คำสมาส-คำสนธิ

รูปภาพของ sss27847

 

หน้าหลัก         ภาษาบาลี-สันสกฤต      ชนิดของคำ       อักษรควบกล้ำ      ชนิดของประโยค      ระดับภาษา     

 เสียงในภาษาไทย        อักษรคู่ - อักษรเดี่ยว      คำมูล - คำประสม      เสียงวรรณยุกต์      เสียงในภาษาไทย      

 คำซ้ำ - คำซ้อน      พยางค์และมาตราตัวสะกด         ไตรยางศ์           ธรรมชาติของภาษา          สรรพนาม

คำสันธาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

. คำสมาส   คือ การนำคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตมารวมกับคำบาลีสันสกฤตแล้วเกิดความหมายใหม่  แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมมีลักษณะดังนี้

๑.เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากบาลี   และสันสกฤตเท่านั้น เช่น สุขศึกษา

อักษรศาสตร์  สังคมศาสตร์  อุดมศึกษา

 

                ๒.อ่านออกเสียงสระระหว่างคำที่สมาสกัน  เช่น

                รัฐ + ศาสตร์ = รัฐศาสตร์  อ่าน        รัด – ถะ – สาด

                ภูมิ + ทัศน์   =  ภูมิทัศน์   อ่าน        พูม – มิ – ทัด

                พืช + มงคล  =  พืชมงคล อ่าน        พืด – ชะ - มง – คน

 

           ๓.แปลจากหลังมาหน้า  เช่น

                ราชโอรส              หมายถึง                ลูกชายพระราชา

                กาฬพักตร์             หมายถึง                หน้าดำ

                วรรณคดี                หมายถึง                เรื่องราวของหนังสือ

 

        ๔.พยางค์สุดท้ายของคำหน้าที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาต  (    )เมื่อนำมาสมาสให้ตัดทิ้งแล้วอ่านออกเสียง “อะ”กึ่งเสียง เช่น        

สิทธิ์ + บัตร                          เป็น        สิทธิบัตร

ไปรษณีย์ + บัตร  เป็น        ไปรษณียบัตร

สวัสดิ์ + ภาพ                       เป็น        สวัสดิภาพ

สัตว์ + ศาสตร์                      เป็น        สัตวศาสตร์

๕.คำว่า “พระ”  (แผลงมาจาก “วร”) นำหน้าคำที่มาจากบาลีสันสกฤต เช่น

พระสงฆ์               พระเนตร              พระบาท                พระราชวงศ์

หลักสังเกตคำสมาสในภาษาไทย
๑.    เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป
๒.   เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น เช่น กาฬพักตร์ ภูมิศาสตร์ ราชธรรม

        บุตรทาน อักษรศาสตร์ อรรถคดี ฯลฯ
๓.   พยางค์สุดท้ายของคำหน้า หากมีสระ อะ หรือมีตัวการันต์อยู่ ให้ยุบตัวนั้นออก   (ยกเว้นคำบางคำ    

       เช่น กิจจะลักษณะ เป็นต้น)
๔.   แปลความจากหลังมาหน้า เช่น ราชบุตร แปลว่า บุตรของพระราชา, เทวบัญชา แปลว่า คำสั่งของ

        เทวดา, ราชการ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน
๕.   ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า แม้จะไม่มีรูปสระกำกับอยู่ โดยจะใช้เสียง

        อะ อิ และ อุ (เช่น เทพบุตร) แต่บางคำก็ไม่ออกเสียง (เช่น สมัยนิยม สมุทรปราการ)
๖.   คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากบาลีสันสกฤต ก็ถือว่าเป็นคำสมาส

       (เช่น พระกร พระจันทร์)
๗.   ส่วนใหญ่จะลงท้ายว่า ศาสตร์ กรรม ภาพ ภัย ศึกษา ศิลป์ วิทยา   (เช่น ศึกษาศาสตร์ ทุกขภาพ

        จิตวิทยา)
๘.  อ่านออกเสียงระหว่างคำ เช่น

 

ประวัติศาสตร์
 อ่านว่า
 ประ – หวัด – ติ – ศาสตร์
 
นิจศีล
 อ่านว่า
 นิจ – จะ – สีน
 
ไทยธรรม
 อ่านว่า
 ไทย – ยะ – ทำ
 
อุทกศาสตร์
 อ่านว่า
 อุ – ทก – กะ – สาด
 
อรรถรส
 อ่านว่า
 อัด – ถะ – รด
 
จุลสาร
 อ่านว่า
 จุน – ละ – สาน
 

 ๙.  คำที่มีคำเหล่านี้อยู่ด้วย มักจะเป็นคำสมาส คือ การ กร กรรม คดี ธรรม บดี ภัย

ภัณฑ์    ภาพ ลักษณ์  วิทยา ศาสตร์

 

ข้อสังเกต

 1. ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด เช่น

เทพเจ้า
 (เจ้า เป็นคำไทย)
 
พระโทรน
 (ไม้ เป็นคำไทย)
 
พระโทรน
 (โทรน เป็นคำอังกฤษ)
 
บายศรี
 (บาย เป็นคำเขมร)
 

 

2.คำที่ไม่สามารถแปลความจากหลังมาหน้าได้ไม่ใช่คำสมาส เช่น

ประวัติวรรณคดี
 แปลว่า
 ประวัติของวรรณคดี
 
นายกสมาคม
 แปลว่า
 นายกของสมาคม
 
วิพากษ์วิจารณ์
 แปลว่า
 การวิพากษ์และการวิจารณ์
 
 
 
 
 

 

3. คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ของคำหน้า เช่น

ปรากฏ
 อ่านว่า
 ปรา – กด – กาน
 
สุภาพบุรุษ
 อ่านว่า
 สุ – พาบ – บุ – หรุด
 
สุพรรณบุรี
 อ่านว่า
 สุ – พรรณ – บุ – รี
 
สามัญศึกษา
 อ่านว่า
 สา – มัน – สึก – สา
 

 

        สนธิ  คือคำสมาสที่มีการเปลี่ยนแลงรูปสระ  มักนิยมทำให้เสียงกลมกลืนเข้ากับพยางค์

หลังของคำแรก

 

         หลักการสังเกตคำสนธิ

          ๑.  สระสนธิ   คือ   การเปลี่ยนแปลงรูปสระในการเข้าสนธิ   เช่น

                กุ  +  อุบาย                     =                   กุศโลบาย

                มหา  +  อรรณพ             =                  มหรรณพ

                ราช  +  อุบาย                  =                  ราโชบาย

                นร  +  อินทร์                  =                  นรินทร์

                พฤษ   +  อาคม               =                   พฤษภาคม

                อน   +   เอก                    =                   อเนก

                ราช  + โอวาท                =                  ราโชวาท

                นร +  อิศวร                    =                   นเรศวร

 

  ข้อสังเกต

             ๑)  ถ้าสระ  อิ   หรือ  อี   สนธิกับสระอื่น  เปลี่ยนสระอิหรืออี  เป็น “ย”

  แล้วจึงสนธิกับสระหลัง   เช่น

                  สามัคคี  +  อาจารย์    =        สามัคย  +  อาจารย์     =    สามัคยาจารย์

                  วัลลี  +     อาภรณ์     =        วัลย   +   อาภรณ์      =     วัลยาภรณ์

                  มาลี  +  อาภรณ์          =         มาลย  +   อาภรณ์     =     มาลยาภรณ์

                  ราชินี  + อนุสรณ์       =         ราชิย  +  อนุสรณ์     =     ราชินยานุสรณ์

ยกเว้น        หัตถี  +   อาจารย์        =     หัตถาจารย์

                  หัสดี +   อาภรณ์        =      หัสดาภรณ์

 

๒)    ถ้าสระ  อุ  หรือ  อู  สนธิกับอื่น ๆ  ให้แปลง  อุ  หรือ  อู  นั้น  เป็น  “ว”

  กับสระหลัง  เช่น

               ธนู +  อาคม            =         ธนว +   อาคม   =       ธันวาคม

               จักขุ +   อาพาธ         =           จักขว  +  อาพาธ  =    จักขวาพาธ

                คุรุ   อุปกรณ์          =             คุรว  +   อุปกรณ์  =    คุรโวปกรณ์

                เหตุ +  อน +  เอก +  อัตถ    =       เหตว  +   อเนกัตถ   =    เหตวาเนกัตถ

 

๒.    พยัญชนะสนธิ  คือ  การเชื่อมคำด้วยพยัญชนะ  มีที่ใช้ในภาษาไทยดังนี้

พรหม +    ชาติ    =          พรหมชาติ          เตชส   +     ธาตุ      =        เตโชธาตุ

 มนส   +  ภาว      =         มโนภาพ             นิส     +     ภัย       =          นิรภัย

 รหส   +ฐาน       =          รโหฐาน             ทุส       +  ชาติ       =         ทุรชาติ

 ศิรส +   เพฐน์     =          ศิโรเพฐน์           ยสส     +  ธร          =        ยโสธร

 

      ๓.  นิคหิตสนธิ  (  นฤคหิตสนธิ)  ได้แก่   สนธิที่มีการเปลี่ยนรูปนิคหิตมีหลักสังเกตดังนี้

            ๑)    ๐   +  สระ       เปลี่ยนรูปเป็น  “ม”  เช่น

              สํ  +    อาคม    =     สมาคม

              สํ  +   อาทาน   =     สมาทาน

              สํ  +   อาจาร     =     สมาจาร

              สํ  +  โอสร     =      สโมสร

              สํ  +   อิทธิ       =      สมิทธิ

        ๒)  ๐    +   พยัญชนะวรรค   เปลี่ยนรูปเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคนั้น  เช่น

               สํ  +   คม     =     สังคม

               สํ   +  กร     =      สังกร

               สํ   +  ฐาน    =      สัณฐาน   

               สํ   +  นิบาต  =     สันนิบาต

              สยํ   +  ภู       =      สยมภู    

               สํ   +  มติ      =     สมมติ

               กํ   +  นร      =       กินนร

 

        ๓)   ๐   +   เศษวรรค  เปลี่ยนรูปเป็น   “ง”

               สํ   +   สาร     =        สังสาร

               สํ   +   วร       =        สังวร

               สํ    +  หรณ์   =        สังหรณ์   

               สํ    +  สรรค์  =        สังสรรค์

               สํ     +  โยค   =         สังโยค

               สํ     +  สนทนา   =   สังสนทนา  

 

        ประโยชน์ของคำสมาส

        ๑.  เป็นความเจริญด้านภาษา  เมื่อต้องการใช้คำสละสลวยก็สร้างคำขึ้นใหม่ให้พอใช้

        ๒.  เป็นประโยชน์ในการแต่งคำประพันธ์  ประเภท  โคลง  ฉันท์  กาพย์  กลอน  เพื่อให้ได้  

  ตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์ชนิดนั้น

๓.    เพื่อให้ผู้อ่านเขียนได้ถูกต้อง  คืออ่านต่อเนื่องกัน  และเขียนได้ถูกต้องตามหลักคำสมาสที่ 

   อ่านออกเสียงสระโดยไม่ต้องประวิสรรชนีย์

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 501 คน กำลังออนไลน์