ใครอยากรู้..พันธุศาสตร์..ดูนี่.

รูปภาพของ knw33310

พันธุกรรม
เป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับยีน, กรรมพันธุ์, และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงศาสตร์ด้านการแพทย์เกี่ยวกับการวินิจฉัย, การรักษา, และการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและคนรอบข้างในเรื่องโรคทางพันธุกรรม มนุษย์เราเริ่มประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในการผสมพันธุ์พืชและสัตว์เพื่อเลือกลักษณะที่ต้องการ ในปัจจุบันพันธุศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการศึกษาหน้าที่การทำงานของยีนต่างๆ ในสิ่งมีชีวิตข้อมูลทางพันธุกรรมมักบรรจุอยู่ภายในโครโมโซม ซึ่งมีการเรียงตัวของโมเลกุลดีเอ็นเอสาขาแขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยการศึกษาหน่วยพันธุกรรม หรือ ยีน, กรรมพันธุ์ (heredity), และวิวัฒนาการในสิ่งมีชีวิตต่าง ๆคำว่า "พันธุศาสตร์" นี้ เริ่มแรกคิดขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้กับศาสตร์ใหม่ที่ว่าด้วยการศึกษาชาติพันธุ์และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ วิลเลียม เบทสัน โดยปรากฏอยู่ในเอกสารของเขาที่ส่งไปให้อดัม เซดจ์วิค ซึ่งมีการลงบันทึก วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2448มนุษย์เริ่มรับความรู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยการเพาะพันธุ์และการดำเนินการสืบพันธุ์ให้แก่พืชและสัตว์ การวิจัยทางพันธุศาสตร์ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ศึกษาเพื่อให้ทราบระบบภายในของยีน เช่น การวิเคราะห์การตอบสนองทางพันธุกรรม ซึ่งอยู่ภายในสิ่งมีชีวิต ข้อมูลทางพันธุกรรมส่วนใหญ่มักถูกบรรจุไว้ในโครโมโซม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างทางเคมีของ ดีเอ็นเอ

หน่วยพันธุกรรม 
หรือ ยีน คือ ส่วนหนึ่งของโครโมโซม (Chromosome segment) ที่ถอดรหัส (encode) ได้เป็นสายโพลีเปปไตด์หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นRNA ยีน ประกอบด้วย ส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นRNAได้ เรียกว่า exon และ บริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า intronยีนสามารถเป็นได้ทั้ง ดีเอ็นเอ หรือว่า RNA ก็ได้ แต่ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงนั้นจะเป็นดีเอ็นเอหมดเพราะเสถียรมากเหมาะแก่การเก็บข้อมูล ขณะที่RNA จะพบในพวกไวรัส ยีนทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตหรือเซลล์จะรวมเรียกว่า จีโนม และโครงสร้างของจีโนมในพวกโพรคารีโอตและยูคารีโอตจะแตกต่างกัน ถ้ายีนเกิดผิดไปจากปกติเรียกว่า การกลายพันธุ์ ซึ่งเกิดเองตามธรรมชาติหรือถูกกระตุ้นให้เกิดก็ได้ โดยส่วนมากแล้วเมื่อยีนเกิดผิดปกติไปจะส่งผลเสียต่อสิ่งมีชิวิตนั้นมากกว่าผลดี เช่น ในคน สามารถทำให้ป่วย เจ็บไข้ หรือถึงแก่ชีวิตได้ โรคที่เกิดจากสาเหตุนี้เรียกว่า โรคทางพันธุกรรม ซึ่งจะถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปหรือไม่ก็ได้

                                                ทำความเข้าใจด้วย................................. 

 

ดีเอ็นเอ

เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลานดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล, ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และเบส (หรือด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) , ไทมีน (thymine, T) , ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) ขาของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเองผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดริช มีเชอร์ ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก เป็นผู้ไขความลับโครงสร้างของดีเอ็นเอ และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ในประเทศไทย มีนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ ดีเอ็นเอเขียนโดยวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์                อาร์เอ็นเอ (Ribonucleic acid - RNA) เป็นพอลิเมอร์ของกรดนิวคลีอิกที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ (nucleotide) เชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ อาร์เอ็นเอนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยวงแหวนไรโบส (ribose) ซึ่งแตกต่างจากดีเอ็นเอที่ประกอบด้วยวงแหวนดีออกซีไรโบส (deoxyribose) อาร์เอ็นเอเกิดจากการคัดสำเนาข้อมูลจากดีเอ็นเอโดยเอนไซม์อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส แล้วเข้ากระบวนการต่อเนื่องโดยเอนไซม์อื่นๆ อีก อาร์เอ็นเอจะทำหน้าที่เหมือนแม่แบบสำหรับแปลข้อมูลจากยีน ไปเป็นข้อมูลในโปรตีน แล้วขนย้ายกรดอะมิโนเข้าไปในไรโบโซม (ribosome) เพื่อผลิตโปรตีน และแปลข้อความไปเป็นสำเนาข้อมูล (transcript) ในโปรตีน

 

การเปรียบเทียบระหว่าง RNA และ DNA

RNA เป็นโมเลกุลเกลียวเดี่ยว มีโซ่นิวคลิโอไทด์ที่สั้นกว่า ไม่เหมือนกับ DNA และ RNA มีน้ำตาลไรโบส (ribose) ในขณะที่ DNA เป็น ดีออกซิไรโบส (deoxyribose) (มี ไฮดรอกซิล กรุป เชื่อมต่อกับวงแหวนเพนโตส ที่ตำแหน่ง 2' ซึ่งใน DNA มี ไฮโดรเจน อะตอมแทนไฮดรอกซิล กรุป) ไฮดรอกซิล กรุป นี้จะทำให้ RNAมีสเถียรภาพน้อยกว่า DNA เพราะจะถูก ไฮโดรไลสิส ได้ง่าย นอกจากนี้ RNA หลายประเภท (tRNA, rRNA) มี เซกคอนดารีสตรักเจอร์ (secondary structure) ซึ่งช่วยให้มันมีสเถียรภาพมากขึ้น NA-comparedto-DNA thymineAndUracilCorrected.png

by ธัญณิชา ตันศรี

รูปภาพของ virat

ครูวิรัช แม้ไม่อาจเทียบ 1 ใน ล้าน ลูกขอตั้งปณิธาน สานสิ่งที่พ่อสร้างไว้ จะขอเดินตามรอยเท้าพ่อไป ไม่มีวันท้อ

ตรวจแล้ว

รูปภาพของ knw33020

เม้นน น!

 นะคะ

รูปภาพของ knw33315

ฝากหน่อยนะคะ
http://thaigoodview.com/node/62917
http://thaigoodview.com/node/62921
http://thaigoodview.com/node/63222

รูปภาพของ knw33315

ฝากหน่อยนะคะ http://thaigoodview.com/node/62917 http://thaigoodview.com/node/62921 http://thaigoodview.com/node/63222

รูปภาพของ knw33311

หวัดดี

รูปภาพของ knw33316

มาเม้นให้ด้วย

รูปภาพของ knw33316

มาเม้นให้ด้วย

รูปภาพของ knw33316

มาเม้นให้ด้วย

รูปภาพของ knw33316

มาเม้นให้ด้วย

รูปภาพของ knw33313

บาย

รูปภาพของ knw33313

ไปเม้นให้ด้วย

รูปภาพของ knw33313

ไปเม้นให้ด้วย

รูปภาพของ knw33313

มาเม้นให้เเล้วน่ะ

รูปภาพของ pnp31824

^^ อ่านจบ ติดแพทย์เลยยย^^

รูปภาพของ knw33306

มีสาระดีน่ะ

รูปภาพของ knw33306

อีกรอบ

รูปภาพของ knw33306

เอาอีกรอบบบบ!

อ่านมาเเล้ว

เนื้อหาดี ที่สำคัญไม่เยอะด้วย

 ชอบบบบ! ^^

รูปภาพของ knw33306

ไปเม้นให้ที T^T

รูปภาพของ knw33306

ขี้เกียจอ่าน! เม้นก่อนเลย 5555+

รูปภาพของ knw33317

ดี  มาก  ๆ เมษ์

ฝาก ๆ ด้วยนะ

http://www.thaigoodview.com/node/64802#comment-55133

http://www.thaigoodview.com/node/63197

 

รูปภาพของ pnp32077

ช่างมันสาระสุดด - - *

บาย

น่ารัก

น่ารัก

ไปดูรูปกาอาระน่ะ

ผมสีเเดง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 520 คน กำลังออนไลน์