user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '18.191.17.12', 0, '16812af0774d8240b8b616d07f39258a', 128, 1716083852) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

อนุรักษ์วรรณคดีไทย

รามเกียรติ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รามเกียรติ์
กวี : รัชกาลที่ 1
ประเภท : บทละคร
คำประพันธ์ : กลอน
ความยาว :
สมัย : รัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง :
ชื่ออื่น : -
ลิขสิทธิ์ :

รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย โดยมีต้นเค้าจากวรรณคดีอินเดีย คือมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู

สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น โดยได้ทรงเลือกมาเป็นตอน ๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้ฉบับของอินเดีย (รามายณะ) มาพระราชนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า "บ่อเกิดรามเกียรติ์"

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

ต้นเค้าของเรื่องรามเกียรติ์น่าจะมาจากเรื่อง รามยณะ ของอินเดีย ซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายเข้ามาในภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียได้นำอารยธรรมและศาสนาเข้ามาเผยแพร่ด้วย ทำให้เรื่องรามยณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นจนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฏในหลายๆชาติ เช่น ลาว พม่า เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนมีวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีประจำชาติทั้งสิ้น

[แก้] โครงเรื่อง

เหตุเกิดเมื่อนนทกไปเกิดใหม่เป็นทศกัณฐ์มีสิบหน้ายี่สิบมือตามคำพระนารายณ์ ก่อนนั้นเมื่อพระนารายณ์สังหารนนทกแล้ว ได้ไปขอพระอิศวรจะให้เหล่าเทวดา และตนไปตามสังหารนนทกในชาติหน้า หลังจากนั้น ทหารเอกทั้งห้า จึงเกิดตามกันไป ได้แก่หนุมานเกิดจากเหล่าศาสตราวุธของพระอิศวรไปอยู่ในครรภ์นางสวาหะสุครีพเกิดจากพระอาทิตย์แล้วโดนคำสาปฤๅษีที่เป็นพ่อของนางสวาหะ องคตเป็นลูกของพาลีที่เป็นพี่ของสุครีพชมพูพานเกิดจาก การชุบเลี้ยงของพระอินทร์นิลพัทเป็นลูกของพระกาฬ

 

[แก้] ตัวละครหลัก

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้

ฝ่ายพระราม( มเหศรพงศ์ และ วานรพงศ์ )

ฝ่ายทศกัณฐ์ และพันธมิตร( อสุรพงศ์)

 

[แก้] รามเกียรติ์ฉบับต่างๆ ของไทย

วรรณคดีรามเกียรติ์ที่ปรากฏในภาษาไทย มีหลักฐานเก่าที่สุดคือราวกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีฉบับอื่นๆ เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีรายการดังนี้

  • รามเกียรติ์บทพากย์ ความครั้งกรุงเก่า เชื่อว่าเป็นบทพากย์หนังใหญ่ บางท่านก็ว่าเป็นบทพากย์โขน เนื้อความไม่ปะติดปะต่อกัน เนื่องเรื่องไม่ครบสมบูรณ์ เข้าใจว่าแต่งในราวรัชสมัยพระเพทราชา ถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
  • รามเกียรติ์บทละคร ความครั้งกรุงเก่า เนื้อความตั้งแต่ "พระรามประชุมพล" จนถึง "องคตสื่อสาร" น่าจะเป็นฉบับสำหรับเล่นละครของคณะเชลยศักดิ์ (ละครชาวบ้าน) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์พระเจ้ากรุงธนบุรี ระบบ "วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก" ตรงกับ พ.ศ. 2323 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาล มีด้วยกัน 4 ตอน ได้แก่
    • ตอน 1 ตอนพระมงกุฎ
    • ตอน 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
    • ตอน 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง
    • ตอน 4 ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีกรวดทราย พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัท จนถึงผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ
  • รามเกียรติ์ จิตรกรรมฝาผนัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 1
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
  • รามเกียรติ์คำพากย์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 4
  • รามเกียรติ์คำพากย์และบทเจรจา พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงค้นคว้าหาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จากคัมภีร์รามายณะ แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ขึ้นมา และยังทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์สำหรับใช้แสดงโขนขึ้นอีก 6 ชุด คือชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ ซึ่งบทพระราชนิพนธ์เหล่านี้ทรงดำเนินเรื่องตามคัมภีร์รามายณะ โดยมีพระราชประสงค์เพื่อใช้ในการแสดงโขนจึงมีบทพากย์และเจรจาอยู่ตามความเหมาะสมของการแสดง

[แก้] รามเกียรติ์ฉบับการ์ตูน

รามเกียรติ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รามเกียรติ์
กวี : รัชกาลที่ 1
ประเภท : บทละคร
คำประพันธ์ : กลอน
ความยาว :
สมัย : รัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง :
ชื่ออื่น : -
ลิขสิทธิ์ :

รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย โดยมีต้นเค้าจากวรรณคดีอินเดีย คือมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดีย แต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต เมื่อประมาณ 2,400 ปีเศษ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากอิทธิพลของลัทธิพราหมณ์ฮินดู

สำหรับเรื่องรามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น โดยได้ทรงเลือกมาเป็นตอน ๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้ฉบับของอินเดีย (รามายณะ) มาพระราชนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า "บ่อเกิดรามเกียรติ์"

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

ต้นเค้าของเรื่องรามเกียรติ์น่าจะมาจากเรื่อง รามยณะ ของอินเดีย ซึ่งเป็นนิทานที่แพร่หลายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียใต้ ต่อมาอารยธรรมอินเดียได้แพร่หลายเข้ามาในภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พ่อค้าชาวอินเดียได้นำอารยธรรมและศาสนาเข้ามาเผยแพร่ด้วย ทำให้เรื่องรามยณะแพร่หลายไปทั่วภูมิภาค กลายเป็นนิทานที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นจนกลายเป็นวรรณคดีประจำชาติไป ดังปรากฏในหลายๆชาติ เช่น ลาว พม่า เขมร มาเลเซีย อินโดนีเซีย ล้วนมีวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เป็นวรรณคดีประจำชาติทั้งสิ้น

[แก้] โครงเรื่อง

เหตุเกิดเมื่อนนทกไปเกิดใหม่เป็นทศกัณฐ์มีสิบหน้ายี่สิบมือตามคำพระนารายณ์ ก่อนนั้นเมื่อพระนารายณ์สังหารนนทกแล้ว ได้ไปขอพระอิศวรจะให้เหล่าเทวดา และตนไปตามสังหารนนทกในชาติหน้า หลังจากนั้น ทหารเอกทั้งห้า จึงเกิดตามกันไป ได้แก่หนุมานเกิดจากเหล่าศาสตราวุธของพระอิศวรไปอยู่ในครรภ์นางสวาหะสุครีพเกิดจากพระอาทิตย์แล้วโดนคำสาปฤๅษีที่เป็นพ่อของนางสวาหะ องคตเป็นลูกของพาลีที่เป็นพี่ของสุครีพชมพูพานเกิดจาก การชุบเลี้ยงของพระอินทร์นิลพัทเป็นลูกของพระกาฬ

 

[แก้] ตัวละครหลัก

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้

ฝ่ายพระราม( มเหศรพงศ์ และ วานรพงศ์ )

ฝ่ายทศกัณฐ์ และพันธมิตร( อสุรพงศ์)

 

[แก้] รามเกียรติ์ฉบับต่างๆ ของไทย

วรรณคดีรามเกียรติ์ที่ปรากฏในภาษาไทย มีหลักฐานเก่าที่สุดคือราวกลางสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีฉบับอื่นๆ เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน โดยมีรายการดังนี้

  • รามเกียรติ์บทพากย์ ความครั้งกรุงเก่า เชื่อว่าเป็นบทพากย์หนังใหญ่ บางท่านก็ว่าเป็นบทพากย์โขน เนื้อความไม่ปะติดปะต่อกัน เนื่องเรื่องไม่ครบสมบูรณ์ เข้าใจว่าแต่งในราวรัชสมัยพระเพทราชา ถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
  • รามเกียรติ์บทละคร ความครั้งกรุงเก่า เนื้อความตั้งแต่ "พระรามประชุมพล" จนถึง "องคตสื่อสาร" น่าจะเป็นฉบับสำหรับเล่นละครของคณะเชลยศักดิ์ (ละครชาวบ้าน) ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์พระเจ้ากรุงธนบุรี ระบบ "วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้นค่ำหนึ่ง จุลศักราช 1132 ปีขาล โทศก" ตรงกับ พ.ศ. 2323 เป็นปีที่ 3 ในรัชกาล มีด้วยกัน 4 ตอน ได้แก่
    • ตอน 1 ตอนพระมงกุฎ
    • ตอน 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน
    • ตอน 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ จนทศกัณฐ์เข้าเมือง
    • ตอน 4 ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีกรวดทราย พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัท จนถึงผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ
  • รามเกียรติ์ จิตรกรรมฝาผนัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 1
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
  • รามเกียรติ์คำพากย์ พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 2
  • รามเกียรติ์บทละคร พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 4
  • รามเกียรติ์คำพากย์และบทเจรจา พระราชนิพนธ์ รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงค้นคว้าหาที่มาของเรื่องรามเกียรติ์จากคัมภีร์รามายณะ แล้วทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเรื่องบ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ขึ้นมา และยังทรงพระราชนิพนธ์บทร้องและบทพากย์สำหรับใช้แสดงโขนขึ้นอีก 6 ชุด คือชุดสีดาหาย ชุดเผาลงกา ชุดพิเภกถูกขับ ชุดจองถนน ชุดประเดิมศึกลงกา และชุดนาคบาศ ซึ่งบทพระราชนิพนธ์เหล่านี้ทรงดำเนินเรื่องตามคัมภีร์รามายณะ โดยมีพระราชประสงค์เพื่อใช้ในการแสดงโขนจึงมีบทพากย์และเจรจาอยู่ตามความเหมาะสมของการแสดง

[แก้] รามเกียรติ์ฉบับการ์ตูน

พระอภัยมณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอภัยมณี
กวี : สุนทรภู่
ประเภท : นิทานคำกลอน
คำประพันธ์ : กลอนสุภาพ
ความยาว : 94 เล่มสมุดไทย
สมัย : ต้นรัตนโกสินทร์
ปีที่แต่ง : ราวรัชกาลที่ 3
ชื่ออื่น :
ลิขสิทธิ์ : กรมศิลปากร

พระอภัยมณี เป็นวรรณคดีชิ้นเยี่ยมเล่มหนึ่งของไทย ผลงานชิ้นเอกของพระสุนทรโวหาร หรือสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประพันธ์ขึ้นเป็นนิทานคำกลอนที่มีความยาวมากถึง 94 เล่มสมุดไทย เมื่อพิมพ์เป็นเล่มหนังสือ จะมีความยาวกว่าหนึ่งพันสองร้อยหน้า ระยะเวลาในการประพันธ์ไม่มีการระบุไว้อย่างแน่ชัด แต่คาดว่าสุนทรภู่เริ่มประพันธ์ราวปี พ.ศ. 2364-2366[1] และแต่งๆ หยุดๆ ไปตลอดเป็นระยะ สิ้นสุดการประพันธ์ราว พ.ศ. 2388 รวมเวลามากกว่า 20 ปี

เนื้อเรื่องของ พระอภัยมณี ส่วนใหญ่คือเหตุการณ์ในชีวิตของตัวละครพระอภัยมณี นับแต่อายุได้ 15 ปีและออกเดินทางไปศึกษาวิชาความรู้เช่นเดียวกับเจ้าชายในวรรณคดีไทยอื่นๆ แต่วิชาที่พระอภัยมณีไปศึกษามา มิใช่วิทยาอาคมหรือความรู้เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง กลับเป็นวิชาดนตรีคือ การเป่าปี่ ทำให้พระบิดากริ้วมากจนขับไล่ออกจากเมือง การผจญภัยของพระอภัยมณีก็เริ่มขึ้นนับแต่นั้น เขากับน้องชายคือ ศรีสุวรรณ ระเหเร่ร่อนไปจนเจอกับสามพราหมณ์ ถูกนางผีเสื้อสมุทรจับตัวไป มีบุตรชายชื่อสินสมุทร พ่อเงือกแม่เงือกช่วยพาหนีไปยังเกาะแก้วพิสดาร เขามีบุตรกับอมนุษย์อีกครั้งคือกับนางเงือก ได้บุตรชายชื่อสุดสาคร ต่อมาพระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากเจ้ากรุงผลึกและรักกันกับลูกสาวของเจ้ากรุง คือ นางสุวรรณมาลี แต่นางมีคู่หมั้นแล้วกับชาวต่างชาติแห่งเกาะลังกา ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดสงครามใหญ่ระหว่างกรุงผลึกกับกรุงลังกาเป็นเวลานานหลายปี แต่ในที่สุดสงครามก็ยุติลงได้เมื่อ นางละเวงวัณฬา ลูกสาวเจ้ากรุงลังกาซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองสาวสวย ตกหลุมรักกับพระอภัยมณีเสียเอง หลังสงคราม พระอภัยมณีปลงได้กับความไม่แน่นอนของโลกมนุษย์และออกบวช โดยมีภรรยามนุษย์ทั้งสองคนคือนางสุวรรณมาลีกับนางละเวงออกบวชด้วย เรื่องราวในช่วงหลังของ พระอภัยมณี เป็นการผจญภัยของรุ่นลูกๆ ของพระอภัยมณี โดยมีสุดสาครกับนางเสาวคนธ์เป็นตัวละครหลัก เรื่องราวของสุดสาครโดยเฉพาะในช่วง กำเนิดสุดสาคร (พระอภัยมณี ตอนที่ 24-25) นับว่าเป็นวรรณกรรมเยาวชนที่โด่งดังมากอีกชุดหนึ่ง

พระอภัยมณี จัดได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ และเป็นที่รู้จักกว้างขวางมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเค้าโครงเรื่องของพระอภัยมณีแหวกประเพณีของวรรณคดีในยุคเก่า มีจินตนาการล้ำยุคอยู่มากมาย และมีตัวละครจากหลากหลายชนชาติ แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความเปิดกว้าง ความเป็นนักคิดยุคใหม่ของผู้ประพันธ์เมื่อเปรียบเทียบกับยุคสมัยเดียวกันได้เป็นอย่างดี นักวิชาการจำนวนมากพากันศึกษากลอนนิทาน พระอภัยมณี เพื่อค้นคว้าหาแรงบันดาลใจ เชื่อมโยงแนวคิดของสุนทรภู่กับวรรณกรรมโบราณ ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ยุคใหม่ของบรรดานักเดินเรือที่เข้ามาสู่ประเทศไทยในยุคการค้าสำเภา นอกจากนี้ แนวคิดที่สุนทรภู่สอดแทรกไว้ในบทประพันธ์ทำให้ผลงานชิ้นนี้โดดเด่นและเป็นที่รู้จักมาก เพราะผู้คนล้วนใช้บทกลอนเหล่านั้นเป็นคติสอนใจ เช่น บทกลอนในช่วงที่พระฤๅษีสอนสุดสาคร เป็นต้น

เมื่อเข้าสู่ยุคของการพิมพ์ พระอภัยมณี ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวงกว้างยิ่งขึ้นโดยโรงพิมพ์ของหมอสมิท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความนิยมของเรื่องมีมากขนาดที่หมอสมิทสามารถจำหน่ายนิทานคำกลอนเรื่องนี้ขายดิบขายดีจนมีเงินสร้างตึกได้ ในยุคต่อมา มีการดัดแปลงและถ่ายทอดวรรณกรรมชิ้นนี้ออกไปในรูปแบบต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องเล่าร้อยแก้ว การ์ตูน รวมทั้งภาพยนตร์ และละคร บทกลอนหลายช่วงในเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับคัดเลือกให้บรรจุอยู่ในแบบการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ กลายเป็นคติสอนใจที่ผู้คนทั่วไปจดจำกันได้

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติ

ไม่มีที่ใดบันทึกไว้ชัดเจนว่า สุนทรภู่เริ่มแต่ง พระอภัยมณี ขึ้นตั้งแต่เมื่อใด แต่จากการพิเคราะห์สำนวนกลอนและการกล่าวอ้างถึงในผลงานชิ้นอื่นๆ ของสุนทรภู่ นักวิชาการคาดว่าสุนทรภู่น่าจะเริ่มแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 2 เมื่อคราวต้องโทษติดคุก[1][2] (คาดว่าประมาณ ปี พ.ศ. 2364-2366) โดยค่อยแต่งทีละเล่มสองเล่มเรื่อยไป และยังแต่งๆ หยุดๆ เป็นหลายครั้ง ในตอนแรกเขียนจบไว้ที่ 49 เล่มสมุดไทย แต่กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงมีรับสั่งให้แต่งต่อ ในที่สุดจึงได้ความยาวถึง 94 เล่มสมุดไทย ทว่านักวรรณคดีบางท่านเสนอความเห็น ว่าในเล่มหลังๆ อาจไม่ใช่สำนวนของสุนทรภู่เพียงคนเดียว[2] คาดว่าสุนทรภู่หยุดแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ประมาณ ปี พ.ศ. 2388 หลังการสิ้นพระชนม์ของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ใช้เวลาในการประพันธ์ทั้งสิ้นมากกว่า 20 ปี

[แก้] ลักษณะคำประพันธ์

คำประพันธ์ในเรื่อง พระอภัยมณี เป็นกลอนสุภาพทั้งหมด ด้วยเป็นความถนัดอย่างพิเศษของกวีผู้นี้ ภาษาที่ใช้มีความเรียบง่ายตามแบบฉบับของสุนทรภู่ มีสัมผัสในไพเราะงดงามโดยตลอด ทำให้เป็นที่นิยมอ่านเรื่อยมาแม้ในปัจจุบัน

พระอภัยมณี ตามฉบับพิมพ์ของหอพระสมุด มีความยาวทั้งสิ้น 24,500 คำกลอน คิดเป็นจำนวนคำตามวจีวิภาคได้ 392,000 คำ[3] นับเป็นหนังสือกลอนขนาดมหึมา มีโครงเรื่องย่อยๆ แทรกไปตลอดทาง คือจากเหตุการณ์หนึ่งนำไปสู่เหตุและผลอีกเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะงานเขียนที่สามารถเขียนไปได้เรื่อยๆ อย่างไรก็ดีอาจนับเหตุการณ์สำคัญหรือไคลแมกซ์ของเรื่องได้ ในตอนทัพลังกากับทัพพระอภัยมณีรบกันจนถึงขั้นเด็ดขาด ต้องแหลกราญกันไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่สุนทรภู่ก็สามารถคลี่คลายไคลแมกซ์นี้ได้อย่างสวยงาม

เรื่อง พระอภัยมณี แบ่งบทประพันธ์ไว้ทั้งสิ้น 64 ตอน มีชื่อตอนดังต่อไปนี้

  1. พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา
  2. นางผีเสื้อลักพระอภัยมณี
  3. ศรีสุวรรณเข้าเมืองรมจักร
  4. ศรีสุวรรณพบนางเกษรา
  5. ศรีสุวรรณเกี้ยวนางเกษรา
  6. ศรีสุวรรณรบท้าวอุเทน
  7. ศรีสุวรรณพยาบาลนางเกษรา
  8. อภิเษกศรีสุวรรณ
  9. พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ
  10. พระอภัยมณีได้นางเงือก
  11. นางสุวรรณมาลีไปเที่ยวทะเล
  12. พระอภัยมณีพบนางสุวรรณมาลี
  13. พระอภัยมณีโดยสารเรือนางสุวรรณมาลี
  14. พระอภัยมณีเรือแตก
  15. สินสมุทรโดยสารเรือโจรสุหรั่ง
  16. สินสมุทรพบศรีสุวรรณ
  1. ศรีสุวรรณกับสินสมุทรตามพระอภัยมณี
  2. พระอภัยมณีโดยสารเรืออุศเรน
  3. พระอภัยมณีพบศรีสุวรรณกับสินสมุทร
  4. สินสมุทรรบกับอุศเรน
  5. พระอภัยมณีเกี้ยวนางสุวรรณมาลี
  6. พระอภัยมณีครองเมืองผลึก
  7. พระอภัยมณีอภิเษกกับนางสุวรรณมาลี
  8. กำเนิดสุดสาคร
  9. สุดสาครเข้าเมืองการะเวก
  10. อุศเรนตีเมืองผลึก
  11. เจ้าละมานตีเมืองผลึก
  12. สุดสาครตามพระอภัยมณี
  13. ศึกเก้าทัพตีเมืองผลึก
  14. พระอภัยมณีตีเมืองใหม่
  15. พระอภัยมณีพบนางละเวง
  16. ศรีสุวรรณอาสาตีด่านดงตาล
  1. ย่องตอดสะกดทัพ
  2. นางละเวงคิดหย่าทัพ
  3. พระอภัยมณีติดท้ายรถ
  4. พระอภัยมณีทำผูกคอตายได้นางละเวง
  5. ศรีสุวรรณกับสินสมุทรถูกทำเสน่ห์
  6. นางสุวรรณมาลีข้ามไปเมืองลังกา
  7. นางสุวรรณมาลีมีสารตัดพ้อ
  8. สุดสาครถูกเสน่ห์
  9. นางสุวรรณมาลีหึงหน้าป้อม
  10. หัสไชยแก้เสน่ห์
  11. นางเสาวคนธ์ยิงแก้ม
  12. กษัตริย์สามัคคี
  13. นางเสาวคนธ์ขุดโคตรเพชร
  14. พระอภัยมณีกลับเมือง
  15. อภิเษกสินสมุทร
  16. นางเสาวคนธ์หนี
  1. นางเสาวคนธ์แปลงเป็นฤๅษี
  2. นางเสาวคนธ์ได้เมืองวาหุโลม
  3. สุดสาครตามนางเสาวคนธ์
  4. พระอภัยมณีทำศพท้าวสุทัศน์
  5. มังคลาครองเมืองลังกา
  6. มังคลาชิงโคตรเพชร
  7. มังคลาจับนางสุวรรณมาลีและท้าวทศวงศ์
  8. หัสไชยตีด่านเมืองลังกา
  9. สุดสาครรบกับมังคลา
  10. นางละเวงช่วยนางสุวรรณมาลีและท้าวทศวงศ์
  11. พระอภัยมณี ศรีสุวรรณไปเมืองลังกา
  12. พระอภัยมณีรบกับมังคลา
  13. สังฆราชบาทหลวงเผาเมืองลังกา
  14. พระอภัยมณีเข้าเมืองลังกา
  15. อภิเษกหัสไชย
  16. พระอภัยมณีออกบวช

หลังเหตุการณ์พระอภัยมณีออกบวช มีผู้แต่งเรื่องต่อออกไปอีก เช่น นางเงือกได้ตัดหางและกลายเป็นมนุษย์ แต่นั่นไม่ใช่งานประพันธ์ของสุนทรภู่ ในฉบับพิมพ์ของหอพระสมุดจึงย่อเนื้อหาส่วนหลังเรียบเรียงเป็นร้อยแก้วบรรจุไว้ท้ายเล่ม[3]

[แก้] โครงเรื่อง

ระวังเสียอรรถรส ข้อความด้านล่างนี้กล่าวถึงเนื้อเรื่องหรือฉากจบ

รูปปั้นพระอภัยมณีและนางเงือก สองตัวละครเอกจากวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ที่หาดทรายแก้ว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง

ท้าวสุทัศน์และพระนางประทุมเกสร ผู้ครองกรุงรัตนา มีพระโอรสสององค์ คือ พระอภัยมณี และศรีสุวรรณ ได้รับสั่งให้โอรสทั้งสองไปเรียนศิลปวิทยา ในที่สุดพระอภัยมณีได้เรียนวิชาปี่ ขณะที่ศรีสุวรรณได้เรียนวิชากระบี่กระบอง เมื่อสำเร็จวิชา ก็ได้กลับคืนพระนคร ทว่าพระบิดาทรงกริ้ว ด้วยพระโอรสไปเรียนวิชาชั้นต่ำ ไม่คู่ควรแก่กษัตริย์ จึงไล่ทั้งสองออกจากพระนคร

ทั้งสองเดินทางมาถึงชายทะเล ได้พบกับสามพราหมณ์คือ โมรา สานนท์ และวิเชียร ได้สมัครเป็นมิตรกัน แล้วพระอภัยมณีเป่าปี่ให้คนทั้งหมดฟัง ทั้งหมดเคลิบเคลิ้มตามเพลงปี่จนหลับไป เพลงปี่ดังไปถึงนางผีเสื้อสมุทรที่อาศัยอยู่ในทะเล เมื่อตามเสียงปี่มาพบพระอภัยมณีก็หลงรัก จึงลักพาตัวพระอภัยมณีไปอยู่กับนางบนเกาะ แล้วจำแลงร่างเป็นหญิงสาวสวยงาม แม้พระอภัยรู้อยู่ว่านั่นคือนางยักษ์ แต่ก็ไม่สามารถหนีไปไหนได้ ทั้งสองอยู่กินกันมาจนนางผีเสื้อให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่ง ชื่อว่า สินสมุทร

ด้านศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์เมื่อตื่นขึ้นมาไม่พบพระอภัยมณีก็เที่ยวค้นหา จนไปถึงเมืองรมจักรพบศึกติดพัน ศรีสุวรรณกับสามพราหมณ์ช่วยรบป้องกันเมืองได้ ได้พบนางเกษราธิดาของเจ้าเมือง ต่อมาศรีสุวรรณได้อภิเษกนางเกษรา มีพระธิดาชื่อนางอรุณรัศมี

วันหนึ่งสินสมุทรออกไปเที่ยวเล่นเจอพ่อเงือกแม่เงือก จึงจับตัวมาให้พระอภัยดู พ่อเงือกแม่เงือกวอนขอชีวิตโดยเสนอจะพาพระอภัยหนี พระอภัยจึงออกอุบายให้นางผีเสื้อไปถือศีลบนเขาสามวัน ระหว่างนั้นเขาก็พาสินสมุทรหนี พ่อเงือกแม่เงือกพาพระอภัยและสินสมุทรมาเกือบถึงเกาะแก้วพิสดารแล้ว แต่นางผีเสื้อรู้ตัวติดตามมาทัน จับพ่อเงือกแม่เงือกฆ่าเสีย นางเงือกผู้ลูกพาพระอภัยกับสินสมุทรหนีไปจนถึงเกาะแก้วพิสดารได้สำเร็จ บนเกาะนี้มีพระฤๅษีมีฤทธิ์มาก นางผีเสื้อจึงไม่กล้าทำอะไร ทั้งหมดอาศัยอยู่บนเกาะแก้วพิสดาร พระอภัยได้นางเงือกเป็นภริยา

ฝ่ายท้าวสิลราชกับพระนางมณฑา ผู้ครองเมืองเมืองผลึก มีพระธิดาองค์เดียวคือ นางสุวรรณมาลี ทรงเป็นคู่หมั้นอยู่กับอุศเรน เจ้าชายเมืองลังกา วันหนึ่งนางสุวรรณมาลีเกิดนิมิตฝัน โหรทำนายว่าต้องออกเที่ยวทะเลจะได้พบลาภ ทั้งหมดจึงเดินเรือเที่ยวท่องไป แต่เกิดพายุใหญ่พัดเรือไปถึงเกาะนาควาริน คำทำนายของปู่เจ้าทำให้ท้าวสิลราชพากองเรือมุ่งหน้าไปยังเกาะแก้วพิสดาร ได้พบพระอภัยมณีและรับพระอภัยมณีกับสินสมุทรขึ้นเรือไปด้วยเพื่ออาศัยกลับบ้านเมือง แต่เมื่อเรือออกจากเกาะ นางผีเสื้อสมุทรก็มาอาละวาดอีกจนเรือแตก ท้าวสิลราชกับบริวารส่วนใหญ่สิ้นชีพ สินสมุทรพานางสุวรรณมาลีหนีไปได้ พระอภัยมณีเป่าปี่สังหารนางยักษ์

ทั้งหมดแตกกระจายพลัดพรายจากกัน พระอภัยมณีได้รับความช่วยเหลือจากอุศเรน คู่หมั้นของนางสุวรรณมาลี ที่ออกเรือมาตามหาเพราะหายไปนาน ส่วนสินสมุทรกับนางสุวรรณมาลีได้โจรสุหรั่ง โจรสลัดในน่านน้ำนั้นช่วยไว้ได้ แต่โจรคิดทำร้าย สินสมุทรจึงสังหารโจรแล้วครองเรือมาเอง แล้วได้พบศรีสุวรรณที่ออกล่องเรือเที่ยวตามหาพี่ชาย ทั้งหมดเดินทางไปด้วยกันจนมาพบพระอภัยมณีกับอุศเรน สินสมุทรรักนางสุวรรณมาลีอยากได้เป็นแม่ จึงเกิดวิวาทกับอุศเรน พระอภัยมณีไปเมืองผลึกกับนางสุวรรณมาลีและได้ขึ้นครองเมืองแทนท้าวสิลราช อุศเรนแค้นและกลับเมืองลังกายกทัพมาตีเมืองผลึก แต่แพ้อุบายนางวาลีจนสิ้นชีวิต นางละเวงวัณฬาผู้น้องสาวคิดแก้แค้น จึงใช้รูปของตนทำเสน่ห์ส่งไปหัวเมืองต่าง ๆ ให้ยกทัพมาตีเมืองผลึก

ด้านเกาะแก้วพิสดาร นางเงือกให้กำเนิดบุตรชื่อ สุดสาคร เป็นเด็กฉลาดแข็งแรง วันหนึ่งสุดสาครจับม้านิลมังกรได้ พระฤๅษีสอนวิชาให้แล้วเล่าเรื่องพระอภัยมณีให้ฟัง สุดสาครออกเดินทางตามหาพระอภัยมณีจนไปถึงเมืองการเวก ระหว่างทางถูกชีเปลือยหลอกขโมยไม้เท้าและม้านิลมังกรไป แต่พระฤๅษีมาช่วยไว้ เมื่อชิงไม้เท้าและม้านิลมังกรคืนมาได้ ก็เข้าเมืองการเวก กษัตริย์เจ้าเมืองรักใคร่เอ็นดูสุดสาคร จึงเลี้ยงดูเป็นโอรสบุญธรรมอยู่ด้วยกันกับนางเสาวคนธ์และหัสไชยพระธิดาและพระโอรส จนเติบใหญ่ สุดสาครคิดออกตามหาพ่อ เจ้าเมืองการเวกจึงจัดกองเรือให้ โดยมีนางเสาวคนธ์และหัสไชยติดตามไปด้วย ทั้งหมดล่องเรือไปถึงเมืองผลึกขณะถูกทัพลังกาและทัพพันธมิตรล้อมเมือง

พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สินสมุทร และสุดสาคร ช่วยเมืองผลึกรบจนสามารถเอาชนะทัพอื่นๆ ได้ พระอภัยมณีได้รูปวาดนางละเวงที่ลงเสน่ห์ทำให้เมืองต่าง ๆ พากันยกมารบเมืองผลึกตามคำขอนางนาง แล้วเกิดต้องมนต์ของนางละเวงเสียเอง พระอภัยยกทัพตามไปตีเมืองลังกา แต่รบกันเท่าใดก็ไม่แพ้ชนะเสียที ต่อมาพระอภัยมณีลอบติดรถนางละเวงเข้าไปในวัง เมื่อนางละเวงได้พบพระอภัยก็ฆ่าไม่ลง กลับหลงรักจนได้เป็นสามีภรรยากัน ส่วนบริวารอื่นของนางละเวงคือนางยุพาผกา รำภาสะหรี และสุลาลีวัน ใช้เสน่ห์กับฝ่ายพระอภัยมณี ได้แก่ ศรีสุวรรณ สินสมุทร และแม้แต่สุดสาครที่ครองตนเป็นฤๅษีก็ต้องมนต์ไปด้วย จนทั้งหมดหลงมัวเมาติดพันอยู่ในลังกาไม่ยอมกลับเมืองผลึก นางสุวรรณมาลีกับอรุณรัศมีและเสาวคนธ์จึงมาตาม แต่ไม่เป็นผล จนต้องให้หัสไชยช่วยแก้เสน่ห์ให้ลุงและเหล่าพี่ กษัตริย์ทั้งหมดยอมสงบศึกต่อกัน แต่นางเสาวคนธ์แค้นสุดสาครจึงหนีไปเมืองวาหุโลม สุดสาครต้องติดตามไปจนภายหลังจึงได้อภิเษกกัน

ด้านกรุงรัตนา ท้าวสุทัศน์สิ้นพระชนม์ พระอภัยมณีกับเหล่ากษัตริย์จึงเดินทางไปทำศพ มังคลาบุตรของพระอภัยมณีกับนางละเวงได้ครองเมืองลังกา แต่ถูกบาทหลวงยุแหย่จึงแค้นเคืองเหล่ากษัตริย์ จับตัวนางสุวรรณมาลีและพระญาติมาขังไว้ หัสไชยกับสุดสาครยกทัพมาช่วยแต่ไม่สำเร็จ แม้แต่นางละเวงผู้เป็นมารดาเองก็ห้ามปรามไม่ได้ พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณยกทัพตามมาจึงเอาชนะศึกได้ จบศึกแล้วพระอภัยมณีอภิเษกโอรสทั้งหลายให้ครองเมืองต่าง ๆ แล้วออกบวชพร้อมกับนางละเวงและนางสุวรรณมาลี

จบเนื้อหาส่วนที่เสียอรรถรสแล้ว ข้อความด้านบนนี้กล่าวถึงเนื้อเรื่องหรือฉากจบ

[แก้] แรงบันดาลใจ

สมุดภาพไตรภูมิ แหล่งข้อมูลสำคัญของสุนทรภู่

เนื้อหาในเรื่อง พระอภัยมณี นอกจากมีความแปลกใหม่ด้านเค้าโครงเรื่อง แต่ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายที่แสดงให้เห็นถึงภูมิรู้ของผู้ประพันธ์ว่ามีความรู้กว้างขวางและละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง นักวิชาการส่วนมากลงความเห็นพ้องกันว่า สุนทรภู่ได้รับแรงบันดาลใจมากมายจากวรรณคดีโบราณทั้งของไทยและของต่างประเทศ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตรัสว่า "เรื่องพระอภัยมณี สุนทรภู่ตั้งใจแต่งโดยประณีตทั้งตัวเรื่องและถ้อยคำสำนวน ส่วนตัวเรื่องนั้นพยายามตรวจตราหาเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในหนังสือต่างๆ บ้าง เรื่องที่รู้โดยผู้อื่นบอกเล่าบ้าง เอามาตริตรองเลือกคัดประดิษฐ์ติดต่อแต่ง ประกอบกับความคิดของสุนทรภู่เอง"[4] ประจักษ์ ประภาพิทยากร กล่าวว่า "วรรณคดีที่สุนทรภู่อาศัยเค้ามานั้น มีทั้งวรรณคดีจีน ชวา ไทย แขก พร้อมมูล วรรณคดีที่กล่าวมานี้สุนทรภู่ต้องรู้ดีแน่"[5] หรือ สุรีย์ พงศ์อารักษ์ กล่าวถึง พระอภัยมณี ว่า "เนื้อเรื่องส่วนใหญ่แตกต่างจากวรรณคดีไทยแนวจักรๆ วงศ์ๆ ทั่วไป เค้าโครงเรื่องได้มาจากวรรณคดีต่างๆ ของไทยและวรรณคดีต่างประเทศหลายเรื่อง เช่น เรื่องอาหรับราตรี เรื่องไซ่ฮั่น เป็นต้น รวมถึงเค้าเรื่องจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในชีวิตของสุนทรภู่ และจินตนาการที่ผสมผสานผูกร้อยเข้าด้วยกัน"[6] เค้าโครงจากวรรณกรรมต่างประเทศนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า เค้าเรื่องที่มาจากอาหรับราตรี ของเซอร์ริชาร์ด เบอร์ตัน คือนิทานว่าด้วยเรื่องของกษัตริย์ชาติอิสลามไปตีเมืองซึ่งนางพระยาเป็นคริสตัง เมื่อพบกันในสนามรบก็เกิดรักกัน ทำนองเดียวกับที่พระอภัยมณีพบนางละเวงวัณฬาในสนามรบ ส่วนเค้าโครงที่มาจากไซ่ฮั่น คือส่วนที่ว่าด้วยเพลงปี่ของเตียวเหลียง ผู้วิเศษที่ชำนาญการเป่าปี่แก้วจนอาจสะกดผู้คนได้ ทำนองเดียวกับวิชาปี่ของพระอภัยมณี[4] นอกจากนี้ยังมีความเห็นจากนักวิชาการอื่นอีกหลายท่านล้วนลงความเห็นไปในทางเดียวกันทั้งสิ้น[7]

ปลาบู่ทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาบู่ทอง เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กสาวชาวบ้านผู้มีใจเมตตาที่ในตอนท้ายได้แต่งงานกับกษัตริย์

เรื่องปลาบู่ทองเริ่มขึ้นโดยเศรษฐีทารก (อ่านว่า ทา-ระ-กะ) ผู้มีอาชีพจับปลามีภรรยา 2 คน คนแรกชื่อขนิษฐา มีลูกสาวชื่อ เอื้อย ส่วนคนที่สองชื่อ ขนิษฐี มีลูกสาวชื่อ อ้าย และ อี่

วันหนึ่งเศรษฐีทารกพาขนิษฐาไปจับปลาในคลอง ไม่ว่าจะเหวี่ยงแหไปกี่ครั้งก็ได้มาเพียงปลาบู่ทองที่ตั้งท้องตัวเดียวเท่านั้น จนกระทั่งพลบค่ำเศรษฐีก็ตัดสินใจที่จะเอาปลาบู่ทองที่จับได้เพียงตัวเดียวกลับบ้าน ทว่าขนิษฐาผู้เป็นภรรยาเกิดความสงสารปลาบู่ ขอให้เศรษฐีปล่อยปลาไป เศรษฐีทารกเกิดบันดาลโทสะจึงฟาดนางขนิษฐาจนตายและทิ้งศพลงคลอง

เมื่อกลับถึงบ้านเอื้อยก็ถามหาแม่ เศรษฐีจึงตอบไปว่าแม่ของเอื้อยได้หนีตามผู้ชายไป และจะไม่กลับมาบ้านอีกแล้ว นับตั้งแต่วันนั้นขนิษฐีผู้เป็นแม่เลี้ยงของเอื้อย และอี่กับอ้ายน้องสาวทั้งสองก็กลั่นแกล้งใช้งานเอื้อยเป็นประจำโดยที่เศรษฐีทารกไม่รับรู้และไม่สนใจ

เอื้อยคิดถึงแม่มากจึงมักไปนั่งร้องไห้อยู่ริมท่าน้ำ และได้พบกับปลาบู่ทองซึ่งเป็นนางขนิษฐากลับชาติมาเกิด เมื่อเอื้อยรู้ว่าปลาบู่ทองเป็นแม่ก็ได้นำข้าวสวยมาโปรยให้ปลาบู่ทองกิน และมาปรับทุกข์ให้ปลาบู่ทองฟังทุกวัน

นางขนิษฐีและลูกสาวเห็นเอื้อยมีความสุขขึ้น เมื่อถูกกลั่นแกล้งก็อดทนไม่ปริปากบ่นจึงสืบจนพบว่านางขนิษฐาได้มาเกิดเป็นปลาบู่ทอง และได้พบกับเอื้อยทุกวัน ดังนั้นเมื่อเอื้อยกำลังทำงานนางขนิษฐาก็จับปลาบู่ทองมาทำอาหารและขอดเกล็ดทิ้งไว้ในครัว

เอื้อยได้พบเกล็ดปลาบู่ทองก็เศร้าใจเป็นอย่างมาก นำเกล็ดไปฝังดินและอธิษฐานขอให้แม่มาเกิดเป็นต้นมะเขือ เอื้อยมารดน้ำให้ต้นมะเขือทุกวันจนงอกงาม เมื่อขนิษฐีทราบเรื่องเข้าก็โค่นต้นมะเขือ และนำลูกมะเขือไปจิ้มน้ำพริกกิน

เอื้อยเก็บเมล็ดมะเขือที่เหลือไปฝังดินและอธิษฐานให้แม่ไปเกิดเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองในป่า และไม่ให้ผู้ใดสามารถโค่น ทำลาย หรือเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้

วันหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตเสด็จประพาสป่าได้พบกับต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง โปรดให้นำเข้าไปปลูกในวัง แต่ไม่มีผู้ใดสามารถเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้ พระเจ้าพรหมทัตจึงประกาศว่าผู้ใดที่เคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้จะให้รางวัลอย่างงาม

ขนิษฐีและอ้ายกับอี่เข้าร่วมลองถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองด้วยแต่ไม่สำเร็จ เอื้อยขอลองบ้างและอธิษฐานจิตบอกแม่ว่าขอย้ายแม่เข้าไปปลูกในวัง เอื้อยจึงถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้สำเร็จ

พระเจ้าพรหมทัตถูกชะตาเอื้อยจึงชวนเข้าไปอยู่ในวังและแต่งตั้งให้เอื้อยเป็นพระมเหสี ฝ่ายขนิษฐาและลูกสาวอิจฉาเอื้อยจึงส่งจดหมายไปบอกเอื้อยว่าเศรษฐีทารกป่วยหนักขอให้เอื้อยกลับมาเยี่ยมที่บ้าน

เมื่อเอื้อยกลับมาบ้าน นางขนิษฐีก็ได้แกล้งนำกระทะน้ำเดือดไปวางไว้ใต้ไม้กระดานเรือน และทำกระดานกลไว้ เมื่อเอื้อยเหยียบกระดานกลก็ตกลงในหม้าน้ำเดือดจนถึงแก่ความตาย ขนิษฐีให้อ้ายปลอมตัวเป็นเอื้อยและเดินทางกลับไปยังวังของพระเจ้าพรหมทัต

เอื้อยได้ไปเกิดใหม่เป็นนกแขกเต้า เมื่อเกิดใหม่แล้วก็บินกลับเข้าไปในพระราชวัง พระเจ้าพรหมทัตเห็นนกแขกเต้าแสนรู้ ไม่รู้ว่าเป็นเอื้อยกลับชาติมาเกิดก็เลี้ยงไว้ใกล้ตัว อ้ายเห็นดังนั้นก็ไม่พอใจ สั่งคนครัวให้นำนกแขกเต้าไปถอนขนและต้มกิน

แม่ครัวถอนขนนกแขกเต้าและวางทิ้งไว้บนโต๊ะ นกแขกเต้าจึงกระเสือกกระสนหลบหนีเข้าไปอยู่ในรูหนู มีหนูช่วยดูและจนขนขึ้นเป็นปกติ แล้วเอื้อยก็บินเข้าป่าไปจนเจอกับพระฤๅษี

พระฤๅษีตรวจดูด้วยญานพบว่านกแขกเต้าคือเอื้อยกลับชาติมาเกิดจึงเสกให้เป็นคนตามเดิม และวาดรูปเด็กเสกให้มีชีวิตเพื่อให้เป็นลูกของเอื้อย เมื่อเด็กนั้นโตขึ้นก็ขอเอื้อยเดินทางไปหาบิดา เอื้อยจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้บุตรชายฟังร้อยพวงมาลัยเพื่อให้บุตรชายนำไปให้พระเจ้าพรหมทัต

เมื่อพระเจ้าพรหมทัตได้พบกับบุตรชายของเอื้อยและพวงมาลัย ก็ขอให้เด็กชายเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังว่าได้มาลัยมาอย่างไร เด็กชายก็เล่าตามที่เอื้อยเล่าให้ฟัง เมื่อทราบเรื่องทังหมดแล้วพระเจ้าพรหมทัตก็สั่งประหารชีวิตอ้าย อี่ และขนิษฐี และไปรับเอื้อยเพื่อให้กลับมาครองบัลลังก์ร่วมกันอีกครั้ง

ปลาบู่ทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาบู่ทอง เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กสาวชาวบ้านผู้มีใจเมตตาที่ในตอนท้ายได้แต่งงานกับกษัตริย์

เรื่องปลาบู่ทองเริ่มขึ้นโดยเศรษฐีทารก (อ่านว่า ทา-ระ-กะ) ผู้มีอาชีพจับปลามีภรรยา 2 คน คนแรกชื่อขนิษฐา มีลูกสาวชื่อ เอื้อย ส่วนคนที่สองชื่อ ขนิษฐี มีลูกสาวชื่อ อ้าย และ อี่

วันหนึ่งเศรษฐีทารกพาขนิษฐาไปจับปลาในคลอง ไม่ว่าจะเหวี่ยงแหไปกี่ครั้งก็ได้มาเพียงปลาบู่ทองที่ตั้งท้องตัวเดียวเท่านั้น จนกระทั่งพลบค่ำเศรษฐีก็ตัดสินใจที่จะเอาปลาบู่ทองที่จับได้เพียงตัวเดียวกลับบ้าน ทว่าขนิษฐาผู้เป็นภรรยาเกิดความสงสารปลาบู่ ขอให้เศรษฐีปล่อยปลาไป เศรษฐีทารกเกิดบันดาลโทสะจึงฟาดนางขนิษฐาจนตายและทิ้งศพลงคลอง

เมื่อกลับถึงบ้านเอื้อยก็ถามหาแม่ เศรษฐีจึงตอบไปว่าแม่ของเอื้อยได้หนีตามผู้ชายไป และจะไม่กลับมาบ้านอีกแล้ว นับตั้งแต่วันนั้นขนิษฐีผู้เป็นแม่เลี้ยงของเอื้อย และอี่กับอ้ายน้องสาวทั้งสองก็กลั่นแกล้งใช้งานเอื้อยเป็นประจำโดยที่เศรษฐีทารกไม่รับรู้และไม่สนใจ

เอื้อยคิดถึงแม่มากจึงมักไปนั่งร้องไห้อยู่ริมท่าน้ำ และได้พบกับปลาบู่ทองซึ่งเป็นนางขนิษฐากลับชาติมาเกิด เมื่อเอื้อยรู้ว่าปลาบู่ทองเป็นแม่ก็ได้นำข้าวสวยมาโปรยให้ปลาบู่ทองกิน และมาปรับทุกข์ให้ปลาบู่ทองฟังทุกวัน

นางขนิษฐีและลูกสาวเห็นเอื้อยมีความสุขขึ้น เมื่อถูกกลั่นแกล้งก็อดทนไม่ปริปากบ่นจึงสืบจนพบว่านางขนิษฐาได้มาเกิดเป็นปลาบู่ทอง และได้พบกับเอื้อยทุกวัน ดังนั้นเมื่อเอื้อยกำลังทำงานนางขนิษฐาก็จับปลาบู่ทองมาทำอาหารและขอดเกล็ดทิ้งไว้ในครัว

เอื้อยได้พบเกล็ดปลาบู่ทองก็เศร้าใจเป็นอย่างมาก นำเกล็ดไปฝังดินและอธิษฐานขอให้แม่มาเกิดเป็นต้นมะเขือ เอื้อยมารดน้ำให้ต้นมะเขือทุกวันจนงอกงาม เมื่อขนิษฐีทราบเรื่องเข้าก็โค่นต้นมะเขือ และนำลูกมะเขือไปจิ้มน้ำพริกกิน

เอื้อยเก็บเมล็ดมะเขือที่เหลือไปฝังดินและอธิษฐานให้แม่ไปเกิดเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองในป่า และไม่ให้ผู้ใดสามารถโค่น ทำลาย หรือเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้

วันหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตเสด็จประพาสป่าได้พบกับต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง โปรดให้นำเข้าไปปลูกในวัง แต่ไม่มีผู้ใดสามารถเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้ พระเจ้าพรหมทัตจึงประกาศว่าผู้ใดที่เคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้จะให้รางวัลอย่างงาม

ขนิษฐีและอ้ายกับอี่เข้าร่วมลองถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองด้วยแต่ไม่สำเร็จ เอื้อยขอลองบ้างและอธิษฐานจิตบอกแม่ว่าขอย้ายแม่เข้าไปปลูกในวัง เอื้อยจึงถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้สำเร็จ

พระเจ้าพรหมทัตถูกชะตาเอื้อยจึงชวนเข้าไปอยู่ในวังและแต่งตั้งให้เอื้อยเป็นพระมเหสี ฝ่ายขนิษฐาและลูกสาวอิจฉาเอื้อยจึงส่งจดหมายไปบอกเอื้อยว่าเศรษฐีทารกป่วยหนักขอให้เอื้อยกลับมาเยี่ยมที่บ้าน

เมื่อเอื้อยกลับมาบ้าน นางขนิษฐีก็ได้แกล้งนำกระทะน้ำเดือดไปวางไว้ใต้ไม้กระดานเรือน และทำกระดานกลไว้ เมื่อเอื้อยเหยียบกระดานกลก็ตกลงในหม้าน้ำเดือดจนถึงแก่ความตาย ขนิษฐีให้อ้ายปลอมตัวเป็นเอื้อยและเดินทางกลับไปยังวังของพระเจ้าพรหมทัต

เอื้อยได้ไปเกิดใหม่เป็นนกแขกเต้า เมื่อเกิดใหม่แล้วก็บินกลับเข้าไปในพระราชวัง พระเจ้าพรหมทัตเห็นนกแขกเต้าแสนรู้ ไม่รู้ว่าเป็นเอื้อยกลับชาติมาเกิดก็เลี้ยงไว้ใกล้ตัว อ้ายเห็นดังนั้นก็ไม่พอใจ สั่งคนครัวให้นำนกแขกเต้าไปถอนขนและต้มกิน

แม่ครัวถอนขนนกแขกเต้าและวางทิ้งไว้บนโต๊ะ นกแขกเต้าจึงกระเสือกกระสนหลบหนีเข้าไปอยู่ในรูหนู มีหนูช่วยดูและจนขนขึ้นเป็นปกติ แล้วเอื้อยก็บินเข้าป่าไปจนเจอกับพระฤๅษี

พระฤๅษีตรวจดูด้วยญานพบว่านกแขกเต้าคือเอื้อยกลับชาติมาเกิดจึงเสกให้เป็นคนตามเดิม และวาดรูปเด็กเสกให้มีชีวิตเพื่อให้เป็นลูกของเอื้อย เมื่อเด็กนั้นโตขึ้นก็ขอเอื้อยเดินทางไปหาบิดา เอื้อยจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้บุตรชายฟังร้อยพวงมาลัยเพื่อให้บุตรชายนำไปให้พระเจ้าพรหมทัต

เมื่อพระเจ้าพรหมทัตได้พบกับบุตรชายของเอื้อยและพวงมาลัย ก็ขอให้เด็กชายเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังว่าได้มาลัยมาอย่างไร เด็กชายก็เล่าตามที่เอื้อยเล่าให้ฟัง เมื่อทราบเรื่องทังหมดแล้วพระเจ้าพรหมทัตก็สั่งประหารชีวิตอ้าย อี่ และขนิษฐี และไปรับเอื้อยเพื่อให้กลับมาครองบัลลังก์ร่วมกันอีกครั้ง

ปลาบู่ทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาบู่ทอง เป็นนิทานพื้นบ้านของไทย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กสาวชาวบ้านผู้มีใจเมตตาที่ในตอนท้ายได้แต่งงานกับกษัตริย์

เรื่องปลาบู่ทองเริ่มขึ้นโดยเศรษฐีทารก (อ่านว่า ทา-ระ-กะ) ผู้มีอาชีพจับปลามีภรรยา 2 คน คนแรกชื่อขนิษฐา มีลูกสาวชื่อ เอื้อย ส่วนคนที่สองชื่อ ขนิษฐี มีลูกสาวชื่อ อ้าย และ อี่

วันหนึ่งเศรษฐีทารกพาขนิษฐาไปจับปลาในคลอง ไม่ว่าจะเหวี่ยงแหไปกี่ครั้งก็ได้มาเพียงปลาบู่ทองที่ตั้งท้องตัวเดียวเท่านั้น จนกระทั่งพลบค่ำเศรษฐีก็ตัดสินใจที่จะเอาปลาบู่ทองที่จับได้เพียงตัวเดียวกลับบ้าน ทว่าขนิษฐาผู้เป็นภรรยาเกิดความสงสารปลาบู่ ขอให้เศรษฐีปล่อยปลาไป เศรษฐีทารกเกิดบันดาลโทสะจึงฟาดนางขนิษฐาจนตายและทิ้งศพลงคลอง

เมื่อกลับถึงบ้านเอื้อยก็ถามหาแม่ เศรษฐีจึงตอบไปว่าแม่ของเอื้อยได้หนีตามผู้ชายไป และจะไม่กลับมาบ้านอีกแล้ว นับตั้งแต่วันนั้นขนิษฐีผู้เป็นแม่เลี้ยงของเอื้อย และอี่กับอ้ายน้องสาวทั้งสองก็กลั่นแกล้งใช้งานเอื้อยเป็นประจำโดยที่เศรษฐีทารกไม่รับรู้และไม่สนใจ

เอื้อยคิดถึงแม่มากจึงมักไปนั่งร้องไห้อยู่ริมท่าน้ำ และได้พบกับปลาบู่ทองซึ่งเป็นนางขนิษฐากลับชาติมาเกิด เมื่อเอื้อยรู้ว่าปลาบู่ทองเป็นแม่ก็ได้นำข้าวสวยมาโปรยให้ปลาบู่ทองกิน และมาปรับทุกข์ให้ปลาบู่ทองฟังทุกวัน

นางขนิษฐีและลูกสาวเห็นเอื้อยมีความสุขขึ้น เมื่อถูกกลั่นแกล้งก็อดทนไม่ปริปากบ่นจึงสืบจนพบว่านางขนิษฐาได้มาเกิดเป็นปลาบู่ทอง และได้พบกับเอื้อยทุกวัน ดังนั้นเมื่อเอื้อยกำลังทำงานนางขนิษฐาก็จับปลาบู่ทองมาทำอาหารและขอดเกล็ดทิ้งไว้ในครัว

เอื้อยได้พบเกล็ดปลาบู่ทองก็เศร้าใจเป็นอย่างมาก นำเกล็ดไปฝังดินและอธิษฐานขอให้แม่มาเกิดเป็นต้นมะเขือ เอื้อยมารดน้ำให้ต้นมะเขือทุกวันจนงอกงาม เมื่อขนิษฐีทราบเรื่องเข้าก็โค่นต้นมะเขือ และนำลูกมะเขือไปจิ้มน้ำพริกกิน

เอื้อยเก็บเมล็ดมะเขือที่เหลือไปฝังดินและอธิษฐานให้แม่ไปเกิดเป็นต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองในป่า และไม่ให้ผู้ใดสามารถโค่น ทำลาย หรือเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้

วันหนึ่งพระเจ้าพรหมทัตเสด็จประพาสป่าได้พบกับต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง โปรดให้นำเข้าไปปลูกในวัง แต่ไม่มีผู้ใดสามารถเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้ พระเจ้าพรหมทัตจึงประกาศว่าผู้ใดที่เคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้จะให้รางวัลอย่างงาม

ขนิษฐีและอ้ายกับอี่เข้าร่วมลองถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองด้วยแต่ไม่สำเร็จ เอื้อยขอลองบ้างและอธิษฐานจิตบอกแม่ว่าขอย้ายแม่เข้าไปปลูกในวัง เอื้อยจึงถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้สำเร็จ

พระเจ้าพรหมทัตถูกชะตาเอื้อยจึงชวนเข้าไปอยู่ในวังและแต่งตั้งให้เอื้อยเป็นพระมเหสี ฝ่ายขนิษฐาและลูกสาวอิจฉาเอื้อยจึงส่งจดหมายไปบอกเอื้อยว่าเศรษฐีทารกป่วยหนักขอให้เอื้อยกลับมาเยี่ยมที่บ้าน

เมื่อเอื้อยกลับมาบ้าน นางขนิษฐีก็ได้แกล้งนำกระทะน้ำเดือดไปวางไว้ใต้ไม้กระดานเรือน และทำกระดานกลไว้ เมื่อเอื้อยเหยียบกระดานกลก็ตกลงในหม้าน้ำเดือดจนถึงแก่ความตาย ขนิษฐีให้อ้ายปลอมตัวเป็นเอื้อยและเดินทางกลับไปยังวังของพระเจ้าพรหมทัต

เอื้อยได้ไปเกิดใหม่เป็นนกแขกเต้า เมื่อเกิดใหม่แล้วก็บินกลับเข้าไปในพระราชวัง พระเจ้าพรหมทัตเห็นนกแขกเต้าแสนรู้ ไม่รู้ว่าเป็นเอื้อยกลับชาติมาเกิดก็เลี้ยงไว้ใกล้ตัว อ้ายเห็นดังนั้นก็ไม่พอใจ สั่งคนครัวให้นำนกแขกเต้าไปถอนขนและต้มกิน

แม่ครัวถอนขนนกแขกเต้าและวางทิ้งไว้บนโต๊ะ นกแขกเต้าจึงกระเสือกกระสนหลบหนีเข้าไปอยู่ในรูหนู มีหนูช่วยดูและจนขนขึ้นเป็นปกติ แล้วเอื้อยก็บินเข้าป่าไปจนเจอกับพระฤๅษี

พระฤๅษีตรวจดูด้วยญานพบว่านกแขกเต้าคือเอื้อยกลับชาติมาเกิดจึงเสกให้เป็นคนตามเดิม และวาดรูปเด็กเสกให้มีชีวิตเพื่อให้เป็นลูกของเอื้อย เมื่อเด็กนั้นโตขึ้นก็ขอเอื้อยเดินทางไปหาบิดา เอื้อยจึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้บุตรชายฟังร้อยพวงมาลัยเพื่อให้บุตรชายนำไปให้พระเจ้าพรหมทัต

เมื่อพระเจ้าพรหมทัตได้พบกับบุตรชายของเอื้อยและพวงมาลัย ก็ขอให้เด็กชายเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังว่าได้มาลัยมาอย่างไร เด็กชายก็เล่าตามที่เอื้อยเล่าให้ฟัง เมื่อทราบเรื่องทังหมดแล้วพระเจ้าพรหมทัตก็สั่งประหารชีวิตอ้าย อี่ และขนิษฐี และไปรับเอื้อยเพื่อให้กลับมาครองบัลลังก์ร่วมกันอีกครั้ง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 233 คน กำลังออนไลน์