โครงการระหว่างประเทศที่คนไทยเป็นสมาชิก

 

เรื่อง โครงการระหว่างประเทศที่ไทยเป็นสมาชิก

ประวัติความเป็นมา

องค์การระหว่างประเทศ

องค์การระหว่างประเทศ (International Organizations) หมายถึง โครงสร้างหรือสถาบันที่เป็นทางการ (formal) ถูกสร้างขึ้นโดยข้อตกลงระหว่างรัฐหรือไม่ใช่รัฐก็ได้ เพื่อบรรลุจุดประสงค์และผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งองค์การระหว่างประเทศจะตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างสอง "รัฐ" ขึ้นไป

บทบาทหน้าที่ขององค์กรในประเทศ

  1. จัดประชุมปรึกษาหารือระหว่าง "รัฐ"

  2. วางกฎเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง "รัฐ"

  3. จัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation)

  4. เสนอการใช้วิธีป้องกันร่วมกัน (Collective Defence)

  5. เสนอการใช้วิธีปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peace - Keeping)

  6. ส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในด้านต่างๆ

บทบาทของไทยในองค์การ สหประชาชาติ

สหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ (ตัวย่อ: UNO) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดร่วมมือกันของกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติถูกก่อตั้งขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปี พ.. 2488 เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติ ในการยับยั้งสงครามระหว่างประเทศ และเพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาท สหประชาชาติมีองค์การย่อย ๆ จำนวนมากเพื่อดำเนินการตามภารกิจ

สหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 192 ประเทศ ครอบคลุมรัฐอธิปไตยเกือบทุกรัฐบนโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครนิวยอร์ก ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 5 องค์กรหลัก ได้แก่: สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ สำนักงานเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกเช่น องค์การอนามัยโลก ยูเนสโก และยูนิเซฟ เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มักเป็นที่รู้จักและปรากฏตัวต่อสาธารณชน คือ เลขาธิการสหประชาชาติ ปัจจุบันผู้ดำรงตำแหน่งนี้ คือ นายบัน คี มุน ชาวเกาหลีใต้ เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม .. 2007 ต่อจากโคฟี อันนัน

บทบาทของไทยในองค์การการค้าโลก

 

องค์การการค้าโลก (อังกฤษ: World Trade Organization, WTO) เป็นองค์การนานาชาติสังกัดองค์การสหประชาชาติ(UN) ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างชาติ เป็นเวทีสำหรับการเจรจาต่อรอง ตกลงและขจัดข้อขัดแย้งในเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางการค้าและการบริการระหว่างประเทศสมาชิก

องค์การการค้าโลกจัดตั้งขึ้นแทนความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร เมื่อวันที่ 1 มกราคม .. 2538 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีสมาชิก 153 ประเทศ ประเทศล่าสุดที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกคือหมู่เกาะ Cape Verde ซึ่งได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 28

มิถุนายน 2008 มีงบประมาณปี พ.. 2549 175 ล้านฟรังก์สวิส (5,170 ล้านบาท) มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในสำนักเลขาธิการ 635 คน เลขาธิการคนปัจจุบันชื่อนายปาสกัล ลามี สืบต่อจากนายศุภชัย พานิชภักดิ์ ที่ดำรงตำแหน่งต่อจาก นายไมค์ มัวร์ อีกที

องค์การการค้าโลก จะทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services; GATS) และ ความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS)

 

องค์การอาเซียน (ASEAN)


 

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  หรือ  อาเซียน (The Association of Southeast Asian Nations, ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.. 1967 โดยพัฒนามาจาก  "สมาคมอาสา"  (Association of Southeast Asia, ASA) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาค  ซึ่งมีสมาชิกก่อตั้งเพียง  3  ชาติ  คือ  ไทย  ฟิลิปปินส์  และมาเลเซีย

       ประเทศสมาชิกของอาเซียน  มี  10  ชาติ  ได้แก่  ไทย  ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  สิงคโปร์  บรูไน  เวียดนาม  พม่า(เมียนมาร์)  ลาว  และกัมพูชา

       วัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม และการเมือง  ในหมู่ประเทศสมาชิก  ยกเว้นไม่ร่วมมือทางทหาร

 

     ที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการองค์การอาเซียน  ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา  ประเทศอินโดนีเซีย  ตำแหน่งเลขาธิการฯ  ได้มาจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่างประเทศ  อยู่ในตำแหน่งคราวละ  2  ปี  โดยหมุนเวียนจนครบทุกประเทศ

 

การประชุมเอเชีย-ยุโรป หรือ อาเซม (ASEM)

 การประชุมเอเซีย-ยุโรป หรือที่เรียกว่า  อาเซม  ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ในวันที่  12  มีนาคม พ.. 2539  เป็นการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป  ซึ่งเป็นก้าวแรกที่จะเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและยุโรป  อาเซมเริ่มต้นจากข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี Goh Chok Tong ของสิงคโปร์ที่ต้องการรักษาความสมดุลของภูมิภาค  โดยให้มีการเชื่อมโยงระหว่างแอตแลนติกกับแปซิฟิก  เพราะในขณะนั้นมีความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคเพียง  2  กระแส คือ  ความร่วมมือในกรอบเอเปคและความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างอเมริกาและยุโรปที่เรียกว่า "ทรานส์แอตแลนติก"  

ในขณะที่การเชื่อมโยงระหว่างเอเชียกับยุโรปกลับหายไป  ซึ่งองค์ประกอบของการประชุมเอเชีย-ยุโรป  ประกอบด้วยสมาชิก  25  ประเทศ  คือ ฝ่ายเอเชีย  10 ประเทศ คือ  บรูไน  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  ไทย  เวียดนาม  จีน  ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้  ฝ่ายยุโรป  15  ประเทศ  คือ  ออสเตรีย  เบลเยียม  เดนมาร์ก  ฟินแลนด์  ฝรั่งเศส  เยอรมัน กรีซ  ไอซ์แลนด์  อิตาลี  ลักเซมเบิร์ก  เนเธอร์แลนด์  โปรตุเกส  สเปน  สวีเดน  สหราชอาณาจักร

 

ประเทศไทยกับ [ opac ]

   กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (Organization of Petroleum Exporting Countries : OPEC) กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก เป็นองค์การนานาชาติที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือ ทางด้านนโยบายน้ำมัน และช่วยเหลือด้านเทคนิคเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิก

     ประวัติการก่อตั้ง โอเปคจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.. 2503 โดยอิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และเวเนซุเอลา ต่อมามีสมาชิกเพิ่มอีก 8 ประเทศ ได้แก่ กาตาร์ อินโดนีเซีย ลิเบีย สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ แอลจีเรีย ไนจีเรีย เอกวาดอร์ และกาบอง รวมเป็นสมาชิก 13 ประเทศ ต่อมาเอกวาดอร์ลาออกเมื่อ พ..2535 และกาบองลาออก พ.. 2538 ปัจจุบันจึงเหลือสมาชิกเพียง 11 ประเทศ 

     เดิมโอเปคมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต่อมาในพ..2508 ได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

     วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ในระยะเริ่มต้นในการก่อตั้งกลุ่มโอเปคขึ้นมา การขุดเจาะน้ำมันในประเทศสมาชิก ต่างเป็นการลงทุนและดำเนินการโดยบริษัทต่างชาติ ประเทศเจ้าของบ่อน้ำมันได้รับค่าภาคหลวงตอบแทน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ส่วนน้อย การร่วมมือของกลุ่มโอเปคในช่วงนี้ จึงมีจุดมุ่งหมาย สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
     1.
เพื่อเจรจากับบริษัทผู้ได้รับสัมปทานการตั้งกองทุนน้ำมันดิบให้เท่ากันทุกประเทศ
     2.
เพื่อนำราคาน้ำมันดิบที่เป็นผลมาจากการเจรจาใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณเป็น รายได้ของประเทศ
     3.
เพื่อเป็นอำนาจต่อรองในการยึดครองหรือโอนกิจการน้ำมันเป็นของรัฐต่อไป กลุ่มโอเปคได้ดำเนินงานไปตามจุดประสงค์จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และต่อมาเมื่อมีสมาชิก เพิ่มขึ้นอีก 8 ประเทศ ทำให้มีอำนาจต่อรองมากขึ้นและขยายวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกมากขึ้นคือ
     1.
เพื่อปกป้องราคาน้ำมันตกต่ำและเจรจาขายน้ำมันดิบในเงื่อนไขที่ดี
     2.
เพื่อเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทผู้ผลิตน้ำมันในอัตราที่สูงขึ้น
     3.
เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการประกาศขึ้นราคาน้ำมัน

     ผลการปฏิบัติงาน ในปัจจุบันโอเปคเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลสูงมากทั้งระบบเศรษฐกิจและ การเมืองระหว่างประเทศ เพราะมนุษย์จำเป็นต้องใช้พลังงานที่มาจากน้ำมันแต่เหตุที่ ประเทศสมาชิกของกลุ่มโอเปคมีสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรมแตกต่างกัน ทั้งยังมีปริมาณน้ำมันสำรองไม่เท่ากันอีกด้วย การกำหนดราคาและโควตาการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปค ในระยะหลังมานี้มักไม่มีเอกภาพ กล่าวคือ ประเทศคูเวต กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างเป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองอยู่มาก และมีความมั่นคง ของเศรษฐกิจ สามารถปฏิบัติตามมติของโอเปคได้ แต่ประเทศอิหร่าน แม้มีปริมาณน้ำมันสำรอง อยู่มากแต่หลังสงครามกับอิรักแล้วต้องลักลอบผลิตน้ำมันออกจำหน่ายเกินโควตาที่โอเปคให้ไว้ เพื่อนำเงินมาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ประเทศอิรักมีแหล่งน้ำมันสำรองมากประเทศหนึ่ง แต่ได้รับความเสียหายจากสงครามกับอิหร่านและพ่ายแพ้สงครามในการปิดล้อมคูเวต ซึ่งสหประชาชาติได้ออกมาตรการต่างๆ มากำหนด ทำให้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันได้ อย่างจำกัดมาก ส่วนประเทศไนจีเรียมีปริมาณน้ำมันสำรองน้อยเพราะเป็นประเทศยากจน และมีจำนวนประชากรมาก จึงต้องผลิตน้ำมันเกินโควตาและจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่า ที่โอเปคกำหนด

     กิจกรรมสำคัญที่โอเปคดำเนินการมาตั้งแต่ พ.. 2516 เป็นต้นมาคือ การปรับราคาน้ำมันดิบ ซึ่งได้กระทำหลายครั้งจนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ประเทศผู้ส่งน้ำมันดิบ เป็นสินค้าออกเหล่านี้มีบานะร่ำรวยขึ้น และได้นำเงินตราเหล่านี้ไปใช้เสริมสร้างความมั่นคง และพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ นอกจากนี้สมาชิกของกลุ่มโอเปคยังได้จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศอาหรับที่มิได้เป็นสมาชิกของโอเปคและประเทศอื่นที่ประชากรบางส่วน นับถือศาสนาอิสลาม 

     ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศโอเปค ได้แก่ การติดต่อค้าขายน้ำมันและ ด้านแรงงานที่ไทยมักส่งไปประเทศเหล่านี้ ส่วนการติดต่อกันในด้านอื่นนับว่ามีน้อย

     แม้กลุ่มประเทศโอเปคจะเป็นกลุ่มที่ใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรองกับประเทศต่างๆทั่วโลกทั้งด้าน เศรษฐกิจและการเมือง และประเทศไทยก็เคยได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการขึ้นราคาน้ำมันของกลุ่มโอเปค แต่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มโอเปคยังมีอยู่ สรุปได้ดังนี้
     1. 
ทางด้านการค้า ไทยยังมีการค้าขายกับกลุ่มโอเปค โดยนำเข้าน้ำมันจากประเทศเหล่าน ี้โดยเฉพาะประเทศโอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย และสินค้าออก ที่สำคัญของไทยที่ส่งไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง
     2. 
ทางด้านแรงงาน เป็นเรื่องที่สำคัญและน่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง เพราะไทยได้จัดส่งแรงงาน เข้าไปทำงานในประเทศกลุ่มโอเปคเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นที่รัฐบาลไทยต้องติดตาม และให้ความคุ้มครองช่วยเหลือ ประเทศกลุ่มโอเปคที่คนไทยไปทำงานกันมากได้แก่ ลิเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และคูเวต ส่วนในประเทศอิรัก หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียแล้ว จำนวนคนงานไทยลดลงและไม่มีแรงงานไทยอีก เมื่อเกิดสงครามและอดีตประธานาธิบดี ซัดดัมถูกโค่นอำนาจ
     3. 
ด้านการเมือง มักเป็นความสำคัญทางด้านการทูตและการเยี่ยมเยือนเพื่อกระชับสัมพันธไมตรีของผู้นำประเทศ
     4. 
อื่นๆ กลุ่มโอเปคได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินกู้ ส่วนไทยให้ความสะดวกแก่ประเทศเหล่าน ี้โดยการให้นักวิชาการมาดูงานในไทย โดยเฉพาะการเกษตร

 

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  หรือ  อาเซียน (The Association of Southeast Asian Nations, ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.. 1967 โดยพัฒนามาจาก  "สมาคมอาสา"  (Association of Southeast Asia, ASA) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาค  ซึ่งมีสมาชิกก่อตั้งเพียง  3  ชาติ  คือ  ไทย  ฟิลิปปินส์  และมาเลเซีย

        ประเทศสมาชิกของอาเซียน  มี  10  ชาติ  ได้แก่  ไทย  ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  สิงคโปร์  บรูไน  เวียดนาม  พม่า(เมียนมาร์)  ลาว  และกัมพูชา

       วัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม และการเมือง  ในหมู่ประเทศสมาชิก  ยกเว้นไม่ร่วมมือทางทหาร

 

ที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการองค์การอาเซียน  ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา  ประเทศอินโดนีเซีย  ตำแหน่งเลขาธิการฯ  ได้มาจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่างประเทศ  อยู่ในตำแหน่งคราวละ  2  ปี  โดยหมุนเวียนจนครบทุกประเทศ  

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8

www.tlcthai.com/webboard/view_topic

www.sopon.ac.th/social/srri2/Index/P03N02.htm

 

 

รูปภาพของ silavacharee

Kiss

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 377 คน กำลังออนไลน์