5)

 ข้อ 31 การแพ้โดยมีผู้เล่นน้อยกว่ากำหนด (Game lose by default)
31.1 กฎ
ทีมจะแพ้โดยมีผู้เล่นน้อยกว่ากำหนด ถ้าระหว่างเกมการแข่งขันจำนวนผู้เล่นของทีมในสนามมีน้อยกว่า 2 คน
31.2 บทลงโทษ
31.2.1 ถ้าทีมซึ่งมีผู้เล่นครบตามกำหนดมีคะแนนนำอยู่ ให้คงคะแนนไว้ในขณะที่หยุดเวลาแข่งขัน ถ้าทีมซึ่งมีผู้เล่นครบตามกำหนดและมีคะแนนตามอยู่ คะแนนจะบันทึกเป็น 2 ต่อ 0 จากนั้นทีมที่แพ้จะได้คะแนน 1 คะแนน ในการจัดลำดับที่
31.2.2 สำหรับการแข่งขัน 2 เกม (เหย้าและเยือน) คะแนนรวมในการจัดลำดับที่ของทีม และทีมที่แพ้ในเกมแรกหรือเกมที่ 2
จะแพ้โดย “การมีผู้เล่นน้อยกว่ากำหนด”
 ข้อ 32 การทำผิดระเบียบ (Violations)
32.1 คำจำกัดความ
การทำผิดระเบียบ เป็นการละเมิดกติกา
32.2 วิธีการปฏิบัติ
เมื่อตัดสินเป็นการทำผิดระเบียบ ผู้ตัดสินจะต้องสนใจข้อเท็จจริงแต่ละเรื่อง และหลักฐานสำคัญพื้นฐาน ซึ่งต้องเพิ่มน้ำหนักใน
การพิจารณา
- ความตั้งใจและเจตนาของกติกาต้องการยกระดับของเกมการแข่งขัน
- ความสม่ำเสมอในการนำไปประยุกต์ใช้กับความรู้สึกไปยังเกมแข่งขันแต่ละเกม ซึ่งเป็นการสนับสนุนจิตใจ ความสามารถของผู้เล่น
ความวิตกกังวล ทัศนคติ และความประพฤติกรรมระหว่างเกมการแข่งขัน
- ความสม่ำเสมอในการรักษาความสมดุลระหว่างการควบคุมและการลื่นไหลของเกมเป็นความรู้สึกสำหรับการกระทำที่ยากลำบาก การมีส่วนร่วมกันและการขานที่ถูกต้องสำหรับเกมนั้น
32.3 บทลงโทษ
ฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นนอกสนามใกล้จุดที่เกิดการละเมิด ยกเว้นบริเวณ ใต้กระดานหลังโดยตรง
ข้อยกเว้น (Exceptions) กติกาข้อ 26.5,41.3,57.4.6 และ 57.54
 ข้อ 33 ผู้เล่นออกนอกสนามและลูกบอลออกนอกสนาม (Player out-of bounds and out-of bounds)
33.1 คำจำกัดความ
33.1.1 ผู้เล่นออกนอกสนาม เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายถูกพื้นหรือถูกวัตถุอื่นที่ไม่ใช่ผู้เล่นอยู่บนเส้นเหนือขึ้นไปหรืออยู่นอกเส้นเขตสนาม
33.1.2 ลูกบอลออกนอกสนาม เมื่อถูกสิ่งต่อไปนี้
- ผู้เล่นหรือบุคคลอื่น ซึ่งอยู่นอกสนาม
- พื้นหรือวัตถุอื่นที่อยู่บนเส้นเหนือขึ้นไปหรืออยู่นอกเส้นเขตสนาม
- สิ่งค้ำยันของกระดานหลังด้านหลังของกระดานหลัง หรือวัตถุอื่นที่อยู่เหนือขึ้นไป และ/หรืออยู่ด้านบนกระดานหลัง


33.2 กฎ
33.2.1 ลูกบอลถูกทำให้ออกนอกสนาม โดยผู้เล่นคนสุดท้ายถูกลูกบอลหรือถูกลูกบอลก่อนออกจากสนาม แม้แต่ถ้าลูกบอลออกนอกสนามโดยถูกสิ่งอื่นถือว่าผู้เล่นคนนั้น
33.2.2 ถ้าลูกบอลออกนอกสนามเพราะถูกผู้เล่นหรือลูกบอลไปถูกผู้เล่นซึ่งอยู่ในสนามหรืออยู่นอกสนาม ผู้เล่นคนนั้นเป็นผู้ทำให้
ลูกบอลออก
นอกสนาม

 ข้อ 34 การเลี้ยงลูกบอล (Dribbling)
34.1 คำจำกัดความ
34.1.1 การเลี้ยงลูกบอล เริ่มต้นเมื่อผู้เล่นที่ครอบครองบอลดีในสนาม โยน ปัด กลิ้ง หรือเลี้ยงไปบนพื้นสนามและถูกลูกบอลอีกครั้งก่อนที่ลูกบอลจะถูกผู้เล่นคนอื่น
การเลี้ยงลูกบอล สิ้นสุดเมื่อผู้เล่นถูกลูกบอลด้วยมือทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน หรือทำให้ลูกบอลพักอยู่ในมือข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
ระหว่างการเลี้ยงลูกบอลอาจจะโยนขึ้นไปในอากาศ ให้ลูกบอลถูกพื้นก่อนผู้เล่นถูกลูกบอลด้วยมืออีกครั้ง
ไม่จำกัดจำนวนก้าวของผู้เล่น เมื่อลูกบอลไม่ถูกมือของผู้เล่นคนนั้น
34.1.2 ผู้เล่นซึ่งเสียการครอบครองบอลดีในสนามโดยบังเอิญและบังครอบครองบอลในสนามต่อไป ให้พิจารณาเป็นการทำลูกบอล
หลุดมือโดยบังเอิญ
34.1.3 ต่อไปนี้ไม่ใช่การเลี้ยงลูกบอล
- การยิงประตูติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง
- การทำลูกบอลหลุดมือโดยบังเอิญ ไม่ว่าจะเป็นตอนเริ่มต้นหรือสิ้นสุดการเลี้ยงลูกบอล
- การปัดลูกบอลจากการครอบครองของผู้เล่นของคนอื่น
- การสกัดกั้นการส่งและพยายามครอบครองบอล
- การโยนลูกบอลจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งและอนุญาตให้พักลูกบอลในมือก่อนที่ลูกบอลจะถูกพื้น ทั้งนี้ ต้องไม่ทำผิดระเบียบการ
พาลูกบอล
เคลื่อนที่
34.2 กฎ
ผู้เล่นจะไม่เลี้ยงลูกบอลเป็นครั้งที่ 2 หลังจากผู้เล่นได้สิ้นสุดการเลี้ยงลูกบอลครั้งแรก เว้นแต่ว่าหลังจากการเสียการครอบครอง
บอลดีในสนาม
เพราะ
- การยิงประตู
- การปัดลูกบอลโดยฝ่ายตรงข้าม
- การส่งลูกบอลหรือลูกบอลหลุดจากมือโดยบังเอิญแล้วลูกบอลไปถูกผู้เล่นคนอื่น หรือถูกลูกบอลโดยผู้เล่นคนอื่น
 ข้อ 35 การพาลูกบอลเคลื่อนที่ (Travelling)
35.1 คำจำกัดความ
35.1.1 การพาลูกบอลเคลื่อนที่ เป็นการเคลื่อนที่ของเท้าใดเท้าหนึ่งหรือทั้ง 2 เท้าที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
ในขณะที่ถือบอลดีในสนาม
35.2.2 การหมุนตัว เกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นซึ่งถือบอลดีในสนามก้าวเท่าไป 1 ก้าว หรือมากกว่า 1 ก้าว ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
ด้วยเท้าข้างเดียว ในขณะที่มีเท้าอีกข้างหนึ่งเรียกว่าเท้าหลักเป็นจุดหมุนที่สัมผัสกับพื้นสนาม
35.2 กฎ
35.2.1 การกำหนดเท้าหลัก
- ผู้เล่นซึ่งจับลูกบอลในขณะที่เท้าทั้งสองข้างอยู่บนพื้นสนาม อาจใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้าหลัก โดยยกเท้าใดเท้าหนึ่งขึ้นพ้นจากพื้นสนามอีกเท้าหนึ่งต้องเป็นเท้าหลัก
- ผู้เล่นซึ่งจับลูกบอลในขณะเคลื่อนที่หรือเลี้ยงลูกบอลอาจหยุด ดังต่อไปนี้
- ถ้าเท้าเดียวถูกพื้นสนาม
- เท้าที่ถูกพื้นสนามนั้นเป็นเท้าหลักท้นทีที่เท้าหนึ่งถูกพื้นสนาม
- ผู้เล่นอาจกระโดดด้วยเท้าหลักนั้นและลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้ง 2 ข้าง ดังนั้น เท้าทั้ง 2 ข้าง ไม่มีเท้าใดเป็นเท้าหลัก
ถ้าเท้าทั้ง 2 ข้าง พ้นจากพื้นสนามและผู้เล่น
- ลงสู่พื้นสนามด้วยเท้าทั้ง 2 ข้าง อาจใช้เท้าใดเท้าหนึ่งเป็นเท้าหลัก โดยยกเท้าใดหนึ่งขึ้นพ้นจากพื้นสนามอีกเท้าหนึ่งเป็นเท้าหลัก
- ลงสู่พื้นด้วยเท้าเดียวผู้เล่นอาจจะกระโดดและลงสู่พื้นสนามด้วยเท้าทั้ง 2 ข้าง แต่ไม่มีเท้าใดเป็นเท้าหลัก
35.2.2 การเคลื่อนที่ไปพร้อมกับลูกบอล
- หลังจากมีการกำหนดเท้าหลัก ในขณะครอบครองบอลดีในสนาม
- ส่งลูกบอลหรือยิงประตูธรรมดา เท้าหลักอาจจะยกขึ้นพื้นสนามได้ แต่ต้องไม่ให้เท้าหลักลงสู่พื้นสนามก่อนปล่อยลูกบอลหลุดออกจากมือ
- เริ่มเลี้ยงลูกบอล เท้าหลักไม่อาจยกขึ้นพ้นจากพื้นสนามได้ ก่อนปล่อยลูกบอลหลุดออกจากมือ
- หลังจากหยุดเคลื่อนที่ เมื่อไม่มีเท้าใดเป็นเท้าหลัก
- ส่งลูกบอลหรือยิงประตู อาจจะบกเท้าใดเท้าหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง แต่ไม่ให้เท้าลงสู่พื้นก่อนปล่อยลูกบอลหลุดออกจากมือ
- เริ่มเลี้ยงลูกบอล ไม่อาจยกเท้าใดเท้าหนึ่งพ้นจากพื้นสนามก่อนปล่อยลูกบอลหลุดออกจากมือ
35.2.3 ผู้เล่นเสียหลักล้มลงบนพื้น นอน หรือนั่ง บนพื้นเป็นการถูกต้อง เมื่อผู้เล่นในขณะที่ถือลูกบอลเสียหลักล้มลงบนพื้น หรือในขณะนอนหรือนั่งบนพื้น ได้ครอบครองบอล
เป็นการทำผิดระเบียบถ้าผู้เล่นลื่นสไลด์กลิ้งหรือพยายามยืนขึ้นในขณะที่ถือลูกบอล
 ข้อ 36 กติกา 3 วินาที (Three seconds)
36.1 กฎ
36.1.1 ผู้เล่นจะไม่เข้าไปอยู่ในพื้นที่กำหนดเวลา 3 วินาที ของฝ่ายตรงข้ามเกินกว่า 3 วินาที ในขณะที่ทีมของเขาครอบครองบอลด
ีในสนาม และนาฬิกาแข่งขันกำลังเดินอยู่
36.1.2 อนุญาตให้ผู้เล่นที่อยู่ในพื้นที่กำหนดเวลา 3 วินาที สำหรับผู้เล่นซึ่ง
- พยายามออกจากพื้นที่กำหนดเวลา 3 วินาที
- ผู้เล่นอยู่ในพื้นที่กำหนดเวลา 3 วินาทีเมื่อตัวเขาเองหรือผู้เล่นรวมทีมกำลังอยู่ในลักษณะยิงประตูและลูกบอลกำลังหลุดจากมือหรือเพิ่งออกจากมือของผู้เล่นที่ยิงประตู
- การเลี้ยงลูกบอลเข้าไปยิงประตู หลังจากผู้เล่นอยู่ในพื้นที่กำหนดเวลา 3 วินาที น้อยกว่า 3 วินาที
36.1.3 ผู้เล่นที่อยู่นอกพื้นที่กำหนดเวลา 3 วินาทีเขาจะต้องยืนด้วยเท้าทั้ง 2 ข้าง บนพื้นสนามนอกพื้นที่กำหนดเวลาภายในเวลา
24 วินาที

 ข้อ 37 กติกา 24 วินาที (Twenty-four seconds)
37.1 กฎ
37.1.1 ไม่ว่าเมื่อใดก็ตาม ผู้เล่นได้ครอบครองบอลดีในสนาม ทีมของเขาต้องพยายามยิงประตูเพื่อทำคะแนนภายในเวลา 24 วินาที
การยิงประตูเพื่อทำคะแนนต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- ลูกบอลต้องหลุดจากมือของผู้ยิงประตูเพื่อทำคะแนนก่อนสัญญาณเสียงของเครื่องจับเวลา 24 วินาที และ
- หลังจากลูกบอลหลุดจากมือของผู้ยิงประตูเพื่อทำคะแนนแล้ว ลูกบอลต้องถูกห่วงหรือลงห่วงประตู
37.1.2 เมื่อมีความพยายามการยิงประตูเพื่อทำคะแนนในช่วงใกล้หมดเวลา 24 วินาที และสัญญาณเสียงดังขึ้นในขณะที่ลูกบอล
ลอยอยู่ใน
อากาศ ภายหลังลูกบอลหลุดจากมือของผู้ยิงประตูเพื่อทำคะแนน
- ถ้าลูกบอลลงห่วงประตู ไม่เป็นการทำผิดระเบียบ 24 วินาที มองข้ามสัญญาณเสียงนั้น และจะเป็นคะแนนนับ
- ถ้าลูกบอลถูกห่วงแต่ไม่ลงห่วงประตูไม่เป็นการทำผิดระเบียบ 24 วินาที มองข้ามสัญญาณเสียงนั้นและการเล่นจะดำเนินต่อไป
- ถ้าลูกบอลถูกกระดานหลัง (ไม่ถูกห่วง)หรือยิงประตูไม่ถึงห่วง เป็นการทำผิดระเบียบ 24 วินาที และให้ฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่บริเวณซึ่งเป็นจุดที่พยายามยิงประตู
ข้อจำกัดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกัน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการขัดขวางลูกบอลลงห่วงประตู และการเกี่ยวข้องกันบอลเหนือห่วง
37.2 วิธีการปฏิบัติ
37.2.1 ถ้าเครื่องจับเวลา 24 วินาทีเกิดการผิดพลาดเกี่ยวกับการเริ่ม 24 วินาทีใหม่ ผู้ตัดสินอาจจะหยุดเกมการแข่งขันทันทีที่พบข้อ
ผิดพลาด แต่ต้องไม่ทำให้ทีมใดทีมหนึ่งเสียเปรียบ
37.2.2 ถ้าเกมการแข่งขันหยุดโดยผู้ตัดสินเพื่อชี้แจ้งเหตุผลซึ่งไม่เกี่ยวกับแต่ละทีม เวลา 24 วินาที จะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง และให้ทีมก่อนหน้านี้ที่ครอบครองบอลอยู่ส่งบอลข้ามเล่นเว้นเสียแต่ว่า ผู้ตัดสินวินิจฉัยว่าฝ่ายตรงข้ามเสียเปรียบ ในกรณีนี้ 24 วินาที จะเดินต่อไปจากที่หยุดไว้
37.2.3 ถ้าสัญญาณเสียง 24 วินาที ดังขึ้นเพราะเกิดการผิดพลาด ในขณะที่มีครอบครองบอล หรือไม่มีทีมใดครอบครองบอลให้มองข้ามสัญญาณเสียงนั้นและการเล่นจะดำเนินต่อไป

 ข้อ 38 ผู้เล่นถูกป้องกันอย่างใกล้ชิด (Closely guarded player)
38.1 คำจำกัดความ
ผู้เล่น ซึ่งถือบอลดีในสนาม ถูกป้องกันอย่างใกล้ชิดเมื่อฝ่ายตรงข้ามเข้าไปในตำแหน่งการป้องกันที่ระยะทางไม่เกินกว่า 1 เมตร
38.2 กฎ
การป้องกันอย่างใกล้ชิด ผู้เล่นต้องส่ง ยิงประตู หรือเลี้ยงลูกบอลภายใน 5 วินาที

 ข้อ 39 กติกา 8 วินาที (Eight seconds)
39.1 กฎ
39.1.1 ไม่ว่าเมื่อใดผู้เล่นครอบครองบอลดีในแดนหลังของเขา ทีมของเขาต้องพาลูกบอลไปยังแดนหน้าภายในเวลา 8 วินาที
39.1.2 แดนหลังของทีมประกอบด้วยห่วงประตูของทีมตนเองที่อยู่ภายในบางส่วนของกระดานหลังและบางส่วนของเขตสนาม
โดยเส้นหลังที่อยู่หลัง
ห่วงประตูของทีมตนเอง รวมถึงเส้นข้างและเส้นกึ่งกลางสนาม
39.1.3 พื้นสนามแดนหน้าของทีมประกอบด้วยห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม ด้านหน้าของกระดานหลัง และบางส่วนของสนามกำหนดโดยเส้นหลังที่อยู่ด้านหลังห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามเส้นข้างและขอบของเส้นกึ่งกลางสนามด้าน
ใกล้กับห่วงประตู
ของฝ่ายตรงข้าม
39.1.4 ลูกบอลขึ้นสู่แดนหน้าของทีม เมื่อลูกบอลถูกพื้นสนามในแดนหน้า หรือถูกผู้เล่นหรือถูกผู้ตัดสินซึ่งร่างกายบางส่วนของเขา
สัมผัสพื้นแดนหน้า
 ข้อ 40 ลูกบอลกลับสู่แดนหลัง (Ball to the backcourt)
40.1 คำจำกัดความ
40.1.1 ลูกบอลกลับสู่แดนหลังของทีม เมื่อ
- ถูกพื้นสนามในแดนหลัง
- ถูกผู้เล่นหรือผู้ตัดสินซึ่งบางส่วนของร่างกายสัมผัสพื้นสนามในแดนหลัง
40.1.2 การพิจารณาลูกบอลกลับสู่แดนหลังเมื่อผู้เล่นของทีมครอบครองบอลดี
- เป็นคนสุดท้ายที่ถูกลูกบอลในแดนหน้าและผู้เล่นทีมเดียวกันเป็นคนแรกที่ถูกลูกบอล
- หลังจากลูกบอลถูกพื้นสนามในแดนหลังหรือ
- ถ้าผู้เล่นคนนั้นถูกพื้นสนามในแดนหลัง
- เป็นคนสุดท้ายที่ถูกลูกบอลในพื้นสนามแดนหลังภายหลังลูกบอลถูกพื้นสนามแดนหน้าและผู้เล่นของทีมเดียวกันซึ่งสัมผัสในแดนหลัง
เป็นคนแรกที่ถูกลูกบอลข้อกำหนดนี้นำประยุกต์ไปใช้กับทุกสถานการณ์ในแดนหน้าของทีม รวมทั้งการส่งบอกเข้าเล่น
40.2 กฎ
ผู้เล่นซึ่งครอบครองบอลดีในแดนหน้า ไม่อาจทำให้ลูกบอลกลับสู่แดนหลัง
ข้อกำหนดนี้จะไม่นำไปประยุกต์ใช้กับการส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม ในการโยนโทษที่ตามด้วยการครอบครองบอลเพื่อส่งเข้ามาเล่นที่จุดกึ่งกลางสนามที่เส้นข้าง

 ข้อ 41 การขัดขวางลูกบอลลงห่วงประตูและบอลเหนือห่วง (Goal tending and Interference )
41.1 คำจำกัดความ
41.1.1 การยิงประตู คือเมื่อถือลูกบอลไว้ในมือและมีแนวโน้มว่าจะโยนลูกบอลไปในอากาศตรงไปยังห่วงประตูของฝ่ายตรงข้าม
การปัด คือ เมื่อลูกบอลมีทิศทางตรงไปยังห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ
การยัดห่วง คือเมื่อลูกบอลมีทิศทางตรงไปตรงยังห่วงประตูของฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ
การปัดและการยัดห่วง พิจารณาเป็นการยิงประตู
41.1.2 การยิงประตูเริ่มต้นเมื่อลูกบอลหลุดจากมือของผู้เล่นซึ่งอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู
41.1.3 การยิงประตู สิ้นสุดเมื่อลูกบอล
- ลงห่วงประตูโดยตรงจากด้านบน และค้างอยู่ภายในหรือผ่านห่วงประตูลงมา
- ไม่มีโอกาสที่จะลงห่วงประตู โดยตรงหรือหลังจากลูกบอลถูกห่วง
- ถูกลูกบอลอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นหลังจากลูกบอลถูกห่วง
- ถูกพื้นสนาม
- เป็นบอลตาย
41.2 กฎ
41.2.1 การขัดขวางลูกบอลลงห่วงประตู เกิดขึ้นระหว่างการยิงประตู เมื่อ
- ผู้เล่นถูกลูกบอลในขณะที่ลูกบอลลอยลงมาและลูกบอลอยู่เหนือห่วง
- ผู้เล่นถูกลูกบอลหลังจากลูกบอลถูกกระดานหลังและลูกบอลอยู่เหนือห่วง การประยุกต์ใช้นี้จะจำกัดเฉพาะจนกว่าลูกบอลไม่มีโอกาสลงห่วงประตูโดยตรงหรือหลังจากลูกบอลถูกห่วง
41.2.2 การเกี่ยวข้องกับลูกบอลเหนือห่วง เกิดขึ้นระหว่างการยิงประตู เมื่อ
-ผู้เล่นถูกห่วงประตูหรือกระดานหลังในขณะที่ลูกบอลถูกห่วง
- ผู้เล่นยื่นมือทะลุห่วงประตูจากด้านล่างและถูกลูกบอล
- ผู้เล่นฝ่ายป้องกันถูกลูกบอลหรือห่วงประตูในขณะที่ลูกบอลอยู่ภายในห่วงประตู
- ผู้เล่นฝ่ายป้องกันทำให้กระดานหลังหรือห่วงสั่นแกว่งไปมาในทิศทางของลูกบอล การพิจารณาของผู้ตัดสินพิจารณาเป็นการขัดขวางลูกบอลลงห่วงประตู
41.2.3 ในขณะที่ลูกบอลลอยอยู่ในอากาศระหว่างการยิงประตู และหลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีดหรือขัดขวางลูกบอลลงห่วงประตูและการเกี่ยวข้องกับลูกบอลเหนือห่วง จะนำประยุกต์ใช้
41.3 บทลงโทษ
41.3.1 ถ้าเป็นการทำผิดระเบียบโดยฝ่ายรุก ไม่นักคะแนน ให้ฝ่ายตรงข้ามได้ส่งบอลเข้าเล่นตามแนวเส้นโยนโทษ
41.3.2 ถ้าเป็นการทำผิดระเบียบโดยฝ่ายรับจะให้ทีมฝ่ายรุก
- ได้คะแนนนับ 2 คะแนน เมื่อปล่อยลูกบอลจากพื้นที่การยิงประตู 2 คะแนน
- ได้คะแนนนับ 3 คะแนน เมื่อปล่อยลูกบอลจากพื้นที่การยิงประตู 3 คะแนน
การให้คะแนนนับ และวิธีการปฏิบัติที่ตามมาเสมือนว่าเป็นการได้คะแนน และเริ่มใหม่จากลูกบอลลงห่วงประตู
41.3.3 ถ้ากระทำผิดระเบียบพร้อม ๆ กัน โดยผู้เล่นทั้ง 2 ทีม ไม่นับคะแนนและเกิดสถานการณ์การเล่นลูกกระโดดขึ้น

 ข้อ 42 การฟาล์ว (Fouls)
42.1 คำจำกัดความ
การฟาล์วเป็นการละเมิดกติกาที่มีผลต่อการถูกต้องตัวกันของบุคคลที่เป็นฝ่ายตรงข้ามกัน และ/หรือเป็นพฤติกรรมที่ผิดวิสัยนักกีฬา
42.2 กฎ
การฟาล์วที่ขานต่อผู้กระทำผิด และบทลงโทษตามมาต้องสอดคล้องกับกติกา

 ข้อ 43 การถูกต้องตัวกัน (Contact)
43.1 คำจำกัดความ
43.1.1 ในเกมการแข่งขันบาสเกตบอลมีผู้เล่น 10 คน เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วในพื้นที่อันจำกัด การถูกต้องตัวกันของบุคคลไม่สามารถ
หลีกเลี่ยงได้
43.1.2 ในการตัดสินใจว่าจะลงโทษการถูกต้องตัวกันดังกล่าวหรือไม่นั้น ผู้ตัดสินจะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงและความสมดุลของหลักการพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
- ความตั้งใจและเจตนาของกติกาต้องการนำไปสู่การสนับสนุนเกมการแข่งขัน
- มีความคงที่ในการนำหลักการไปใช้ของ “การได้เปรียบ/การเสียเปรียบ” ทั้งนี้ ผู้ตัดสินไม่ควรขัดขวางการลื่นไหลของเกมการแข่งขันโดยไม่จำเป็น ในการสั่งลงโทษการถูกต้องตัวกันซึ่งเกิดขึ้นโดยบังเอิญและไม่ช่วยให้ผู้เล่นคนนั้นได้เปรียบหรือทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียเปรียบ
- มีความคงที่ในการใช้สามัญสำนึกในการตัดสินแต่ละเกมการแข่งขัน โดยคำนึงถึงความสามารถ ความรู้สึกเจตคติ และพฤติกรรมของผู้เลยระหว่างเกมการแข่งขัน
- มีความคงที่ระหว่างการควบคุมเกมการแข่งขันและการให้การแข่งขันลื่นไหล พยายามใช้ “ความรู้สึก” ร่วมในสิ่งที่ผู้เล่นพยายามกระทำและขานสิ่งที่ถูกต้องสำหรับเกมการแข่งขัน

 ข้อ 44 ฟาล์วบุคคล (Personal Foul)
44.1 คำจำกัดความ
44.1.1 ฟาล์วบุคคล เป็นการฟาล์วของผู้เล่นซึ่งมีการถูกต้องกันกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามในขณะเป็นบอลดีหรือบอลตาย
ผู้เล่นจะต้องไม่ดึง สกัดกั้น ผลัก เข้าชนขัดขาขัดขวางการเคลื่อนที่ของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามโดยการยื่นมือ แขนข้อศอก ไหล่ สะโพก
ขา เข่า หรือเท้า รวมทั้งการก้มตัวที่ผิดไปจากตำแหน่งปกติ (ออกจากแนวรูปทรงกระบอก) หรอใช้วีการหยาบคายอื่น ๆ หรือการเล่นที่
รุนแรง
44.1.2 การสกัดกั้น (Blocking) เป็นการถูกต้องตัวกันอย่างผิดกติกา ซึ่งขัดขวางการเคลื่อนที่ของผู้เล่นขณะมีลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล
44.1.3 การชน (Charging) เป็นการถูกต้องตัวกันขณะมีลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล โดยการผลัดหรือเคลื่อนที่เข้าหาลำตัวของผู้เล่นฝ่าย
ตรงข้าม
44.1.4 การป้องกันที่ถูกต้องจากด้านหลัง (Illegal guarding from the rear) เป็นการถูกต้องตัวกันของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจากด้าน
หลัง ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เล่นฝ่ายรับพยายามเล่นลูกบอลไม่ใช่แสดงว่าเป็นการถูกต้องตัวฝ่ายตรงข้ามจากด้านหลัง
44.1.5 การดึง (Holding) เป็นการถูกต้องตัวกันของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามซึ่งขัดขวางผู้เล่นที่เคลื่อนที่อย่างอิสระการถูกต้องตัวกันนี้
(การดึง) สามารถเกิดขึ้นได้กับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
44.1.6 การกำบังที่ผิดกติกา (Illegal screening) เป็นความพยายามที่ผิดกติกาเพื่อให้เกิดความล่าช้าหรือขัดขวางการเคลื่อนท
ี่ของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ซึ่งไม่ได้ครอบครองลูกบอลจากตำแหน่งที่เขาต้องการในสนาม
44.1.7 การใช้มืออย่างผิดกติกา (Illegal use of hands) เกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นฝ่ายรับอยู่ในสถานการณ์ป้องกัน และใช้มือสัมผัสและ
ยังคงถูกต้องตัวกันกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่มีลูกบอล หรือปราศจากลูกบอลเพื่อขัดขวางการเคลื่อนที่ของเขา
44.1.8 การผลัก (Pushing) เป็นการถูกต้องตัวกัน ด้วยส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นออกแรงดันหรือพยายามทำให้
ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเคลื่อนออกจากตำแหน่ง ซึ่งผู้กระทำนี้จะครอบครองลูกบอลหรอืไม่ได้ครอบครองลูกบอลก็ตาม
44.2 บทลงโทษ (Penalty)
การฟาล์วบุคคลจะขานต่อผู้ที่ละเมิดในทุกกรณี ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เพิ่มเติม
44.2.1 ถ้าการฟาล์วเป็นการกระทำต่อผู้เล่นซึ่งไม่อยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู
- เกมการแข่งขันจะเริ่มต้นใหม่โดยส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามโดยทีมที่ไม่ได้ละเมิดใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุด
- และถ้าทีมที่ละเมิดเป็นทีมที่กระทำฟาล์วบทลงโทษให้นำกติกาข้อ 55 (บทลงโทษของการฟาล์วทีม) จะนำมาประยุกต์ใช้
44.2.2 ถ้ากการฟาล์วกระทำต่อผู้เล่นซึ่งอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู
- และการยิงประตูตามพื้นที่เป็นผล จะนับคะแนนและได้โยนโทษอีก 1 ครั้ง
- และการยิงประตูในพื้นที่ 2 คะแนน ลูกบอลไม่ลงห่วงประตู ให้โยนโทษ 2 ครั้ง
- และการยิงประตูในพื้นที่ 3 คะแนน ลูกบอลไม่ลงห่วงประตู ให้โยนโทษ 3 ครั้ง
- และผู้เล่นกระทำฟาล์วในขณะที่หรือก่อนสัญญาณเสียงของนาฬิกาแข่งขันดังขึ้น เป็นการแสดงถึงการสิ้นสุดเวลาช่วงการเล่น
หรือช่วงต่อเวลาพิเศษ หรือเมื่อสัญญาณเสียงของเครื่องจับเวลา 24 วินาที ดังขึ้น ในขณะที่ลูกบอลยังคงอยู่ในมือของผู้เล่นและ
การยิงประตูเป็นผล จะไม่นับคะแนน จะให้โยนโทษ 2 ครั้งหรือ 3 ครั้ง
44.3 หลักการของรูปทรงกระบอก (Cylinder principle)
หลักการของรูปทรงกระบอก เป็นการอธิบายถึงที่ว่างภายในรูปทรงกระบอกที่สร้างขึ้นโดยจินตนาการ เกิดขึ้นโดยผู้เล่นยืนอยู่บน
พื้นสนาม ประกอบด้วยพื้นที่สูงขึ้นไปในอากาศเหนือผู้เล่นและถูกจำกัด ดังต่อไปนี้
- ด้านหน้า โดยฝ่ายมือทั้ง 2 ข้าง
- ด้านหลัง โดยสะโพกหรือก้นและ
- ด้านข้าง โดยส่วนนอกสุดของแขนและเขา
มือและแขนอาจยื่นไปด้านหน้าของลำตัวได้ แต่ต้องไม่ออกไปไกลเกินกว่าตำแหน่งของเท้าประมาณช่วงไหล่ แขนช่วงแรกด้านใน
และมือยกขึ้น เป็นระยะทางระหว่างเท้าของเขเป็นสัดส่วนกับความสูงของเขาด้วย
44.4 หลักการของแนวดึง (Principle of verticality)
44.4.1ในสนามบาสเกตบอล ผู้เล่นแต่ละคนมีสิทธิ์ที่จะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง (รูปทรงกระบอก) ในสนามซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งที่ฝ่าย
ตรงข้ามยืนอยู่ก่อน
44.4.2 หลักการนี้ใช้ป้องกันพื้นที่ในสนาม ซึ่งผู้เล่นคนนั้นยืนอยู่ และพื้นที่ที่สูงขึ้นไปในอากาศเหนือผู้เล่น เมื่อผู้เล่นกระโดดขึ้นไป
เป็นแนวดึ่งภายในรูปทรงกระบอกของตน
44.4.3 ทันทีที่ผู้เล่นออกจากพื้นที่ในแนวดิ่งของเขา (รูปทรงกระบอก) และมีการถูกต้องตัวกันกับฝ่ายตรงข้ามซึ่งยืนในตำแหน่ง
แนวดิ่งของเขา (รูปทรงกระบอก) ผู้เล่นซึ่งออกจากตำแหนงแนวดึ่ง (รูปทรงกระบอก) ต้องรับผิดชอบต่อการถูกต้องตัวกัน
44.4.4 ผู้เล่นฝ่ายรับจะไม่ถูกลงโทษสำหรับการกระโดดขึ้นจากพื้นที่แนวดิ่ว (ภายในรูปทรงกระบอก) หรือยกมือและแขนขึ้นไป
ในพื้นที่แนวดึ่งของเขาและภายในรูปทรงกระบอกของตนเอง
44.4.5 ผู้เล่นฝ่ายรุกไม่ว่าจะอยู่บนพื้นหรือลอยตัวอยู่ในอากาศ จะต้องไม่ทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันกับผู้เล่นฝ่ายรับในตำแหน่งการ
ป้องกันที่ถูกต้อง โดย
- การใช้แขนช่วยเพิ่มพื้นที่ของตนเอง (การกวาดแขนออก)
- การแยกขาหรือแขนจนทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันระหว่างหรือต่อเนื่องภายหลังการยิงประตู
44.5 ตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง (Legal Guarding Position)
44.5.1 ผู้เล่นฝ่ายรับเข้าไปยืนในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง เมื่อ
- ผู้เล่นหันหน้าเข้าหาฝ่ายตรงข้ามและ
- เท้าทั้ง 2 ข้างของผู้เล่นอยู่บนพื้นสนาม
44.5.2 ตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้องเป็นแนวดิ่งสูงขึ้นไปเหนือผู้เล่น (รูปทรงกระบอก) จากพื้นสนามถึงเพดาน เขาอาจจะยกแขนและ
มือเหนือศีรษะของเขาขึ้นไป หรือกระโดดขึ้นไปตามแนวดิ่ง แต่ต้องให้อยู่ในตำแหน่งแนวดิ่งภายในแนวรูปทรงกระบอก
44.6 การป้องกันผู้เล่นซึ่งครอบครองบอล (Guarding a player who controls the ball)
44.6.1 เมื่อป้องกันผู้เล่นซึ่งครอบครองบอล (ผู้เล่นกำลังถือลูกบอลหรือกำลังเลี้ยงลูกบอล) องค์ประกอบของเวลาและระยะทางจะ
ไม่นำมาประยุกต์ใช้
44.6.2 ผู้เล่นที่ครอบครองบอลต้องเชื่อว่าจะต้องถูกป้องกันและต้องพร้อมที่จะหยุดหรือเปลี่ยนทิศทาง แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้าม
ต้องอยู่ในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง ด้านหน้าของเขาแม้ว่าการป้องกันจะกระทำภายในช่วงเสี้ยวของวินาที
44.6.3 การป้องกัน (ฝ่ายรับ) ผู้เล่นต้องยืนในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง ปราศจากการถูกต้องตัวกัน ก่อนที่จะเข้าไปยืนในตำแหน่ง
ของเขา
44.6.4 เมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นฝ่ายรับเข้าไปยืนในตำแหน่งป้องกันที่ถูกต้อง เขาอาจเคลื่อนที่เพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามของเขา แต่เขา
ไม่อาจยื่นแขน ไหล่ สะโพก หรือขาของเขา และทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันเพื่อขัดขวางผู้เลี้ยงลูกบอลผ่านตนเอง
44.6.5 เมื่อตัดสินเป็นการสกัดกั้น/ การชมผู้เล่นในขณะที่ผู้เล่นมีลูกบอล ผู้ตัดสินจะต้องใช้หลักการ ดังต่อไปนี้
- ผู้เล่นฝ่ายรับต้องเข้าไปในตำแหน่งป้องกันที่ถูกต้องโดยหันหน้าเข้าหาผู้เล่นที่มีลูกบอลและเท้าทั้ง 2 ข้าง อยู่บนพื้นสนาม
- ผู้เล่นฝ่ายรับอาจจะอยู่ในท่ายืนนิ่ง กระโดดขึ้นตามแนวดิ่ง หรือเคลื่อนที่ไปด้านข้าง หรือถอยหลังเพื่ออยู่ในตำแหน่งการป้องกันท
ี่ถูกต้อง
- เมื่อเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในตำแหน่งการป้องกัน เท้าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง อาจพ้นจากพื้นได้ชั่วขณะหนึ่ง ตราบใดที่การ
เคลื่อนที่ด้านข้างหรือถอยหลัง ไม่หันไปสู่ผู้เล่นที่ถือลูกบอล เป็นการเคลื่อนที่ป้องกันตามปกติ
- การถูกต้องตัวกันที่เกิดขึ้นต่อลำตัวในขณะผู้เล่นฝ่ายรับได้เข้าไปอยู่ในตำแหน่งนั้นก่อน
- การกำหนดตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้องผู้ป้องกันอาจเปลี่ยนทิศทางภายในรูปทรงกระบอก เพื่อรับแรงกระแทรกหรือหลีกเลี่ยง
การบาดเจ็บ
ในกรณีข้างบนการฟาล์วจะพิจารณาเป็นกระทำฟาล์วโดยผู้เล่นที่ครอบครองบอล
44.7 ผู้เล่นซึ่งลอยตัวอยู่ในอากาศ (The player who is in the air)
44.7.1 ผู้เล่นซึ่งกระโดดขึ้นไปในอากาศจากจุดใดในสนามมีสิทธิ์ที่จะลงสู่พื้นสนามที่จุดเดิม
44.7.2 เขามีสิทธิ์ที่จะลงสู่พื้นที่จุดอื่นในสนามได้โดย มีข้อแม้ว่าเส้นทางระหว่างจุดกระโดดและจุดที่ลงสู่พื้นต้องไม่มีฝ่ายตรงข้าม
ยืนอยู่ก่อน และพื้นที่จุดนั้นต้องไม่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ก่อนในช่วงเวลาที่ตนเองกระโดดขึ้น
44.7.3 ถ้าผู้เล่นกระโดดและลงสู่พื้น แต่แรงการเคลื่อนที่ทำให้เกิดการถูกต้องตัวฝ่ายตรงข้ามซึ่งอยู่ในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง
ที่อยู่ไกลออกไปจากจุดที่ลงสู่พื้น ผู้กระโดดต้องรับผิดชอบสำหรับการถูกต้องตัวกัน
44.7.4 ผู้เล่นไม่อาจเคลื่อนที่เข้าไปในทิศทางของฝ่ายตรงข้าม หลังจากผู้เล่นนั้นกระโดดขึ้นไปในอากาศแล้ว
44.7.5 การเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ใต้ผู้เล่นซึ่งลอยตัวอยู่ในอากาศและมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น เป็นการฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาอย่างชัดเจน
อาจเป็นฟาล์วเสียสิทธิ์ได้
44.8 การป้องกันผู้เล่นซึ่งไม่ได้ครอบครองบอล (Guarding a player who not control the ball)
44.8.1 ผู้เล่นซึ่งไม่ได้ครอบครองบอลมีสิทธิ์เคลื่อนที่อย่างอิสระในสนามและยืนในตำแหน่งใดก็ได้ที่ไม่มีผู้เล่นคนอื่นยืนอยู่ก่อน
44.8.2 เมื่อการป้องกันของผู้เล่นซึ่งไม่ได้ครอบครองบอล องค์ประกอบของเวลาและระยะทางจะนำประยุกต์ใช้และ/หรือเกินไปในเส้นทางของการเคลื่อนที่ของฝ่ายตรงข้ามจนทำให้ผู้เล่น
นั้นไม่มีเวลาหรือระยะทางเพียงพอที่จะหยุดหรือเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่
ระยะทางเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเร็วของฝ่ายตรงข้ามไมน้อยกว่า 1 ก้าวปกติ และไม่เกิน 2 ก้าวปกติ
ถ้าผู้เล่นไม่พิจารณาองค์ประกอบของเวลาและระยะทางในการเข้าไปยังตำแหน่งการป้องกันอย่างถูกต้อง และการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น ผู้เล่นคนนั้นต้องรับผิดชอบสำหรับการถูกต้องตัวนั้น
44.8.3 เมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นฝ่ายรับ ยืนอยู่ในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง จะต้องไม่ถูกต้องตัวกันฝ่ายตรงข้ามเพื่อป้องกันไม่ให้ผ่านโดยการยื่นแขน ไหล่ สะโพก หรือขา เข้าขัดขวางเส้นทางอย่างไรก็ตาม เขาอาจหันข้างหรือให้แขนแนบข้างหน้าและชิดลำตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ
44.9 การกำบังที่ถูกกติกาและผิดกติกา (Screening : Legal and illegal)
44.9.1 การกำบังเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นพยายามขัดขวางหรือป้องกันฝ่ายตรงข้างซึ่งไม่ได้ครอบครองบอลให้ไปยังตำแหน่งที่เขาต้องการในสนาม
44.9.2 การกำบังถูกต้องเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นซึ่งกำบังฝ่ายตรงข้ามต้องปฏิบัติดังนี้
- ยืนนิ่ง (ด้านในรูปทรงกระบอกของเขา) เมื่อมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น - เท้าทั้ง 2 ข้าง อยู่บนพื้นสนามเมื่อมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น
44.9.3 การกำบังที่ผิดกติกาเกิดขึ้น เมื่ผู้เล่นซึ่งกำบังฝ่ายตรงข้ามต้องปฏิบัติดังนี้
- กำลังเคลื่อนที่เมื่อมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น
- ไม่ให้ระยะทางเพียงพอในการกำบังนอกสายตาฝ่ายตรงข้ามที่ยืนนิ่งเมื่อเกิดการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น
- ไม่เคราพองค์ประกอบของเวลาและระยะทางในการกำบังฝ่ายตรงข้ามที่เคลื่อนที่เมื่อเกิดการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น
44.9.4 ถ้าการกำบังอยู่ในสายตาของฝ่ายตรงข้ามที่ยืนนิ่ง (ด้านหน้าหรือด้านข้าง) ผู้เล่นที่กำบังอาจจะทำการกำบังอย่างใกล้ชิดต่อฝ่ายตรงข้าม โดยมีข้อแม้ว่าไม่มีการถูกต้องตัวกัน
44.9.5 ถ้าการกำบังอยู่นอกสายตาของฝ่ายตรงข้ามที่ยืนนิ่ง การกำบังต้องให้โอกาสฝ่ายตรงข้าม 1 ก้าวปกติ ในการเข้ากำบังโดยไม่มีการถูกต้องตัวกัน
44.10 การสกัดกั้น (Blocking)
44.10.1 ผู้เล่นซึ่งพยายามกำบังเป็นการกระทำฟาล์วเพราะสกัดกั้น ถ้ามีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น เมื่อเขากำลังเคลื่อนที่และฝ่ายตรงข้ามยืนนิ่ง หรือถอยออกจากผู้เล่นที่กำบัง
44.10.2 ถ้าผู้เล่นไม่สนใจเล่นลูกบอล หันหน้าเข้าหาฝ่ายตรงข้ามและปลี่ยนตำแหน่งตามฝ่ายตรงข้ามที่เปลี่ยนตำแหน่งเสียจากว่ามีปัจจัยอื่นที่มีผลมาร่วมด้วย
คำว่า “ปัจจัยอื่นที่มีผลมาร่วมด้วย” หมายถึงการจงใจผลัก ชน หรือดึงของผู้เล่นซึ่งถูกกำบัง
44.10.3 ผู้เล่นยื่นแขนหรือศอกนอกรูปทรงกระบอกในการยืนบนพื้นสนามได้ แต่เขาจะต้องลดแขนหรือศอกลงภายในรูปทรงกระบอก เมื่อฝ่ายตรงข้ามพยายามเคลื่อนที่ผ่านไป โดยถ้าผู้เล่นไม่ลดแขนหรือศอกลงและเกิดการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น จะเป็นการสกัดกั้นหรือการดึง
44.11 การถูกต้องตัวฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ และ/หรือแขน (Contacting an opponent with the hand(s) and/or arm(s))
44.11.1 การสัมผัสฝ่ายตรงข้ามด้วยมือตามปกติไม่จำเป็นต้องเป็นการละเมิดกติกา
44.11.2 ผู้ตัดสินจะต้องตัดสินใจว่าผู้เล่นซึ่งทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันนั้นเป็นฝ่ายได้เปรียบหรือไม่
ถ้าการถูกต้องตัวกันโดยผู้เล่นแสดงชัดเจนว่าจำกัดอิสระในการเคลื่อนที่ของฝ่ายตรงข้าม การถูกต้องตัวนั้นเป็นการฟาล์ว
44.11.3 การใช้มือหรือแขนอย่างถูกต้อง เมื่อผู้เล่นฝ่ายรับอยู่ในตำแหน่งการป้องกัน และมือหรือแขนสัมผัสและยังคงถูกต้องตัวกันกับฝ่ายตรงข้ามที่ถือลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล
44.11.4 การถูกต้องตัวกันบ่อย ๆ หรือ “การแหย่” ฝ่ายตรงข้ามที่มีลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล พิจารณาเป็นการฟาล์ว ซึ่งอาจนำไปสู่ความหยาบคายที่รุนแรงมากขึ้น
44.11.5 เป็นการฟาล์วของผู้เล่นฝ่ายรุกทีมีลูกบอลดังต่อไปนี้
- “งอแขนเกี่ยว“หรือพันด้วยแขนหรืองอข้อศอกกรอบผู้เล่นฝ่ายรับ เพื่อให้ได้เปรียบ
-“ผลักออก” เพื่อป้องกันผู้เล่นฝ่ายรับจากการเล่น หรือพยายามเล่นลูกบอล หรือเพื่อขยายพื้นที่ระหว่างตัวเองและผู้เล่นฝ่ายรับ
- ขณะเลี้ยงลูกบอลใช้แขนด้านในหรอืมือยืนออกไปเพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามเข้าแย่งบอลไปครอบครอง
44.12 การเล่นตำแหน่งโพสท์ (Post Play)
44.12.1หลักการของแนวดึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับการเล่นตำแหน่งโพสท์
ผู้เล่นฝ่ายรุกที่เล่นในตำแหน่งโพสท์และการป้องกันของฝ่ายตรงข้ามต้องเคราพสิทธิ์ของแนวดิ่งของคนอื่น ๆ (รูปทรงกระบอก)
44.12.2 เป็นฟาล์วโดยผู้เล่นฝ่ายรุก หรือผู้เล่นฝ่ายรับในตำแหน่งโพสท์ ใช้ไหล่หรือสะโพกเข้าไปในตำแหน่งของฝ่ายตรงข้ามหรือขัดขวางการเคลื่อนที่อย่างอิสระของฝ่ายตรงข้ามโดยยื่นข้อศอกแขน ขา หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
 ข้อ 45 ฟาล์วคู่ (Double foul)
45.1 คำจำกัดความ
การฟาล์วคู่เป็นการสถานการณ์ที่ผู้เล่นต่างฝ่ายกัน 2 คน กระทำฟาล์วซึ่งกันและกันในเวลาเดียวกัน
45.2 บทลงโทษ
45.2.1 จะขานเป็นฟาล์วบุคคลกับผู้เล่นแต่ละคนจะไม่ให้มีการโยนโทษ
45.2.2 เกมการแข่งขันจะเริ่มต้นใหม่โดย
- ถ้าการยิงประตูเป็นผล ในเวลาเดียวกันจะให้ฝ่ายตรงข้ามของทีมที่ทำคะแนนได้ ส่งบอลเข้าเล่นจากเส้นหลัง
- ถ้ามีทีมครอบครองบอลหรือทีมที่ได้สิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่น จะให้ส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามใกล้จุดที่กระทำฟาล์ว
- ถ้าไม่มีทีมใดครอบครองบอล ลูกบอลไม่ลงห่วงประตู จะเกิดสถานการณ์การเล่นลูกกระโดดขึ้น

 ข้อ 46 ฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา (Unsportsmanlike foul)
45.1 คำจำกัดความ
46.1.1 การฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา เป็นการฟาล์วบุคคลซึ่งกระทำโดยผู้เล่น ในการพิจารณาของผู้ตัดสินเห็นว่าผู้เล่นไม่พยายาม
เล่นลูกบอล โดยตรงภายใต้ความตั้งใจและเจตนาของกติกา
46.1.2 การฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาต้องได้รับการตีความเหมือนกันตลอดเกมการแข่งขัน
46.1.3 ผู้ตัดสินต้องพิจารณาจากการกระทำเท่านั้น
46.1.4 การพิจารณาว่าเป็นการฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาหรือไม่นั้น ผู้ตัดสินจะต้องนำหลักการต่อไปนี้มาประยุกต์ใช้
- ถ้าผู้เล่นไม่พยายามเล่นลูกบอลตามปกติและเกิดการถูกต้องตัวกันขึ้นเป็นฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา
- ถ้าผู้เล่นพยายามเล่นลูกบอลเกิดการถูกต้องตัวกันขึ้นรุนแรง (ฟาว์อย่างหนัก) การถูกต้องตัวกันนี้จะต้องพิจารณาเป็นฟาล์ว
ผิดวิสัยนักกีฬา)
- ถ้าผู้เล่นดึง ตี เตะ หรือผลักผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามอย่างตั้งใจ เป็นฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬา
- ถ้าผู้เล่นกระทำฟาล์วในขณะพยายามเล่นลูกบอลอย่างบริสุทธิ์ใจ (การเล่นบาสเกตบอลตามปกติ) จะไม่เป็นการฟาล์วผิดวิสัย
นักกีฬา
46.15 ผู้เล่นซึ่งกระทำฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาซ้ำบ่อย ๆ ต้องเป็นฟาล์วเสียสิทธิ์
45.2 บทลงโทษ
46.2.1 ฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาจะขานต่อผู้เล่นที่กระทำผิด
46.2.2 ทีมฝ่ายตรงข้ามจะได้โยนโทษ ตามด้วยการส่งบอลเข้าเล่นที่จุดกึ่งกลางสนาม
จำนวนครั้งของการโยนโทษจะเป็นดังต่อไปนี้
- ถ้ากระทำฟาล์วต่อผู้เล่นซึ่งไม่อยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู จะได้โยนโทษ 2 ครั้ง
- ถ้ากระทำฟาล์วต่อผู้เล่นอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู ถ้าเป็นผลจะนับคะแนนและได้โยนโทษเพิ่มอีก 1 ครั้ง
- ถ้ากระทำฟาล์วต่อผู้เล่นซึ่งอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู แต่ไม่เป็นผลจะได้โทษ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ตามพื้นที่จากความ
พยายามยิงประตู
 ข้อ 47 ฟาล์วเสียสิทธิ์ (Disqualifying foul)
47.1 คำจำกัดความ
47.1.1 การละเมิดกติกาที่ผิดวิสัยนักกีฬาอย่งโจ่งแจ้ง เป็นพฤติกรรมที่กระทำโดยผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
หรือผู้ติดตามทีม เป็นการฟาล์วเสียสิทธิ์
47.1.2 ผู้ฝึกสอนจะถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ เมื่อ
- ผู้ฝึกสอนถูกขานฟาล์วเทคนิค 2 ครั้ง (“C”) ซึ่งเป็นผลมาจากประพฤติกรรมตัวที่ผิดวิสัยนักกีฬาของผู้ฝึกสอนเอง
- ผู้ฝึกสอนถูกขานฟาล์วเทคนิค 3 ครั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากการประพฤติตัวที่ผิดวิสัยนักกีฬาของผู้ช่วยผู้ฝึกสอนผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีมซึ่งนั่งอยู่ในที่นั่งของทีม
หรือเป็นฟาล์วเทคนิครวมกัน 3 ครั้ง ซึ่งจำนวน 1 ใน 3 เป็นฟาล์วเทคนิคของผู้ฝึกสอนเอง “C”
47.1.3 ผู้ฝึกสอนซึ่งถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์จะให้ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนที่มีชื่อในใบบันทึกคะแนนทำหน้าที่แทน
ถ้าไม่มีผู้ช่วยผู้ฝึกสอนในใบบันทึกคะแนนจะต้องให้หัวหน้าทีมทำหน้าที่แทน
47.2 บทลงโทษ
47.2.1 การฟาล์วเสียสิทธิ์จะขานต่อผู้กระทำผิด
47.2.2 ผู้กระทำผิดจะเสียสิทธิ์และจะไปอยู่ในห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและพักอยู่ระหว่าง
เกมการแข่งขัน หรือถ้าเขาเลือกที่ออกจากอาคารสถานที่แข่งขันก็ได้
47.2.3 จะให้ฝ่ายตรงข้ามได้โยนโทษตามด้วยการส่งบอลเข้าเล่นที่จุดกึ่งกลางสนาม จำนวนครั้งของการโยนโทษจะให้ตามฟาล์ว
ผิดวิสัยนักกีฬา กติกาข้อ 46.2.2

 ข้อ 48 กติกาว่าด้วยการประพฤติตัว (Rules of Conduct)


48.1 คำจำกัดความ
48.1.1 การดำเนินการจัดการแข่งขันให้ถูกต้องต้องได้รับความร่วมมืออย่างจริงใจของสมาชิกทั้ง 2 ทีม (ผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง
ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน และผู้ติดตามทีม) พร้อมด้วยผู้ตัดสินเจ้าหน้าที่โต๊ะ และกรรมการเทคนิค
48.1.2 แต่ละทีมจะต้องทำให้ดีที่สุดเพื่อชัยชนะแต่การกระทำนี้ต้องมีจิตใจของความมีน้ำใจนักกีฬาและแข่งขันอย่างยุติธรรม
48.1.3 การจงใจกระทำหรือกระทำซ้ำบ่อย ๆ ไม่ให้ความร่วมมือ หรือไม่ยินยอมตามเจตนาของกติกา จะพิจารณาเป็นฟาล์วเทคนิคและลงโทษตามกติกา
48.1.4 ผู้ตัดสินอาจจะไม่ขานเป็นฟาล์วเทคนิคโดยการเตือนสมาชิกของทีม หรือมองข้ามการกระทำผิดทางเทคนิคเล็กน้อย
ที่เกี่ยวกับ
บุคลิกของเขา ซึ่งไม่ได้ตั้งใจอย่างเห็นได้ชัด และไม่มีผลโดยตรงต่อเกมการแข่งขัน นอกเสียจากว่าเป็นการกระทำซ้ำ ๆ ของการละเมิดกติกาเหมือนเดิมภายหลังการเตือน
48.1.5 ถ้าการกระทำผิดทางเทคนิคถูกพบหลังจากบอลดี เกมการแข่งขันจะหยุดและขานเป็นฟาล์วเทคนิค บทลงโทษจะดำเนินการถ้าฟาล์วเทคนิคเกิดขึ้นระหว่างช่วงพักจะไม่เป็นโมฆะ
48.2 กฎ
การกระทำที่รุนแรงอาจเกิดขึ้นระหว่างเกมการแข่งขันที่ขัดต่อจิตใจของความมีน้ำใจนักกีฬาและการเล่นอย่างยุติธรรม จะต้องหยุดเกมการแข่งขันทันทีโดยผู้ตัดสิน และถ้าจำเป็นอาจขอกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยดูแล
48.2.1 แต่อย่างไรก็ตาม การทะเลาะวิวาทที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน และผู้ติดตามทีมซึ่งเกิดขึ้นในที่นั่งของทีม ผู้ตัดสินจะต้องใช้ทุกวิถีทางเพื่อจะระงับเหตุการณ์
48.2.2 บุคคลใดก็ตาม มีส่อพิรุธในการกระทำที่แสดงความก้าวร้าวอย่างโจ่งแจ้งต่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ตัดสิน จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากเกมการแข่งขัน ผู้ตัดสินต้องรายงานเหตุการณ์ต่อฝ่ายจัดการแข่งขัน
48.2.3 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอาจเข้าไปในสนามได้ ถ้าได้รับการร้องขอจากผู้ตัดสินเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามหาผู้ชมเข้าไปในสนามหากผู้ชมเข้าไปในสนามด้วยเจตนกระทำที่รุนแรงอย่างโจ่งแจ้งเจ้าหน้าที่ต้องเข้าขัดขวาง
ทันทีทันใด เพื่อคุ้มครองทีมและผู้ตัดสิน
48.2.4 พื้นที่ทั้งหมดประกอบด้วย ทางเข้า ทางออก ทางเดินตามระเบียง ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ จะอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของฝ่ายจัดการแข่งขัน และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัย
48.2.5 ลักษณะการกระทำของผู้เล่น ผู้เล่นสำรองผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน และผู้ติดตามทีม ซึ่งสามารถสั่งให้ทำความเสียหาย
ต่ออุปกรณ์ ทำให้เกมการแข่งขันล่าช้า ผู้ตัดสินต้องไม่อนุญาต

 ข้อ 49 ฟาล์วเทคนิคโดยผู้เล่น (Technical foul by a player)
49.1 คำจำกัดความ
49.1.1 การฟาล์วเทคนิคโดยผู้เล่นเป็นการฟาล์วของผู้เล่น ซึ่งไม่เกี่ยวกับการถูกต้องตัวกันกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
49.1.2 เป็นการฟาล์วเทคนิค เมื่อผู้เล่นมองข้ามการตักเตือนโดยผู้ตัดสิน หรือใช้กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้
- กล่าววาจาดูหมิ่นหรือถูกต้องตัวผู้ตัดสินกรรมการเทคนิค เจ้าหน้าที่โต๊ะ หรือผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
- ใช้ภาษาหรือแสดงท่าทางทำให้เจ็บช้ำ น้ำใจ หรือยั่วยุผู้ชม
- หลอกเล่นฝ่ายตรงข้ามหรือปิดบังสายตา โดยการโบกมือไปมาใกล้ ๆ ตาของฝ่ายตรงข้าม
- การถ่วงเวลาการแข่งขันโดยขัดขวางไม่ให้ส่งบอลเข้าเล่นอย่างรวดเร็ว
- ไม่ยกมือขึ้นตามมารยาท ภายหลังผู้ตัดสินร้องขอให้ยกมือขึ้นหลังผู้ตัดสินร้องขอให้ยกมือขึ้นหลังจากการฟาล์ว
- เปลี่ยนหมายเลขผู้เล่นโดยไม่แจ้งผู้บันทึกคะแนนและผู้ตัดสิน
- การออกจากสนามอย่างไม่มีเหตุผล
- การโหนห่วงลักษณะที่ห่วงรับน้ำหนักของผู้เล่นในสถานการณ์ยัดห่วง ผู้เล่นอาจจะ
- จับยึดห่วงไว้ชั่วครู่ และไม่ได้ตั้งใจ
- โหนห่วง ถ้าในการพิจารณาของผู้ตัดสินเห็นว่า เขากำลังพยายามที่จะป้องกันการบาดเจ็บต่อตัวเขาเองหรือผู้เล่นคนอื่น
49.2 บทลงโทษ
49.2.1 จะขานเป็นฟาล์วเทคนิคต่อผู้เล่น
49.2.2 จะให้ฝ่ายตรงข้ามโยนโทษ 1 ครั้ง ตามด้วยการส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามที่จุดกึ่งกลางสนาม
 ข้อ 50 ฟาล์วเทคนิคโดยผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีม (Technical foul )
50.1 คำจำกัดความ
50.1.1 ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้เล่นสำรอง และผู้ติดตามทีม จะต้องไม่กล่าวคำดูหมิ่น หรือถูกต้องตัวผู้ตัดสิน กรรมการเทคนิค
เจ้าหน้าที่โต๊ะ หรือฝ่ายตรงข้าม
50.1.2 ผู้ฝึกสอน ผู้เล่นสำรอง และผู้ติดตามทีมเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ภายในที่นั่งของทีม ยกเว้น
- ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีม อาจจะเข้าไปในสนาม เพื่อดูแลผู้เล่นที่บาดเจ็บ ภายหลังได้รับอนุญาต
จากผู้ตัดสิน
- แพทย์อาจจะเข้าไปในสนามได้โดยปราศจากการอนุญาตจากผู้ตัดสินถ้าการพิจารณาของแพทย์เห็นว่าผู้เล่นที่บาดเจ็บอยู่ใน
อันตรายและ
ต้องการดูแลอย่างรีบด่วน
- ผู้เล่นสำรองอาจจะร้องขอเปลี่ยนตัวได้โดยแจ้งที่โต๊ะบันทึกคะแนน
- ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีม อาจจะเข้าไปในสนามระหว่างการขอเวลานอก พูดกับสมาชิกทีมของ
ตนเองได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่นั่งของทีม
แต่อย่างไรก็ตามผู้ฝึกสอนอาจจะพูดกับผู้เล่นของเขาระหว่างเกมการแข่งขัน โดยมีข้อแม้ว่าต้องอยู่ภายในพื้นที่ที่นั่งของทีม
- เมื่อนาฬิกาแข่งขันหยุด ผู้ฝึกสอน หรือผู้ช่วยฝึกสอน อาจจะซักถามข้อมูลสถิติจากโต๊ะผู้บันทึกคะแนนทั้งนี้ต้องกระทำอย่าง
สุภาพ และปราศจากการขัดขวางการดำเนินเกมการแข่งขันตามปกติ
50.2 บทลงโทษ
50.2.1 การฟาล์วเทคนิคจะขานต่อผู้ฝึกสอนที่กระทำผิด
50.2.2 จะให้ฝ่ายตรงข้ามโยนโทษ 2 ครั้ง ตามด้วยการส่งบอลเข้าเล่นที่จุดกึ่งกลางสนาม
 ข้อ 51 ฟาล์วเทคนิคระหว่างช่วงพักการแข่งขัน (Technical foul during an interval of play)
51.1 คำจำกัดความ
การฟาล์วเทคนิคอาจขานระหว่างช่วงพักการแข่งขันซึ่งเป็นช่วงก่อนเริ่มการแข่งขัน (20 นาที) และช่วงพักระหว่างช่วงการเล่น พักครึ่งเวลา และช่วงพักก่อนเริ่มช่วงต่อเวลาพิเศษแต่ละช่วงพักการแข่งขันเริ่มตั้งแต่ 20 นาที ก่อนเริ่มเกมการแข่งขัน หรือสัญญาณเสียงของผู้จับเวลาดังขึ้นสำหรับการสิ้นสุดเวลาการเล่นของแต่ละช่วงการเล่น
ช่วงพักการแข่งขัน สิ้นสุดเมื่อ
- เริ่มการแข่งขันช่วงการเล่นที่ 1 ช่วงการเล่นที่ 3 และช่วงต่อเวลาพิเศษ เมื่อลูกบอลถูกปัดในขณะเล่นลูกกระโดด
- เริ่มการแข่งขันช่วงการเล่นที่ 1 และช่วงการเล่นที่ 4 เมื่อลูกบอลถูกผู้เล่นหรือผู้เล่นลูกบอลในการส่งบอลเข้าเล่น
51.2 บทลงโทษ
ถ้าขานฟาล์วเทคนิค ต่อ
- สมาชิกของทีมมีสิทธิ์ลงแข่งขัน ให้ขานฟาล์วเทคนิคต่อสมาชิกของทีมนั้น เป็นการฟาวล์ของผู้เล่นและจะให้ฝ่ายตรงข้าม
ได้โยนโทษ 2 ครั้ง
จะนับเป็นฟาล์ว 1 ครั้ง ของการฟาล์วทีม
- ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ผู้เล่นที่เป็นผู้ฝึกสอนหรือผู้ติดตามทีมขานเป็นฟาล์วเทคนิคต่อผู้ฝึกสอน และให้ฝ่ายตรงข้ามได้
โยนโทษ 2 ครั้ง
จะไม่นับเป็นฟาล์ว 1 ครั้งของการฟาล์วทีม
- ถ้ามีการขานฟาล์วเทคนิคมากกว่า 1 ครั้ง ดูกติกาข้อ 56 (สถานการณ์พิเศษ)
51.3 วิธีการปฏิบัติ
หลังการโยนโทษสิ้นสุด ช่วงการเล่นและช่วงต่อเวลาพิเศษจะเริ่มด้วยการเล่นลูกกระโดที่วงกลมกลางหรือส่งบอลเข้าเล่นตามกติกา
 ข้อ 52 การชกต่อย (Fighting)
52.1 คำจำกัดความ
การชกต่อยเป็นการกระทบกระทั่งเกี่ยวกับร่างกายระหว่างบุคคล 2 คน หรือมากกว่า (ผู้เล่น ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน
และผู้ติดตามทีม) กติกาข้อนี้ประยุกต์ใช้เฉพาะ ผู้เล่นสำรอง ผู้ฝึกสอนผู้ฝึกสอน หรือผู้ติดตามทีม
ซึ่งออกจากบริเวณที่นั่งของทีมระหว่างการชกต่อยหรือระหว่างสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การชกต่อย
52.2 กฎ
52.2.1 ผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีมซึ่งออกจากบริเวณที่นั่งของทีมระหว่างการชกต่อยหรือระหว่างสถานการณ์ใด ๆ
ซึ่งอาจนำไปสู่การชกต่อย จะถูกปรับให้เสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน
52.2.2 เฉพาะผู้ฝึกสอน และ/หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่อนุญาตให้ออกจากบริเวณที่นั่งของทีมระหว่างการชกต่อยหรือระหว่างสถานการณ์ใด ๆ
ซึ่งอาจนำไปสู่การชกต่อย เพื่อช่วยผู้ตัดสินควบคุมหรือระงับเหตุการณ์ให้กลับคือสภาพเดิมในสถานการณ์ ผู้ฝึกสอน
และ/หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอนจะไม่ถูกปรับให้เสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน
52.2.3 ถ้าผู้ฝึกสอน และ/หรือผู้ช่วยผู้ฝึกสอน ออกจากบริเวณที่นั่งของทีม และไม่ช่วยหรือไม่พยายามช่วยผู้ตัดสินควบคุมหรือระงับเหตุการณ์ จะถูกปรับให้เสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน
52.3 บทลงโทษ
52.3.1 ไม่พิจารณาถึงการฟาล์วเสียสิทธิ์ของผู้เล่นสำรองหรือผู้ติดตามทีม ถูกปรับเป็นเสียสิทธิ์ออกจากการแข่งขัน ซึ่งออกจากบริเวณที่นั่งของทีม สัญลักษณ์การฟาล์วเทคนิค จะขานต่อผู้ฝึกสอน
52.3.2 ในกรณีที่สมาชิกของทั้ง 2 ทีม ถูกขานฟาล์วเสียสิทธิ์ตามกติกาข้อนี้ และไม่มีการลงโทษของฟาล์วอื่น จะเกิดสถานการณ์การเล่นลูกกระโดดขึ้น
52.2.3 การฟาล์วเสียสิทธิ์ทั้งหมดจะบันทึกตามที่อธิบายใน ข.8.3 และจะไม่บันทึกเป็นฟาล์วทีม 1 ครั้ง
52.2.4 บทลงโทษทั้งหมดที่เกิดขึ้น ก่อนที่ผู้เล่นสำรองและผู้ติดตามทีมออกจากบริเวณที่นั่งของทีมจะต้องดำเนินการด้วย
ตามกติกาข้อ 56 (สถานการณ์พิเศษ)

 ข้อ 53 หลักการเบื้องต้น (Basic Principle)
53.1 ผู้ตัดสินแต่ละคนมีอำนาจที่จะขานฟาล์วได้อย่างอิสระจากเหตุการณ์อื่น ที่ใดเวลาใดเวลาใดก็ได้ระหว่างเกมการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นบอลดีหรือบอลตาย
53.2 การฟาล์วของสมาชิกอาจจะขานต่อทีมใดหนึ่งหรือทั้ง 2 ทีม ไม่คำนึงถึงบทลงโทษ การฟาล์วจะบันทึกลงในใบบันทึกคะแนนต่อผู้ที่ละเมิดสำหรับการฟาล์วแต่ละครั้ง

 ข้อ 54 ฟาล์วครั้งที่ 5 ของผู้เล่น (Five fouls by a player)
54.1 ผู้เล่นซึ่งกระทำฟาล์วครั้งที่ 5 ไม่ว่าจะเป็นฟาล์วบุคคลและ/หรือฟาล์วเทคนิค จะต้องรับรู้ข้อเท็จจริงนั้น
ต้องออกจากเกมการแข่งขันทันทีและเปลี่ยนตัวผู้เล่นภายในเวลา 30 วินาที
54.2 การฟาล์วโดยผู้เล่นซึ่งกระทำฟาล์วครั้งที่ 5 จะขามเป็นฟาล์วเทคนิคต่อผู้ฝึกสอน และบันทึกด้วยตัวอักษร “B”
ลงในใบบันทึกคะแนน

 ข้อ 55 บทลงโทษของฟาล์วทีม (Team Fouls: Penalty)
55.1 คำจำกัดความ
55.1.1 เมื่อทีมกระทำฟาล์วครบ 4 ครั้ง ซึ่งเป็นฟาล์วบุคคลหรือฟาล์วเทคนิคต่อผู้เล่นแต่ละคนของทีม จะได้บทลงโทษการฟาล์วทีม
55.1.2 การฟาล์วทีมทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างพักการแข่งขันจะพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งในการฟาล์วของช่วงการเล่น
หรือช่วงต่อเวลาพิเศษที่ตามมา
55.1.3 การฟาล์วทีมทั้งหมดที่กระทำในแต่ละช่วงต่อเวลาพิเศษจะพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งในการฟาล์วของช่วงการเล่นที่ 4
55.5 กฎ
55.2.1 เมื่อทีมได้บทลงโทษในการฟาล์ว ทีมที่ตามมาทั้งหมด ผู้เล่นกระทำฟาล์วบุคคลต่อผู้เล่นซึ่งไม่อยู่ลักษณะกำลังยิงประตู
บทลงโทษจะเป็นการโยนโทษ 2 ครั้ง แทนการส่งบอลเข้าเล่น
55.2.2 ถ้ากระทำฟาล์วบุคคลโดยผู้เล่นของทีมครอบครองบอลดี หรือของทีมที่ได้สิทธิ์ส่งบอลเข้าเล่น
การกระทำฟาล์วนั้นจะไม่มีการโยนโทษ 2 ครั้ง
 ข้อ 56 สถานการณ์พิเศษ (Special situation)
56.1 คำจำกัดความ
ในช่วงเวลาเดียวกันหยุดเวลาการแข่งขันซึ่งผลมาจากการฟาล์วหรือการทำผิดระเบียบ สถานการณ์พิเศษอาจเกิดขึ้น
ได้เมื่อมีการกระทำฟาล์วเกิดขึ้น
56.2 วิธีการปฏิบัติ
56.2.1 จะขานเป็นฟาล์วทั้งหมด และระบุบทลงโทษ
56.2.2 จัดเรียงลำดับการฟาล์วทั้งหมดที่เกิดขึ้น
56.2.3 บทลงโทษที่เท่ากันของทั้ง 2 ทีม และบทลงโทษการฟาล์วคู่จะยกเลิก
เมื่อใดก็ตามบทลงโทษที่ยกเลิกให้พิจารณาเป็นเสมือนไม่เคยเกิดขึ้น
56.2.4 การครอบครองบอลที่เป็นส่วนหนึ่งของบทลงโทษครั้งสุดท้ายยังคงอยู่ จะตัดสินใจยกเลิกทุก ๆ ครั้ง
ต้องก่อนการครอบครองบอล และก่อนถูกปรับผลการแข่งขัน
56.2.5 การคงอยู่ของบทลงโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว หรือในการส่งบอลเข้าเล่น
ในขณะนั้นบทลงโทษไม่สามารถใช้ยกเลิกบทลงโทษอื่นได้
 ข้อ57 การโยนโทษ (Free throws)
57.12 คำจำกัดความ
57.1.1 การโยนโทษเป็นการให้โอกาสผู้เล่นทำคะแนน 1 คะแนน โดยไม่มีการป้องกัน จากตำแหน่งหลังเส้นโยนโทษและอยู่ภายใน
ครึ่งวงกลม
57.1.2 การโยนโทษเป็นชุด เป็นผลทำให้ต้องโยนโทษทั้งหมดจากบทลงโทษของ การฟาล์วครั้งเดียว
57.1.3 การโยนโทษและการกระทำอื่นที่มีผลต่อการโยนโทษสิ้นสุดเมื่อลูกบอล
- ลงห่วงประตูโดยตรงจากด้านบนและค้างอยู่ภายในหรือผ่านห่วงประตูลงมา
- ไม่มีโอกาสลงห่วงประตูโดยตรงหรือภายหลังที่ลูกบอลถูกห่วง
- ไม่มีโอกาสลงห่วงประตูโดยตรงหรือภายหลังที่ลูกบอลถูกห่วง
- ถูกผู้เล่นภายหลังจากถูกห่วงแล้ว
- ถูกพื้นสนาม
- เป็นบอลตาย
57.1.4 ภายหลังจากลูกบอลถูกห่วงและถูกลูกบอลอย่างถูกต้องโดยผู้เล่นฝ่ายรุกหรือฝ่ายรับก่อนที่ลูกก่อนที่ลูกบอลลงห่วงประตูจาก
การโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว เป็นความพยายามเปลี่ยนสถานภาพของลูกบอลและกลายเป็น 2 คะแนน
57.2 เมื่อขานฟาล์วบุคคล และบทลงโทษเป็นการโยนโทษ
57.2.1 ผู้เล่นซึ่งถูกกระทำฟาล์ว จะเป็นผู้โยนโทษ
57.2.2 จะต้องโยนโทษก่อนออกจากเกมการแข่งขันถ้ามีการร้องขอเปลี่ยนตัวกับผู้โยนโทษ
57.2.3 ถ้าผู้เล่นที่ถูกกำหนดให้โยนโทษต้องออกจากเกมการแข่งขันเพราะบาดเจ็บ กระทำฟาล์วครั้งที่ 5
หรือฟาล์วเสียสิทธิ์ผู้เล่นสำรองที่เปลี่ยนตัวเข้ามาแทนต้องโยนโทษแทน ถ้าไม่มีผู้เล่นสำรองเหลืออยู่เลย
อาจจะให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งเป็นผู้โยนโทษแทนซึ่งกำหนดโดยหัวหน้าทีม
57.3 เมื่อขานฟาล์วเทคนิค การโยนโทษอาจจะโยนโทษโดยผู้เล่นของทีมฝ่ายตรงข้ามที่กำหนดโดยหัวหน้าทีม
57.4 ผู้โยนโทษ (The free throw shooter)
57.4.1 จะต้องอยู่ในตำแหน่งหลังเส้นโยนโทษและอยู่ภายในครึ่งวงกลม
57.4.2 อาจจะใช้วิธีการยิงประตูแบบใดก็ได้ แต่การโยนโทษต้องให้ลูกบอลลงห่วงประตูจากข้างบนหรือถูกห่วงโดยปราศจากการถูกพื้นสนาม
57.4.3 จะต้องปล่อยลูกบอลภายใน 5 วินาที จากเวลาที่รับลูกบอลที่ส่งให้โดยผู้ตัดสิน
57.4.4 จะต้องไม่เหยียบเส้นโยนโทษเข้าไปในเขตโยนโทษจนกว่าลูกบอลลงห่วงประตูหรือถูกห่วง
57.4.5 จะไม่มีการหลอกคู่ต่อสู้ให้หลงทางในการโยนโทษ การละเมิดกติกาข้อ 57.4 เป็นการทำผิดระเบียบ
57.4.6 บทลงโทษ
ถ้ากระทำโทษผิดระเบียบโดยผู้โยนโทษ กระทำผิดระเบียบโดยผู้เล่นคนอื่นก่อน
ในเวลาเดียวกันหรือภายหลังการโยนโทษจะมองข้ามและไม่ให้คะแนนนับ
ให้ลูกบอลกับฝ่ายตรงข้ามสำหรับส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามตามแนวเส้นโยนโทษ เว้นแต่จะมีการโยนโทษอื่นเพิ่มเติม
57.5 ผู้เล่นที่ยืนในช่องยืน (The player in the lane places)
57.5.1 การยืนในช่องยืน (Occupation of the lane places)
- ผู้เล่นสูงสุด 5 คน (ฝ่ายรับ 3 คน และฝ่ายรุก 2 คน) อาจจะยืนในช่องยืน ซึ่งมีความลึก 1 เมตร
- ในช่องยืนที่ 1 ทั้ง 2 ด้านของเขตกำหนดเวลา 3 วินาที จะยืนเฉพาะผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับผู้โยนโทษ
- ผู้เล่นจะยืนสลับตำแหน่งกัน ซึ่งจะยืนเฉพาะช่องที่เขามีสิทธิ์เท่านั้น
57.5.2 ผู้เล่นทุกคนที่ยืนในช่องยืนจะต้องไม่กระทำ
57.5.2.1 ไม่ยืนในช่องยืนที่เขาไม่มีสิทธิ์
57.5.2.2 ไม่เข้าไปในเขตกำหนดเวลา 3 เดือนวินาที เขตปลอดผู้เล่น หรือออกจากช่องยืน จนกว่าลูกบอลจะหลุดออกจากมือของผู้โทษ
57.5.2.3 ไม่ถูกลูกบอลในขณะที่ลูกบอลลอยไปที่ห่วงประตู ก่อนลูกบอลจะถูกห่วง หรือเป็นที่แน่ชัดว่าลูกบอลไม่ถูกห่วงประตู
57.5.2.4 ไม่ถูกห่วงประตู หรือกระดานหลังในขณะที่ลูกบอลกลิ้งอยู่บนห่วงระหว่างการโยนโทษ
57.5.2.5 ไม่ถูกลูกบอล ห่วงประตู หรือกระดานหลัง ตราบใดที่ลูกบอลมีโอกาสเข้าห่วงประตูระหว่างการโยนโทษซึ่งตามด้วยการโยนโทษอื่น
57.5.2.6 ยื่นแขนผ่านทะลุห่วงประตูจากด้านล่างและไปถูกลูกบอล
57.5.2.7 เคลื่อนออกจากตำแหน่งในช่องยืนเมื่อใดก็ตามที่เป็นบอลดีสำหรับการโยนโทษ จนกว่าลูกบอลจะหลุดจากมือผู้โยนโทษ
57.5.3 ฝ่ายตรงข้ามของผู้โยนโทษจะต้องไม่กระทำ :
57.5.3.1 รบกวนผู้โยนโทษโดยการกระทำอื่น ใด
57.5.3.2 ถูกลูกบอลหรือห่วงประตูในขณะที่ลูกบอลอยู่ภายในห่วงประตู
57.5.3.3 กระดานหลังหรือห่วงสั่นแกว่งไปมาในขณะที่ลูกบอลลอยอยู่กลางอากาศ ในการพิจารณาของผู้ตัดสิน
ถือว่าเป็นการขัดขวางลูกบอลลงห่วงประตู การละเมิดกติกาตามข้อ 57.5 เป็นการทำผิดระเบียบ
57.5.4 บทลงโทษ (Penalty)
57.5.4.1 ถ้าโยนเป็นผลและมีการละเมิดโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งในช่องยืน ตามกติกาข้อ 57.5.1, 57.5.2.1, 57.5.2.2, 57.5.2.7, หรือ 57.5.3.1 เป็นการทำผิดระเบียบจะมองข้ามและให้คะแนนนับ
57.5.4.2 ถ้าการโยนโทษไม่เป็นผลและเป็นการละเมิด ตามกติกาข้อ 57.5.1, 57.5.2.1, 57.5.2.7 หรือ 57.5.3.1 โดย:
- เพื่อนร่วมทีมของผู้โยนโทษ : ให้ฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามตามแนวเส้นโยนโทษ
- ฝ่ายตรงข้ามของผู้โยนโทษ : ให้ผู้โยนโทษได้โยนใหม่
- ผู้เล่นทั้งสองฝ่าย : เกมการแข่งขันจะเริ่มด้วยการส่งบอลเข้าเล่นตามกติกา
57.5.4.3 ถ้าการละเมิด ตามกติกาข้อ 557.5.2.3, 57.5.2.4, 57.5.2.5, 57.5.2.6, 57.5.3.2 หรือ 57.5.3.3 โดย
- เพื่อนร่วมทีมของผู้โยนโทษ : ไม่นับคะแนนและฝ่ายตรงข้ามส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามจากเส้นโยนโทษ
- ฝ่ายตรงข้ามของผู้โยนโทษ : การโยนโทษจะเป็นผล และนับ 1 คะแนน
- ผู้เล่นทั้งสองทีม : ไม่นับคะแนนและเกมการแข่งขันจะเริ่มด้วยการส่งบอลเข้าเล่นตามกติกา
57.5.4.4 ถ้าเป็นการละเมิด ตามกติกาข้อ 57.5.2.3 โดยฝ่ายตรงข้ามของผู้โยน ระหว่างการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือครั้งเดียว การโยนโทษนั้นจะเป็นผลและให้คะแนนนับ 1 คะแนน และขานเป็นฟาวล์เทคนิคต่อผู้เล่นซึ่งกระทำการละเมิด
57.5.4.5 ถ้ามีการโยนมากกว่า 1 ชุด บทลงโทษที่เป็นการส่งบอลเข้าเล่น จะให้เฉพาะเมื่อเกิดการกระทำผิดระเบียบขึ้นในการโยนโทษครั้งสุดท้ายหรือเพียงครั้งเดียว
57.6 ผู้เล่นทั้งหมดซึ่งไม่ได้ยืนในช่องยืนของการโยนโทษ
57.6.1 จะต้องไม่รบกวนผู้โยนโดยการกระทำอื่นใด
57.6.2 จะยืนอยู่หลังแนวเส้นโยนโทษและหลังเส้นยิงประตู 3 คะแนน จนกว่าลูกบอลจะถูกห่วง หรือการโยนโทษสิ้นสุด
การละเมิดกติกาข้อ 57.6 เป็นการทำผิดระเบียบ
57.6.3 บทลงโทษ (Penalty) ดูกติกาข้อ 57.5.4 ข้างต้น
57.7 ระหว่างการโยนโทษซึ่งตามด้วยการโยนทาอื่นอีกเป็นชุดตามต้องการส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนาม หรือการส่งลูกกระโดด
57.7.1 ผู้เล่นจะต้องไม่เข้าไปยืนในช่องยืน
57.7.2 ผู้เล่นทุกคนจะยู่หลังแนวเส้นโยนโทษและหลังเส้นยิงประตู 3 คะแนน
การละเมิดกติกาข้อ 57.7 เป็นระเบียบ
57.7.3 บทลงโทษ (Penalty) ดูกติกาข้อ 57.5.4 ข้างต้น

 ข้อ 58 ข้อผิดพลาดที่แก้ไขได้ (Correctable error)
58.1 คำจำกัดความ (Definitions)
ผู้ตัดสินอาจแก้ไขข้อผิดพลาดถ้ากติกายังไม่ได้กำหนดและผลที่ตามมาเฉพาะในสถานการณ์นี้เท่านั้น :
58.1.1 ให้โยนโทษ โดยไม่สมควรได้โยนโทษ
58.1.2 อนุญาตให้ผู้เล่นที่กระทำผิดได้โยนโทษ
58.1.3 ไม่ให้โยนโทษตามสิทธิ์
58.1.4 ผู้ตัดสินนับคะแนนผิดพลาดหรือยกเลิกคะแนนผิดพลาด
58.2 วิธีปฏิบัติ (procedure)
58.2.1 การแก้ไขข้อผิดพลาดตามที่กล่าวถึงข้างต้นต้องค้นพบโดยผู้ตัดสิน หรือแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบก่อนบอลดีต่อจากบอลตายครั้งแรก หลังจากนาฬิกาเริ่มเดินต่อขากข้อผิดพลาด
นั่นก็คือ
ข้อผิดพลาดเกิดขึ้น - ข้อผิดพลาดทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างบอลตาย
บอลดี - ข้อผิดพลาดแก้ไขได้
นาฬิกาเริ่มเดินหรือกำลังเดินอยู่ - ข้อผิดพลาดแก้ไขได้
บอลตาย - ข้อผิดพลาดแก้ไขได้
บอลดี - ข้อผิดพลาดแก้ไขไม่ได้
58.2.2 ผู้ตัดสินอาจหยุดเกมการแข่งขันทันทีที่ค้นพบข้อผิดพลาดและแก้ไขข้อผิดพลาดได้โดยที่ไม่ทำให้ทีมใดทีมหนึ่ง
เสียเปรียบ ถ้าข้อผิดพลาดนั้นพบระหว่างเกมการแข่งขัน โดยผู้บันทึกคะแนนจะต้องรอให้มีบอลตายครั้งแรกก่อนให้สัญญาณเสียงแจ้งให้ผู้ตัดสินสั่งหยุดเกมการแข่งขัน
58.2.3 คะแนนที่ทำได้ เวลาที่ใช้ไป และกิจกรรมอื่นใดซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนที่พบข้อผิดพลาดจะไม่ยกเลิก
58.2.4 ภายหลังการค้นพบข้อผิดพลาดนั้นแก้ไขได้ :
- ถ้าผู้เล่นเกี่ยวข้องกับการแก้ไขข้อผิดพลาดอยู่ในที่นั่งของทีม หลังจากเปลี่ยนตัวถูกต้องตามกติกา (ไม่ใช่การฟาวล์เสียสิทธิ์หรือการฟาวล์ครั้งที่ 5) เขาต้องกลับเข้ามาในสนามแข่งขันเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด (ที่จุดที่เขาเป็นผู้เล่นอยู่)
เมื่อแก้ไขข้อผิดพลาดสิ้นสุดแล้ว เขาอาจยังคงอยู่ในเกมการแข่งขันได้ เว้นแต่ได้ร้องขอเปลี่ยนตัวอย่างถูกต้องตามกติกา ซึ่งในกรณีนี้ผู้เล่นคนนั้นอาจจะออกจากสนามก็ได้
- ถ้าผู้เล่นถูกเปลี่ยนตัวเพราะการกระทำฟาวล์ครั้งที่ 5 หรือการฟาวล์เสียสิทธิ์ ผู้ที่เปลี่ยนตัวเข้ามาอย่างถูกต้องตามกติกาต้องเข้าไปแก้ไขข้อผิดพลาด
58.2.5 ภายหลังแก้ไขข้อผิดพลาดแล้ว เกมการแข่งขันจะเริ่มที่จุดซึ่งได้หยุดไว้เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด ให้ลูกบอลกับทีมที่ครอบครองบอลในเวลาที่พบข้อผิดพลาด
58.2.6 ข้อผิดพลาดที่แก้ไขนั้นไม่สามารถแก้ไขได้หลังจากผู้ตัดสินได้ลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนน
58.2.7 ข้อผิดพลาดอื่นใดหรือการผิดพลาดของการบันทึกโดยผู้บันทึกคะแนนซึ่งมีผลต่อคะแนน จำนวนครั้งของการฟาวล์หรือจำนวนครั้งของเวลานอกไม่อาจแก้ไขและอาจแก้ไขได้โดยผู้ตัดสินในเวลาใดก็ได้ ก่อนที่ผู้ตัดสินจะลงลายมือชื่อในใบบันทึกคะแนน
58.3 ข้อยกเว้น (Exception)
58.3.1 ถ้าข้อผิดพลาดเป็นการโยนโทษที่ไม่สมควรได้โยนโทษหรือผู้เล่นที่กระทำผิดได้โยนโทษ การโยนโทษที่เป็นผลของข้อผิดพลาดและกิจกรรมทั้งหมดเป็นเหตุ ณ จุดนั้น จะยกเลิกเว้นแต่มีการขานฟาวล์เทคนิค ฟาวล์ผิด
วิสัยนักกีฬา หรือการฟาวล์เสียสิทธิ์ ระหว่างดำเนินการหลังพบข้อผิดพลาด
58.3.2 ถ้าข้อผิดพลาดเป็นผู้เล่นที่กระทำผิดได้โยนโทษหรือไม่ได้โยนโทษตามสิทธิ์ และถ้าไม่เปลี่ยนการครอบครองบอลตั้งแต่ข้อ
ผิดพลาดเกิดขึ้นเกมจะเริ่มหลังจากการแก้ไข้ข้อผิดพลาดภายหลังการโยนโทษตาม ปกติ
58.3.3 ถ้าข้อผิดพลาดเกิดจากไม่ได้โยนโทษตามสิทธิ์ ข้อผิดพลาดจะมองข้าม เมื่อได้คะแนนหลังจากข้อผิดพลาดได้แก้ไขแล้วให้ทีมเดิมครอบครองบอล

                       

      

สร้างโดย: 
เชษฐา จำเล
รูปภาพของ chatta2010

ร่วมแสดงความคิดเห็นกันพวกเรามากๆนะครับ และขอขอบคุณที่ท่านได้มาเยือนในสื่อการเรียนการสอนครั้งนี้นะครับขอขอบคุณครับ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 450 คน กำลังออนไลน์