วันต่อต้านยาเสพติด

รูปภาพของ sss28801

26 มิถุนายน

วันต่อต้านยาเสพติด

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2553
"ไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติด"


 

                                                       ที่มา:http://www.thaigoodview.com/files/u9/drug2.jpg

 ประวัติความเป็นมา

         ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหา ยาเสพติด มาเป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง “คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ” ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
          ต่อมาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
          ผลจากปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงได้พยายามร่วมมือกันเพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด ดังนั้นในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and llicit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่สหประชาชาติขอให้กำหนดวันที่26มิถุนายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติดซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530
ประเทศไทย สำนักงาน ป.ป.ส.ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531เป็นต้นมา
           กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันต่อต้านยาเสพติดส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมด้านป้องกัน เช่นการเดินรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด การจัดนิทรรศการการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน การจัดสัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น
          ในฐานะที่ประเทศไทยถือว่ายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่ง ดังนั้นทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐบาลหรือเอกชนควรจะร่วมมือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยร่วมกันจัดกิจกรรมตามกำลังความสามารถเพื่อช่วยให้คนรุ่นใหม่ได้ปลอดพ้นจากปัญหายาเสพติดและช่วยให้ผู้ที่ได้ตกเป็นทาสยาเสพติดได้มีโอกาสกลับเข้ามาอยู่ร่วมในสังคมอย่างปกติสุข

ความรู้เรื่องยาเสพติด


 

ที่มา:http://www.igetweb.com/www/abaiyamuk/article/art_407770.jpg

๑.ความหมายของยาเสพติด
            ยาเสพติด  หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ
 
           

      ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการและอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
๑.  เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
๒.  เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
๓.  มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
๔.  สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง  ครอบครัว  ผู้อื่น  ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

๒. ประเภทของยาเสพติด  ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้  

       ๑. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑.๑ ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา เป็นต้น

ฝิ่น                     
ที่มา:http://www.thaihealth.or.th/files/u1490/12_2.jpg


 
กัญชา         
ที่มา:http://www.tidso.com/board_1/pic/5192-53-1168221855.jpg
                      

          
กระท่อม 
ที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/social04/19/image/New%20Folder/Dscf0045.jpg
                      

๑.๒ ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เป็นต้น


เฮโรอีน 

          ที่มา:http://samarnjit.org/pic1-1-2.jpg

 

 ยาบ้า

ที่มา:lhttp://www.goosiam.com/news/news1/admin/my_documents/my_pictures/21B_B5F39T0_1.jpg  

๒. แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ 

         ๒.๑ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ ได้แก่ เฮโรอีน แอลเอสดี แอมเฟตามีน หรือยาบ้า ยาอีหรือยาเลิฟ

         ๒.๒ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือโคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน

         ๒.๓ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓ ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น 

         ๒.๔ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้

        ๒.๕ ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุก ส่วนของพืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

๓. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ 

        ๓.๑ ยาเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และยากล่อมประสาท 

        ๓.๒ ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อม และ โคคาอีน 

        ๓.๓ ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และ เห็ดขี้ควาย 

        ๓.๔ ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน ตัวอย่างเช่น กัญชา

๔. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๙ ประเภท คือ

        ๔.๑ ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เพทิดีน

        ๔.๒ ประเภทยาปิทูเรท รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่ เซโคบาร์ปิตาล อะโมบาร์ปิตาล พาราลดีไฮด์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น 

        ๔.๓ ประเภทแอลกอฮอล ได้แก่ เหล้า เบียร์ วิสกี้

        ๔.๔ ประเภทแอมเฟตามีน ได้แก่ แอมเฟตามีน เมทแอมเฟตามีน 

        ๔.๕ ประเภทโคเคน ได้แก่ โคเคน ใบโคคา 

        ๔.๖ ประเภทกัญชา ได้แก่ ใบกัญชา ยางกัญชา

        ๔.๗ ประเภทใบกระท่อม

        ๔.๘ ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็นที เมสตาลีน เมลัดมอนิ่งกลอรี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด

        ๔.๙ ประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจาก ๘ ประเภทข้างต้น ได้แก่ สารระเหยต่าง ๆ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด และบุหรี่


 การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้นได้  เนื่องจาก... 
- ความอยากรู้  ยากลอง  ด้วยความคึกคะนอง

- เพื่อนชวน  หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน

- มีความเชื่อในทางที่ผิด  เช่น  เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิดอาจช่วยให้สบายใจ  ลืมความทุกข์  หรือช่วยให้ทำงานได้มาก ๆ

- ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา  เพราะคุณสมบัติของยาบางชนิด  อาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว  หากใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ
   หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยขาดการแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร

- สภาพแวดล้อม  ถิ่นที่อยู่อาศัย  มีการค้ายาเสพติดหรือมีผู้ติดยาเสพติด

- ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

- เพื่อหนีปัญหา  เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้


ยาเสพติดป้องกันได้   

1. ป้องกันตนเอง  ทำได้โดย..

- ศึกษาหาความรู้  เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด

- ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน

- ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา  เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้

- ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

- เลือกคบเพื่อนดี  ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์

- เมื่อมีปัญหาชีวิต  ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดหากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษาผู้ใหญ่


2. ป้องกันครอบครัว  ทำได้โดย  

- สร้างความรัก  ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว

- รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง

- ดูแลสมาชิกในครอบครัว  ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด

- ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข  หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด


3. ป้องกันชุมชน  ทำได้โดย  

- ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด

- เมื่อทราบแหล่งเสพ  แหล่งค้า  หรือผลิตยาเสพติด  ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที  ที่... 

- สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414  หรือ  02-2470901-19  ต่อ 258   โทรสาร  02-2468526

- ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  โทร. 1688

รูปภาพของ ssspoonsak

ดีจังเลยนะ

-----------------------------------------------------------------------------------------
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ ssspoonsak

ภาพหาย และเปลี่ยนฟอนต์บางย่อหน้าด้วย

-----------------------------------------------------------------------------------------
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ ssspoonsak

รวดเร็วดีจ้ะ ขอแก้ไข เรื่อง

  • รูปภาพห้ามcopyมาเลยนะจ้ะ ต้องอับโหลดด้วย
  • อย่าcopyข้อความมาโดยตรงจ้ะ 

เป็นกำลังใจขอมอบดอกกล้วยไม้ให้นะจ้ะ

-----------------------------------------------------------------------------------------
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ kalayarat

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ แต่สีของตัวหนังสืออ่านยากไปหน่อยนะคะ ครูกัลยารัตน์ Cool

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 336 คน กำลังออนไลน์