• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:fc9a84d2fb90e90cdc0abd54eca41c79' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<strong>การ์ดแลน</strong>\n</p>\n<p>\n            เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมฯเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องโดยผ่านสายแลน การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อพ่วงกับพอร์ตแทบทุกชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น ISA, PCI, USB, Parallel, PCMCIA และ Compact Flash ซึ่งที่เห็นใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นแบบ PCI เพราะถ้าเทียบราคากับประสิทธิภาพแล้วถือว่าค่อนข้างถูก มีหลายราคา ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ส่วนแบบ USB, Parallel, PCMCIA ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันมากกับเครื่องโน๊ตบุ๊ค เพราะก็อย่างที่ทราบกันอยู่ว่าการติดอุปกรณ์ลงในพอร์ตภายใน ของเครื่องโน๊ตบุ๊คเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงจึงต้องอาศัยพอร์ตภายนอกดังที่กล่าวมา\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong> ฮับ</strong>           \n</p>\n<p>\n           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลาง คอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่งลักษณะการทำงาน ให้ลองนึกถึงภาพการออกอากาศโทรทัศน์ ที่เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูล เครื่องที่อยู่บนเครือข่ายทุกเครื่องจะได้รับข้อมูลเหมือนๆ กันทุกเครื่อง ซึ่งเมื่อแต่ละเครื่องได้รับข้อมูลก็จะดูว่า เป็นข้อมูลของตัวเองไหม ถ้าใช่ก็จะรับเข้ามาประมวลผล ถ้าไม่ใช่ก็ไม่รับเข้ามา ซึ่งจากากรทำงานในลักษณะนี้ ในเครือข่ายที่ใช้ฮับเป็นตัวกระจ่ายสัญญาณ จะสามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้ทีละเครื่อง ถ้ามีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูล เครื่องอื่นๆ ก็ต้องรอให้การส่งข้อมูลเสร็จสิ้นเสียก่อน เมื่อช่องสัญญาณว่าง จึงจะสามารถส่งข้อมูลได้\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong>สวิตซ์</strong>\n</p>\n<p>\n           สวิตซ์จะทำหน้าที่คล้ายฮับ แต่จะเก่งกว่าตรงที่เมื่อมีการร้องขอโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อส่งข้อมูล สวิตซ์ก็จะสร้างวงจรเสมือนขึ้นมาให้เครื่องสองเครื่องนี้ส่งข้อมูลถึงกัน ซึ่งช่องสัญญาณกลางก็จะว่างไว้รองรับการร้องขอส่งข้อมูลจากเครื่องอื่นๆ ต่อไป ถ้านึกภาพไม่ออกให้นึกถึงการทำงานของสายโทรศัพท์ ที่หลายๆ คู่สายสามารถพูดคุยพร้อมๆ กันได้ จากคุณลักษณะนี้ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับ เพราะแทบจะไม่มีการรอใช้ช่องสัญญาณเกิดขึ้นในเครือข่ายที่ใช้สวิตซ์เป็นตัวกระจายสัญญาณ และแน่นอนราคาของสวิตซ์ย่อมแพงกว่าฮับ\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong>โมเด็ม</strong>\n</p>\n<p>\n           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้สามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ สายเช่า และสายไฟเบอร์ออฟติก แล้วแต่ประเภทของโมเด็ม ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกล ยกตัวอย่างเช่น การที่คุณใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์หาไอเอสพีที่อยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร เพื่อจะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong>เราเตอร์</strong>\n</p>\n<p>\n           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เลือกเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล ทำหน้าที่ในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการล้มเหลวในการส่งข้อมูล และเราเตอร์ยังสามารถช่วยเชื่อมเครือข่ายสองเครือข่าย หรือมากกว่าเข้าด้วยกัน เพราะเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานบนเครือข่ายอย่างน้อยสองเครือข่ายขึ้นไป ถ้าจะพูดถึงราคา พูดแบบน่ารักๆ ก็ต้องพูดว่า โห...แพงจังเลย\n</p>\n<p align=\"center\">\n<strong>สายแลน </strong>\n</p>\n<p>\n           เมื่อมีวงแลนก็ต้องมีสายแลน สายแลนมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอคเชียน ยูทีพี เอสทีพี และ ไฟเบอร์ออปติก หรือแม้กระทั่งแบบที่ไม่ใช้สาย (Wireless LAN ) และแบบที่เห็นได้บ่อยที่สุดในปัจจุบันที่นิยมใช้กัน ก็ได้แก่สายแบบ ยูทีพี ที่ใช้กับหัวต่อแบบ RJ 45 ซึ่งจะคล้ายๆกับหัวต่อของสายโทรศัพท์ ( ของโทรศัพท์เป็นแบบ RJ11 ) ซึ่งสายประเภทนี้จะไม่มีการ ชีลด์ ป้องกันสัญญาณรบกวน แต่จะใช้วิธีตีเกลียวสายเป็นคู่ๆ 4 คู่ ป้องกันสัญญาณรบกวน อีกแบบก็คือการใช้วิธีส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงบางแบบก็ใช้อินฟราเรด จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือเมื่อไม่ต้องเดินสายทำให้สามารถติดตั้งได้ง่าย ย้ายก็สะดวก แต่ข้อด้อยก็คือปัญหาจากการถูกรบกวน และสัญญาณถูกบัง แถมความเร็วในการส่งข้อมูลยังด้อยกว่าระบบแลนแบบใช้สายอยู่ ราคาก็สูงกว่า และที่กำลังมาแรงในขณะนี้คือเทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL น่าสนใจกันขึ้นมาบ้างแล้วไหมครับ ถ้าสนใจเราก็ไปลุยกันต่อเลยครับ ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้ๆกันก็มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบระยะใกล้ และแบบระยะไกล เอาเป็นว่าเรามาเริ่มต้นการเลือกใช้อุปกรณ์ระบบเครือข่ายแบบระยะใกล้กันก่อนครับ\n</p>\n<p>\n           ถ้าท่านคิดจะติดตั้งระบบเครือข่าย ซึ่งเป็นเครือข่ายระยะใกล้ อย่างแรกนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ท่านจะต้องมีก็คือ การ์ดแลน และสายแลน บางท่านอาจจะสงสัย ว่า แล้ว ฮับ และ สวิตช์ มันหายไปไหน ก็ขอบอกว่าไม่ต้องใช้ก็ได้ครับ แต่มีข้อแม้ว่าต้องมีคอมพิวเตอร์ในระบบไม่เกิน “สองเครื่อง” เพราะถ้ามีแค่สองเครื่องท่านก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเข้าหากันโดยตรงได้\n</p>\n<p>\n           แต่ถ้ามากกว่าสองเครื่อง ก็ต้องถามหา สวิตช์ หรือไม่ก็ ฮับ กันละ เอ... แล้วจะใช้ ฮับ หรือสวิตช์ดี ล่ะ อันนี้ก็ต้องมาดูเหตุและปัจจัยกันก่อน ถ้าในกรณีที่เครือข่ายของท่านมีขนาดไม่ใหญ่ ( หมายถึงจำนวนเครื่องและข้อมูล ในระบบเครือข่าย ) ตัวเลือกแรกที่ น่าสนใจก็คือ ฮับ เพราะถ้าในระบบเครือข่ายของท่านมีข้อมูลวิ่งไปมาไม่มากการลงทุนซื้อ สวิตช์ มาใช้ก็ดูจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไป เพราะราคามันแพงกว่า แต่ถ้าเครือข่ายของท่านมีข้อมูลวิ่งมามากๆ ตัวเลือกอย่างสวิตช์ก็น่ารับไว้พิจารณา\n</p>\n<p>\n           และถ้าจะตัดสินใจซื้อ ฮับ หรือ สวิตช์ มาใช้งานก็ต้องคำนึงถึงเรื่องขยายระบบในอนาคตด้วย การเผื่ออนาคตก็มีตัวเลือกอีก ตัวเลือกแรกคือ เลือกสวิตช์ หรือ ฮับ ที่สามารถรองรับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เท่ากับจำนวนที่ท่านคาดว่าจะมีในอนาคต แต่มันก็อาจจะมีปัญหาคือ เมื่อถึงเวลานั้นแล้วความจำเป็นในการขยายระบบอาจไม่มีก็ได้ แล้วจะทำยังงัยดี จะตัดส่วนที่เกินส่งคืนก็ไม่ได้ ไม่เป็นไรยังมีอีกตัวเลือกให้ตัดสินใจ ตัวเลือกนี้เพียงแต่ท่านเลือกสวิตช์หรือ ฮับที่พอร์ต จำพวก Up Links หรืออะไรก็แล้วแต่ทำหน้าที่เป็น Back Bone ความเร็วสูง เอาไว้พ่วงกับสวิตช์ หรือ ฮับ อีกตัว เวลาจะขยายระบบก็เพียงแต่ซื้อ สวิตช์หรือ ฮับ เพิ่มอีกตัวมาพ่วงเข้าไป\n</p>\n<p>\n           ในกรณีที่ท่านมีเครือข่ายแลนอยู่สองเครือข่ายอยู่ดีไม่ว่าดีเกิดอยากจะเชื่อมเครือข่ายทั้งสองเข้าด้วยกันเอาละท่านจะทำยังไง? ไม่ยาก ท่านก็พ่วงฮับของทั้งสองวงแลนเข้าด้วยกันสิ อ๊ะ ทำไมง่ายยังงี้? แต่ในกรณีนี้ถ้าวงแลนทั้งสองมีข้อมูลไม่ชุกชุมมากนักมันก็คงไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเกิดมันชุกชุมขึ้นมาละ มันจะเกิดอะไรขึ้น มันก็จะเกิดเหตุการณ์เหมือนกับกรุงเทพฯ ในวันที่จราจรเป็นจราจล เพราะจะมีข้อมูลวิ่งกันวุ่นทั้งสองเครือข่าย เพราะอุปกรณ์อย่าง ฮับ แม้เราจะแยกวงแลนทั้งสองเป็นคนละ Sub Net แต่ข้อมูลภายในของแต่ละ Sub Net ก็ยังวิ่งข้ามวงแลนอยู่ทั้งสองวงแลน จากลักษณะการทำงานของฮับอยู่ดี แล้วจะทำยังงัย? เอาละ ถึงเวลาของพระเอกตัวจริงออกโรง พระเอกที่ว่าก็คือ เราเตอร์ ก็อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานบนสองเครือข่ายขึ้นไป เราก็เลยเอาความสามารถนี้มาเชื่อมต่อเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน แล้วก็จะลดปัญหาความชุกชุมของข้อมูลลงได้ เพราะข้อมูลที่จะวิ่งข้ามวงแลนจะมีเฉพาะข้อมูลที่จะส่งข้ามวงแลนเท่านั้น แต่จ้าวเราเตอร์นี่มันก็แพงเอาการ หากไม่มีงบประมาณ ในการจัดหามาใช้งาน ไม่เป็นไร เรายังสามารถนำเอาเครื่อง PC มาประยุกต์ใช้แทนเราเตอร์ ได้ดีพอสมควรทีเดียว แต่ถ้าท่านต้องการความสามารถของเราเตอร์เต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ให้พิจารณาเลือกเราเตอร์ตัวจริงเสียงจริงมาใช้ดีกว่า ลงทุนนิดแต่คุ้มค่าครับ\n</p>\n', created = 1727005285, expire = 1727091685, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:fc9a84d2fb90e90cdc0abd54eca41c79' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

อุปกรณ์เครือข่าย

รูปภาพของ sss27104

การ์ดแลน

            เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมฯเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องโดยผ่านสายแลน การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่สามารถต่อพ่วงกับพอร์ตแทบทุกชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น ISA, PCI, USB, Parallel, PCMCIA และ Compact Flash ซึ่งที่เห็นใช้กันมากที่สุดก็จะเป็นแบบ PCI เพราะถ้าเทียบราคากับประสิทธิภาพแล้วถือว่าค่อนข้างถูก มีหลายราคา ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ส่วนแบบ USB, Parallel, PCMCIA ส่วนใหญ่จะเห็นใช้กันมากกับเครื่องโน๊ตบุ๊ค เพราะก็อย่างที่ทราบกันอยู่ว่าการติดอุปกรณ์ลงในพอร์ตภายใน ของเครื่องโน๊ตบุ๊คเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการต่ออุปกรณ์ต่อพ่วงจึงต้องอาศัยพอร์ตภายนอกดังที่กล่าวมา

 ฮับ           

           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลาง คอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่งลักษณะการทำงาน ให้ลองนึกถึงภาพการออกอากาศโทรทัศน์ ที่เมื่อมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูล เครื่องที่อยู่บนเครือข่ายทุกเครื่องจะได้รับข้อมูลเหมือนๆ กันทุกเครื่อง ซึ่งเมื่อแต่ละเครื่องได้รับข้อมูลก็จะดูว่า เป็นข้อมูลของตัวเองไหม ถ้าใช่ก็จะรับเข้ามาประมวลผล ถ้าไม่ใช่ก็ไม่รับเข้ามา ซึ่งจากากรทำงานในลักษณะนี้ ในเครือข่ายที่ใช้ฮับเป็นตัวกระจ่ายสัญญาณ จะสามารถส่งข้อมูลสู่เครือข่ายได้ทีละเครื่อง ถ้ามีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งกำลังส่งข้อมูล เครื่องอื่นๆ ก็ต้องรอให้การส่งข้อมูลเสร็จสิ้นเสียก่อน เมื่อช่องสัญญาณว่าง จึงจะสามารถส่งข้อมูลได้

สวิตซ์

           สวิตซ์จะทำหน้าที่คล้ายฮับ แต่จะเก่งกว่าตรงที่เมื่อมีการร้องขอโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อส่งข้อมูล สวิตซ์ก็จะสร้างวงจรเสมือนขึ้นมาให้เครื่องสองเครื่องนี้ส่งข้อมูลถึงกัน ซึ่งช่องสัญญาณกลางก็จะว่างไว้รองรับการร้องขอส่งข้อมูลจากเครื่องอื่นๆ ต่อไป ถ้านึกภาพไม่ออกให้นึกถึงการทำงานของสายโทรศัพท์ ที่หลายๆ คู่สายสามารถพูดคุยพร้อมๆ กันได้ จากคุณลักษณะนี้ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าฮับ เพราะแทบจะไม่มีการรอใช้ช่องสัญญาณเกิดขึ้นในเครือข่ายที่ใช้สวิตซ์เป็นตัวกระจายสัญญาณ และแน่นอนราคาของสวิตซ์ย่อมแพงกว่าฮับ

โมเด็ม

           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณให้สามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ สายเช่า และสายไฟเบอร์ออฟติก แล้วแต่ประเภทของโมเด็ม ทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกล ยกตัวอย่างเช่น การที่คุณใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์หาไอเอสพีที่อยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร เพื่อจะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต

เราเตอร์

           เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เลือกเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล ทำหน้าที่ในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดในขณะนั้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการล้มเหลวในการส่งข้อมูล และเราเตอร์ยังสามารถช่วยเชื่อมเครือข่ายสองเครือข่าย หรือมากกว่าเข้าด้วยกัน เพราะเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สามารถทำงานบนเครือข่ายอย่างน้อยสองเครือข่ายขึ้นไป ถ้าจะพูดถึงราคา พูดแบบน่ารักๆ ก็ต้องพูดว่า โห...แพงจังเลย

สายแลน

           เมื่อมีวงแลนก็ต้องมีสายแลน สายแลนมีหลายแบบไม่ว่าจะเป็นสายโคแอคเชียน ยูทีพี เอสทีพี และ ไฟเบอร์ออปติก หรือแม้กระทั่งแบบที่ไม่ใช้สาย (Wireless LAN ) และแบบที่เห็นได้บ่อยที่สุดในปัจจุบันที่นิยมใช้กัน ก็ได้แก่สายแบบ ยูทีพี ที่ใช้กับหัวต่อแบบ RJ 45 ซึ่งจะคล้ายๆกับหัวต่อของสายโทรศัพท์ ( ของโทรศัพท์เป็นแบบ RJ11 ) ซึ่งสายประเภทนี้จะไม่มีการ ชีลด์ ป้องกันสัญญาณรบกวน แต่จะใช้วิธีตีเกลียวสายเป็นคู่ๆ 4 คู่ ป้องกันสัญญาณรบกวน อีกแบบก็คือการใช้วิธีส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงบางแบบก็ใช้อินฟราเรด จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือเมื่อไม่ต้องเดินสายทำให้สามารถติดตั้งได้ง่าย ย้ายก็สะดวก แต่ข้อด้อยก็คือปัญหาจากการถูกรบกวน และสัญญาณถูกบัง แถมความเร็วในการส่งข้อมูลยังด้อยกว่าระบบแลนแบบใช้สายอยู่ ราคาก็สูงกว่า และที่กำลังมาแรงในขณะนี้คือเทคโนโลยีแบบ Ethernet over VDSL น่าสนใจกันขึ้นมาบ้างแล้วไหมครับ ถ้าสนใจเราก็ไปลุยกันต่อเลยครับ ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายที่ใช้ๆกันก็มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบระยะใกล้ และแบบระยะไกล เอาเป็นว่าเรามาเริ่มต้นการเลือกใช้อุปกรณ์ระบบเครือข่ายแบบระยะใกล้กันก่อนครับ

           ถ้าท่านคิดจะติดตั้งระบบเครือข่าย ซึ่งเป็นเครือข่ายระยะใกล้ อย่างแรกนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ท่านจะต้องมีก็คือ การ์ดแลน และสายแลน บางท่านอาจจะสงสัย ว่า แล้ว ฮับ และ สวิตช์ มันหายไปไหน ก็ขอบอกว่าไม่ต้องใช้ก็ได้ครับ แต่มีข้อแม้ว่าต้องมีคอมพิวเตอร์ในระบบไม่เกิน “สองเครื่อง” เพราะถ้ามีแค่สองเครื่องท่านก็สามารถเชื่อมต่อให้เป็นวงแลนได้โดยใช้สายไขว้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องเข้าหากันโดยตรงได้

           แต่ถ้ามากกว่าสองเครื่อง ก็ต้องถามหา สวิตช์ หรือไม่ก็ ฮับ กันละ เอ... แล้วจะใช้ ฮับ หรือสวิตช์ดี ล่ะ อันนี้ก็ต้องมาดูเหตุและปัจจัยกันก่อน ถ้าในกรณีที่เครือข่ายของท่านมีขนาดไม่ใหญ่ ( หมายถึงจำนวนเครื่องและข้อมูล ในระบบเครือข่าย ) ตัวเลือกแรกที่ น่าสนใจก็คือ ฮับ เพราะถ้าในระบบเครือข่ายของท่านมีข้อมูลวิ่งไปมาไม่มากการลงทุนซื้อ สวิตช์ มาใช้ก็ดูจะเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไป เพราะราคามันแพงกว่า แต่ถ้าเครือข่ายของท่านมีข้อมูลวิ่งมามากๆ ตัวเลือกอย่างสวิตช์ก็น่ารับไว้พิจารณา

           และถ้าจะตัดสินใจซื้อ ฮับ หรือ สวิตช์ มาใช้งานก็ต้องคำนึงถึงเรื่องขยายระบบในอนาคตด้วย การเผื่ออนาคตก็มีตัวเลือกอีก ตัวเลือกแรกคือ เลือกสวิตช์ หรือ ฮับ ที่สามารถรองรับจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เท่ากับจำนวนที่ท่านคาดว่าจะมีในอนาคต แต่มันก็อาจจะมีปัญหาคือ เมื่อถึงเวลานั้นแล้วความจำเป็นในการขยายระบบอาจไม่มีก็ได้ แล้วจะทำยังงัยดี จะตัดส่วนที่เกินส่งคืนก็ไม่ได้ ไม่เป็นไรยังมีอีกตัวเลือกให้ตัดสินใจ ตัวเลือกนี้เพียงแต่ท่านเลือกสวิตช์หรือ ฮับที่พอร์ต จำพวก Up Links หรืออะไรก็แล้วแต่ทำหน้าที่เป็น Back Bone ความเร็วสูง เอาไว้พ่วงกับสวิตช์ หรือ ฮับ อีกตัว เวลาจะขยายระบบก็เพียงแต่ซื้อ สวิตช์หรือ ฮับ เพิ่มอีกตัวมาพ่วงเข้าไป

           ในกรณีที่ท่านมีเครือข่ายแลนอยู่สองเครือข่ายอยู่ดีไม่ว่าดีเกิดอยากจะเชื่อมเครือข่ายทั้งสองเข้าด้วยกันเอาละท่านจะทำยังไง? ไม่ยาก ท่านก็พ่วงฮับของทั้งสองวงแลนเข้าด้วยกันสิ อ๊ะ ทำไมง่ายยังงี้? แต่ในกรณีนี้ถ้าวงแลนทั้งสองมีข้อมูลไม่ชุกชุมมากนักมันก็คงไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเกิดมันชุกชุมขึ้นมาละ มันจะเกิดอะไรขึ้น มันก็จะเกิดเหตุการณ์เหมือนกับกรุงเทพฯ ในวันที่จราจรเป็นจราจล เพราะจะมีข้อมูลวิ่งกันวุ่นทั้งสองเครือข่าย เพราะอุปกรณ์อย่าง ฮับ แม้เราจะแยกวงแลนทั้งสองเป็นคนละ Sub Net แต่ข้อมูลภายในของแต่ละ Sub Net ก็ยังวิ่งข้ามวงแลนอยู่ทั้งสองวงแลน จากลักษณะการทำงานของฮับอยู่ดี แล้วจะทำยังงัย? เอาละ ถึงเวลาของพระเอกตัวจริงออกโรง พระเอกที่ว่าก็คือ เราเตอร์ ก็อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานบนสองเครือข่ายขึ้นไป เราก็เลยเอาความสามารถนี้มาเชื่อมต่อเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน แล้วก็จะลดปัญหาความชุกชุมของข้อมูลลงได้ เพราะข้อมูลที่จะวิ่งข้ามวงแลนจะมีเฉพาะข้อมูลที่จะส่งข้ามวงแลนเท่านั้น แต่จ้าวเราเตอร์นี่มันก็แพงเอาการ หากไม่มีงบประมาณ ในการจัดหามาใช้งาน ไม่เป็นไร เรายังสามารถนำเอาเครื่อง PC มาประยุกต์ใช้แทนเราเตอร์ ได้ดีพอสมควรทีเดียว แต่ถ้าท่านต้องการความสามารถของเราเตอร์เต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ให้พิจารณาเลือกเราเตอร์ตัวจริงเสียงจริงมาใช้ดีกว่า ลงทุนนิดแต่คุ้มค่าครับ

สร้างโดย: 
กุลวดี ปักเขทานัง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 304 คน กำลังออนไลน์