บุคคลที่ส่งเสริมสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยคนปัจจุบัน

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยมากมาย  ดังนี้
                    1)  ด้านพระพุทธศาสนา  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้แปลพระไตรปิฏกจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย  โปรดเกล้า ฯ ให้คณะสงฆ์ปรับปรุงพระไตรปิฏกฉบับหลวง  และทรงสนับสนุนการสร้างพระไตรปิฏกฉบับคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่จัดทำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวายเนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2531  พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อขยายการศึกษาให้ครอบคลุมถึงการทำหนังสืออธิบายขยายความในพระไตรปิฏกหรืออรรถกถาและฏีกา  คือ  หนังสืออธิบายขยายความอรรถกถา  รวมเป็นหนังสือ 98 เล่ม  บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์  เสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. 2534  ประเทศไทยจึงเป็นประเทศแรกในโลกที่สามารถสร้างพระไตรปิฏกฉบับคอมพิวเตอร์ได้  ซึ่งสะดวกในการรักษาความถูกต้องของพระธรรมและศึกษาค้นคว้าได้แพร่หลายรวดเร็วยิ่งขึ้น
                    นอกจากนี้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่อง  "พระมหาชนกเกี่ยวกับการเสวยพระชาติของพระพุทธเจ้าในชาติที่เกิดเป็นพระมหาชนก  โดยทรงแปลจากต้นฉบับภาษาบาลีเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษต่างจากสำนวนที่เคยมีมา  หลักธรรมสำคัญที่ได้จากเรื่องนี้  คือ  การบำเพ็ญความเพียรของพระมหาชนกที่ไม่เคยหวังผลตอนแทนใด ๆ กระทั่งได้ครองราชสมบัติ  ในตอนท้ายของพระราชปรารถหรือคำนำของหนังสือนี้ทรงลงท้ายไว้ว่า  "ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์  ปัญญาที่เฉียบแหลม  กำลังกายที่สมบูรณ์"  แสดงให้เห็นว่าความเพียรที่บริสุทธิ์เป็นคุณธรรมสำคัญในการดำเนินชีวิต
                    2)  ด้านการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ได้แก่ 
                              2.1)  การแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย  ได้แก่  ปัญหาน้ำเน่าเสียตามแหล่งน้ำชุมชมและแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและสิ่งแวดล้อมมาก  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงห่วงใยเรื่องคุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมลงอย่างยิ่ง  จึงพระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาค้นคว้าทดลองและดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด  ทรงเน้นถึงการแก้ปัญหาที่เป็นรูปแบบง่าย ๆ เสียค่าใช้จ่ายน้อยก่อน  จากนั้นจึงพิจารณาถึงวิธีการที่เป็นโครงการขนาดใหญ่และให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่
                              การแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียตามพระราชดำริมีหลากหลายวิธีและเป็นการใช้ภูมิปัญญา  เช่น  การบำบัดน้ำเน่าเสียตามวิธีธรรมชาติด้วยผักตบชวาในบริเวณบึงมักกะสันหรือโครงการมักกะสัน  โดยการปลูกผักตบชวาในดอกไม้  ลอยเป็นแนวขวางตัวกับบึงเป็นระยะ ๆ  เพื่อให้ทำหน้าที่ดูดสารพิษ  สารเคมี  โลหะหนัก  ปรากฏว่าผักตบชวาสามารถช่วยกำจัดสิ่งปฏิกูลในน้ำ  ช่วยทำให้น้ำใสและมีสภาพดีกว่าเดิม  จากการทดสอบคุณภาพน้ำพบว่าน้ำในบึงที่ผ่านการกรองด้วยผักตบชวามีออกซิเจนละลายในน้ำมากขึ้น  จึงมีการนำพระราชดำรินี้ไปใช้บำบัดน้ำเสียที่อื่น ๆ
                              นอกจากนี้ยังมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการบำบัดน้ำเสียอีกวิธีหนึ่ง  คือ  การใช้ผักตบชวาผสมผสานกับการใช้เครื่องจักรกลเติมอากาศ  คือ  ออกซิเจนลงไปในน้ำ  เป็นระบบสระเติมอากาศเพื่อเร่งการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีเร็วขึ้น  ดังโครงการบึงพระราม 9  กรุงเทพมหานคร  ส่งผลให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
                              การบำบัดน้ำเสียตามแนวพระราชดำริอีกวิธีหนึ่ง  คือ  การเติมอากาศหรือออกซิเจนให้แก่น้ำเน่าเสีย  โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์อุปกรณ์การเติมอากาศหรือออกซิเจนในน้ำด้วยรูปแบบที่เรียบง่าย  ประหยัด  และใช้เป็นต้นแบบให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ นำไปสร้างใช้งานและทรงพระกรุณาโปรเเกล้า ฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณเพื่อศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าว  และร่วมกับกรมชลประทานจัดสร้างเครื่องมือบำบัดน้ำเสียด้วยการเติมอากาศพระราชทานชื่อว่า  "กังหันชัยพัฒนา"  ซึ่งเป็นที่นิยมและนำไปใช้งานกือบทั่วประเทศ  ต่อมากรมทรัพย์สินทางปัญญา  กระทรวงพาณิชย์  ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรเลขที่ 3127  ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์  และเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร  นับเป็นภูมิปัญญาหนึ่งที่ได้ทรงสร้างสรรค์ขึ้น
                              2.2)  การป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน  และการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์  จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของหญ้าแฝก  ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทยที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน  หญ้าแฝกปลูกง่าย  เกษตรกรสามารถทำได้เองโดยไม่ต้องดูแลหลังการปลูกมากนัก  ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย  นอกจากนี้การปลูกหญ้าแฝกบนคันนายังช่วยให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน
                              หญ้าแฝกสามารถนำมาใช้ประโยชน์อื่น ๆ ได้อีก  เช่น  ไม้มุงหลังคา  ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้  นอกจากนี้  หญ้าแฝกยังมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้แก้อาการท้องอืด  ท้องเฟ้อ  และแก้ไข  ส่วนรากที่มีความหอมนั้น  คนไทยสมัยก่อนมักนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้า  ทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะมาทำลายเสื้อผ้า  ตลอดจนนำมาสกัดทำน้ำหอม
สมาชิกกลุ่ม ม. 4/3
1. นางสาว  ชาลิสา  พิเชษฐมงคล  เลขที่  33
2. นางสาว  ปรียารัตน์  สุทธิหล่อ  เลขที่ 26
3.นางสาว  ศันสนีย์  แดงศรี  เลขที่ 31
4.นางสาว  พนิดา  แก้วกัลยา  เลขที่ 1
5. นางสาว  จิระวรรณ  สุนันทารอด  เลขที่ 6
รูปภาพของ silavacharee

Kiss

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 322 คน กำลังออนไลน์