คำอุทาน

รูปภาพของ sss27847

 หน้าหลัก         ภาษาบาลี-สันสกฤต      ชนิดของคำ       อักษรควบกล้ำ      ชนิดของประโยค      ระดับภาษา     

 เสียงในภาษาไทย        อักษรคู่ - อักษรเดี่ยว      คำมูล - คำประสม      เสียงวรรณยุกต์      เสียงในภาษาไทย      

 คำซ้ำ - คำซ้อน      พยางค์และมาตราตัวสะกด         ไตรยางศ์           ธรรมชาติของภาษา          สรรพนาม

อุทาน    คือ  คำที่ไม่มีความหมายในตัวเอง  แต่แสดงอารมณ์ของผู้กล่าวหรือเสริมคำในการพูดจากัน คำอุทานไม่จัดเป็นส่วนใด
                  ส่วน หนึ่ง   หรือภาคใดภาคหนึ่งของประโยค  เป็นส่วนที่เสริมเข้ามาเพื่อแสดงอารมณ์หรือช่วยให้ข้อความสละสลวย
     

           อุทานแสดงอารมณ์  อุทานชนิดนี้บอกอารมณ์ต่างๆ  ใช้อัศเจรีย์กำกับข้างท้าย


                   สงสัย  เช่น  เอ๊ะ!  หนอ!    อ้าว!
                   เสียใจน้อยใจ  เช่น  อนิจจา!   เอ๋ย!  พุทโธ่เอ๋ย!
                   ตกใจ  เช่น  อุ๊ย!   ว้าย! 
                   เข้าใจ  เช่น  อ๋อ!


           อุทานเสริมคำ   อุทานชนิดไม่มีความหมายโดยตรง   และไม่ใส่อัศเจรีย์กำกับข้างท้าย  ใช้เสริมคำอื่น  เพื่อให้คล้องจองกัน
                             ถ่วงเสียงของคำ  หรือใช้เป็นคำสร้อยในคำประพันธ์บางชนิด              

           คำเสริม   อาจอยู่ข้างหน้า  ข้างหลัง  หรือกลางคำอื่นก็ได้  เช่น  โรงเล่าโรงเรียน  สับประดี้สีประดน  อยู่บ้านอยู่ช่อง  ลืมหูลืมตา   
                                      กินข้าวกินปลา  รถรา  วัดวา  พูดจา


           คำสร้อย   เช่น  นา  แลนา  แฮ  เอย  เฮย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 586 คน กำลังออนไลน์