หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคในภูมิภาคต่างๆ ของโลก        

                   การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม     ในปัจจุบันทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เนื่องจากมาตรฐานคุณภาพชีวิตของมนุษย์ต่ำลงอย่างน่าเป็นห่วงอันเป็นผลมาจากการเสียสมดุลของระบบนิเวศ ประเทศต่างๆ จึงกำหนดมาตรการและตรากฎหมายขึ้นเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศของตน     วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

              1. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการชะล้างหน้าดินปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน นำมาซึ่งการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดิน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาคเกษตรของไทยอย่างมาก ภาครัฐและประชาชนควรเร่งดำเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรดินอย่างเร่งด่วน โดยส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเกษตรควรจะมีการให้ความรู้และคำแนะนำในการทำการเกษตรอย่างถูกต้อง เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน             

              2. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาการขาดแคลนน้ำมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ภาครัฐควรให้ความรู้อย่างถูกต้องแก่ประชาชนให้เห็นคุณค่าของน้ำ ใช้น้ำอย่างประหยัด และป้องกันรักษาต้นน้ำลำธาร        

              3.ป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรป่าไม้ลดการตัดไม้ทำลายป่า ปลูกป่าทดแทนส่วนที่สูญเสียไป ทำการเกษตรแบบผสมผสานและเกษตรธรรมชาติ 

              4.ป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรสัตว์ป่าเพิ่มเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตรวจจับผู้ลักลอบล่าสัตว์ป่า     

              5.วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรแร่ธาตุเมื่อโครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรมเหมืองแร่เปลืองแปลงไปคือ จากการส่งออกแร่ดิบไปต่างประเทศ มาเป็นการผลิตเพื่อตอบสนองการบริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ปริมาณของแร่ธาตุลดลงอย่างน่าเป็นห่วง        ส่วนวิธีการแก้ปัญหานั้น กรมทรัพยากรธรณีควรให้การส่งเสริมและกำกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทั้งในด้านการผลิต การใช้เทคโนโลยีการตลาดและการลงทุน ให้ความสำคัญควบคู่ไปกับอีกทั้งปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนเพื่อการร่วมมือกันใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่ามากที่สุด            

                    6.วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรพลังงาน    ความต้องการใช้พลังงานของประเทศยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง โดยเฉพาะการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการขนส่ง อีกทั้งการใช้พลังงานส่วนใหญ่ยังก่อให้เกิดผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อม ดังนั้น ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลจึงมีมาตรการต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น เช่น ยกเลิกการจำหน่ายเบนซินที่มีสารตะกั่ว ลดปริมาณกำมะถัน ในน้ำมันเตา การติดตั้งระบบกำจัดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์สำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อน กำหนดให้มีการติดตั้งอุปกรณ์เก็บไอน้ำมันในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง คลังน้ำมันและรถบรรทุกน้ำมันเป็นต้น รวมทั้งสนับสนุนให้มีการวิจัยในการนำพลังงานทดแทนที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้นในอนาคต   โดยภาคประชาชนก็เป็นส่วนสำคัญที่จะสนับสนุนความสำเร็จในการอนุรักษ์พลังงานได้ด้วยการใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า

 

 

แหล่งอ้างอิง  :  หนังสือภูมิศาสตร์ ม.4 - ม.6 , รศ.ดร.อภิสิทธิ์  เอี่ยมหน่อ  รศ.ดร.วินัย  วีระวัฒนานนท์ ผศ.วิโรจน์ เอี่ยมเจริญ. บริษัทอักษรเจริญทัศน์. 2544.