the drugs addiction

รูปภาพของ sss27808
 ความหมายของยาเสพติด
          ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี
รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
          ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
          ๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
          ๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
          ๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
          ๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
ที่มาของภาพ
1. ประเภทของยาเสพติด
          จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท
          1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา
ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง
อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
          2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
          3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็น
โรคจิต
          4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้
2. แบ่งตามแหล่งที่มา
          แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
          1. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น  มอร์ฟีน  กระท่อม  กัญชา เป็นต้น

          2. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน  ยาอี  เอ็คตาซี เป็นต้น

ที่มาของภาพ http://nu.kku.ac.th/site/km/blogs/media/12_01.JPG
วิธีสังเกตอาการผู้ติดยาเสพติด
          จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้ 
          ๑ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
          - สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
          - ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
          - ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
          - ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
          - มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน
          - ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
          ๒ การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตุได้จาก
          - เป็นคนเจ้าอารมย์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
          - ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
          - ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
          - พูดจากร้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
          - ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
          - ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
          - ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
          - พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว
          - มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
          - ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ  
          - ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา  
          - ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย 
          - มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ
          ๓ การสังเกตอาการขาดยา ดังต่อไปนี้
          - น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย
          - กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด
          - ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ
          - ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
          - ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด
          - มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง
          - เป็นตะคริว
          - นอนไม่หลับ
สถานที่บำบัดผู้ติดยาเสพติด
โรงพยาบาล
     ๑.  โรงพยาบาลราชวิถี โทร. ๐ - ๒๒๔๖ - ๐๐๕๒ ต่อ ๔๓๐๒
     ๒.  โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โทร. ๐ - ๒๒๔๖ - ๑๔๐๐ ถึง ๑๔๒๘ ต่อ ๓๑๘๗
     ๓.  โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. ๐ - ๒๔๑๑ - ๒๔๑๙๑
     ๔.  โรงพยาบาลนิติจิตเวช โทร ๐ - ๒๔๔๑ - ๙๐๒๖ - ๙
     ๕.  โรงพยาบาลตากสิน โทร. ๐ - ๒๘๖๓ - ๑๓๗๑ ถึง ๒, ๐ - ๒๔๓๗ - ๐๑๒๓ ต่อ ๑๑๕๓,๑๒๔๘

          ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาล และคลีนิกยาเสพติด ในศูนย์บริการสาธารณสุข
      สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ได้แล้ว

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 404 คน กำลังออนไลน์