ประเทศอาเซียน : มาเลเซีย (Malaysia)

" เซอรามัตดาตัง " สวัสดีเคิ้บ(ครับ(= =')) แหมๆทักทายกันด้วยภาษาของชาวมาเลเซียซะเลย งานครั้งที่3(Assingment 3) ที่อ.ปรีชาให้มาก็คื้อออออ "ASEAN : Malaysia"ถ้าถามว่า ทำไมอาจารย์ให้หัวข้อนี้มา เราขอตอบตามที่เราคิดนะก็คือ อาจารย์คงอยากให้เารู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า ASEAN มากขึ้น เพราะเราเชื่อว่าถึงตอนนี้เองก็คงยังมีคนที่ไม่รู้ว่า "ASEAN" คืออะไร? สร้างมาทำไม? สร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรา? ^_^ จริงๆแล้วถ้าหากเราลองเสียเวลาทำความรู้จักมันสักนิด เราจะรู้ว่ามันมีประโยชน์นะ แล้วก็ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวเราเล้ยย ยิ่งพอเราสมัครงาน เราอาจจะมีคนมาเลเซีย คนฟิลิปปินส์ คนอินโดฯ มาสมัครงานแข่งกับเราก็ได้ หึ หึ หึ...เอาล่ะพูดมาเยอะละเดี๋ยวจะยิ่งยาวววงั้นเข้าเรื่องเลยละกานน~

ปล.เพิ่อการแสดงผลที่ดีขึ้นเราต้องมีฟร้อนท์ Circular ">และ SR FahtalaiJone NP"> จะลงฟร้อนท์ยังไง--->">คลิ๊กเลย!


ประเทศมาเลเซีย Malaysia

Flag_of_Malaysia

ธงชาติมาเลเซียหรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "Jalur Gemilang" (แปลว่า ธงริ้วแห่งความรุ่งเรือง) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "Bintang Persekutuan" หรือ "ดาราแห่งสหพันธ์"

แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 แถบ หมายถึงรัฐในสหพันธ์รัฐมาเลเซียทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ รัศมีดาวทั้ง 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราแห่งสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย ซึ่งแต่เดิมสีนี้ใช้แทนความเชื่อมโยงระหว่างสหพันธรัฐมาเลเซียกับเครือจักรภพอังกฤษ แต่คำนิยามดังกล่าวนี้ได้ถูกลดความสำคัญลง และได้มีการนิยามความหมายของสีนี้ใหม่ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันโดยรวมแล้วแม้ธงนี้จะคล้ายกันกับธงชาติสหรัฐอเมริกาและธงประจำบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษก็ตาม แต่ธงนี้ก็ไม่มีความเชื่องโยงกับทั้งสองธงข้างต้นแต่อย่างใด

ตราแผ่นดิน National Emblem of Malaysia

Arms_of_Malaysia

ตราแผ่นดินของมาเลเซีย (ภาษาอังกฤษ: National Emblem of Malaysia,the Coat of Arms of Malaysia; ภาษามาเลย์: Jata Negara in Malay) ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาเลย์ระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก

 

 

 

Map of Malaysia

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 

 

เพลงชาติ : The national anthem of Malaysia
 
เนอการากู - เพลงชาติมาเลเซีย
ถึงคิวของเพลงชาติของประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ของเราบ้าง คือ มาเลเซีย ครับ จากการที่เป็นประเทศประชาธิปไตยเหมือนกัน มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนกัน จึงเป็นประเทศที่มีความใกล้ชิดกันทางการเมืองกับไทยยิ่งกว่าประเทศเพื่อน บ้านอื่นๆ ที่เป็นสังคมนิยมด้วยซ้ำ ส่วนเรื่องการค้าหรือวัฒนธรรมก็อีกเรื่องนะครับ ความเป็นมาของเพลงชาติมาเลเซียคงต้องอ้างอิงถึงบทนำในวิกิพีเดียภาษาไทยที่ มีความกระชับดีอยู่แล้ว ดังนี้ครับ
เพลง ชาติมาเลเซีย มีชื่อว่า "เนอการากู" (Negaraku แปลว่า "ประเทศของฉัน") เพลงนี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติมาเลเชียในสมัยสหพันธรัฐมลายาเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทำนองเพลงนี้เดิมใช้เป็นเพลงคำนับประจำรัฐเประ และเคยใช้เป็นทำนองเพลงยอดนิยมในมาเลเซียสมัยหนึ่งที่ชื่อว่า เตอรัง บูลัน (Terang Bulan) ซึ่งหยิบยืมทำนองมาจากเพลงฮาวายชื่อ เพลงมามูลา มูน (Mamula Moon) อีกชั้นหนึ่ง
เพลงเนอการากูมีการบรรเลงอยู่ 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบสังเขป ซึ่งใช้ในโอกาสต่างๆ โดยทั่วไป และการบรรเลงแบบเต็มฉบับ ใช้ในยามที่ยังดี เปอร์ตวน อากง (พระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย) เสด็จออกในงานทางราชการ
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Negaraku และ http://th.wikipedia.org/wiki/เพลงชาติมาเลเซีย)
สังเกต ด้วยนะครับว่าประเทศที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมากนัก ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อร้องหรือทำนองเพลงชาติกันบ่อยๆ ในที่นี้ขอนำมาเสนอเฉพาะทำนองเพลงเช่นเคยครับ
 
ภาษา: Language
ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู ซึ่งเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Bahasa Melayu เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์ตะวันออก
ในการใช้ภาษาโดยทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน
ศาสานาและวัฒนธรรม
มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทาง ภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร"
เมืองหลวงตึกสวยๆที่มาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ (ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์ เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL
กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามเขตสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอ (Selangor state) บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมาเลเซีย (Peninsular Malaysia)
ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปุตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์
 
สกุลเงิน
ริงกิตมาเลเซีย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ดอลลาร์มาเลเซีย เป็นเงินตราประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น (รหัสเงินตรา MYR). ดอลลาร์สิงคโปร์และดอลลาร์บรูไนก็เรียกว่า ริงกิต ในภาษามาเลย์ คำว่า ringgit ในภาษามาเลย์แปลว่า "เป็นหยัก ๆ" และใช้อ้างถึงขอบหยัก ๆ ของ เหรียญเงินของประเทศสเปนที่ใช้แพร่หลายในพื้นที่
ในปี พ.ศ. 2380 รูปีได้กลายเป็นเงินตราราชการชนิดเดียวในอาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) แต่ในปี พ.ศ. 2410 เหรียญเงินได้เป็นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการนำดอลลาร์ช่องแคบ (Straits dollar) ออกมาใช้โดย Board of Commissioners of Currency โดยที่ตั้งราคาไว้ที่ 2 ชิลลิง และ 4 เพนซ์ และได้มีการห้ามไม่ให้ธนาคารเอกชนออกธนบัตรเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้เกิดความไม่ต่อเนื่องของเงินตรา 2 ครั้ง คือ การยึดครองของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2487) และการลดค่าเงินของปอนด์สเตอร์ลิงในปี พ.ศ. 2510 เป็นเหตุให้ธนบัตรของ Board of Commissioners of Currency of Malaya and British Borneo ลดค่าไป 15% ในขณะที่ดอลลาร์ของ Bank Negara Malaysia และ Commissioners of Currency ของสิงคโปร์และบรูไนไม่มีการลดค่า
ชื่อภาษามาเลย์ คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518 ก่อนหน้านี้ เงินตราได้เรียกเป็น ดอลลาร์ และ เซนต์ ในภาษาอังกฤษ และ ริงกิต และ เซ็น ในภาษามาเลย์ อย่างไรก็ดี การใช้สัญลักษณ์ดอลลาร์ "$" (หรือ "M$") ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น "RM" (Ringgit Malaysia) จนถึงช่วง พ.ศ. 2533
ตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในเอเซียเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของริงกิตกับดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ RM3.80 ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ริงกิต
Ringgit Malaysia
รหัส ISO 4217 MYR
ใช้ใน มาเลเซีย
อัตราเงินเฟ้อ 2.1%
ข้อมูลจาก The World Factbook (พ.ศ. 2549)
หน่วยย่อย  
1/100 เซ็น
สัญลักษณ์ RM
เหรียญ 5, 10, 20, 50 เซ็น
ธนบัตร 1, 5, 10, 50, 100 ริงกิต
ธนาคารกลาง ธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย
เว็บไซต์ http://www.bnm.gov.my/
โรงกษาปณ์ Royal Mint of Malaysia
เว็บไซต์ http://www.royalmint.com.my/
 
อาหารประจำชาติ
อาหารมาเลเซีย มีลักษณะเด่นอยู่ที่การใช้สมุนไพร เครื่องเทศ พริก มีรสเผ็ด และมักจะใช้ผงกะหรี่ คนในปีนังไม่ว่าจะเป็นคนอินเดีย คนจีนหรือคนมาเลเซียเองชอบทานอาหารที่มีผงกะหรี่และไม่มีใครปฏิเสธอาหารที่ มีผงกะหรี่ สมุนไพรที่นำมาประกอบอาหารนอกจากสมุนไพรท้องถิ่นซึ่งมีอยู่มากมาย บางครั้งยังมีการรวมสมุนไพรหลายชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีกลิ่นหอม มักใช้ในการผัดข้าว อาหารมาเลเซียส่วนใหญ่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอาหารมุสลิม เพราะไม่ใช้เนื้อหมู และไม่ใส่ไวน์ เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทานกันจึงเป็น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ และ อาหารทะเล และภูมิภาคของมาเลเซีย

อาหารจะมีลักษณะเฉพาะต่างกัน ในปีนังจะใช้ผงกะหรี่ในการประกอบอาหารมาก เพราะคนส่วนใหญ่ชอบผงกะหรี่ ขณะที่ทางตอนใต้ของประเทศจะนิยมใช้กะทิ คล้ายกับอาหารไทย โดยจะใช้กะทิกับอาหารเกือบทุกอย่าง ข้าว เป็นอาหารจานหลักในทุกมื้อของอาหารมาเลเซียเหมือนอาหารไทย ต่างกับอาหารยุโรปที่บางมื้อเป็นขนมปัง บางมื้อเป็นเนื้อ หลายคนเห็นหน้าตาอาหารมาเลเซียคล้ายกับอาหารอินเดีย แต่ อาหารอินเดียจะใช้กะทิเป็นส่วนผสมน้อยมาก ในอาหารมาเลเซียยังมีเครื่องจิ้มคล้ายน้ำพริกกะปิ เรียกว่า ซัมบัล (Sambal) ทำจากพริกป่น หัวหอมและน้ำมะขาม เป็นส่วนหนึ่งของสำรับอาหารของชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ยังนิยมใช้ กะปิ ในการปรุงอาหารแทบทุกชนิดไม่ว่าจะผัดหรือแกง ลองมาดูสูตรอาหารมาเลเซีย

อาหารมาเลเซีย เป็นอาหารประจำชาติของชาวมาเล ที่มีการสั่งสม และถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งอดีตจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอย่างหนึ่งที่ ชวนให้ไปสัมผัสกันที่
1. ห้องอาหาร นานาชาติ ซิตี้บิสโทร โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส โดยมีเมนูเด็ดต้นตำรับอาหารมาเลเซียให้ได้ลิ้มลอง มีความโดดเด่นคือการผสมผสานเครื่องเทศ และสมุนไพรของอินเดีย อิ่มอร่อยได้ทุกวันในบุฟเฟต์มื้อเย็น 890 บาท/ท่าน โทร. 0-2216-3700 ต่อ 20100

2. ห้องอาหารคาเฟ่ จี โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพฯ เชิญมาพบกับเชฟ ชาติ อาเทฟ ซาพ เป็นเชฟอาหารตะวันออกกลางรับเชิญที่บินตรงมาจากประเทศคูเวต เพื่อมารังสรรค์หลากหลายเมนูสไตล์เลบานิส แบบต้นรำรับ เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสลิ้มลอง โทร. 0-2656-0360

3. ห้องอาหารเบนิฮาน่า โรงแรมแมริออท รีสอร์ท แอนด์สปา กรุงเทพฯ ชวนมาลิ้มลองโปรโมชั่นสุดพิเศษกับ มากิ โมโน แมดเนส ให้เลือกเต็มอิ่มกับขบวนเมนูข้าวห่อสาหร่ายหลากหลายไส้รสเลิศ อาทิ ข้าวห่อสาหร่ายสอดไส้กุ้งตัวโต ข้าวห่อสาหร่ายสอดไส้ปลาแซลมอนรมควันกับมะขื่อเทศตากแห้งข้าวห่อสาหร่ายสอด ไส้ตับห่าน และปูอัด ฯลฯ โทร. 0-2476-0022 ต่อ 1416

4. เปลี่ยนจากอาหารคาว มากินอาหารหวานกันบ้าง ซึ่งที่ห้อง บอง บอง โรงแรม แกรนด์ สุขุมวิท โซฟิเทล (สุขุมวิท6) เค้กผลไม้หลากกหลายรสชาติมาให้ลิ้มลองแบบไม่จำกัด อาทิ ฟองดูว์ผลไม้นานาชนิด, เชอรี่ทาร์ต, บลูเบอร์รี่ชีสเค้ก, กีวีมูสหวานหอม ไอศกรีมผลไม้นานาชนิด อาทิ มะม่วง, สตอเบอร์รี่, บอยเซ็นเบอรรี่ พร้อมปิดท้ายด้วย ฟรุ๊ตพันช์ หรือ ฟรุ๊ตสมู๊ตตี้ ฯลฯ โทร. 0-2207-9999 ต่อ 5611

5. ปิดท้ายกับของหวานอย่างเบเกอรี่ กันที่บุหงาตันหยง เบเกอรี่ โรงแรม เดอะแกรนด์ อยุธยา บางกอก นำเสนอลำไยหอมชื่นคอ ผสานชีสนุ่มละมุน เติมแต่งด้วยนานาผลไม้ปรุงแต่งความมหัศจรรย์ของเค้กที่เหมาะกับทุกโอกาส คัดสรร และนำเสนอ มาพร้อมๆกับ ขนมปังธัญพืชหลากชนิด เพื่อสุขภาพ และความอร่อยลิ้น.....
ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซีย
มีชื่อไทยที่สง่างามว่า ชบา ครับ แต่ก่อนบ้านแมคก็มีนะครับ แต่ทำรั้วบ้านใหม่เลยต้องจำใจตัดเค้าทิ้งไป เสียดายมากๆ เวลาเค้าบานเค้าจะสง่างามมากๆครับ ถึงแม้ว่าจะไม่มีกลิ่นก็ตาม ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย ครับ ชบา และ พู่ระหง ก็เป็นไม้มงคลอีกชนิดครับ เชื่อกันว่าจะช่วย ส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างามดั่งพู่ระหงแก่ผู้อยู่อาศัยครับ ทิศเหมาะสมคือตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ใครปลูกก็ได้ครับ แต่ควรปลูกวันพุธจ้า
 
 
ชุดประจำชาติ
ชุดประจำชาติมาเลเซีย ชาย
ผ้าซิ่น หรือ ซิ่น เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทั้งขนาด การนุ่ง และลวดลายบนผืนผ้า
ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณ การทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่างๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง
ผ้าซิ่นของไทยมักจะแบ่งได้เป็นสองลักษณะ อย่างแรกคือ ผ้าซิ่นสำหรับใช้ทั่วไป มักจะไม่มีลวดลาย ทอด้วยผ้าฝ้าย หรือด้ายโรงงาน (ในสมัยหลัง) อาจใส่ลวดลายบ้างเล็กๆ น้อยๆ ในเนื้อผ้า อีกอย่างหนึ่ง คือผ้าซิ่นสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ มักจะทอด้วยความประณีตเป็นพิเศษ มีการใส่ลวดลาย สีสันงดงาม และใช้เวลาทอนานนับแรมเดือน
ขนาดและลักษณะของผ้าซิ่นนั้น ขึ้นกับฝีมือ รสนิยม ขนบการทอในแต่ละท้องถิ่น และยังขึ้นกับขนาดของกี่ทอด้วย การทอผ้าด้วยกี่หน้าแคบ จะได้ผ้าที่แคบ ผ้าซิ่นสำหรับใช้จริงจึงต้องนำมาต่อเป็นผืนให้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม ผ้าซิ่นในปัจจุบันจะทอด้วยกี่หน้ากว้าง ไม่ต้องต่อผืนอย่างในสมัยโบราณอีกต่อไป
ชุดประจำชาติหญิงมาเลเซีย
เครื่องแต่งกายประจำชาติของสาวมาเลย์ (สาวมาเลย์หมายถึง หญิงมาเลเซียนที่เป็นมุสลิมค่ะ) ที่เป็นชุดยาว แขนยาว กระโปรงยาวกรอมเท้า (ถ้าเคร่งจัดต้องใส่ถุงเท้าด้วย) และต้องคลุมผมมิดชิด (คนใกล้ตัวบอกว่า เป็นความเชื่อทางศาสนาที่ว่า ห้ามผมของหญิงสาวต้องแสงแดด - แต่ไม่ยักกะบอกเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นเช่นนั้น) ชุดประจำชาติแบบนี้ เรียกว่าชุด tudung

ขอบคุณมากครับ
http://www.thaigoodview.com/blog/101501

ชอบค่ะขอบคุณค้าาาาาาาาาSmile

ดีจังค่ะทำให้หนูทำรายงานได้(ดีมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก)Laughing

อยากทราบว่าแล้ว ASEAN (Association of Southeast Asian Nations)มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับประเทศมาเลเซีย เช่น ทางด้าน เศษฐกิจ การรักษาความปลอดภัย (security)และความสัมพันกันทางด้านวัฒนธรรมภายในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกัน และในทั้งสามด้านนี้ประเทศมาเลเซียคาดหวังอะไรจากอาเซียน
ในฐานะที่พี่เป็นคนเขียนเรื่องนี้ จะได้ใหมค่ะถ้าพี่ช่วยอธิบายให้กระจ่างเกี่ยวกับส่วนที่เกี่ยวข้องด้านบนอ่ะค่ะ ข้องจัยมากกกกกก
ขอบคุณพี่สุดหล่อและคนเก่งมากกกกกค่ะ
รอรายละเอียดอยู่น่ะค่ะ

รูปภาพของ pnp31868

วะ วะ วะ วะ  ว๊าวววววววววววววววววว

= =a อ่อยย เหนื่อยจังคับ

ทำาทั้งวันเลยง่ะ ทำตั้งแต่เก้าโมง ตอนนี้ บ่ายสามจะครึ่งละยังไม่ถึงไหนเรยย

แต่มันส์ดี!!!Yell 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 166 คน กำลังออนไลน์

                       


Warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('', 'node/70275', '', '3.83.81.42', 0, '0719e6d2ae27c960b4fed9c4e4d61b07', 14, 1711671840) in /home/tgv/htdocs/includes/database.mysql.inc on line 135