ประโยค

รูปภาพของ sss27847

 หน้าหลัก         ภาษาบาลี-สันสกฤต      ชนิดของคำ       อักษรควบกล้ำ      ชนิดของประโยค      ระดับภาษา     

 เสียงในภาษาไทย        อักษรคู่ - อักษรเดี่ยว      คำมูล - คำประสม      เสียงวรรณยุกต์      เสียงในภาษาไทย      

 คำซ้ำ - คำซ้อน      พยางค์และมาตราตัวสะกด         ไตรยางศ์           ธรรมชาติของภาษา          สรรพนาม

ความหมายของประโยค
          ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีเนื้อความครบสมบูรณ์ ทำให้รู้ว่าใครทำอะไร เช่น นักเรียนอ่านหนังสือ, ใครมีสภาพอย่างไร เช่น หน้าต่างเปิด, หรือใครรู้สึกอย่างไร เช่น คุณพ่อโกรธ
 
ส่วนประกอบของประโยค
          ประโยคแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคประธานกับภาคแสดง
          ภาคประธาน คือส่วนสำคัญของข้อความ เพื่อบอกให้รู้ว่าใคร หรือสิ่งใด มักเป็นคำนามหรือสรรพนาม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ บทประธานและบทขยายประธาน
          ภาคแสดง คือส่วนที่แสดงอาการของภาคประธาน ให้ได้ความหมายครบถ้วน ว่าแสดงอาการอย่างไร แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ บทกริยา บทขยายกริยา บทกรรม และบทขยายกรรม
          ประโยคแต่ละประโยคจะต้องมี บทประธาน  บทกริยา หรือ บทประธาน บทกริยา และบทกรรม ส่วนบทขยายนั้นจะมีหรือไม่มีก็ได้ เช่น
  
                ภาคประธาน                                                                    ภาคแสดง
   บทประธาน          บทขยายประธาน                บทกริยา     บทกรรม     บทขยายกรรม    บทขยายกริยา           ชนิด
       นก                                                        บิน                                                                        2 ส่วน
   นายพราน                                                    ยิง            นก                                                         3 ส่วน
   นักกรีฑา                  ทีมชาติ                          วิ่ง                                                    เร็ว                 4 ส่วน        
   นักเรียน              โรงเรียนนานาชาติ                   พูด      ภาษาอังกฤษ                             คล่อง              5 ส่วน
   รถยนต์                      สีดำ                             ชน          สุนัข           ตัวใหญ่                ตาย               6 ส่วน

 

  รูปของประโยค
       เราสามารถแบ่งรูปประโยคได้หลายชนิด ดังนี้
       1. ประโยคบอกเล่า  คือประโยคที่มีใจความเพื่อบอกให้ทราบ ว่าใครทำอะไร ทำที่ไหน ทำอย่างไร เป็นการแจ้งเรื่องราวให้ทราบ หรือบอกเรื่องราวต่าง ๆ เช่น ฉันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6,  พ่อของฉันเป็นชาวนา
       2. ประโยคปฏิเสธ  คือประโยคที่มีใจความไม่ตอบรับ มีเนื้อความตรงกันข้ามกับประโยคบอกเล่า มักใช้คำว่า ไม่ ไม่ได้ ไม่ใช่ มิได้ ประกอบ เช่น ฉันไม่ได้ลอกการบ้านเพื่อน  ปากกาด้ามนั้นไม่ใช่ของฉัน
       3. ประโยคคำถาม  คือประโยคที่มีใจความเป็นคำถาม เพื่อต้องการคำตอบ คำที่เป็นคำถามจะอยู่ต้นประโยค หรือท้ายประโยคก็ได้ ประโยคคำถามมี 2 ลักษณะดังนี้
            1.ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบรับหรือปฏิเสธ มักมีคำที่ใช้ถามว่า หรือ  หรือไม่  ไหน  อยู่ท้ายประโยคคำถาม  เช่น
             ถามว่า    เธอชอบอากาศหนาวมากกว่าอากาศร้อนหรือ
             คำตอบคือ ครับผมชอบอากาศหนาวมากกว่าอากาศร้อน
            2.ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบเป็นเนื้อความใหม่ มักมีคำที่ใช้ถามว่า  ใคร  อะร  ที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร  เหตุใด  เท่าใด  คำเหล่านี้จะอยู่ต้นประโยคหรือท้ายประโยคก็ได้  เช่น
            ถามว่า ใครเป็นเวรทำความสะอาดห้องเรียนในวันนี้
            คำตอบคือ สมบัติเป็นเวรทำความสะอาดห้องเรียนวันนี้ครับ
       4. ประโยคขอร้อง  คือประโยคที่มีข้อความแสดงความต้องการให้ช่วยเหลือในลักษณะต่าง ๆ มักจะมีคำว่า  โปรด  กรุณา  ช่วย  วาน  อยู่หน้าประโยค และมักจะมีคำว่า  หน่อย  ซิ  นะ  อยู่ท้ายประโยค เช่น โปรดมานั่งข้างหน้าให้เต็มก่อน  กรุณาอย่าจอดรถขวางประตู  วานลบกระดานดำให้ครูหน่อย
       5. ประโยคคำสั่ง  คือประโยคที่บอกให้บุคคลอื่นทำ หรือไม่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักจะละประธานไว้  เช่น  ห้ามเดินลัดสนาม  อย่าคุยกันในห้องเรียน
       6. ประโยคแสดงความต้องการ  คือประโยคที่แสดงความอยากได้  อยากมี  อยากเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มักมีคำว่า  อยาก  ต้องการ  ปรารถนา  ประสงค์  อยู่ในประโยค  เช่น  พ่อต้องการให้ฉันเป็นทหาร  ฉันอยากเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษา  พี่ปรารถนาจะให้น้องเรียนหนังสือเก่ง  ครูประสงค์จะให้นักเรียนลายมืองาม
 
          ชนิดของประโยค
       เราสามารถแบ่งประโยคที่ใช้ในการสื่อสารออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
       1. ประโยคความเดียว  คือประโยคที่มีความหมายอย่างเดียว เช่น
            ฝนตกในตอนเช้า,   พ่ออ่านหนังสือพิมพ์รายวัน,   ดวงดาวส่องแสงระยิบระยับบนท้องฟ้า
       2. ประโยคความรวม  คือประโยคที่มีข้อความเป็นประโยคความเดียว ตั้งแต่ 1 ประโยคขึ้นไปมาเรียงกัน โดยมีสันธานเป็นคำเชื่อมระหว่างประโยค เพื่อให้ข้อความติดต่อเป็นประโยคเดียวกัน ประโยคความรวมมีหลายลักษณะดังนี้
            2.1 ประโยคความรวมที่มีเนื้อความคล้อยตามกัน เช่น
                      รัตนาและอารีรดนำต้นไม้   เป็นประโยคความรวม แยกเป็นประโยคความเดียวได้ 2 ประโยคดังนี้  รัตนารดน้ำต้นไม้,  อารีรดนำต้นไม้  มีสันธาน  และ  เป็นคำเชื่อม
                      ความคล้อยตามกันนั้นอาจคล้อยตามกันในเรื่องของ  ความเป็นอยู่  เวลา  และ  การกระทำ  ฉะนั้นคำเชื่อมจึงมีคำอื่น ๆ อีก เช่น  ทั้ง...และ,  แล้วก็,  พอ...แล้วก็,  พอ...ก็,  เมื่อ...ก็  ดังตัวอย่าง
                     ทั้งรัตนาและอารีเป็นนักเรียนชั้นป.6
                     พอรัตนาเรียนจบชั้นป.6 แล้วก็ไปเรียนต่อชั้นม.1
                     พอพ่อมาถึงแม่ก็ยกนำมาให้ดื่ม
                2.2 ประโยคความรวมที่มีเนื้อความขัดแย้งกัน เช่น
                      วิชิตเล่นดนตรีแต่วิชัยเล่นกีฬา  เป็นประโยคความรวม แยกเป็นประโยคความเดียวได้ 2 ประโยคดังนี้  วิชิตเล่นดนตรี , วิชาเล่นกีฬา  มีสันธาน  แต่  เป็นคำเชื่อม
               2.3 ประโยคความรวมที่มีเนื้อความเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
                      นักเรียนจะสอบข้อเขียนหรือจะทำรายงาน เป็นประโยคความรวม แยกเป็นประโยคความเดียวได้ 2 ประโยคดังนี้   นักเรียนจะสอบข้อเขียน,  นักเรียนจะทำรายงาน  มีสันธาน  หรือ  เป็นคำเชื่อม
       3. ประโยคความซ้อน  คือประโยคที่มีประโยคความเดียวเป็นประโยคหลัก และมีประโยคย่อยแทรกเข้ามา เพื่อทำให้ข้อความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
            ฉันบอกเขาว่าแม่มาหา                           นักเรียนที่ร้องเพลงเพราะได้รับรางวัล
                ฉันบอกเขา   เป็นประโยคหลัก                นักเรียนได้รับรางวัล  เป็นประโยคหลัก
                แม่มาหา      เป็นประโยคย่อย                (นักเรียน)ร้องเพลงเพราะ  เป็นประโยคย่อย
                ว่า               เป็นคำเชื่อม                         ที่                            เป็นคำเชื่อม
         
               ฉันเห็นภูเขาซึ่งมีถ้ำอยู่ข้างใต้                 เขานอนตัวสั่นเพราะกลัวเสียงปืน
               ฉันเห็นภูเขา  เป็นประโยคหลัก               เขานอนตัวสั่น  เป็นประโยคหลัก
      (ภูเขา)มีถ้ำอยู่ข้างใต้  เป็นประโยคย่อย           (เขา)กลัวเสียงปืน  เป็นประโยคย่อย
                ซึ่ง               เป็นคำเชื่อม                       เพราะ             เป็นคำเชื่อม
 
          ตำแหน่งต่าง ๆ ในประโยค
       ตำแหน่งของประธาน กริยา และกรรม ในประโยคนั้น ตำแหน่งต้นประโยคนับเป็นตำแหน่งที่สำคัญ เมื่อผู้พูดต้องการกล่าวถึงสิ่งใด หรือเหตุการณ์ใด  มักจะกล่าวถึงสิ่งนั้น หรือเหตุการณ์นั้นขึ้นก่อน แล้วจึงกล่าวถึงถ้อยคำขยายความต่อไป เช่น   ตำรวจจับผู้ร้าย           (ประธานอยู่ต้นประโยค)
            ผู้ร้ายถูกตำรวจจับ       (กรรมอยู่ต้นประโยค)
            มีระเบิดในกล่อง          (กริยาอยู่ต้นประโยค)
       ฉะนั้นในเรื่องนี้นักเรียนต้องสังเกตดูให้ดี โดยปกติประโยคในภาษาไทยนั้นจะมีประธานอยู่ต้นประโยค ทำหน้าที่เป็นผู้กระทำ โดยจะมีความสัมพันธ์กับกริยาในประโยค เช่น  
             รถยนต์แล่นบนถนน   ชาวนาเกี่ยวข้าวในนา   ไก่กินข้าวอยู่ในเล้า
     คำ รถยนต์, ชาวนา, ไก่  ซึ่งอยู่ต้นประโยค  ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค แต่เมื่อผู้พูดต้องการกล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนเรื่องอื่น กริยาของประโยคจะอยู่ต้นประโยค  เช่น
            เกิดน้ำท่วมที่จังหวัดตราด  ปรากฎการทุจริตขึ้นในห้องสอบ   มียาฆ่าแมลงในผักและผลไม้
     คำ  เกิด  ปรากฏ  มี  ซึ่งอยู่ต้นประโยค ทำหน้าที่เป็นกริยาของประโยค และเมื่อผู้พูดต้องการกล่าวถึง ผลของการกระทำหรือผู้ถูกกระทำก่อนเรื่องอื่น  กรรมจะอยู่ต้นประโยค  เช่น
            พ่อได้รับเชิญให้ไปร่วมในพิธีเปิดอาคารเรียนหลังใหม่
            บ้านหลังนี้ถูกไฟไหม้เมื่อปีที่แล้ว
            เขาถูกตำหนิอย่างรุนแรง
     คำ พ้อ  บ้านหลังนี้  เขา  ซึ่งอยู่ต้นประโยค ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค ในบางประโยคอาจใช้วลีหรือกลุ่มคำบอกสถานที่หรือบอกเวลาอยู่ต้นประโยค เนื่องจากผู้พูดต้องการเน้นเวลาหรือสถานที่  เช่น
            เวลากลางวันเราจะมองไม่เห็นดวงดาว  (เวลากลางวัน  เป็นกลุ่มคำบอกเวลา)
            บนทางเท้าไม่ควรตั้งร้านขายของ  (บนทางเท้า  เป็นกลุ่มคำบอกสถานที่)
 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 507 คน กำลังออนไลน์