เคมี

  
 

ยินดีต้อนรับทุกคน เข้าสู่บทเรียนสำเร็จรูป

 วิชาเคมี เรื่องเคมีอินทรีย์เบื้องต้น

               ในเรื่องนี้ทุกคนจะได้เรียนรู้และเข้าใจ เคมีอินทรีย์ว่าคืออะไร และความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารประกอบไฮโดรคาร์บอน นอกจากนี้แล้วสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเข้าใจได้โดยง่ายอีกด้วยค่ะ
               พร้อมกันรึยังค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเริ่มศึกษาบทเรียนกันได้เลยค่ะ ขอให้สนุกกับการเรียนเคมี นะค่ะ

 เคมีอินทรีย์

 

 

             เคมีอินทรีย์ (organic chemistry) เป็นสาขาหนึ่งของการศึกษาวิชาเคมี ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิต เนื่องจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเราส่วนใหญ่จัดเป็นสารอินทรีย์ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เครื่องสำอาง เชื้อเพลิง ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งแหล่งที่กำเนิดสารอินทรีย์ส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช ดังนี้

 

           ในสมัยแรกๆ นักวิทยาศาสตร์แบ่งสารเคมีออกเป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ สารอนินทรีย์เป็นสารประกอบของธาตุต่างๆ ส่วนสารอินทรีย์เป็นสารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต           
        
ต่อมาในปี พ.ศ. 1828 ฟรีดริช เวอเลอร์ สามารถสังเคราะห์ยูเรียได้จากสารอนินทรีย์ ดังสมการ 

 

           หลังจากนั้นทำให้คำจำกัดความของสารอินทรีย์เปลี่ยนไป สารอินทรีย์ คือ สารประกอบที่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก ยกเว้นสารประกอบคาร์บอนบางชนิด เช่น สารประกอบออกไซด์ คาร์บอเนต ไฮโดรเจนคาร์บอเนต ฯลฯ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสารอินทรีย์ เรียกว่า "เคมีอินทรีย์" 

        สมบัติของสารประกอบอินทรีย์และอนินทรีย์

              สารประกอบอินทรีย์มีสมบัติแตกต่างจากสารอนินทรีย์โดยสรุป  ดังตารางต่อไปนี้

 สารประกอบอินทรีย์

 สารประกอบอนินทรีย์

 1. ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนเป็นธาตุหลัก และธาตุอื่นๆ เช่น H, O, N, S, Cl, Br เป็นต้น

 1. ประกอบด้วยธาตุต่างๆ ในตารางธาตุ
 2. ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบโคเวเลนต์  2. สารอนินทรีย์มีจำนวนมาก ทั้งสารประกอบไอออนิกและสารประกอบโคเวเลนต์
 3. จุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสารประกอบโคเวเลนต์ ยกเว้น สารอินทรีย์เป็นประเภทพอลิเมอร์บางชนิดที่มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง  3. ถ้าเป็นประเภทสารประกอบไอออนิกหรือโคเวเลนต์แบบโครงผลึกร่างตาข่ายจะมีจุดหลอมเหลวสูง ถ้าเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ธรรมดา มีจุดหลอมเหลวต่ำ
 4. สารอินทรีย์ที่ติดไฟได้จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หรือเขม่าสีดำ ซึ่งเป็นผลละเอียดของธาตุคาร์บอน  4. สารอนินทรีย์ติดไฟหรือทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนจะได้ผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่เขม่าของคาร์บอน
 5. สารอินทรีย์มีทั้งละลายน้ำได้และไม่ละลายน้ำ  5. สารอนินทรีย์มีทั้งที่ละลายน้ำได้และไม่ละลายน้ำ
 6. สารอินทรีย์มีปรากฏการณ์ไอโซเมอริซึม คือ สูตรโมเลกุลสูตรหนึ่งอาจเป็นสารได้หลายชนิดที่มีโครงสร้างต่างกัน จึงมีจำนวนชนิดมากกว่าสารอนินทรีย์  6. สารอนินทรีย์ไม่มีปรากฏการณ์ไอโซเมอริซึม สารต่างชนิดกันสูตรโมเลกุลจะต่างกัน

(ที่มา : เคมีอินทรีย์ ช่วงชั้นที่ 4  ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ และคณะ ,หน้า 8-9)

พันธะของคาร์บอน 

             เวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้ง 4 ของคาร์บอนสามารถเกิดพันธะโคเวเลนซ์ (covalent bond) ได้ 4 พันธะ ซึ่งอาจจะเป็นพันธะเดี่ยว (single bond) พันธะคู่ (double bond) หรือพันธะสาม (triple bond) ก็ได้ การเกิดพันธะของคาร์บอนสามารถเกิดได้ 3 แบบ   ดังนี้                    
    พันธะเดี่ยว 4 พันธะ
 
  พันธะคู่ 1 พันธะ + พันธะเดี่ยว 2 พันธะ

    พันธะสาม 1 พันธะ + พันธะเดี่ยว 1 พันธะ

            ความยาวพันธะระหว่างคาร์บอน - คาร์บอน เรียงจากน้อยไปมาก ดังนี้   

             พลังงานพันธะ              900                    600                    300          kJ/mol 

           อะตอมอื่นๆ ที่มาร่วมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนเกิดพันธะโคเวเลนซ์กับคาร์บอนในสารอินทรีย์ ธาตุที่พบมากที่สุด คือ ไฮโดรเจน (H) สำหรับธาตุอื่นๆ นอกจาก H แล้วยังมี ไนโตรเจน (N) , ฟอสฟอรัส (P), ออกซิเจน (O), กำมะถัน (S) และแฮโลเจน (F, Cl, Br, I)

           ตัวอย่างพันธะโคเวเลนต์ระหว่างคาร์บอนกับธาตุอื่นๆ ที่พบบ่อยในสารอินทรีย์ ดังนี้

           ข้อสังเกตสำหรับธาตุอื่นที่เกิดพันธะโคเวเลนต์กับ C ในสารอินทรีย์จะมีพันธะได้ ดังนี้    

           ดังนั้นเมื่อเขียนสูตรสารอินทรีย์และมีอะตอมข้างบนนี้เข้ามาเกี่ยวข้องต้องพิจารณาจำนวนพันธะให้ถูกต้อง

น่าอ่านมากค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่าย อยากบอกว่าดีมากๆค่ะ

ดีมากๆๆๆๆๆ

ดีมาก

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 492 คน กำลังออนไลน์