อิทธิพลของสภาพภูมิศาสตร์ท่ีทำให้เกิดปัญหาและภัยพิบัติทางธรรมชาติ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1อิทธิพลของสภาพภูมิศาสตร์ที่ทำให้เกิดปัญหา และภัยพิบัติทางธรรมชาติ

 ภูมิศาสตร์      เป็นเรื่องราวการบรรยายหรือพรรณาเกี่ยวกับโลก ในปี ค.ศ. 1950 คณะกรรมการอภิธานศัพท์ภูมิศาสตร์ของอังกฤษ ได้ให้ความหมายภูมิศาสตร์ว่า เป็นศาสตร์ที่บรรยายเกี่ยวกับเปลือกโลก ในแง่ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์  ของพื้นที่ต่าง ๆ พจนานุกรมอเมริกันได้กล่าวว่า ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์เกี่ยวกับความแตกต่างของพื้นผิวโลกในแง่ของ ลักษณะเด่น การกำหนดและความสัมพันธ์ระหว่างสารประกอบของโลก พจนานุกรมอังกฤษ-ไทยได้ให้ความหมาย ภูมิศาสตร์ ไว้ว่า  เป็นศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม  

ภูมิศาสตร์จึงเป็นศาสตร์มีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมิติสัมพันธ์ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ   

   1. ภูมิศาสตร์กายภาพ

2. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค

     1. ภูมิศาสตร์กายภาพ  (Physical Geography)

เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทางกายภาพของมนุษย์และความสัมพันธ์ของมัน เนื้อหาของวิชาจึงคาบเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพหลายวิชาที่สำคัญ ได้แก่ วิชา อุตุนิยมวิทยา อากาศวิทยา สมุทรศาสตร์ ธรณีวิทยา ปฐพีวิทยา นิเวศน์วิทยาของพืช และธรณีสัณฐานวิทยา แต่วิชาภูมิศาสตร์กายภาพมิได้เป็นเพียงการนำเอาเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพสาขาต่าง ๆ มารวมกันเท่านั้น แต่ได้นำเอาเนื้อหาเหล่านี้มาผสมผสานกันในแง่ที่เป็นสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์กายภาพเน้นความสัมพันธ์ทางพื้นที่ นั่นคือ เน้นการกระจายบนพื้นผิวโลกหรือที่เรียกว่า รูปแบบทางภูมิศาสตร์ (geographic pattern) ของสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากปฏิกิริยาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของธรรมชาติในบริเวณต่างๆ บนพื้นผิวโลก การศึกษารูปแบบทางภูมิศาสตร์ของสภาพแวดล้อมนี้ จะเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นแก่นของระบบสภาพแวดล้อมของโลก โครงสร้างและระบบกลไกการทำงานอันเป็นพื้นฐานของธรรมชาติมักถูกลืม ในยุคที่มนุษย์ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมอย่างหนักเช่นในปัจจุบัน ความเข้าใจโครงสร้างของสภาพแวดล้อมอย่างกว้างๆ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกลไกการทำงานของขบวนการต่างๆในสภาพแวดล้อมจึงเป็นประโยชน์อย่างมาก ได้แก่ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ

สภาพทางภูมิศาสตร์ที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติ        

    จากเอกสาร การลดความเสี่ยงจากธรณีพิบัติภัย คลื่นยักษ์สึนามิ ของกรมทรัพยากรธรณีได้นำเสนอเกี่ยวกับสึนามิ ไว้ดังนี้

 

                1.ความหมายของคำว่าสึนามิ สึนามิ (Tsunami) คือ คลื่นยักษ์ คำว่า สึนามิ เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า คลื่นท่าเรือ แต่ส่วนใหญ่ คำว่า สึนามิจะถูกนำไปใช้ในความหมายในทางอ้อม คือ คลื่นขนาดใหญ่ หรือคลื่นยักษ์ สึนามิ เป็นคลื่นยักษ์ใต้น้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทร ที่มีระดับความรุนแรงสูง มักเกิดขึ้นบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว เช่น พื้นที่รอบ ๆ มหาสมุทรแปซิฟิก ที่เรียกกันว่า วงแหวนไฟ คลื่นยักษ์สึนามินั้นมีความยาวคลื่นหรือระยะระหว่างสันคลื่นยาวมาก ในระหว่างที่คลื่นยักษ์สึกนามิ เคลื่อนที่อยู่ในมหาสมุทรช่วงที่เป็นทะเลลึก คลื่นจะมีลักษณะเป็นคลื่นใต้น้ำ ที่เป็นเพียงระลอกคลื่นสูงราว 30 เซนติเมตร ถึง 1 เมตรเท่านั้น บางครั้งผู้ที่อยู่บนเรือเดินสมุทรอาจไม่รู้สึกหรือสังเกตถึงการเคลื่อนตัวของคลื่นยักษ์ได้ แต่เมื่อคลื่นยักษ์สึนามิ เคลื่อนที่เข้าหาฝั่งสู่เขตน้ำตื้น คลื่นจะเคลื่อนที่ช้าลง ในขณะที่ความสูงของยอดคลื่นกลับยิ่งทวีสูงขึ้น และมีพลังทำลายล้างสูงมาก

  

             2. สาเหตุการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่

 

- แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิส่วนใหญ่ มักเกิดจากแผ่นดินไหว ที่มีความรุนแรงมากกว่า 7.5 ริคเตอร์ ที่สามารถ เปลี่ยนแปลง โครงสร้างพื้นท้องทะเล และสร้างคลื่นน้ำที่มีพลัง สามารถเคลื่อนที่ไปไกล หลายพันกิโลเมตร โดยปกติ แผ่นดินไหวที่ก่อให้เกิด คลื่นยักษ์สึนามินั้น มักเป็นรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (Thrust Fault) ในบริเวณ รอยต่อแผ่นเปลือกโลก

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 255 คน กำลังออนไลน์