user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('สุขภาพผู้บริโภค', 'node/42143', '', '18.223.33.157', 0, '894c8c5505ebb2794973937b5f0470d0', 150, 1717315739) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ม.5 /2 สาระประวัติศาสตร์ ส32102 ภาคเรียนที่ 1 / 2553

รูปภาพของ nsspramote

ครูปราโมทย์ สัจจา กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯโรงเรียนนนทรีวิทยา

กำหนดส่งงานทั้งหมดภายในวันที่ 23 กันยายน 2553 เวลา 24.00 น.

งานครั้ังที่ 1 การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

งานครั้งที่2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม

งานครั้งที่3 สงครามเย็น

งานครั้งที่4 ปัญหาตะวันออกกลาง

งานครั้งที่5 เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลกและมนุษยชาติ

พยายามเข้านะจะรออ่านทุกๆคนเลยครับ...สู้สู้Laughing หวังให้ไกลไปให้ถึง

รูปภาพของ pornpawee 37774

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศตวรรษที่ ๑๖และ ๑๗ ให้ความสำคัญกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์นักปราชญ์สำคัญต่างเชื่อว่า ความลับต่าง ๆ ของธรรมชาติซ่อนอยู่ในภาษาทางคณิตศาสตร์นักปราชญ์กลุ่มนั้นได้แก่    นิโคลัส คอเปอร์นิคัส (
Nicholas Coprnicus ) โจฮันนส์ เคปเลอร์ ( Johannes Kepler )กา ลิเลโอ กาลิอี ( Galileo Galilei ) และไอแซคนิวตัน ( Isaac Newton )   ต่างเป็นนักคณิตศาสตร์และใช้เป็นเครื่องมือสร้างทฤษฎีความรู้ใหม่ที่แตกต่างจากความรู้โบราณ ซึ่งเรื่องแรก คือ ระบบสุริยะจักรวาล  สมัยกลางได้นำทฤษฎีของปโตเลมีซึ่งมีชีวิตตั้งแต่ศตวรรษที่ ๒ ความคิดของอริสโตเติลและหลักการของศาสนาคริสต์เรียกว่า Geocentric – โลกคือศูนย์กลางของจักรวาลในค.ศ. ๑๕๔๓ นิโคลัส คอเปอร์นิคัส ชาวโปแลนด์เสนอทฤษฎีใหม่เรื่องจักรวาลแนวคิดคือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล โลหมุนรอบดวงอาทิตย์ มีเพียงดวงจันทร์เท่านั้นที่โคจรรอบโลกต่อมาโจฮันนส์ เคปเลอร์เสนอเพิ่มเติมว่าวงโคจรของดวงดาวรอบดวงอาทิตย์นั้นเป็นวงรี และดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ตรงกลางของวงโคจรอย่างที่เคยเข้าใจกันต่อมา กาลิเลโอใช้วิธีสังเกตการณ์ โคจรของดวงดาวรอบดวงอาทิตย์อย่างสม่ำสมอเป็นคนแรกและได้ค้นพบภูเขาบนดวงจันทร์หลายแห่งและยังพบดาวบริวารรอบดาว Jupiter รวมทั้งจุดดับบนดวงอาทิตย์ โดยใช้กล้องดูดาว – telescope เขาพิมพ์งานเผยแผ่ใน ค.ศ. ๑๖๑๐ และเป็นที่สนใจมากกว่านักวิทยาศาสตร์ก่อนนั้นทั้งทำให้ศาสนาจักรโรมันคาทอลิค ถือว่าเขาลบหลู่ความคิดเรื่องสวรรค์และดินแดนของพระเจ้าซึ่งเริ่มต้นจากทฤษฎีของ คอเปอร์นิคัสไอแซค นิวตัน ( Isaac Newton ) เกิดค.ศ. ๑๖๔๒ ศึกษาในมหาวิทยาลัยแคมบริจและเป็นศาสตราจารย์ทางคณิตสตร์ และได้เผยแผ่งานของเขา คือ The Pricipia โดยได้สรุปทฤษฎีแรงโน้มถ่วง – gravity อธิบายเหตุที่โลกไม่หลุดจากวงโคจรและสิ่งของบนโลกไม่หลุดไปจากโลกความคิดของนิวตันเป็นหลักการที่สำคัญของโลกวิทยาศาสตร์ จนถึงสมัยที่อัลเบิร์ต  ไอสไตน์เสนอทฤษฎีสัมพันธภาพ – concept of relativity  Descartes and Reason – rationalism ในศตวรรษที่ ๑๗ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่สำคัญ ชื่อ Rene  Descartes เดสกาดส์ สนใจ ปัญหาความแน่นอนและความไม่แน่นอน จุดเริ่มต้นของความคิด  คือ ความสงสัย งานเขียนของเขาเน้นเรื่องการมีตัวตนของเขาเองเป็นประการแรก การเริ่มต้นเชื่อมั่นว่าตนมีอยู่จริงถือเป็นเรื่องสำคัญ  เหตุผลต้องเริ่มจากการยอมรับจากตัวเขาเอง “ ...his reason said was true ” ประโยคที่สะท้อนหลักการสำคัญประการแรกที่สุดคือ I think, therefore I am .การเชื่อในเหตุผลของแต่ละคนเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการแสวงหาความรู้ Francis Bacon - The Scientific Method ในศตวรรษที่ ๑๗ นักปราชญ์มุ่งหาวิธีศึกษาเรื่องของธรรมชาติรอบตัว เบคอนถือว่าการสร้างองค์ความรู้มาจากการสังเกตทดลองเรื่องต่าง ๆแล้วจึงสรุปเป็นกฏ เพื่อพิสูจน์สมมุติฐานหรือทฤษฎีให้ถูกต้อง แทนการใช้การอ้างเหตุและผลเชิงตรรกวิทยาเบคอนต้องการให้วิทยาศาสตร์เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติมากขึ้น ทั้งด้านอุตสาหกรรมเกษตรกรรมและการค้า

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์คือระยะเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในความคิดทางวิทยาศาสตร์ Galileo, an Italian scientist, found that the Earth was not flat, but round. กาลิเลโอ, นักวิทยาศาสตร์อิตาลีพบว่าโลกไม่ได้แบน แต่กลม This discovery led to the discovery of gravity. การค้นพบนี้นำไปสู่การค้นพบแรงโน้มถ่วง He also discovered the law of the pendulum. เขายังได้ค้นพบลูกตุ้มกฎหมายของ Isaac Newton, another scientist, found that when the color white is passed through a prism, the light is turned into different colors.  These men relied on investigation and experimentation to prove their theories.  Some of their discoveries were not very popular with the people of their time, but they continued to find the answers to questions in the name of science. ไอแซกนิวตัน, นักวิทยาศาสตร์อื่นพบว่าเมื่อสีขาวผ่านปริซึมแสงจะกลายเป็นสีที่แตกต่างกัน. คนเหล่านี้อาศัยในการตรวจสอบและการทดลองเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีของพวกเขา. บางส่วนของการค้นพบของพวกเขาไม่ได้รับความนิยมมากกับคนของ เวลาของพวกเขา แต่พวกเขายังคงเพื่อค้นหาคำตอบสำหรับคำถามทางวิทยาศาสตร์ที่ชื่อของ

นักวิทยาศาสตร์ที่ชอบ

กาลิเลโอกาลิเลโอ Galilei ซึ่งมักจะเป็นที่รู้จักกันโดยชื่อแรกของเขาเกิดเมื่อวันที่  เขาเกิดที่เมืองปิซา, อิตาลี พ่อของเขาส่งเขาไปยังมหาวิทยาลัยปิซาเพื่อศึกษายา แต่เขาสนใจในวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ต่อต้านความปรารถนาของพ่อของเขาให้ขึ้นแพทย์การศึกษาคณิตศาสตร์ เพราะเงินขาดและก็ไม่สามารถที่จะจบในมหาวิทยาลัย ใน 1637 กาลิเลโอกลายเป็นคนตาบอด แต่เขายังคงทำงานอย่างต่อเนื่อง  กาลิเลโอเสียชีวิตวันที่ 8 มกราคม 1642สิ่งประดิษฐ์ของกาลิเลโอเมื่อกาลิเลโอเริ่มการทำงานของเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เขากำลังมองดูโคมระย้าแกว่งไปมาในโบสถ์ของเมืองปิซา ซึ่งนำไปสู่การค้นพบของเขาลูกตุ้มกฎหมายของ  นอกจากนี้เขายังพบว่าจะเอาเวลาเดียวกันสำหรับแต่ละแกว่ง, ขนาดใหญ่หรือเล็ก เขายังได้ค้นพบบนดาวพฤหัสบดีสี่ดวงจันทร์โดยใช้กล้องดูดาวที่ 7 มกราคม 1610  ต่อมาทรงค้นพบว่าดาวศุกร์ดาวเคราะห์ไปถึงระยะเหมือนดวงจันทร์  นี้พบว่าดวงจันทร์หมุนรอบดาวศุกร์และดาวศุกร์หมุนรอบดวงอาทิตย์

รูปภาพของ suangsuda40107

อาจารย์  ส่งครบละนะ

 สรวงสุดา สุโพธิ์  ค่ะ !!!!!

รูปภาพของ suangsuda40107

สรวงสุดา  สุโพธิ์ ม5/2 เลขที่ 44 นะค่ะ สงครบทุกอย่าง ละค่ะ

 

งานครั้งที่1การปฏิวัติวิทยาศาสตร์

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ 4. ความหมายของการ “การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์”                 การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ คือ การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการขอโลกตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการค้นคว้างแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โลก และจักรวาล ทำให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เจริญรุ่งเรือง เป็นผลให้ชาติตะวันตกพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง  อย่างรวดเร็ว 5. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์                 5.1 การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ทำให้มนุษย์เชื่อมั่นในความสามารถของตน มีอิสระทางความคิด หลุดพ้นจากอิทธิพลการครอบงำของคริสต์จักร และมุ่งมั่นที่จะเอาชนะธรรมชาติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของตนให้ดีขึ้น                 5.2  การพัฒนาเทคโนโลยีในดินแดนเยอรมันตอนใต้ โดยเฉพาะการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบใช้วิธีเรียงตัวอักษรขอกูเตนเบิร์ก ในปี ค.ศ.1448 ทำให้สามารถพิมพ์หนังสือเผยแพร่ความรู้ต่าง  ได้อย่างกว้างขวาง                 5.3  การสำรวจทางทะเลและการติดต่อกับโลกตะวันออก ตั้งแต่คริสต์สตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาทำให้อารยธรรมความรู้ต่าง  จากจีน อินเดีย อาหรับ และเปอร์เชีย เผยแพร่เข้ามาในสังคมตะวันตกมากขึ้น 6. ความสำคัญของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์                 6.1 ทำให้มนุษย์เชื่อมั่นในสติปัญญาและความสามารถของตน เชื่อมั่นในความมีเหตุผล และนำไปสู่การแสวงหาความรู้โดยไม่มีสิ้นสุด                 6.2 ก่อให้เกิดความรู้และความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการด้านต่าง  และทำให้วิทยาศาสตร์กลายเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญ โดยเน้นศึกษาเรื่องราวของธรรมชาติ                 6.3 ทำให้เกิดการค้นคว้าทดลองและแสวงหาความรู้ด้านต่าง  ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่  อย่างต่อเนื่อง และเป็นพื้นฐานของการปฏิวัติอุตสาหกรรมในสมัยต่อมา                 6.4 ทำให้ชาวตะวันตกมีทัศนคติเป็นนักคิด ชอบสังเกต ชอบซักถาม ชอบค้นคว้าทดลอง เพื่อหาคำตอบ และนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต 7. การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในระยะแรก การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในระยะแรก เป็นการค้นพบความรู้ทางดาราศาสตร์ ทำให้เกิดคำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง  ซึ่งเป็นการท้าทายความเชื่อดั้งเดิมของคริสต์ศาสนา สรุปได้ดังนี้                 7.1.การค้นพบทฤษฎีระบบสุริยจักรวาลของนิโคลัส
(
Nicholaus Copernicus) ชาวโปแลนด์ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่
17 สาระสำคัญ
 คือ ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น  โคจรโดยรอบ
                ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสขัดแย้งกับหลักความเชื่อของคริสต์จักรอย่างมากที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล แม้จะถูกประณามอย่างรุนแรง แต่ถือว่าความคิดของโคเปอร์นิคัสเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ชาวตะวันตกให้ความสนในเรื่องราวลี้ลับของธรรมชาติ                 7.2 การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์
(
Telescope) ของกาลิเลโอ (Galileo Galilei) ชาวอิตาลีในปี ค.ศ. 1609 ทำให้ความรู้เรื่องระบบสุริยจักรวาลชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ได้เห็นจุดดับในดวงอาทิตย์ได้สังเกตการเคลื่อนไหวของดวงดาว และได้เห็นพื้นขรุขระของดวงจันทร์ เป็นต้น
                7.3 การค้นพบทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์ ของโจฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler)
ชาวเยอรมัน
 ในช่างต้นคริสต์ศตวรรษที่
17 สรุปได้ว่า
 เส้นทางโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปเข่หรือรูปวงรี มิใช่เป็นวงกลมตามทฤษฎีขอโคเปอร์นิคัส
8. การเสนอวิธีสร้างความรู้แบบวิทยาศาสตร์                 ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่
17 มีนักคณิตศาสตร์ 2 คน
 ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีสร้างความรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
                8.1 เรอเนส์ เดส์การ์ตส์ (Rene Descartes) ชาวฝรั่งเศส และเซอร์ ฟรานซิส เบคอน
(
Sir Francis Bacon) ชาวอังกฤษ ได้ร่วมกันเสนอหลักการใช้เหตุผล วิธีการทางคณิตศาสตร์ และการค้นคว้าวิจัยมาใช้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและการแสวงหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์
                8.2 ความคิดของเดส์การ์ตส์ เสนอว่าวิชาเรขาคณิตเป็นหลักความจริง สามารถนำไปใช้สืบค้นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ได้ ซึ่งได้รับความเชื่อถือจากนักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมาเป็นอย่างมาก                 8.3 ความคิดขอเบคอน เสนอแนวทางการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ “วิธีการทางวิทยาศาสตร์” เป็นเครื่องมือศึกษา ทำให้วิทยาศาสตร์ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง 9. การจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ                 9.1 การเสนอทฤษฏีการศึกษาค้นคว้าด้วย “ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ” ทำให้เกิดความตื่นตัวในหมู่ปัญญาชนของยุโรป มีการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นในประเทศต่าง  หลายแห่ง ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่
17 เพื่อสนับสนุนงานวิจัย
 การประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง  และแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าโดยลำดับ
                  9.2 ความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์กับนักประดิษฐ์นำไปสู่การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่าง  มากมาย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นรากฐานของความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง  จึงมีผู้กล่าวว่ากรปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่
17 เป็นยุคแห่งอัจฉริยะ (
The Age of Genius) เพราะมีการค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่  เกิดขึ้นมากมาย
10. การค้นพบ “กฎแห่งความโน้มถ่วง” ของนิวตัน                 10.1 การค้นพบความรู้หรือทฤษฎีใหม่ของ เซอร์ ไอแซค นิวตัน
(
Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ในตอนปลายคริสต์สตวรรษที่ 17 มี 2 ทฤษฏี คือ กฎแรงดึงดูดของจักรวาลและกฎแห่งความโน้มถ่วง
                   10.2.ผลจากการค้นพบทฤษฏีทั้งสองดังกล่าว ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดโลกและดาวเคราะห์จึงหมุนรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์จึงหมุนรอบโลกได้โดยไม่หลุดจากวงโคจร และสาเหตุที่ทำให้วัตถุต่าง  ตกจากที่สูงลงสู่พื้นดินโดยไม่หลุดลอยไปในอวกาศ
               10.3 ความรู้ที่พบกลายเป็นหลักของวิชากลศาสตร์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าในเรื่องราวของเอกภพสะสาร พลังงาน เวลา และการเคลื่อนตัวของวัตถุในท้องฟ้า โดยใช้ความรู้และวิธีการทางคณิตศาสตร์ช่วยค้นหาคำตอบ
11ผลจากการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17                 11.1 การปฏิวัติวิทยาศาสตร์เป็นสาเหตุผลักดันให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทำให้ประเทศต่าง  ในยุโรปพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านการผลิตจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก                 11.2. การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิด “ยุคภูมิธรรม” หรือ “ยุคแห่งการรู้แจ้ง” ทำให้ชาวตะวันตกเชื่อมั่นในเหตุผล ความสามารถ และภูมิปัญญาของตน เชื่อมั่นว่าโลกจะก้าวหน้าพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง มีความมั่นในว่าจะสามารถแสวงหาความรู้ต่อไปไม่มีวันสิ้นสุด โดยอาศัยเหตุผลและสติปัญญาของตน   งานครั้งที่2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรม  เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในบริเตนใหญ่ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดเริ่มจากเทคโนโลยีเครื่องจักรไอน้ำ (ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก) ทำงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือ เรือกำปั่น และทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ ความเจริญก้าวหน้าแผ่ขยายไปสู่ยุโรปตะวันตกและทวีปอเมริกาเหนือ และส่งผลกระทบทั่วโลกในที่สุด                 การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นวลีที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเร็วมากในยุโรป สืบเนื่องมาจากการค้นพบแหล่งพลังงานจากถ่านหินราคาถูกที่มีเหลือเฟือกับนวัตกรรมทางเครื่องกล คือเครื่องจักรไอน้ำที่เริ่มด้วยการปั่นด้าย การทอผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์ ฯลฯ ที่ผลักดันให้เกิดการขยายตัวของแรงงานอย่างมหาศาล ประสิทธิภาพการผลิตและผลผลิตที่มากมายมหาศาลและการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีอย่างมหาศาล รวมทั้งระบบโรงงานและขั้นตอนการผลิตและการจัดการแบบใหม่ ปรากฏการณ์ต่างๆ ดังกล่าวทำให้เมืองต่างๆ ในอังกฤษกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เริ่มแออัด                 ช่วงเวลาที่ถือว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวตกอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2293-2393 โดยเริ่มขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมที่มีเมืองขึ้นรองรับผลิตภัณฑ์อยู่ทั่วโลกแล้วจึงได้ขยายไปทั่วยุโรป การปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำขึ้นมาใช้ในการปั่นและทอผ้าฝ้ายและทอผ้าขนสัตว์ในแลงแคชเชียร์ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของสก็อตแลนด์และที่บริเวณภาคตะวันตกของยอร์กเชอร์ (Yorkshire) โรงงานที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำเหล่านี้ เกือบทั้งหมดมักตั้งอยู่ในเมือง ทำให้ชุมชนเมืองเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจากการอพยพของแรงานจากชนบทและจากการแต่งงานเร็วขึ้นของคนทำงานที่มีรายได้ประจำเพิ่ม นอกจากอุตสาหกรรมสิ่งทอแล้ว อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าก็เกิดขึ้น ซึ่งแม้จะขยายตัวช้ากว่า แต่ก็ได้กลายเป็นตัวสำคัญในการขับเศรษฐกิจแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุคที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2373 เป็นต้นมา แต่นักประวัติศาสตร์กลับเห็นว่าบทบาทของการตลาด ความมั่นคงทางการเมืองและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการจัดการที่เริ่มขึ้นในสมัยนั้นเป็นหัวใจของการขยายตัวอย่างรุนแรงที่แท้จริงของอุตสาหกรรม และในกระบวนการปฏิวัติอุตสาหกรรมดังกล่าวยังทำให้เกิดนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นหลายคน เช่น อาร์คไรท์ โบลตัน โคร์ต ครอมพ์ตัน ฮาร์กรีฟส์ เคย์ และวัตต์ นอกจากนี้ กฎหมายเกี่ยวกับการผังเมือง รวมทั้งการจัดสร้างสวนสาธารณะก็เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมนี้เช่นกัน  งานครั้งที่3 สงครามเย็น สงครามเย็น (ค.ศ.1945-1991 หรือ พ.ศ.2488-2534) เป็นการต่อสู้ระหว่าง 2 กลุ่มประเทศที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบบการเมืองต่างกัน อุบัติขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มหนึ่งคือสหภาพโซเวียตและพันธมิตร เรียกว่าโลกตะวันออก หรือโลกคอมมิวนิสต์ กลุ่มหนึ่งคือสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร เรียกว่าโลกตะวันตก หรือโลกเสรี

             สงครามเย็นมีผลสืบเนื่องมาจากสภาพบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทั้งประเทศผู้ชนะและแพ้สงคราม ได้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ทวีปยุโรปซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกอยู่ในสภาพทรุดโทรมอย่างยิ่ง ต้องสูญเสียอำนาจและอิทธิพลในสังคมโลกให้กับสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีฐานะเศรษฐกิจมั่นคงจนเป็นหลักในการบูรณะฟื้นฟูประเทศอื่นๆ สหรัฐอเมริกาก้าวสู่ความเป็นผู้นำของโลกเสรีประชาธิปไตย ในขณะที่สหภาพโซเวียตมีอำนาจและอิทธิพลเนื่องมาจากความสำเร็จในการขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก อยู่ในฐานะประเทศผู้นำของโลกคอมมิวนิสต์ คำว่า อภิมหาอำนาจ จึงหมายถึง ความเป็นผู้นำโลกของประเทศทั้งสอง ซึ่งแข่งขันกันขยายอำนาจและอิทธิพล จนทำให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเกิดความตึงเครียดสูงสาเหตุ
              
              ของสงครามเย็นเกิดจากการแข่งขันกันของประเทศอภิมหาอำนาจจากประสบการณ์ที่ผ่านมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป ทั้งยังเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง และเป็นประเทศแรกที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงมีความรู้สึกว่าตนเป็นตำรวจโลกเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ
              ส่วนสหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างรวดเร็ว เพราะพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จ สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ดังนั้น ทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจ และอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่มีอุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายตรงข้าม

             สงครามเย็น หรือสงครามอุดมการณ์ ให้ความหมายถึงความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างกลุ่มโลกเสรี กับกลุ่มโลกคอมมิวนิสต์ แย่งชิงความเป็นใหญ่ในโลก เป็นการต่อสู้ทางจิตวิทยา ไม่ใช่ด้วยกำลังทหารโดยตรงอย่างสงครามร้อน แต่กลับเต็มไปด้วยการวิจัยและพัฒนาโครงการทางการทหารทั้งขนาดเล็กและใหญ่จำนวนมาก รวมถึงการแข่งขันกันสำรวจอวกาศ และสะสมอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อแสดงแสนยานุภาพของฝ่ายตน

โลกอยู่ในภาวะสงครามเย็นจนมาถึงวันสหภาพโซเวียตมีประธานาธิบดีชื่อ มิฮาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำนโยบาย "เปิด-ปรับ" (หรือ กลาสน็อตเปเรสตรอยก้า) ปฏิรูปประเทศให้เป็นไปในแนวทางประชาธิปไตยทุกๆ ด้าน ปรับนโยบายต่างประเทศใหม่เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ เสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือกับนานาประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา

ธันวาคม พ.ศ.2532 ประธานาธิบดีจอร์จ บุช แห่งสหรัฐอเมริกา กับประธานาธิบดีกอร์บาชอฟ พบกันที่เกาะมอลตา ประกาศว่า สงครามเย็นสิ้นสุดลงแล้วอย่างเป็นทางการ ต่อมากลางปี 2533 ประเทศในยุโรปตะวันออก พันธมิตรของโซเวียต เคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตย ส่งผลให้ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกถึงกาลอวสาน

ปีต่อมากำแพงเบอร์ลิน สัญลักษณ์สงครามเย็นถูกทำลาย เยอรมันตะวันตก-ตะวันออก รวมเป็นประเทศเดียว การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบถอนรากถอนโคนดังกล่าว ตลอดจนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตอันเป็นผลสืบเนื่องจากการก่อตั้งเครือรัฐเอกราช ปิดฉากสงครามเย็นอย่างสิ้นเชิงในพ.ศ.2534

นอกจากทวีปยุโรปแล้ว สองอภิมหาอำนาจยังแข่งขันกันในภูมิภาคต่างๆ ส่งผลให้สงครามเย็นเพิ่มความตึงเครียด ทวีปเอเซียเป็นอีกเวทีหนึ่งของสงครามเย็น ในแถบตะวันออกไกล จีนเป็นดินแดนที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด เมื่อจีนคอมมิวนิสต์นำโดยเหมาเจ๋อตุง เป็นฝ่ายมีชัยชนะในสงครามกลางเมือง ยึดครองแผ่นดินใหญ่ของจีนได้ รัฐบาลจีนคณะชาติซึ่งเป็นฝ่ายโลกเสรีและได้รับความสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐอเมริกา ต้องหนีไปตั้งรัฐบาลที่เกาะฟอร์โมซา ชัยชนะของจีนคอมมิวนิสต์มีผลกระทบต่อดุลอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือเป็นการพ่ายแพ้ที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาและเป็นการเสียดุลอำนาจครั้งสำคัญของโลกเสรี สหภาพโซเวียตและจีนเป็นสองประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ มีทรัพยากรมาก และมีจำนวนประชากรมหาศาล ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนจึงตึงเครียดมานับตั้งแต่นั้น
              ความขัดแย้งของสงครามเย็นส่งผลให้ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ที่มีอุดมการณ์ต่างกัน กองทัพของประเทศเกาหลีเหนือซึ่งปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ได้ยกข้ามเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือเข้ารุกรานประเทศเกาหลีใต้อย่างฉับพลัน สหประชาติจึงมีมติให้สหรัฐอเมริกาและกองกำลังทหารของสหประชาชาติจาก 18 ประเทศสมาชิกเข้าช่วยเกาหลีใต้จากการรุกรานครั้งนี้ จีนส่งกองทัพช่วยเกาหลีเหนือ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากันจนกระทั่ง ค.ศ.1953 จึงมีการทำสนธิสัญญาสงบศึก สงครามเกาหลีก่อให้เกิดความตื่นตัวต่อการขยายอิทธิพของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเซีย สหรัฐอเมริกาเห็นความจำเป็นของการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเซียอย่างจริงจัง สำหรับประเทศญี่ปุ่น ลัทธิคอมมิวนิสต์ประสบความสำเร็จในวงแคบ เสถียรภาพทางการเมือง ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและมาตรฐานสังคมในระดับสูงของประเทศญี่ปุ่น อันเป็นผลงานส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นกำลังสำคัญของโลกเสรีในทวีปเอเซีย                การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากอินโดจีน คือ ประเทศเวียดนาม เขมร และลาว ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศฝรั่งเศส เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยใช้เส้นขนานที่ 17 องศาเหนือเป็นเขตแบ่งชั่วคราว เวียดนามเหนืออยู่ใต้การปกครองของลัทธิคอมมิวนิสต์ มีโฮจิมินห์เป็นผู้นำ เวียดนามใต้ปกครองระบอบประชาธิปไตย มีโงดินห์เดียมเป็นผู้นำ โดยให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเวลา 1 ปี เพื่อรวมเวียดนามเป็นประเทศเดียวกัน แต่การเลือกตั้งก็ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะเกิดการสู้รบระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้                การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในอินโดจีน ทำให้สหรัฐอเมริกานำนโยบายล้อมกรอบการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้ในเอเซียด้วย นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขณะนั้นประกาศอย่างแข็งขันว่าจะไม่ยอมให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัวต่อไป โดยเชื่อมั่นในทฤษฏีโดมิโนว่า ถ้าประเทศใดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์แล้ว ประเทศใกล้เคียงอื่นๆ ก็จะพลอยเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.1954 จึงได้มีการสนธิสัญญาที่กรุงมะนิลาเพื่อจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Seato) ประกอบด้วย 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไทย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ด้วยวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกับนาโต              ในตะวันออกลาง หรือเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับด้วยกันเอง และระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับประเทศอิสราเอล สหภาพโซเวียตฉวยโอกาสขยายอิทธิพลของตนด้วยวิธีารต่างๆ เช่น เสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่ประเทศอิยิปต์ ในการปฏิรูปประเทศในสมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ด้วยการให้เงินสร้างเขื่อนอัสวาน อืยิปต์เป็นผู้นำของกลุ่มประเทศอาหรับที่สหภาพโซเวียตต้องการส่งเสริมอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แพร่หลายในภูมิภาคตะวันออกลาง ฝ่ายโลกเสรีจึงหาทางสกัดกั้นด้วยการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเซ็นโต หรือองค์การสนธิสัญญากลาง (Central Treaty Organization:CENTO) ซึ่งมีสมาชิก 5 ประเทศ คือ สหราชอาณาจักร ตุรกี อิรัก อิหร่าน และปากีสถาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแทรกแซงและขยายอำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้               ส่วนในทวีปแอฟริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศต่างๆ ได้รับเอกราช โดยส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง เช่น คองโก จึงเกิดการจลาจลแย่งอำนาจระหว่างชนเผ่าต่างๆ คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติเกรงว่าความวุ่นวายนี้จะเป็นภัยต่อสันติภาพของโลก จึงมีมติให้ส่งกองกำลังของสหประชาชาติเข้าไปรักษาความสงบเรียบร้อยในคองโก สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความช่วยเหลือแก่ประธานาธิบดีลูมุมบาของคองโก และนายครุฟเซฟผู้นำสหภาพโซเวียตประนามการแทรกแซงสหประชาชาติ ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ขยายอิทธิพลเข้าไปในแทนซาเนียด้วยการช่วยเหลือในการสร้างทางรถไฟยาว 1,000 ไมล์ ในขณะที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้พยายามรักษาอิทธิพลในแอฟริกา โดยเฉพาะกับประเทศอดีตอาณานิคมของตน                 กล่าวโดยสรุป แม้สงครามเย็นตั้งแต่ ค.ศ.1945 จะไม่ลุกลามกลายเป็นสงครามอย่างเปิดเผย แต่ก็นำไปสู่ความขัดแย้งระดับวิกฤตการณ์ทางการเมืองจนกลายเป็นสงครามระดับภูมิภาคขึ้นในหลายแห่งของโลก  งานครั้งที่4 ปัญหาตะวันออกกลาง ปัญหาตะวันออกกลาง     ดินแดนตะวันออกกลาง ได้แก่ประเทศ อิรัก ตุรกี อิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย ซีเรีย ไซปรัส จอร์แดน เลบานอน อิสราเอล สาธารณรัฐอาหรับ อียิปส์ ซูดาน เยเมนเหนือ เยเมนใต้ โอมาน รัฐต่าง ๆ รอบอ่าวเปอร์เซีย (อาณาจักรออตโตมันเติร์ก)   ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันของโลก เป็นเส้นทางเดินเรือผ่านคลองสุเอซ และเป็นแหล่งกำเนิด 3 ศาสนาสำคัญ (ยิวหรือยูดาย คริสต์ และอิสลาม) ทำให้เชื่อว่า พระผู้เป็นเจ้าของยิว มอบดินแดนปาเลสไตน์ให้ชาวยิว เรียกว่า ดินแดนแห่งสัญญา (Palestine or The Land)
    ในคัมภีร์ไบเบิล อับราฮัม ได้พาชาวยิวอพยพไปอยู่อียิปต์ เนื่องจากความแห้งแล้ง จนกระทั่งถึงถึงปี 2000 ก่อนคริสตกาล ได้อพยพกลับมา และตั้งเป็นอาณาจักรเมื่อ 1025 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โรมันผู้ครอบครองดินแดน กวาดต้อนชาวยิวไปเป็นทาส ทั่วยุโรป
     ตอนต้นของคริสศตวรรษที่ 7 เกิดศาสนาอิสลามขึ้นและแพร่กระจายทั่วคาบสมุทรอาหรับ   มีการสร้างโบสถ์ Dome of the Roch ที่นครเยรูซาเลม พวกเติร์กเข้าครองดินแดนปาเลสไตน์และยอมรับศาสนาอิสลาม   ปี ค.ศ. 1095-1291 เกิดสงครามครูเสด ระหว่างชาวคริสต์และมุสลิม เพื่อแย่งกรรมสิทธิ์ในนครเยรูซาเล็ม หลังจากนั้น ก็ถูกชาวตาด และมองโกล ยึดครอง ตามด้วยอียิปต์ เติร์ก และอังกฤษ
     ปลายคริสตวรรษที่ 19 ชาวยิวเริ่มอพยพเข้าสู่ดินแดนปาเลสไตน์เพิ่มขึ้น นายธีโอดอร์ เฮิร์ซส์ เศรษฐีชาวยิวออสเตรีย ได้ก่อตั้งองค์การไซออนนิสต์ (Zionism) จุดประสงค์เพื่อก่อตั้งประเทศยิว
     ช่วงสงครามโลกที่ 1 อังกฤษได้ขอร้องให้ยิวช่วยรบด้วย โดยแลกเปลี่ยนกับสิทธิการดูแลดินแดนปาเลสไตน์   ทำให้ชาวยิวอพยพเข้าไปมากขึ้น จนเกิดข้อพิพาทบาดหมางกับชาวอาหรับ   เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อเมริกาได้ขอร้องอังกฤษให้ยิวมีประเทศของตน ส่งผลให้ฝ่ายอาหรับก่อตั้งองค์การสันนิบาตอาหรับขึ้นในปี ค.ศ. 1945 เพื่อต่อต้านยิว และปี ค.ศ. 1947 องค์การสหประชาชาติเสนอให้แบ่งดินแดนกัน ต่อมา นายเดวิด แบนกูเรียน ประกาศตั้งประเทศอิสราเอล   กองทัพอาหรับจึงโจมตียิวทันที เกิดสงคราม 4 ครั้งดังนี้

1.1ค.ศ. 1948 สาเหตุเนื่องจากยิวได้ก่อตั้งประเทศขึ้น อาหรับบุกก่อนแต่พ่ายแพ้ ไป
1.2 ค.ศ. 1956 สงครามวิกฤต์การณ์คลองสุเอซ ยิวเป็นฝ่ายโจมตีก่อน อังกฤษและฝรั่งเศสเข้าแทรกแซงเหตุการณ์นี้ก่อน แต่อเมริกาแสดงความไม่พอใจที่สองประเทศเข้าแทรกแซง ทำให้ทั้งสองต้องถอนตัวออกมา และทำให้ยิวยึดฉนวนกาซา และทะเลทรายไซนายได้ สงครามยุติลงเมื่อ สหประชาชาติเข้ารักษาความปลอดภัยในฉนวนกาซา   และยิวได้ใช้สิทธิในอ่าวอกาบา
1.3 ค.ศ. 1967 สงคราม 6 วัน อียิปต์ ปิดอ่าวอกาบา เพื่อไม่ให้ยิวใช้ และเรียกร้องให้ สหประชาชาติถอนกำลังออก แต่อิสราเอลก็เป็นฝ่ายชนะอีก
1.4 ค.ศ. 1973 อาหรับโจมตีก่อน และอเมริกาได้เข้ามาช่วยอิสราเอลรบ ส่วนรัสเซียเข้าช่วยฝ่ายอาหรับ แต่มีการเจรจา "การเจรจาที่แคมป์เดวิด" เพื่อยุติสงคราม

      ปี 1964 มีการก่อตั้งองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์(พี แอล โอ) เพื่อต่อต้านยิว และจัดตั้งรัฐอิสระสำหรับชาวอาหรับ โดยนายยัสเซอร์ อาราฟัด   ตอนแรกมีการใช้ความรุนแรง เช่น จี้เครื่องบิน ลักพาตัวนักการฑูต ต่อมา มีการแตกแยกเป็นกลุ่มย่อยมากมาย เช่นกลุ่มฟาตาร์ ที่มีการสังหารหมู่นักกีฬาโอลิมปิคชาวยิวที่ กรุงมิวนิค เยอรมัน ปัจจุบัน อิสราเอลและพี แอล โอได้เจรจายอมรับรัฐปาเลสไตน์อิสระของนาย อาราฟัด ในเขตยึดครองของอิสราเอล
      นอกจากนี้   ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ยังก่อให้เกิดวิกฤตการณ์หลายจุด เช่น 
   
            สงครามเลบานอน เลบานอนเป็นรัฐที่อยู่ระหว่าง ซีเรียและอิสราเอล ซึ่งเป็นศัตรูกัน ทำให้ได้รับผลกระทบกัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านเชื้อชาติและศาสนา   และการเข้าไปตั้งฐานปฏิบัติการขององค์การ พี แอล โอ และการแทรกแซงของต่างชาติ
    เลบานอนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1943  มีประชากรประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งเป็น คริสต์ 40% และ มุสลิม 12 นิกาย 60% แต่ได้รับสิทธิทางการเมืองน้อยกว่าคริสต์ มีประธานาธิบดีเป็นคริสตื แต่นายกรัฐมนตรีเป็นมุสลิม จึงเกิดความขัดแย้งกัน ปีค.ศ. 1975 เกิดสงครามกลางเมือง  องค์การ พี แอล โอ ได้เข้าแทรกแซงการเมืองของเลบานอน   ส่วนซีเรียได้กลียดชังอิสราเอลที่ยึดที่ราบสูงโกลานไป จึงสนับสนุนให้ พี แอล โอ ต่อสู้กับยิว
    ในเลบานอน กลุ่มมุสลิมซีอะห์ (มีประมาณ 1 ล้านคน) รวมตัวกันเรียกว่า ซีอะห์อามาล มีนายเบรี รัฐมนตรีกระทวงยุติธรรม เป็นผู้นำ   ขณะที่อิสราเอลบุกเลบานอน มุสลิมซีอะห์ได้ลักพาตัวชาวอเมริกาและยุโปร ระหว่างปี ค.ศ. 1982-1987 เมื่อพี แอล โอ ถูกขับออกไปแล้ว ชีอะห์ เข้าโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ ปี ค.ศ. 1987 และต่อสู้มุสลิมดรุซ ซึ่งมีนายวิลิด จุมบลัดเป็นผู้นำ ซีเรียเข้าปราบปรามตามคำขอของฝ่ายบริหารเลบานอนซี่งมีนายกรัฐมนตรีเปนมุสลิมซุนนี
ยังมีมุสลิมฮิซบาลา (อิซบาเลาะห์ -- พวกของพระเจ้า) ทำการจับกุมอเมริกาชุดล่าสุด 4 นาย จุดประสงค์ของกลุ่มฮิซบาลาคือต้องการเปลี่ยนเลบานอนให้เป็นรัฐอิสลามเช่นเดียวกับอิหร่าน แต่กลุ่มอื่นไม่ต้องการ
     พี แอล โอ พยายามสนับสนุนให้กลุ่มมุสลิมดรุซ ให้ก่อตั้งรัฐอิสระบนที่ราบสูงโกลาน
                     สงครามอิรัก-อิหร่าน ปีค.ศ. 1980 ชาวอิหร่านหรือ ชาห์ โดยผู้นำศาสนานิกายซีอะห์ อยาดุลเลาะห์ โคไมนีเป็นผู้นำ ส่งผลให้พระเจ้าชาห์และพระราชวงศ์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ   ชาวอิหร่าน 90% เป็นมุสลิมชีอะห์ ซึ่งนับถืออัลเลาะห์และอาลี (สาวกองค์ที่ 4 และบุตรเขยของท่านนบีมูฮัมหมัด)
     พระเจ้าชาห์ซึ่งลี้ภัยไปเม็กซิโก ได้เดินทางไปรักษาโรคมะเร็งที่สหรัฐอเมริกา ขณะนั้น โคไมนี่ด้กวาดล้าง ต่อต้านอเมริกาและรัสเซีย กลุ่มคอมมิวนิสต์ ตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์และอิสราเอล สนับสนุนกองโจรปาเลสไตน์
     การลี้ภัยนี้ ทำให้อิหร่านโกรธมาก และจับเจ้าหน้าที่สถานฑูตอเมริกาในกรุงเตหรานเป็นตัวประกันถึง 52 คน สหประชาชาติจึงลงโทษทางเศรษฐกิจ แต่ไร้ผล อเมริกาพยายามลดความตึงเครียดโดยส่งพระเจ้าชาห์ไปปานามา
     ขณะนั้นใกล้หมดวาระการเป็นประธานาธิบดีของนาย จิมมี่ คาร์เตอร์ เขาจึงต้องการเร่งรัดให้ปัญหาอิหร่านหมดไป เขาจึงตัดสินใจ   อพยพชาวอเมริกันออกจากอิหร่าน ส่งกองทัพเข้าสู่อ่าวเปอร์เซีย รัสเซียจึงส่งกองทัพเข้าสู่อ่าวเช่นกัน
     อิหร่านเผชิญปัญหาภายในจน ประธานาธิบดีบานีซาดร์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ ปี 1980 พระเจ้าชาห์สิ้นพระชนม์ อิหร่านจึงเปลี่ยนเงื่อนไขเป็น เงินสด และทองคำ 24 พันล้านดอลลาร์ และมีการต่อรองเหลือ 5.5 พันล้านดอลลาร์   และชะลอการส่งคืนตัวประกัน จนถึงการสาบานตนของนายเรแกนประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกา โดยมีการส่งคืนเมื่อ 20 มกราคม 1980 ระหว่างนี้ อิรักได้บุกยึดร่องน้ำซัทเอล อาหรับและแคว้นคูเชสถานของอิหร่าน   ทำให้เกิดสงครามอิรัก-อิหร่าน
      สงครามนี้ยุติลงในปี ค.ศ. 1988 และทำให้ราคาน้ำมันโลกลดลง เนื่องจากทั้งสองชาติต้องขายน้ำมันเพื่อนำเงินมาใช้ทำสงคราม
     ปัญหาสหรัฐอเมริกากับอิหร่านและกบฎคอนทรา มีข่าวลือว่า อเมริกาลักลอบขายอาวุธให้อิหร่าน เพื่อใช้ทำสงครามกับอิรัก และนำกำไรไปสู่กบฎคอนทรา ในประเทศนิการากัว จึงมีการสอบสวนขึ้น
     อเมริกากลาง พยายามต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ปีค.ศ. 1959 นาย ฟีเดล คาสโตแห่งคิวบาโค่นล้มรัฐบาล และประกาศเป็นคอมมิวนิสต์ และรัสเซีย(ซึ่งเป็นคอมมิวนิสตื) ตั้งฐานทัพจรวดในคิวบา รัฐบาล (ฝ่ายขวา) แพ้ฝ่ายกบฎ จึงมีการจัดตั้งรัฐบาลแซนดินิสต้า จึงมีกลุ่มกบฎคอนทรา ซึ่งต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์
     มีการส่งเงินช่วยกบฎคอนทราหลายครั้ง นาวาโทโอลิเวอร์ นอร์ธ เจ้าหน้าที่ C.I.A ได้ส่งเงินโอนเข้าบัญชีกบฎคอนทราอย่างลับ ๆ และพยายามกันประธานาธิบดีเรแกนออกจากความผิดนี้ ทำให้ชาวอเมริกาไม่คิดเอาผิดต่อ นายเรแกน
            สถานการณ์อ่าวเปอร์เซีย   อ่าวเปอร์เซียเป็นที่ตั้งของประเทศอิรัก อิหร่าน คูเวต โอมาน บาร์เรน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สาธารณรัฐเอมิเรตส์ มีการส่งออกน้ำมันถึง 1 ใน 5 ของโลก เมื่อปี ค.ศ. 1980 เกิดสงครามอิรัก-อิหร่านขึ้น ทั้งอเมริกาและรัสเซียได้เข้าแทรกแซงสงครามนี้ 
            ปัญหายิว-อาหรับ เดือนธันวาคม 1987 ทหารอิสราเอล ลงโทษชาวปาเลสไตน์ ทำให้คณะมนตรีความมั่นคงได้ประณามการกระทำของอิสราเอล   โดยมีอเมริกาได้ลงนามด้วย
     8 ตุลาคม 1990 อิสราเอลสังหารชาวปาเลสไตน์ 21 คนที่เทมเปิลเมาท์ และไม่ยอมให้องค์การสหประชาชาติเข้ามาไต่สวน และ 21 ตุลาคม 1990 ปาเลสไตน์ใช้มีดสังหารยิว 13 คน
     4 พฤษภาคม 1994 มีการตกลงระหว่างนายยิคซัค ราบิน และนายยัสเซอร์ อาราฟัด ให้ปาเลสไตน์ได้สิทธิปกครองตนเอง ในฉนวนกาซาและเมืองเจริโค
                ปัญหาอิรัก - คูเวต 2 สิงหาคม 1990 กองทัพอิรักโดยนายซัดดัม ฮุสเซ็น บุกยึดคูเวต โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ เช่น
1. อ้างว่าคูเวตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมันในอดีต จึงควรกลับไปอยู่รวมกับอิรัก
2. อิรักกล่าวหาว่าคูเวตขายน้ำมันในราคาที่โอเปคไม่ยินยอม ทำให้อิรักต้องสูญเสียรายได้ของตน
3. อิรักหาว่าคูเวตขุดน้ำมันใต้ดินในแหล่งที่เป็นรอยต่อระหว่างอิรักและคูเวต
4. อิรักต้องการลบล้างหนี้ที่อิรักต้องชำระให้คูเวต 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ
กองกำลังสหประชาชาติ จึงประณาม และคว่ำบาตรอิรัก เมื่อ 6 สิงหาคม 1990  ทำให้อิรักถอนทหารจากคูเวต
 งานครั้งที่5 เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลกและมนุษยชาติ เหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อโลกในปัจจุบัน
                เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนมีผลกระทบต่อสังคมมนุษย์ในระดับที่ต่างกันไป บางเหตุการณ์มีผลกระทบต่อสังคมมนุษย์ในระดับชุมชนท้องถิ่น   แต่บางเหตุการณ์มีผลกระทบต่อสังคมมนุษย์ในระดับชาติหรือระดับโลก  ที่สำคัญคือ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นล้วนมีความสำพันธ์สืบเนื่องเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน   โดยเฉพราะเหตุการณ์สำคัญของโลกต่างมีผลกระทบต่อสังคมมนุษย์อย่างกว้างขวาง  และยังเป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆตามมาอีกมากมาย  ตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญของโลก  เช่น  การสะสมและลดอาวุธนิวเคลียร์  การปฏิรูปของสาธารณรัฐประชาชนจีน  การล่มสลายของสหภาพโซเวียต  ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง  วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเซีย  และเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม  ที่วันที่  11  กันยายน  ค.ศ.2001  เหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มีผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้าวขวาง  และเป็นเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของประวัติมนุษย์ชาติ  ดังนั้นการศึกษาเหตุการณ์สำคัญต่างๆทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในช่วงสมัยใหม่  ซึ่งเป็นช่วงที่สังคมมนุษย์เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 1223 คน กำลังออนไลน์