ไบโอม(ชีวภูมิภาค) กับ ครูเกรียงไกร ไชยภักษา

รูปภาพของ mcsten

           ไบโอม (Biome) คือเป็นบริเวณที่ประกอบด้วยระบบนิเวศหลายๆระบบที่มีความสัมพันธ์กันลักษณะสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีลักษณะเฉพาะของตนเองโดยอาศัยลักษณะของพืชหรือสิ่งมีชีวิตชนิดเด่นเป็นหลัก ไบโอมเกิดจากกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีประชากรของสิ่งมีชีวิตมากกว่าหนึ่งชนิดมาอยู่รวมกันและมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในบริเวณใดบริเวณหนึ่งทำให้เกิดเป็นลักษณะเฉพาะของบริเวณนั้น ๆ ซึ่งถ้าแบ่งไบโอมตามโครงสร้างของกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community structure) จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไบโอมบนบก (Terrestrial biome) และ ไบโอมในน้ำ (Aquatic biome) ซึ่งสามารถจำแนกกว้าง ๆ ได้เป็น ไบโอมน้ำจืด (freshwater biome) และไบโอมน้ำเค็ม (marine biome)
                                                                                   1. ไบโอมบนบก
ไบโอมบนบก (Terrestrial biomes) ใช้เกณฑ์ปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิเป็นตัวกำหนด ไบโอมบนบกที่สำคัญ เช่น ไบโอมป่าดิบชื้น ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น ใบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น ไบโอมสะวันนา ไบโอมป่าสน ไบโอมทะเลทราย ไบโอมทุนดรา ชาพาร์ราล
ป่าดิบชื้น (Tropical rain forest)
พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกในทวีปอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเอเชียตอนใต้ อเมริกาใต้ แอฟริกา และบริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก ลักษณะของภูมิอากาศร้อนและชื้น มีฝนตกตลอดปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200 – 400 เซนติเมตรต่อปี ในป่าชนิดนี้พบพืชและสัตว์หลากหลายสปีชีส์ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีอัตราการย่อยสลายสูง ป่าจะเขียวฉอุ่มตลอดปี

                                                         
                                                                            
ที่มา: http://zoltantakacs.com/zt/im/scan/earth/tropical_rain_forest_guatemala_13495-120.jpg


ที่มา:http://www.marietta.edu/~biol/biomes/images/troprain/troprain_500b.jpg

ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (Temperate deciduous forest)
พบกระจายทั่วไปในละติจูดกลาง ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดี โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปี และมีอากาศค่อนข้างเย็น ในป่าชนิดนี้และต้นไม้จะทิ้งใบหรือผลัดใบก่อนฤดูหนาว และจะเริ่มผลิใบอีกครั้งเมื่อฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว ต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม รวมถึงไม้ล้มลุก
                                         
ที่มา:http://www.ffpri.affrc.go.jp/labs/femnet/ogawa/photo1.jpg
                                        
ที่มา:http://www.marietta.edu/~biol/biomes/images/deciduous/deciduous_500.jpg

ป่าสน (Coniferous forest) : มักมีช่วงฤดูร้อนที่สั้น ฤดูหนาวยาวนาน จะเขียวชะอุ่มตลอดปี ส่วนป่าสนในซีกโลกเหนือเรียก ไทกา ส่วนในเมืองไทยพบแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ เช่นบนภูเรือ ภูกระดึง มักพบ สนสองใบ สนสามใบเป็นต้น

ที่มา:

http://pirun.ku.ac.th/~b4803260/son1.jpg
ป่าไทกา (Taiga) และป่าบอเรียล (Boreal) เป็นป่าประเภทเขียวชอุ่มตลอดปี พบได้ทางตอนใต้ของประเทศแคนนาดา ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชียและยุโรป ในเขตละติจูดตั้งแต่ 45 – 67 องศาเหนือ ลักษณะของภูมิดากาศมีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน อากาศเย็นและแห้ง ฤดูที่อากาศอบอุ่นค่อนข้างสั้น พื้นดินจึงมีเศษกิ่งไม้ ใบไม้ สะสมกันเป็นชั้นหนา มีอัตราการย่อยสลายต่ำ ดินมักเป็นกรด พืชเด่นที่พบได้แก่ พืชจำพวกสน เช่น ไพน์ (Pine) เฟอ (Fir) สพรูซ (Spruce) และเฮมลอค เป็นต้น

ที่มา:http://aula.proyectopdb.org/ficheros/file/ceip/primaria/wq/ecosistema/taiga.jpg
                                                                      

ที่มา:http://aula.proyectopdb.org/ficheros/file/ceip/primaria/wq/ecosistema/taiga.jpg
ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (Temperate grassland) หรือที่รู้จักกันในชื่อทุ่งหญ้าแพรี่ (Prairie) ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือซึ่งกระจายกินพื้นที่มากกว่าไบโอมอื่นและทุ่งหญ้า สเตปส์ (Steppes) ของประเทศรัสเซีย สภาพภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25 – 50 เซนติเมตรต่อปี ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นนี้เหมาะสำหรับการทำกสิกรและปศุสัตว์ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้านานาชนิดขึ้นอยู่ ส่วนใหญ่พบมีการทำเกษตรกรรมควบคู่ในพื้นที่นี่ด้วย
                                    
ที่มา:http://seoeun01px2009.files.wordpress.com/2007/10/biol_02_img0210.jpg
                                     
สะวันนา (Savanna) เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกาและพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป เอเชีย ลักษณะของภูมิอากาศร้อน มีฤดูร้อนที่ยาวนาน พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีต้นไม้กระจายเป็นหย่อม ๆ ในฤดูร้อนมักเกิดไฟป่า พืชที่ขึ้นมักทนต่อไฟป่าและความแห้งแล้งได้ดี
                                  
ที่มา:http://ecolibrary.org/images/full_image/Savanna_w_zebras_and_impalas_Tanzania_DP30.jpg
                                                          

ที่มา:

http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ddw1CeLqe7TYiM::&t=1&usg=__0MbDuN6ImFW8mL7g39iYmD1zuEs=
ทะเลทราย (Desert) พบได้ทั่วไปในโลก ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี บางที่ฝนตกหนักแต่ดินเป็นทรายที่ไม่อุ้มน้ำ ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน บางวันแห่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำ โดยใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบ เก็บสะสมน้ำดี พืชมักเป็นพืชที่อายุสั้นเพียวหนึ่งฤดูทะเลทรายที่รู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (Sahara) ในทวีปแอฟริกา ทะเลทรายโกบี (Gobi) ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะเลทรายโมฮาวี (Mojave) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
                                  

ที่มา:http://www.zastavki.com/pictures/1920x1200/2008/Widescreen_The_desert_005166_.jpg
                                  
ที่มา:http://www.windows.ucar.edu/earth/images/desert_map_sm2.jpg

ทุนดรา (Tundra) เป็นเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน ฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ ลักษณะเด่นคือ ชั้นของดินที่อยู่ต่ำกว่าจากผิวดินชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งถาวร บางที่มีน้ำแข็งหนาหลายเมตรทุนดราพบเพียงตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ และยูเรเซีย พบพพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยชนิด ปริมาณฝนน้อยในฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ น้ำแข็งที่ผิวหน้าดินละลาย แต่เนื่องจากน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้ในระยะสั้น ๆ พืชที่พบจะเป็นพวกไม้ดอกและไม้พุ่ม นอกจากนี้ยังพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ไลเคนด้วย 
                              
ที่มา2:http://www.cedcc.psu.edu/khanjan/best_alaska_pix/139_Sunset%20in%20the%20Tundra.JPG
                                                     

ที่มา:

http://www.windows2universe.org/earth/images/tundra_map_big2.jpg

2. ไบโอมในน้ำ
ไบโอมในน้ำที่พบเป็นองค์ประกอบหลักใบไบโอสเฟียร์ประกอบด้วย ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes) และไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine Biomes) และพบกระจายอยู่ทั้งเขตภูมิศาสตร์ในโลกนี้
ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes) โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำนิ่งซึ่งได้แก่ ทะเลสาบ สระ หนอง หรือบึง กับแหล่งน้ำไหล ได้แก่ ธารน้ำไหลและแม่น้ำ เป็นต้น
ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine biomes) โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำเค็ม ซึ่งได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร ซึ่งพบได้ในปริมาณมากถึงร้อยละ 71 ของพื้นที่ผิวโลก และมีความลึกมากโดยเฉลี่ยถึง 3,750 เมตร ไบโอมแหล่งน้ำเค็มจะแตกต่างจากน้ำจืดตรงที่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยกายภาพ สำคัญ นอกจากนี้ยังพบช่วงรอยต่อของแหล่งน้ำจืดกับน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน และเกิดเป็นแหล่งน้ำกร่อยซึ่งมักพบบริเวณปากแม่น้ำ

สร้างโดย: 
ครูเกรียงไกร ไชยภักษา โรงเรียนแม่จริม อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 434 คน กำลังออนไลน์