โครงงานประดิษฐ์ตุ๊กตาเปเปอร์มาเช่จากเศษวัสดุ

รูปภาพของ padpreenarat

ตอนที่ 1  ความหมายของเปเปอร์มาเช่ความหมายตามสารานุกรมเปเปอร์มาเช่  คือ การนำเอากระดาษเหลือใช้มาผสมกับกาวหรือทากาวเพื่อทำให้เป็นรูปแบบต่างๆ ส่วนมากจะมีการลงสีและทาแลคเกอร์ทับลงไปด้วยเปเปอร์มาเช่   มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชียและต่อมาได้แพร่หลายในทวีปยุโรปส่วนใหญ่จะทำเป็นของเล่น  หน้ากาก  ถาด   และส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์            เปเปอร์มาเช่  ทำได้โดยการทากาวบนเศษกระดาษ เปเปอร์มาเช่ในความหมายอื่นๆเปเปอร์มาเช่  หมายถึง  การขึ้นรูปที่สร้างขึ้นจากวัสดุประเภทกระดาษ โดยวิธีการเปลี่ยนรูปจากวัสดุ 2 มิติ ให้เป็น 3 มิติ  เปเปอร์มาเช่เป็นการนำเศษกระดาษมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ทากาวปิดทับกันเป็นชั้นๆ หรือการนำกระดาษมาบดละเอียดแล้ว ผสมกาว ปั้นขึ้นรูป

เปเปอร์มาเช่จากเศษหนังสือพิมพ์  

             เศษหนังสือพิมพ์ที่ทิ้งแล้ว  สามารถนำมารังสรรค์ปั้นแต่ง เป็นชิ้นงานที่มีราคาขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก  ลงทุนไม่มาก  ไม่น่าเชื่อว่าชิ้นงานตุ๊กตา งานปั้นตัวสัตว์เหล่านี้ประดิษฐ์มาจากเศษวัสดุ หนังสือพิมพ์เป็นสินค้าที่ไม่มีค่า นักเรียนคงเคยเห็นหมูออมสินกระดาษหรืออาจเป็นม้ากระดาษที่เด็กๆ สามารถขึ้นไปขี่ได้  ตุ๊กตาหรืออื่นๆ ปัจจุบันมีผู้ทำงานเหล่านี้น้อยลง งานประดิษฐ์จากกระดาษที่มีขายในขณะนี้จะเป็นงานเปเปอร์มาเช่  การนำกระดาษแข็งมาประกอบเป็นกล่องหรืออาจเป็นรูปแบบอื่นๆ มีการทาสี ตกแต่งลวดลายต่างๆให้ดูเก๋ก็สามารถนำออกขายทำรายได้   เป็นงานที่ทำได้ไม่ยากวัสดุที่ใช้ก็หาง่าย ราคาถูกก็คือหนังสือพิมพ์เก่า ซึ่งวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้มีดังนี้1.          กระดาษกาวใช้เป็นตัวยึดเกาะชิ้นงานเข้าด้วยกัน2.          แม่แบบที่ต้องการทำหรือโครงสร้างชิ้นงานเปเปอร์มาเช่มีหลายแบบ  เช่น แบบที่หล่อจากปูนพลาสเตอร์ แบบจากโครงลวด แบบจากโครงสร้างจากเศษวัสดุ3.          มีดคัตเตอร์ใช้ตัดกระดาษแล้วแต่จะใช้ขนาดใดขึ้นอยู่กับการใช้งาน4.          แลคเกอร์หรือสีต่างๆ  สำหรับทาตกแต่ง  มีหลายประเภท  เช่น สีโปสเตอร์  สีน้ำ    สีน้ำมัน ทาสีเรียบร้อยก็ใช้แลคเกอร์/ยูรีเทน ทาเคลือบชิ้นงานเพื่อให้มันวาวเพิ่มความสวยงามและแข็งแรง 5.          กรรไกรใช้ตัดกระดาษวัสดุ/อุปกรณ์ 1.หนังสือพิมพ์เก่า2.กาว / แป้งเปียก3.กระดาษกาว

              4.มีดคัตเตอร์

             5.กรรไกร             6.สี / แลคเกอร์

 

 โครงเสริมด้านใน          งานปะติดขึ้นรูปที่ต้องการความแข็งแรง ต้องใช้โครงเสริมด้านใน ส่วนมากจะใช้            กระดาษแข็ง แกนกระดาษ กล่องกระดาษและขวดพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วมาเป็นแกน               การใช้วัสดุรีไซเคิลมาเป็นโครงเสริมด้านใน เป็นแนวคิดเชิงอนุรักษ์ ช่วยลดขยะและเพิ่มคุณค่าของที่ไม่ได้ใช้แล้ว นำกลับมาใช้ให้เป็นประโยชน์         เช่นการนำกระดาษกล่องกระดาษ  กระป๋อง ขวดพลาสติกนำมาติดรวมกันด้วยกระดาษกาว ให้เป็นรูปร่างใกล้เคียงกับแบบที่ต้องการ แล้วจึงใช้เศษกระดาษทากาว   ปิดทับ หรือปั้นพอกด้วยเยื่อกระดาษผสมกาว                                            โครงลวด

คือการนำลวดขนาดกลางที่มีความแข็งแรงมาดัดเป็นโครง ให้มีรูปร่างใกล้เคียงกับชิ้นงานที่ต้องการ เช่นเดียวกับโครงลวดที่ใช้กับต้นตะโก หรือต้นข่อยดัดเป็นรูปสัตว์ต่างๆ หรือใช้ลวดตาข่ายตัดม้วนเป็นโครงพันด้วยลวด นำกระดาษทากาวมาปิดทับจนรอบทากาวทับที่กระดาษอีกครั้งแล้วจึงปั้นพอกด้วยเยื้อกระดาษผสมกาว                                         การปั้นต้นแบบด้วยดินน้ำมันการปั้นต้นแบบถ้าเป็นงานชิ้นเล็กจะใช้ปั้นด้วยดินน้ำมันถ้าเป็นชิ้นใหญ่จะปั้นด้วยดินเหนียว   ดินที่ทำขายในท้องตลาดจะมีหลายสีเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กๆ เมื่อจะทำงานปั้นแบบ ควรนำมาผสมและนวดให้เข้ากันจนเป็นสีน้ำตาลเทา คล้ายสีของดินเหนียว เพื่อลดแสงสะท้อนที่ไม่เท่ากันของแสงเงา ทำให้ปั้นง่ายขึ้น 

            

ภาพแสดงการนำดินน้ำมันมาขึ้นรูปตามแบบที่ต้องการ

                         แม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ จะต่างกับแบบพิมพ์ที่ทำเปเปอร์มาเช่ทั่วไปคือจะเป็นแบบเน้นรายละเอียดด้าน นอกที่ต้องการความคมชัด ทำให้มีปัญหาเรื่องการถอดแบบเพราะต้องรอให้อยู่ตัวและแห้งเสียก่อนจึงจะผ่าต้นแบบออกมา ทำให้เสียเวลา เปเปอร์มาเช่จากเยื่อกระดาษ 1. นำกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษพิมพ์ดีดที่ไม่ใช้แล้วมาฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ แช่น้ำทิ้งไว้ข้ามคืน (ใส่น้ำยาฟอกขาว 1 ช้อน ถ้าต้องการกัดสีให้ขาว)2. ใส่น้ำ 2 ลิตรลงในหม้อ ตั้งไฟ นำกระดาษในข้อที่1 มาบีบน้ำออกใส่ลงไปต้มเพื่อให้ใยกระดาษแยกจากกัน นำไปบดให้ละเอียดด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้ แล้วบีบเอาน้ำออกให้หมาดๆ3. นำกระดาษที่ได้มาใส่อ่างผสม ใส่กาวลาเท็กซ์ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันลินสีด 1 ช้อนโต๊ะ นวดให้เข้ากัน โรยด้วยแป้งมัน 2 ช้อนโต๊ะ นวด ขยำ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จึงนำไปใช้งาน          การนำกระดาษมาบดเพื่อใช้เป็นวัสดุขึ้นรูป  นำกระดาษหนังสือพิมพ์มาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 2.5 ตารางเซนติเมตร  แล้วนำไปใส่ในชามอ่างขนาดใหญ่ เติมน้ำและแช่ทิ้งไว้ 6 - 8 ชั่วโมง จากนั้นนำกระดาษไปต้มให้เดือดประมาณ 20 นาที รอให้เย็นลงแล้วกรองเอาแต่เนื้อกระดาษบีบน้ำออกให้เหลือเพียงหมาด ๆ เทกาวลงไปคลุกผสมให้เข้ากัน ถ้าใส่ไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิด เช่น ถุงพลาสติกมัดปากถุงให้แน่นหรือใส่กล่องที่มีฝาปิดมิดชิดจะเก็บไว้ได้นาน เราสามารถนำมาใช้ปั้นเป็นรูปสัตว์ต่างๆ หรือปั้นตามแบบที่ต้องการได้ 

 ภาพแสดงการนำกระดาษขนาดประมาณ 2.5 ตารางเซนติเมตรมาแช่น้ำจนเปื่อยและนำมาบดละเอียดเพื่อไว้ใช้ในการขึ้นรูป

การปั้นขึ้นรูป เหมือนกับการปั้นด้วยดินเหนียว แต่จะยากกว่าเพราะมีเนื้อหยาบ เหนียวติดมือ จึงต้องค่อยๆ ปั้นพอกทีละน้อย ทิ้งให้แห้งแล้วจึงพอกทับเป็นชั้นๆ แต่เมื่อแห้งแล้วจะแข็งแรง มีน้ำหนักเบา ทนทานไม่เปราะแตกหักง่ายอย่างดินเหนียว          

   

 การทำแบบพิมพ์โดยใช้กระดาษแบบง่ายๆ เทคนิคที่ประหยัดและทำได้ง่ายๆ ในการทำแบบพิมพ์จากกระดาษซึ่งควรเป็นกระดาษที่มีความหนาพอสมควรเช่น กระดาษการ์ด เมื่อเราร่างแบบลงบนกระดาษเรียบร้อยแล้วก็นำมาตัดออกและประกอบกันโดยใช้เทปกระดาษ (ดังรูป)ภาพแสดงการทำแบบพิมพ์จากกระดาษแข็ง

   
 
 เทคนิคการตัด                 การใช้มีดคัตเตอร์ตัดควรทำบนโต๊ะที่มีผิวเรียบ ไม่มีร่องหลุมหรือหัวตะปูให้สะดุด มีความมั่นคงและควรมีแผ่นรองตัดรองอยู่ด้านล่าง ในการกรีด ตัดควรทำการกรีดนำร่องไปก่อนแล้วจึงกรีดซ้ำรอยเดิมให้กระดาษขาดออกจากกันอีกครั้ง ถ้าเป็นการกรีดเส้นตรงควรใช้ไม้บรรทัด    

                

 



การนำกระดาษมาปิดเป็นชั้นๆ เพื่อขึ้นรูปการทำเปเปอร์มาเช่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ เป็นการนำกระดาษมาตัดหรือฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ทากาวและปิดลงบนแบบ จากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งแล้วปิดชั้นต่อไป ในการปิดกระดาษในชั้นแรกควรทากาวบางๆ และในทุก ๆ ชั้นควรวางกระดาษในแนวเดียวกันเพื่อความแข็งแรง หากใช้กระดาษที่มีสีหรือลวดลายแตกต่างกันในแต่ละชั้นก็จะช่วยให้เราแยกความแตกต่างออกอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เราปิดกระดาษได้ทั่วถึงไม่ขาดตกที่ใดที่หนึ่ง ตามซอกมุมที่นิ้วมือไม่สามารถเข้าถึงอาจใช้ใบมีดช่วยในการกดกระดาษให้แนบกับแบบได้ 

 
 ภาพแสดงการนำกระดาษมาตัดออกเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กยาว ทากาวและปิดลงบนแบบที่เตรียมไว้

   การนำแบบออกจากแม่พิมพ์กรณีที่เราใช้ดินน้ำมันหรือวัสดุใด ๆ มาขึ้นเป็นแบบ เมื่อนำชิ้นกระดาษมาปิดจนมีความหนาพอแล้วต้องการจะแกะแบบออกจากแม่พิมพ์ ถ้าไม่สามารถถอดออกตรงๆ ได้ ให้ผ่าต้นแบบ ถอดเอาดินน้ำมันหรือวัสดุขึ้นรูปออกจากพิมพ์ เสร็จแล้วตัดตกแต่งขอบให้เรียบร้อย ทากาวตามขอบและนำมาประกบติดกันด้วยเทปกาวแล้วจึงปิดทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ทากาวอีกสองหรือสามชั้นจึงจะทำการเตรียมผิวเพื่อตกแต่งด้วยสีต่างๆ

 
 
  ภาพแสดงการผ่าต้นแบบออกจากแม่พิมพ์เพื่อนำดินน้ำมันออก

ที่อยู่ภายในออกและนำมาประกบเข้าด้วยกัน

 



      การแต่งผิว และทาสี    ชิ้นงานที่ปั้นและแห้งแล้ว สามารถนำมาตัดแต่งด้วยคัตเตอร์และขัดให้เรียบด้วยกระดาษทรายเพื่อให้ผิวเรียบ ก่อนนำไปทาสีพลาสติกรองพื้น ตากให้แห้ง แล้วจึงทาสีทับด้วยสีน้ำมันหรือสีอะคริลิกให้มีสีสัน สดใส สวยงาม ถ้าใช้สีพลาสติกต้องทิ้งให้แห้งสนิทจึงเคลือบเงาด้วยยูรีเทน การขัด การพอก และการรองพื้นเมื่อเราทำงานจนได้เป็นรูปร่างมาเรียบร้อยแล้ว  งานต่อไปก็จะต้องทำการลงสี แต่ก่อนจะลงสีจำเป็นต้องมีการเตรียมผิวงานให้เรียบร้อยก่อน สีที่ได้จึงจะดูสวยงาม ชิ้นงานดูดี เราควรใช้กระดาษทรายค่อยๆ ขัดบริเวณที่มีเสี้ยนหรือบริเวณที่มีพื้นผิวไม่เรียบ  ตะไบเล็บอันเล็กๆเป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพ จะใช้ในบริเวณที่เป็นมุมเล็กๆ แคบๆที่กระดาษทรายเข้าไม่ถึง ส่วนบริเวณที่เป็นรอยบุ๋มลึกอาจใช้ขี้เลื่อยที่ได้จากการเลื่อยไม้มาผสมกาว คนให้เข้ากันทาลงบริเวณที่เป็นรอยบุ๋มลึก  รอให้แห้งและแต่งด้วยกระดาษทรายอีกครั้ง 

  
การพอกเพื่อตกแต่งส่วนที่ยังไม่เรียบร้อยก่อนการขัดด้วยกระดาษทรายอีกครั้งและทาสีรองพื้น

 หลังจากขัด พอกตกแต่งผิวและรอจนแห้ง ขัดด้วยกระดาษทรายจนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต้องการให้สีสวยควรลงสีรองพื้นก่อนที่จะลงสีและลวดลายต่าง ๆ จริง ทั้งนี้กระดาษที่ปิดอยู่ชั้นนอกสุดควรจะเป็นกระดาษสีขาวที่ไม่มีลวดลายใด ๆ

สีที่ใช้ในงานเปเปอร์มาเช่

  



 

การทาสีไม่เพียงทำให้ชิ้นงานสวยงามน่าสนใจขึ้นเท่านั้น  ยังเป็นการช่วยป้องกันและช่วยยืดอายุของวัตถุให้มีอายุยืนยาวขึ้น  เช่น  ไม่ทำให้ไม้ผุ  เหล็กไม่เป็นสนิม  นอกจากนั้นสียังช่วยในแง่ของจิตวิทยา  เช่น  ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่น  ทำให้เกิดความเครียด   สีถูกนำไปใช้ในงานแสดงสัญลักษณ์ ต่างๆ เช่น แสดงพื้นที่อนุรักษ์  แสดงพื้นที่อันตราย  แสดงทิศทางการจราจร แสดงประเภทของถังขยะ เช่นขยะ รีไซเคิล  ขยะมีพิษ และแสดงรหัสสินค้าต่างๆ ทฤษฏีสีเบื้องต้น                สีต่าง ๆที่เรามองเห็นกันอยู่เกิดมาจากแม่สีเพียง  3  สีคือสีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง  ซึ่ง       ทั้ง  3  สีนี้จัดเป็นสีขั้นที่  1                สีขั้นที่  2 เกิดจากการนำเอาแม่สีขั้นที่ 1หรือแม่สีมาผสมกันในอัตราส่วน 1:1 ซึ่งจะทำให้เกิดสีเพิ่มขึ้นอีก  3  สีคือ                -  สีแดง  ผสมกับ  สีเหลือง  ได้เป็น  สีส้ม                -  สีน้ำเงิน ผสมกับ สีเหลือง ได้เป็น  สีเขียว                -  สีแดง  ผสมกับ  สีน้ำเงิน    ได้เป็น  สีม่วง                และสีขั้นที่  3 เกิดจากการนำเอาสีขั้นที่  1  มาผสมกับสีขั้นที่  2  ในอัตราส่วน  1 : 1  หรือเอาสีขั้นที่ 1 มาผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วน  1 : 3  ซึ่งก็จะได้สีเพิ่มขึ้นอีก  6 สีคือ                -     สีส้ม  ผสมกับ  สีเหลือง  ได้เป็น  สีส้มอ่อน-          สีเขียว    ผสมกับ สีเหลือง  ได้เป็น  สีเขียวอ่อน-          สีม่วง     ผสมกับ  สีแดง     ได้เป็น  สีม่วงอ่อน-          สีเขียว   ผสมกับสีน้ำเงิน   ได้เป็น   สีม่วงแก่-          สีส้ม     ผสมกับ  สีแดง     ได้เป็น  สีส้มแก่-          สีม่วง    ผสมกับ  สีน้ำเงิน  ได้เป็น สีเขียวแก่    

 

  ตัวทำละลาย ( Solvent)  ตัวทำละลายเป็นของเหลวที่ใส่ลงไปในเนื้อสีเพื่อทำให้ไบเดอร์และผงสีมีส่วนผสมที่มีความข้นเหลวพอเหมาะตามต้องการ  ซึ่งเมื่อเรานำเนื้อสีที่ผสมได้ความข้นเหลวพอเหมาะแล้วไปทาหรือพ่น  ตัวทำละลายนี้จะค่อย ๆ ระเหยออกไป  สารตัวทำละลายมีอยู่หลายชนิด  เช่น-  น้ำสะอาด  น้ำเป็นตัวทำละลายในสีน้ำพลาสติกหรืออิมัลชัน  ซึ่งใช้สำหรับทาอาคารที่เป็นผนังปูน            -  น้ำมันสน( Turpentine)  น้ำมันสนกลั่นมาจากยางของต้นสนหรืออาจกลั่นมาจากขี้เลื่อย  ใช้เป็นตัวทำละลายในสีน้ำมัน  ทำให้สีน้ำมันทาได้ง่าย  แทรกซึมเข้าไปในพื้นผิวของวัตถุได้ดี  สีที่ทาจะไม่แห้งเร็วเกินไปและเมื่อแห้งสีน้ำมันที่ทาจะเป็นสีด้าน  ไม่มีความเงาหรือมัน  สีน้ำมันเหมาะสำหรับทาวัตถุประเภทไม้หรือเหล็ก-  ทินเนอร์  (Thinner )  ใช้เป็นตัวทำละลายในสีน้ำมัน  ทำให้สีน้ำมันทาได้ง่าย  แทรกซึมเข้าไปในเนื้อผิววัตถุได้ดี  สีที่ทาจะแห้งเร็ว  เมื่อแห้งสีน้ำมันที่ทาจะมีความมันหรือเงา  สีน้ำมันเหมาะสำหรับทาวัตถุประเภทไม้หรือเหล็ก  นอกจากนั้นทินเนอร์ยังใช้เป็นตัวทำละลายในแลกเกอร์  แลกเกอร์เป็นน้ำมันใสชนิดหนึ่งที่ใช้ทาหรือพ่นเคลือบผิวไม้เพื่อให้เกิดความมันเงา                -  แอลกอฮอล์  ( Alcohol) ใช้เป็นตัวทำละลายให้กับแชลแลก    แชลแลกมีลักษณะเป็นเกล็ดแผ่นเล็ก ๆใส ๆ  มีสีเหลืองหรือแดง ทำมาจากครั่ง ก่อนใช้งานให้นำแชลแลกมาผสมกับแอลกอฮอล์ คนให้เข้ากันแล้วแช่ทิ้งไว้หนึ่งคืนจนเกล็ดแชลแลกละลายหมด  และก่อนนำไปใช้ให้คนให้เข้ากันอีกครั้งหนึ่ง  แชลแลกใช้สำหรับทาผิวไม้ จะช่วยให้ผิวด้านไม่เงา                -  น้ำมันชักแห้ง ( Oil drier) น้ำมันชักแห้งทำมาจากส่วนผสมของตะกั่ว  แมงกานีส  น้ำมันลินซีด  ยาง  และน้ำมันสน  ใช้เป็นตัวทำละลายในน้ำมันวานิช  โดยที่น้ำมันวานิชจะเป็นน้ำมันโปร่งใส  ทำมาจากยางของต้นไม้   วานิชในประเทศญี่ปุ่นและจีนนิยมใช้ทาเคลือบผิวไม้ในงานเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ผิววัตถุที่เคลือบด้วยน้ำมันวานิชจะแข็งและมันเงา  น้ำมันชักแห้งจะช่วยทำให้น้ำมันวานิชแห้งเร็วเพื่อป้องกันฝุ่นและแมลงมาเกาะติด                -  สารเติมแต่ง  ( Additive)  เป็นสารเสริมพิเศษเพื่อช่วยให้คุณภาพของสีได้มาตรฐานหรือให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ เช่น ต้องการให้แห้งเร็ว  สารป้องกันเชื้อรา  สารป้องกันการบูด  สารทนไฟ  สารป้องกันสนิม  สารป้องกันความชื้น  สารลดการแตกร้าวของผิวสี  เป็นต้น 

 

เทคนิคการเตรียมการก่อนทาสีการทาสีใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำหรือสีน้ำมัน  สีที่ทาไปแล้วนั้นจะมีความคงทนได้ยาวนานที่สุดหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับขั้นตอนการเตรียมการเป็นสำคัญ  ตามรายละเอียดดังนี้1.  การเตรียมพื้นผิวที่จะทาสี  พื้นผิวที่จะทาจะต้องแห้งและสะอาด  ปราศจากฝุ่น  สนิม  หรือไขมันเกาะอยู่2.  การแก้ไขจุดบกพร่องบนพื้นผิว  ตรวจดูว่าผิวมีจุดบกพร่องส่วนใด  ถ้าพบจะต้องทำการแก้ไขเสียก่อน3.  การเลือกใช้สีให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม  ถ้าใกล้ทะเลก็ควรเลือกสีที่ทนต่อไอเค็มของทะเล  ถ้าใกล้โรงงานอุตสาหกรรมก็ควรเลือกใช้สีที่มีคุณสมบัติทนต่อสารเคมี4.  การเลือกใช้สีให้ถูกกับประเภทกับพื้นผิวของวัตถุ  เช่น  พื้นผิวปูนควรเลือกใช้สีน้ำพลาสติก  ผิวที่เป็นโลหะก็ควรเลือกใช้สีประเภทสีน้ำมัน 5.  การทาสีรองพื้นก่อน  จะต้องทาสีรองพื้นให้ถูกต้องตามชนิดของพื้นผิววัตถุ  สีรองพื้นจะช่วยเสริมความคงทนและป้องกันการเสื่อมสภาพของสีก่อนเวลาอันควร  อีกทั้งช่วยให้การทาสีทับหน้าประหยัดขึ้น6.  การเลือกใช้อุปกรณ์ทาสีอย่างถูกวิธี  ในบริเวณนอกอาคารที่ไม่มีผนังปิดและมีลมแรงก็ไม่ควรใช้การพ่นสีเพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองแล้วสารตะกั่วที่ปนอยู่กับเนื้อสีก็ยังเป็นพิษกับร่างกาย7.  การใช้สารเคลือบทดแทนการทาสี  ผิววัตถุใดที่ไม่ต้องการทาสีแต่ต้องการโชว์ผิวอย่างธรรมชาติ  ถ้าไม่ทาสีทับหากปล่อยไว้เวลานานก็จะเกิดเชื้อราและตะไคร่น้ำได้  วิธีป้องกันคือใช้นำยาซิลิโคนทาด้วยแปรงหรือลูกกลิ้งหรือใช้เครื่องพ่นเคลือบผิวไว้ 8.  ต้องลอกหรือขัดสีเก่าออกให้หมดก่อนทาสีใหม่          

เรามารู้จักวิธีกวนกาวหรือแป้งเปียกกันเถอะค่ะ ถ้าเราใช้จำนวนมากถ้าใช้กาวสูตรนี้จะได้ประหยัดต้นทุนในการผลิต

     แป้งเปียกแป้งเปียก  เป็นตัวยึดเกาะกระดาษ  สูตรหนึ่งจากผู้ที่มีอาชีพทำกระปุกหมูออมสินกระดาษขาย  กระปุกหมูกระดาษสีแดงสด  เมื่อมีเหรียญอยู่ภายในจะหนักการยึดเกาะของแป้งเปียกจึงต้องมีความแข็งแรงพอ  สูตรการทำแป้งเปียกมีดังนี้

สูตรการทำแป้งเปียก

 1.      แป้งมัน                              400         กรัม2.      แป้งข้าวเจ้า                     1,000         กรัม3.      สารส้ม                               100         กรัม4.      น้ำ                                          4          ลิตร 

วิธีกวนแป้ง 1.  เตรียมแป้ง   นำแป้งมันและแป้งข้าวเจ้าใส่ลงในหม้อ  เติมน้ำลงไป    คนให้เข้ากัน  แล้วพักไว้2.  ต้มน้ำ เทน้ำใส่หม้อต้มจนเดือด  ใส่สารส้มลงไป 1 ก้อน  คนให้สารส้มละลาย3.  นำส่วนผสมแป้งที่เตรียมไว้ตอนแรกตั้งไฟ  โดยใช้ไฟอ่อน ๆ  แล้วนำน้ำต้มสารส้มที่เตรียมไว้มาเทลงไปผสม  เคี่ยวไปเรื่อยๆ จนเหนียว         ใช้เวลาในการเคี่ยวประมาณ  30  นาที 

        

เทคนิคต่างๆ  ในการทำเปเปอร์มาเช่  

  ข้อควรระวังในการทำงานเครื่องมือและอุปกรณ์หลายอย่างเมื่อไม่ใช้งานควรเก็บให้มิดชิด พ้นมือเด็ก เช่น มีด กรรไกร สี วัสดุตกแต่งชิ้นเล็กๆ ที่เด็กอาจนำเข้าปากเพราะสีสวย ๆ เศษกระดาษ กาว ทุกอย่างต้องเก็บให้เรียบร้อยอย่าทิ้งไว้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย  

การวาดและการตัดกระดาษ

             ควรใช้ดินสอที่มีความเข้ม HB หรือที่มีความเข้มน้อย ๆ ใช้เพียงร่างเส้นให้เห็นเท่านั้น กรณีที่ต้องตีเส้นให้ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น วงกลมก็ใช้วงเวียน หากเป็นวงกลมขนาดเล็กอาจใช้ไม้บรรทัดที่มีรูวงกลมขนาดต่างๆ อย่าใช้เหรียญมาทาบแล้ววาด งานที่ได้อาจไม่สวยนัก ส่วนการตัดควรใช้มีดคัตเตอร์หรือกรรไกรที่คม ใบมีดที่ใช้ไปนาน ๆ ความคมเริ่มกลายเป็นความทื่อก็สามารถเก็บไว้ใช้ตัดตัวแบบได้  การนำชิ้นงานมาต่อติดกันบางกรณีเมื่อเราต้องการ จะถอดแบบกระดาษออกจากแม่พิมพ์บางครั้งถอดตรงๆ ไม่ได้ จำเป็นต้องผ่าออกเป็นสองหรือสามส่วน  เมื่อจะประกอบเข้าด้วยกันก็ทากาวตรงรอยต่อและจับประกบจากนั้นจึงปิดตรงรอยต่อด้วยกระดาษกาว    เคล็ดลับ·       พยายามฉีกกระดาษตามแนวเพื่อให้ได้ขนาดที่เท่า ๆ กัน ถ้าฉีกตามขวางจะทำให้กระดาษมีขนาดที่ไม่เท่ากัน·       เพื่อป้องกันกระดาษในแต่ละชั้นเผยอออกมา ให้ใช้กระดาษชิ้นเล็ก ๆ
ปะทับรอยต่อแทนที่จะใช้กระดาษชิ้นใหญ่ ๆ
  สรุปงานเปเปอร์มาเช่ แม้จะสร้างจากเศษกระดาษที่ไร้ค่าให้เป็นของเล่นสำหรับเด็กหรือของใช้ใกล้ตัวอย่างกล่องกระดาษทิชชู และกรอบกระจกส่องหน้าแล้ว บน              ความพอเพียงของเศรษฐกิจสมัยนี้ หากเรานำเอาเยื่อกระดาษมาสร้างงานศิลปะให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้น ใช้ทดแทนการใช้วัสดุนำเข้าจากต่างประเทศน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

เคล็ดลับนี้จะทำให้เพื่อนๆ ทำตัวชิ้นงานได้แข็งแรงมากขึ้นค่ะ

   



 

   
   
 รอการต่อเดิมภาพ  
 
   

  


 

สร้างโดย: 
ครูปรีณารัชต์ ธัญญ์ปวีณ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 214 คน กำลังออนไลน์