user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '3.144.88.216', 0, '7165288909a9702f5b8357f12d473fd3', 115, 1720326481) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การอ่าน

รูปภาพของ sss27847

     การอ่านจับใจความ คือ การอ่านที่มุ่งค้นหาสาระของเรื่องหรือของหนังสือแต่ละเล่มที่เป็นส่วน


ใจความสำคัญ และส่วนขยายใจความสำคัญของเรื่อง


             ใจความสำคัญของเรื่อง คือ ข้อความที่มีสาระคลุมข้อความอื่นๆ ในย่อหน้านั้นหรือเรื่องนั้นทั้งหมด


ข้อความอื่นๆ เป็นเพียงส่วนขยายใจความสำคัญเท่านั้น ข้อความหนึ่งหรือตอนหนึ่งจะมีใจความสำคัญที่สุด


เพียงหนึ่งเดียว นอกนั้นเป็นใจความรอง คำว่าใจความสำคัญนี้ ผู้รู้ได้เรียกไว้เป็นหลายอย่าง เช่น ข้อคิดสำคัญ


ของเรื่อง แก่นของเรื่อง หรือ ความคิดหลัก ของเรื่องแต่จะเป็นอย่างไรก็ตาม ใจความสำคัญก็คือ


สิ่งที่เป็นสาระที่สำคัญที่สุดของเรื่องนั่นเอง


             ใจความสำคัญส่วนมากจะมีลักษณะเป็นประโยค ซึ่งอาจปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของย่อหน้าก็ได้


             จุดที่พบใจความสำคัญของเรื่องในแต่ละย่อหน้ามากที่สุดคือ ประโยคที่อยู่ตอนต้นย่อหน้า


เพราะผู้เขียนมักบอกประเด็นสำคัญไว้ก่อน แล้วจึงขยายรายละเอียดให้ชัดเจน รองลงมาคือประโยคตอนท้ายย่อหน้า

โดยผู้เขียนจะบอกรายละเอียดหรือประเด็นย่อยก่อน แล้วจึงสรุปด้วยประโยคที่เป็นประเด็นไว้ภายหลัง

สำหรับจุดที่พบใจความสำคัญยากขึ้นก็คือ ประโยคตอนกลางย่อหน้า ซึ่งผู้อ่านจะต้องใช้ความ


สังเกตุและพิจารณาให้ดี ส่วนจุดที่หาใจความสำคัญยากที่สุดคือย่อหน้าที่ไม่มีประโยคใจความสำคัญปรากฏ


ชัดเจน อาจมีประโยค หรืออาจอยู่รวมๆกันในย่อหน้าก็ได้ ซึ่งผู้อ่านจะต้องสรุปออกมาเอง

 

 

แนวการอ่านจับใจความ


             การอ่านจับใจความให้บรรลุจุดประสงค์ มีแนวทางดังนี้


             1.ตั้งจุดมุ่งหมายในการอ่านได้ชัดเจน เช่น อ่านเพื่อหาความรู้ เพื่อความเพลิดพลิน หรือเพื่อบอก


เจตนาของผู้เขียน เพราะจะเป็นแนวทางกำหนดการอ่านได้อย่างเหมาะสม และจับใจความหรือคำตอบได้รวดเร็ว


ยิ่งขึ้น


             2.สำรวจส่วนประกอบของหนังสืออย่างคร่าวๆ เช่น ชื่อเรื่อง คำนำ สารบัญ คำชี้แจงการใช้หนังสือ


ภาคผนวก ฯลฯ เพราะส่วนประกอบของหนังสือจะทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องหรือหนังสือที่อ่านได้


กว้างขวางและรวดเร็ว


             3.ทำความเข้าใจลักษณะของหนังสือว่าประเภทใด เช่น สารคดี ตำรา บทความ ฯลฯ

ซึ่งจะช่วยให้มีแนวทางอ่านจับใจความสำคัญ ได้ง่าย


             4.ใช้ความสามารถทางภาษาในด้านการแปลความหมายของคำ ประโยค และข้อความต่างๆ


อย่างถูกต้องรวดเร็ว


             5.ใช้ประสบการณ์หรือภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านมาประกอบ

จะทำความเข้าใจและจับใจความที่อ่านได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

 

ขั้นตอนการอ่านจับใจความ


             1.อ่านผ่านๆโดยตลอด เพื่อให้รู้ว่าเรื่องที่อ่านว่าด้วยเรื่องอะไร จุดใดเป็นจุดสำคัญของเรื่อง


             2.อ่านให้ละเอียด เพื่อทำความเข้าใจอย่างชัดเจน ไม่ควรหยุดอ่านระหว่างเรื่องเพราะจะทำ


ให้ความเข้าใจไม่ติดต่อกัน


             3.อ่านซ้ำตอนที่ไม่เข้าใจ และตรวจสอบความเข้าใจบางตอนให้แน่นอนถูกต้อง


             4.เรียบเรียงใจความสำคัญของเรื่องด้วยตนเอง

 

การอ่านวิเคราะห์

ความสำคัญ
             การอ่านวิเคราะห์เป็นทักษะการอ่านในระดับที่สูงขึ้นกว่าการอ่านทั่วๆไป กล่าวคือ มิใช่เป็นเพียง


การอ่านเพื่อความรู้และความเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ยังต้องมีการวิเคราะห์สิ่งที่ผู้เขียนได้เขียนในด้านต่างๆด้วย


             ครูควรจัดให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการอ่านวิเคราะห์อย่างจริงจัง เพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้


ความคิด การตัดสินใจแก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิต

 

ความหมาย


             การอ่านเชิงวิเคราะห์เป็นการอ่านหนังสือแต่ละเล่มอย่างละเอียดให้ได้ความครบถ้วนแล้วจึงแยกแยะ


ให้ได้ว่าส่วนต่างๆนั้นมีความหมายและความสำคัญอย่างไรบ้าง แต่ละด้านสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ อย่างไร


วิธีอ่านแบบวิเคราะห์นี้ อาจใช้วิเคราะห์องค์ประกอบของคำ


และวลี การใช้คำในประโยควิเคราะห์สำนวนภาษา จุดประสงค์ของผู้แต่ง ไปจนถึงการวิเคราะห์นัย

หรือเบื้องหลังการจัดทำหนังสือหรือเอกสารนั้น


             การวิเคราะห์เรื่องที่อ่านทุกชนิด สิ่งที่จะละเลยเสียมิได้ก็คือ การพิจารณาถึงการใช้ถ้อยคำสำนวนภาษาว่า

มีความเหมาะสมกับระดับ และประเภทของงานเขียนหรือไม่ เช่น ในบทสนทนาก็ไม่ควรใช้ภาษาที่เป็นแบบแผน

ควรใช้สำนวนให้เหมาะสมกับสภาพจริงหรือเหมาะ แก่กาลสมัยที่เหตุการณ์ในหนังสือนั้นเกิดขึ้น เป็นต้น ดังนั้น

การอ่านวิเคราะห์จึงต้องใช้เวลาอ่านมาก และยิ่งมีเวลาอ่านมากก็ยิ่งมีโอกาสวิเคราะห์ ได้ดีมากขึ้น

การอ่านในระดับนี้ ต้องรู้จักตั้งคำถามและจัดระเบียบเรื่องราวที่อ่าน เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องและความคิด

ของผู้เขียนต้องการ

 

การวิเคราะห์การอ่าน


              การวิเคราะห์การอ่านประกอบด้วย


             1.รูปแบบ


             2.กลวิธีในการประพันธ์


             3.เนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง


             4.สำนวนภาษา

 

กระบวนการวิเคราะห์


             1.ดูรูปแบบของงานประพันธ์ว่าใช้รูปแบบใด อาจเป็นนิทาน บทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น


บทร้อยกรอง หรือบทควมจากหนังสือพิมพ์


             2.แยกเนื้อเรื่องออกเป็นส่วนๆ ให้เห็นว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร


             3.แยกพิจารณาแต่ละส่วนให้ละเอียดลงไปว่าประกอบกันอย่างไร หรือประกอบด้วยอะไรบ้าง


             4.พิจารณาให้เห็นว่าผู้เขียนให้กลวิธีเสนอเรื่องอย่างไร

 

การอ่านเชิงวิเคราะห์ในขั้นต่างๆ


             1.การอ่านวิเคราะห์คำ


              การอ่านวิเคราะห์คำ เป็นการอ่านเพื่อให้ผู้อ่านแยกแยะถ้อยคำในวลี ประโยค หรือข้อความต่างๆ


โดยสามารถบอกได้ว่า คำใดใช้อย่างไร ใช้อย่างไร ใช้ผิดความหมาย ผิดหน้าที่ไม่เหมาะสม ไม่ชัดเจนอย่างไร

ควรจะต้องหาทางแก้ไข ปรับปรุงอย่างไร เป็นต้น เช่น


                           1.อย่าเอาไปใช้ทับกระดาษ


                           2.ที่นี่รับอัดพระ


                           3.เขาท่องเที่ยวไปทั่วพิภพ


                           4.เจ้าอาวาสวัดนี้มรณกรรมเสียแล้ว  


             2.การอ่านวิเคราะห์ประโยค


             การอ่านวิเคราะห์ประโยค เป็นการอ่านเพื่อแยกแยะประโยคต่างๆ ว่าเป็นประโยคที่ถูกต้องชัดเจนหรือไม่

ใช้ประโยคผิดไปจาก แบบแผนของภาษาอย่างไร เป็นประโยคที่ถูกต้องสมบูรณ์เพียงใดหรือไม่

มีหน่วยความคิดในประโยคขาดเกินหรือไม่ เรียงลำดับความใน ประโยคที่ใช้ได้ถูกต้องชัดเจนหรือไม่ ใช้ฟุ่มเฟือย

โดยไม่จำเป็นหรือใช้รูปประโยคที่สื่อความหมายไม่ชัดเจนหรือไม่ เมื่อพบข้อบกพร่องต่างๆ


แล้วก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เช่น


                          1) สุขภาพของคนไทยไม่ดีส่วนใหญ่


                          2) การแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯเกิดการจลาจล


                          3) ทุกคนย่อมประสบความสำเร็จท่ามกลางความขยันหมั่นเพียร


                          4) เขามักจะเป็นหวัดในทุกครั้งที่ฝนเริ่มตก


             3.การอ่านวิเคราะห์ทัศนะของผู้แต่ง


              ผู้อ่านต้องพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบว่าผู้เขียนเสนอทัศนะมีน้ำหนักเหตุผลประกอบข้อเท็จจริง


น่าเชื่อถือเพียงใด เป็นคนมองโลกในแง่ใด เป็นต้น


             4.การอ่านวิเคราะห์รส


              การอ่านวิเคราะห์รส หมายถึง การอ่านอย่างพิจารณาถึงความซาบซึ้งประทับใจที่ได้จากการอ่าน


วิธีการที่จะทำให้เข้าถึงรสอย่างลึกซึ้ง คือการวิเคราะห์รสของเสียงและรสของภาพ


                          4.1 ด้านรสของเสียง ผู้อ่านจะรู้สึกได้ชัดจากการอ่านออกเสียงดังๆไม่ว่าจะเป็นการอ่าน


อย่างปกติหรือการอ่านทำนองเสนาะ จึงจะช่วยให้รู้สึกถึงความไพเราะของจังหวะ และความเคลื่อนไหว ซึ่งแฝงอยู่ใน


เสียง ทำให้เกิดความรู้สึกไปตามท่วงทำนองของเสียงสูงต่ำจากเนื้อเรื่องที่อ่าน


                          4.2 ด้านรสของภาพ เมื่อผู้อ่านอ่านแล้วเกิดความเข้าใจเรื่อง ในขณะเดียวกัน


ทำให้เห็นภาพด้วย เป็นการสร้างเสริมให้ผู้อ่านได้เข้าใจความหมาย การเขียนบรรยายความด้วยถ้อยคำไพเราะ

ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ก่อให้เกิดภาพขึ้นในใจผู้อ่าน ทำให้เกิดความเพลิดเพลินและเข้าใจความหมาย


ของเรื่องได้ดียิ่งขึ้น


             5.การอ่านเพื่อวิเคราะห์ขอบเขตของปัญหาและการตีความเนื้อหาของข้อความ


              การอ่านเชิงวิเคราะห์ ยังมีสิ่งที่ต้องพิจารณา คือ การวิเคราะห์ขอบเขตของปัญหา และการตีความ


เนื้อหาของหนังสือ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้


                          5.1การวิเคราะห์ขอบเขตของปัญหา มีหลักปฏิบัติดังนี้


                                       5.1.1 จัดประเภทหนังสือตามชนิดและเนื้อหา หนังสือแต่ละประเภท

 

การอ่านตีความ
การอ่านตีความ คือ การอ่านที่ผู้อ่านจะต้องใช้สติปัญญาตีความหมายของคำและข้อความทั้งหมด โดยพิจารณาถึงความหมายโดยนัย หรือความหมายแฝงที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อความหมาย ซึ่งทั้งนี้ผู้อ่านจะสามารถตีความหมายของคำสำนวนได้ถูกต้องหรือไม่นั้นจำเป็นต้องอาศัยเนื้อความแวดล้อมของข้อความนั้นๆ บางครั้งต้องอาศัยความรู้หรือประสบการณ์ปัจจุบันเป็นเครื่องช่วยตัดสิน
การอ่านตีความมีหลักเกณฑ์ในการอ่านดังนี้
(๑) อ่านเรื่องที่ตีความนั้นให้ละเอียด แล้วพยายามจับประเด็นสำคัญให้ได้
(๒) ขณะที่อ่านต้องพยายามคิดหาเหตุผล และใคร่ครวญอย่างรอบคอบ และนำมาประมวลเข้ากับความคิดของตนเองว่า ข้อความหรือเรื่องนั้นมีความหมายถึงสิ่งใด
(๓) พยามยามทำความเข้าใจกับถ้อยคำที่เห็นว่ามีความสำคัญ และจะต้องไม่ลืมตรวจดูบริบท (context) ด้วยว่า บริบทหรือสิ่งแวดล้อมนั้นได้กำหนดความหมายของคำนั้นอย่างไร
(๔) ต้องระลึกไว้เสมอว่า การตีความไม่ใช่การถอดคำประพันธ์ เพราะการตีความเป็นการจับเอาแต่ใจความสำคัญ และคงไว้ซึ่งคำของข้อความเดิม
(๕) การเขียนเรียบเรียงถ้อยคำที่ได้จากการตีความนั้น จะต้องให้มีความหมายชัดเจน
(๖) การตีความไม่ว่าจะเป็นการตีความเกี่ยวกับเนื้อหา หรือเกี่ยวกับน้ำเสียงก็ตามเป็นการตีความตามความรู้ ความคิดและประสบการณ์ของผู้ตีความเอง ดังนั้นผู้อื่นจึงอาจจะไม่เห็นพ้องด้วยก็ได้
ตัวอย่างการอ่านตีความ
“ เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง ”
ตีความได้ว่า จะทำอะไรควรดูฐานะของตน ไม่ควรเอาอย่างคนที่มีฐานะดีกว่าเรา
พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า
น ปุป?ผคน?โธ ปฏิวาตเมติ
น จน?ทนตารมล?ลิกา วา
สตญ?จ ทิสา สป?ปริโส ปวายติ
แปลความได้ว่า กลิ่นหอมของดอกไม้ ทวนลมขึ้นไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นจันทน์ กลิ่นกฤษณา หรือกลิ่นมะลิวัลย์ แต่กลิ่นของคุณงามความดีของคนย่อมหอมหวนทวนลมขึ้นไปได้ และย่อมหอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ
ตีความได้ว่า คุณงามความดีของคน หอมยิ่งกว่ากลิ่นดอกไม้และกลิ่นหอมใดๆ

การอ่านเพื่อขยายความ
การอ่านเพื่อขยายความ คือ การอ่านเพื่อนำมาอธิบายเพิ่มเติมให้มีความละเอียดเพิ่มมากขึ้นจากเนื้อความเดิม ทั้งนี้การอ่านเพื่อขยายความสามารถใช้วิธีการยกตัวอย่างประกอบ หรือมีการอ้างอิง เปรียบเทียบเพื่อให้ได้เนื้อความที่กว้างขวางออกไปจนเป็นที่เข้าใจยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

การอ่านแปลความ คือ การเปลี่ยนแปลงจากความหนึ่งไปสู่อีกความหนึ่ง โดยแปลงเรื่องที่ได้อ่านหรือได้ฟังออกมาเป็นคำพูดใหม่หรือเป็นถ้อยคำใหม่ โดยยังรักษาเนื้อหาและความสำคัญของเรื่องสังเคราะห์ และการประเมินค่า ถ้าอ่านหรือฟังแล้วแปลความผิดไปจากเนื้อความเดิม ก็จะทำให้การตีความขยายความ หรืออื่นๆ ผิดไปด้วย
การแปลความหมายมีหลายรูปแบบ ดังนี้
(๑) แปลคำศัพท์เฉพาะให้เป็นภาษาธรรมดา เป็นการแปลความหมายจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง เช่น ทรงพระดำเนิน = เดิน โจทก์ = ผู้ฟ้อง
(๒) แปลข้อความเดิมที่เป็นสำนวนโวหารเป็นข้อความใหม่ที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงให้เป็นภาษาอีกระดับหนึ่ง เช่น
- ปืนใหญ่ถล่มหงส์แดงยับ ๓ - ๑
แปลความได้ว่าทีมฟุตบอลอาร์เซนอลเอาชนะทีมฟุตบอลลิเวอร์พูลได้ ๓ ประตู
(๓) แปลสำนวน สุภาษิต คำพังเพย หรือคำร้อยกรอง คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ไทยนำมาใช้ให้เป็นภาษาสามัญ หรือในทางกลับกัน เช่น
ธม?โม หเว รก?ขติ ธม?มจาริ? แปลความได้ว่า ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
พิศพักตร์ผ่องเพียงบุหลันฉาย แปลความได้ว่า ใบหน้าผุดผ่องราวกับแสงจันทร์
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด แปลความได้ว่า มีวิชาความรู้มากแต่ไม่สามารถพาตนเองให้
รอดพ้นจากความหายนะและภัยพิบัติได้
(๔) แปลเครื่องหมายต่างๆ เช่น
? แปลว่า เพศชาย
? แปลว่า เพศหญิง
> แปลว่า มากกว่า

การสรุปความ คือ การจับประเด็นสำคัญจากเรื่องที่อ่านหรือฟัง หรือดูสื่อต่างๆ ผู้อ่านผู้ฟังหรือดูจะต้องสามารถวิเคราะห์สาระสำคัญของเรื่องนั้นๆได้ว่าคืออะไร ต้องการเน้นเรื่องใด

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 520 คน กำลังออนไลน์