รายละเอียดการค้าสังคโลกทางภาคพื้นทวีป และทางทะเล

 

การค้าสังคโลกทางภาคพื้นทวีป


ผลการสำรวจและค้นคว้าของนักวิชาการในหลายลักษณะ เช่นการสำรวจเมืองโบราณของ รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม ตั้งแต่พ.ศ. 2516 โครงการโบราณคดีเครื่องถ้วยไทย พ.ศ. 2523 โครงการโบราณคดีใต้น้ำ และผลการศึกษาซากเรือจมหลายลำในอ่าวไทย ช่วยให้เราสามารถกำหนดเครือข่ายของเส้นทางค้าสังคโลกภาคพื้นทวีปได้ดังนี้

1. เส้นทางค้าจากสุโขทัย – ศรีสัชชนาลัยไปด้านตะวันออกผ่านเมืองทุ่งยั้ง เมืองฝาง (ในจังหวัดอุตรดิตถ์) และจากปากน้ำเมืองตรอน (เขตอุตรดิตถ์) ไปเมืองน่าน

2. จากสุโขทัย – ศรีสัชชนาลัยลงใต้ตามลำน้ำยม ผ่านพิจิตรลงมานครสวรรค์

3. เส้นทางในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง จากนครสวรรค์ผ่านไปตามลำน้ำสำคัญ 2 สายคือ ไปตามลำน้ำท่าจีนออกปากน้ำท่าจีน อีกทางหนึ่งไปตามลำน้ำน้อยซึ่งแยกจากชัยนาทผ่านเมืองแพรกศรีราชา หรือเมืองสรรค์บุรีมายังอยุธยา

4. เส้นทางบกด้านตะวันตก ผ่านที่สูงและทิวเขาไปออกเมาะตะมะติดต่อกับหัวเมืองในอ่าว เบงกอล ในเส้นทางนี้เมืองตากเป็นชุมทางสำคัญก่อนเข้าสู่ลุ่มน้ำสาละวิน ดังที่ได้มีการขุดพบเครื่องถ้วยชามและทรัพย์สมบัติในหลุมศพคนโบราณบนเทือก เขาถนนธงชัย ตั้งแต่เขตอุ้มผาง จังหวัดตาก ขึ้นไปทางเหนือจนถึงเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องปั้นดินเผาที่พบมีทั้งถ้วยชามจีนสมัยราชวงศ์หยวนเหม็ง เครื่องสังคโลก เครื่องเคลือบล้านนาจากเตาสันกำแพงและเวียงกาหลง แสดงว่า มีกลุ่มคนตั้งหลักแหล่งอยู่บนทิวเขาถนนธงชัยและตะนาวศรี คนเหล่านี้ใช้เครื่องปั้นดินเผาและเครื่องเคลือบในการเซ่นศพ อาจเป็นได้ว่ามีการติดต่อค้าขายระหว่างชาวเขาและชาวพื้นถิ่นในที่ราบ 

 

การค้าสังคโลกทางทะเล

การส่งเครื่องสังคโลกเป็นสินค้าออกไปสู่ชุมชนภายนอก นอกจากอาศัยเส้นทางค้าภาคพื้นทวีปแล้ว ยังมีการค้าทางทะเล หลักฐานเท่าที่พบขณะนี้ชี้ให้เห็นว่าการค้าสังคโลกทางทะเลแบ่งเป็น 2 แบบ

แบบหนึ่ง เป็นการค้าสำเภา ในน่านน้ำทะเลจีนใต้ ซึ่งบางครั้งบางคราวคงไปถึงหมู่เกาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น

อีกแบบหนึ่ง เป็นการค้าทางเรือเลียบชายฝั่ง เดินทางระยะสั้นตามเมืองท่าในอ่าวไทย และ  ที่ติดต่อกับหมู่เกาะใกล้เคียงในน่านน้ำภายใน

ตั้งแต่ยุคโบราณมาแล้วที่น่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนล่างมีการ เคลื่อนไหวทางการค้าแลกเปลี่ยนและการสังสรรค์ทางวัฒนธรรม เป็นทั้งพื้นที่ผ่านของบรรดาพ่อค้าจากซีกโลกตะวันตกและพ่อค้าจีนจากทางตะวัน ออก เมืองท่าชายฝั่งและสถานีการค้าสำคัญเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักเดินเรือ สมัยนั้น เช่น อู่ทอง ออกแก้ว หลินยี่หรือจามปา จนในที่สุดตรงลุ่มน้ำเจ้าพระยาเกิดแว่นแคว้นอิ้นรุ่งเรืองเป็นรัฐทางทะเล (Maritime State) คุมน่านน้ำอ่าวไทยและใกล้เคียงคือ ศรีทวารวดี นอกไปจากนั้นความสามารถของชาวน้ำหรือชาวทะเลในน่านน้ำแถบนี้เป็นที่กล่าว ขวัญถึง เอกสารจีน เคยกล่าวถึงพวกคุนลุ้นอยู่ทางใต้ เป็นต้น พวกชาวน้ำมีบทบาททางการเดินเรือเลียบชายฝั่งมาแต่เดิม กิจกรรม ทางการค้าทางทะเลในน่านน้ำเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตอนล่างนี้จึงกว้าง ขวาง มีทั้งการค้าสำเภาขนาดใหญ่ เรือเลียบชายฝั่งขนาดเล็กและเรือขนถ่ายสินค้าระยะใกล้ดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและคาบสมุทรทางใต้จึงอยู่ในเส้นทางผ่านของการ ติดต่อการค้าทางทะเลระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออกมาแต่ยุคโบราณ มีร่องรอยของวัตถุทางวัฒนธรรมอันเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนติดต่อหรือปะทะ สังสรรค์ระหว่างผู้มาเยือนและชุมชนพื้นถิ่นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกลองมโหระทึกใน วัฒนธรรมดองซอน ตุ้มหูรูปเขาควายในวัฒนธรรมซาหยุ่นห์ ลูกปัดและอื่น ๆ จนเกิดชุมชนพื้นเมือง ศูนย์กลางของระบบการเมืองและหรือแหล่งแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ การเกิดเมืองท่าชายฝั่งในลุ่ม  น้ำที่ติดต่อถึงทะเลได้ และเมืองท่าทางการค้าตามฝั่งทะเลรอบอ่าวไทย ตั้งแต่อู่ทอง ศรีวัตสปุระ    (ศรีมโหสถ) ไปจนถึงเมืองชุมชนทางการค้าสมัยทวารวดีและบ้านเล็กเมืองน้อยริมทะเลทางด้าน ตะวันออกเช่นเมืองศรีพโล (ชลบุรี) เหล่านี้คือ ภาพสะท้อนการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจวัฒนธรรม  ในอ่าวไทย อดีตอันมีชีวิตชีวาของสยามประเทศ

เมื่อแคว้นศรีทวารวดีเฟื่องฟูคุมการค้าทางทะเลแถบนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษ ที่ 12 – 16 แล้วสลายตัว   ไป กลับมิได้หยุดยั้งการเติบโตและการสั่งสมประสบการณ์ของชุมชนบ้านเล็กเมือง น้อย เราจึงเห็น ร่องรอยการติดต่อของบ้านเมืองเหล่านี้กับโลกภายนอกอย่างมีกลไก ชีวิตของตนเอง ละโวยังคงอยู่ต่อไปแม้เมื่อศรีทวารวดีล่มไปแล้วจนที่สุดกลายเป็นเมืองสำคัญ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ชุมทางการค้าหลายแห่งในอ่าวไทยยังวิวัฒน์ต่อไป เช่น เมืองศรีพโล อำนาจทางการเมืองใหม่ของภูมิภาคที่เกิด  ขึ้น เช่น ขอมและพุกาม กลับเป็นแรงกระตุ้นความเจริญเติบโตของชุมชนบ้านเมืองทั้งในภูมิภาค   ส่วนในและ ชายฝั่งทะเล

แน่นอนที่สุดชุมชนบ้านเมืองในภูมิภาคส่วนใน แม้ห่างไกลทะเลก็ยังคงมีบทบาทในเส้นทางค้า      ทางบก และตอบรับการติดต่อเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจการค้าในน่านน้ำ อาทิ ชุมชนบ้านเมืองในอีสานใต้แถบบุรีรัมย์ – สุรินทร์ แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบขอมในยุคโบราณก็เปิดตัวออกสู่    โลกภายนอกเช่น กัน ดังเราพบเศษเครื่องปั้นดินเผาขอมที่เมืองพระรถและเมืองศรีพโลแต่ยุคต้น ๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นการเติบโตของชุมชนบ้านเมืองภายในอื่น เช่น สุโขทัย เชลียง ซึ่งเปิดตัว     ออกสู่การติดต่อกับทะเลตามเมืองชายฝั่ง

การค้าสังคโลกที่ใช้เรือสำเภาขนาดใหญ่ เป็นการค้าในน่านน้ำทะเลจีนใต้ออกไปถึงหมู่เกาะต่าง ๆ    คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น การ เรืออ่าวไทย 1 จมอยู่ในอ่าวไทย แสดงว่าประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 มีการใช้สำเภาเดินเรือขนาดใหญ่บรรทุกสังคโลกและเครื่องปั้นดินเผาอื่นไปขาย เรือดังกล่าวใช้เดินเรือออกน้ำลึกได้ไกลถึงญี่ปุ่น ถ้าผ่านช่องแคบมะละกาก็สามารถตัดเข้าสู่ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย นับเป็นขนาดเรือใหญ่สุดที่เคยพบในอ่าวไทย รับกับเรือขนาดใหญ่ สมัยอยุธยาที่มีผู้จดไว้ในพงศาวดารว่ายาวประมาณ 18 วา 2 ศอก ปากก้วาง 6 วา บรรทุกช้างได้ถึง 30 เชือก ซากเรืออ่าวไทย 1 ประมาณกันว่ามีขนาด 16 ระวาง ยาว 40 – 50 เมตร กว้าง 12 เมตร ปริมาณสินค้าเครื่องถ้วยที่พบในเรืออ่าวไทย 1 เทียบกับเครื่องถ้วยจีนและอันมันเป็นจำนวนชิ้น คือ 10,480 : 4 : 276 นับเป็นความเฟื่องฟูของการค้า เครื่องถ้วยไทยยุคพุทธศตวรรษที่ 21 – 22

ตามประมวลหลักฐานเกี่ยวกับซากเรือจมในอ่าวไทยที่พบเครื่องสังคโลกบนเรือ พออนุมานได้ว่า เรือ ที่จมส่วนใหญ่เป็นเรือค้าขายกับชุมชนชายฝั่งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 – 22 ยกเว้นเรือสำเภาขนาดใหญ่ ดังเรืออ่าวไทย 1 แสดงว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของการค้าสังคโลกทางทะเลได้แก่ ชุมชนบ้านเมือง  ในอ่าวไทยและคาบสมุทรทางใต้ด้วย ซึ่งต่างนิยมซื้อโถหรือตลับไว้ใช้สำหรับบรรจุอัฐิดังที่นักโบราณคดีขุดพบ ณ เมืองศรีพะโล เป็นต้น
การค้าเครื่องถ้วยและสังคโลกในยุคเฟื่องฟูนำไปสู่การขยายการผลิตที่แหล่งเตา สำคัญในลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยาคือ เตาลุ่มน้ำน้อย ซึ่งพิจารณาจากผลผลิตแล้วจะเห็นได้ว่ามีรูปแบบเพื่อใช้สอยสำหรับชนทั่วไป ซึ่งคงเป็นผู้บริโภคกลุ่มสำคัญ เช่น ภาชนะเครื่องปั้นดินเภาขนาดใหญ่ขนาดกลางจำพวกโอ่ง ไห คนที กระปุก โถ ถ้วย มีทั้งเคลือบและไม่เคลือบ บางชิ้นเลียบแบบสังคโลกศรีสัชชนาลัยแต่คุณภาพคงไม่เท่า บางชิ้นเป็นคนทีพวยรูปน้ำเต้าไม่เคลือบแต่รูปทรงเหมือนคนทีจากสุโขทัยเหล่านี้พบบนซากเรืออ่าวไทย 1

สันนิษฐานว่าการผลิตเครื่องสังคโลกลดลงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 เพราะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ยังมีการค้าสังคโลกและเครื่องถ้วยอื่น ๆ อยู่ ดังรายการวัตถุที่พบบนเรือจมหลายลำในอ่าวไทย แสดงว่าที่เคยมีความเห็นกันว่าการผลิตสังคโลกยุติลงสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 เนื่องมาจากศึกยวนพ่าย และสงครามไทย – พม่าไม่น่าเป็นสาเหตุหลัก สงครามอาจเพียงทำให้ปริมาณการผลิตลดลง  ได้บางระยะเท่านั้น

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 292 คน กำลังออนไลน์