ส่วนประกอบ และ หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

รูปภาพของ pnp33667

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

        
         โดยทั่วไปการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานต่าง ๆ นั้น ถ้าเฉพาะตัวเครื่องและอุปกรณ์หรือ "ฮาร์ดแวร์" นั้น จะไม่สามารถทำงานได้ เพราะเครื่องยังไม่มีสิ่งที่จะมาจัดการหรือควบคุมระบบต่าง ๆ ดังนั้นจึงต้องมีโปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบและใช้งาน ซึ่งเราเรียกว่า "ซอฟต์แวร์" แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิตจิตใจเราจึงต้องพึ่งพาบุคลากร หรือ
"พีเพิลแวร์" มาสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ดังนั้นสรุปได้ว่าองค์ประกอบที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้นั้น ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ พีเพิลแวร์ และข้อมูล ดังรายละเอียดดังนี้
  
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
          ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์
  
              2.1 ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ (Operating System Software-OS) หมายถึง ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีระบบปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ
             2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึงโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมออกแบบ โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ 
            ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้น โดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย เช่น มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ที่เรียกว่า กุย (Graphical User Interface : GUI)  ส่วนชอฟต์แวร์สำเร็จที่มีใช้ในท้องตลาดทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเริ่มมีลักษณะส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น 
3. ข้อมูล (Data)
            ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ อาจจะเป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์การ ข้อมูลต้องมี โครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภา

4. บุคลากร หรือพีเพิลแวร์ (People ware)
             บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม
เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์การที่มีความซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์ โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน

     บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไปดังนี้
           1. ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ (User) หมายถึง ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป สามารถทำงานตามหน้าที่ในหน่วยงานนั้น ๆ เช่น พิมพ์งาน ป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิคต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ก็ได้
           2. ผู้ดูแลและซ่อมบำรุงเครื่องคอมพิวเตอร์ (Supporter or Technician) หมายถึงผู้คอยดูแลตรวจสอบสภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีสภาพพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา กลุ่มนี้จะเรียนรู้เทคนิค การดูแล รักษา การซ่อมแซม การต่อเชื่อม ตลอดจนการใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ค่อนข้างดี

3. ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Programmer) หมายถึงผู้เขียนโปรแกรมตามที่ผู้ออกแบบ และวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้กำหนด เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานในองค์กร กลุ่มนี้จะศึกษามาทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ สามารถเขียนคำสั่งคอมพิวเตอร์โดยภาษาต่าง ๆ ได้ และเป็นนักพัฒนาโปรแกรมให้คนอื่นเอาไปใช้

4. ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ (System Analysis) หมายถึงผู้ที่มีหน้าที่พิจารณาว่า องค์กรควรจะใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะใดจึงจะเหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสมุด เป็นผู้ออกแบบโปรแกรมก่อนส่งงานไปให้โปรแกรมเมืองทำงานในส่วนต่อไป

  5. ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์ (System Manager or Administrator) คือ ผู้ที่มีหน้าที่บริหาร และดูแลทรัพยาการทุกชนิดที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อสร้างงานต่าง ๆ

 ภาษาคอมพิวเตอร์ อาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ ภาษาระดับต่ำ (low-language) และภาษาระดับสูง (high-level language)

             1. ภาษาระดับต่ำ (low-language)  ภาษาระดับต่ำเป็นภาษาที่ขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์แต่ละ
ระบบ แบ่งเป็น
                   1.1 ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาต่ำสุดของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเลข 0 และเลข 1 ที่นำมาเขียนเรียงติดต่อกัน ประโยคคำสั่งของภาษาเครื่องจะประกอบด้วยส่วนที่ระบุให้คอมพิวเตอร์ทำงานอะไร เช่น สั่งให้ทำการบวกเลข สั่งให้ทำการเคลื่อนย้ายข้อมูล เป็นต้น และอีกส่วนเพื่อบอกแหล่งข้อมูลที่จะนำมาทำงานตามที่ระบุในตอนแรก
            การเขียนโปรแกรม หรือชุดคำสั่งด้วยภาษาเครื่อง นับเป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่สะดวกและเสียเวลา เพราะผู้ใช้จะต้องทราบรหัสแทนการทำงานต่าง ๆ และต้องรู้ขั้นตอนการทำงานภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยละเอียด ถ้าใช้คำสั่งไม่ถูกต้องเกิดการผิดพลาด โอกาสที่จะเข้าไปทำการแก้ไขก็ทำได้ยากและเสียเวลามาก มนุษย์จึงพยายามคิดภาษาให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ด้วยการสร้างภาษาระดับต่ำในเวลาต่อมา
                         1.2 ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) ลักษณะของภาษานี้จะเป็นการใช้ตัวอักษรมาเรียงกันเป็นคำ แทนเลขฐานสอง โดยคำที่กำหนดขึ้นจะมีความหมายที่สามารถเข้าใจและจำได้ง่าย เช่น จะใช้คำสั่ง ADD แทนการบวก คำสั่ง SUB แทนการลบ เป็นต้น ขณะเดียวกัน ส่วนที่ใช้บอกแหล่งข้อมูลก็จะแทนด้วยชุดของตัวอักษรที่เรียกว่าตัวแปร เช่น คำสั่ง ADD A,B จะหมายถึงให้นำข้อมูลที่ตำแหน่ง A และตำแหน่ง B มาบวกรวมกัน แล้วนำผลลัพธ์ไปเก็บที่ตำแหน่ง A เป็นต้น
                การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาแอสแซมบลี ถึงแม้ว่าจะง่ายและเสียเวลาน้อยกว่าการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาเครื่อง แต่มีข้อเสียคือผู้ใช้จะต้องเรียนรู้โครงสร้างของระบบเครื่องนั้นอย่างละเอียด เพราะภาษาแอสแซมบลีเป็นภาษาที่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ จะใช้กับเครื่องระบบนั้น ถ้าใช้เครื่องต่างระบบที่มีตัวประมวลผลต่างกัน จะต้องเรียนรู้โครงสร้างภายในและชุดคำสั่งสำหรับเครื่องนั้นใหม่ทั้งหมด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและไม่สะดวก

               3. ภาษาระดับสูง (High-level Language)
                ภาษาระดับสูง การพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคต่อมา จึงพยายามให้เป็นภาษาที่สามารถนำไปใช้กับเครื่องต่างระบบกัน ไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด โปรแกรมที่เขียนสั่งงานกับเครื่องระบบหนึ่ง ก็สามารถนำไปใช้หรือดัดแปลงเพียงเล็กน้อยเพื่อสั่งงานกับเครื่องอีกระบบหนึ่งได้ ลักษณะของภาษาจะพยายามให้ใกล้เคียงกับภาษาธรรมชาติมากขึ้น ทำให้เราสามารถศึกษาและเรียนรู้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว ภาษาในยุคหลังนี้ เรียกว่า ภาษาระดับสูง ซึ่งได้มีการคิดค้นพัฒนาออกมาหลายภาษาด้วยกัน ที่เด่น ๆ และนิยมกันมาก ได้แก่
                         3.1 ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN- FORmula TRANslator) เป็นภาษาที่เก่าแก่ของโลกเหมาะกับงานด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ใช้ในงานค้นคว้าวิจัยและวิเคราะห์ปัญหาต่างทางวิทยาศาสตร์
                         3.2 ภาษาโคบอล (COBOL-Common Business Oriented Language) เป็นภาษาที่เหมาะสำหรับงานด้านธุรกิจ ที่มีข้อมูลจำนวนมากๆ หรืองานด้านการจัดการฐานข้อมูล แต่ไม่เหมาะสำหรับงานด้านคำนวณ
                        3.3 ภาษาเบสิก (BASIC- Beginner's All purpose Symbolic Instruction) เป็นภาที่พัฒนาขึ้นมา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็ต้องมีความรู้เรื่องระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และผู้เริ่มศึกษาภาษาคอมพิวเตอร์
                        3.4 ภาษาปาสคาล (PASCAL) เป็นภาษาที่ใช้สอนหลักการเขียนโปรแกรมได้ดีที่สุด เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อการเรียนการสอน
                        3.5 ภาษาซี (C) เป็นภาษาที่ได้รับความนิยมในการเขียนโปรแกรมการทำงานขนาดใหญ่ และใช้ในการเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ด้วย


ตัวแปลภาษา


              เมื่อเราเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงแล้ว จะนำไปสั่งงานคอมพิวเตอร์โดยตรงยังไม่ได้ จะต้องผ่านขั้นตอนการแปลภาษาอีก เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจเพียงภาษาเดียวคือ ภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีตัวแปลภาษา เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โดยแบ่งได้เป็น2 แบบ คือ
             1. คอมไพเลอร์ (compiler)   เป็นตัวแปลโปรแกรมต้นฉบับ ให้เป็นภาษาเครื่อง โดยขณะที่ทำการแปลเมื่อมีข้อผิดพลาด คอมพิวเตอร์จะแจ้งมาให้ทราบ เมื่อแปลโปรแกรมเสร็จสามารถเก็บโปรแกรมที่แปลเรียบร้อยแล้วไปใช้งานได้ โดยไม่ต้องมาคอมไพล์ใหม่ ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้ตัวแปลภาษานี้ เช่น ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล ภาษาซี เป็นต้น

             2. อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)  เป็นตัวแปลโปกรมต้นฉบับให้เป็นภาษาเครื่อง โดยทำการแปลที่ละคำสั่งให้เป้ฯภาษาเครื่อง แล้วนำคำสั่งนั้นไปประมวลผลทันที หลังจากนั้นก็จะรับคำสั่งถัดไป ตัวอย่างของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวแปลภาษาแบบนี้ เช่น ภาษาเบสิก เป็นต้น

               ความแตกต่างระหว่างตัวแปลภาษาทั้ง 2 ตัว คือ ลักษณะของการแปลภาษาของอินเตอร์พรีเตอร์จะแปลและสั่งเครื่องให้ทำงานตามคำสั่ง ทันทีทีละคำสั่งจนจบโปรแกรม แต่การแปลภาษาด้วยคอมไพเลอร์จะเป็นการแปลทุกคำสั่งที่อยู่ในโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องเก็บไว้เป็นแฟ้มก่อน การเรียกทำงานจะเป็นการนำแฟ้มภาษาเครื่องมาทำงานทีเดียว ดังนั้นการทำงานด้วยตัวแปลแบบคอมไพเลอร์จึงทำงานได้รวดเร็วและนิยมกันมากในปัจจุบัน


 
ประเภทของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างงานในชีวิตประจำวัน


         ในบรรดาซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์
มีมากมาย ซอฟต์แวร์เหล่านี้อาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งานเอง หรือผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตจำหน่าย หากแบ่งแยกชนิดของซอฟต์แวร์ตามสภาพการทำงาน สมารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software)  

ประเภทของซอฟต์แวร์

Link: http://www.nukul.ac.th/it/content/04/images/Image6.gif

1. ซอฟต์แวร์ระบบ    คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่น ๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษาต่าง ๆ 
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์    เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้
ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่างๆ ออกจำหน่ายมากการประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ  
                     2.1 ซอฟต์แวร์สำเร็จ (Package) เป็นซอฟต์แวร์ที่มีความนิยมใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้น แล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้งานซื้อไปใช้ได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และเป็นที่นิยมของผู้ใช้มี 5 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์นำเสนอ และซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล
                                 1) ซอฟต์แวร์ประมวลคำ (word processing software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์
ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์ไว้จัดเป็นแฟ้มข้อมูล เรียกมาพิมพ์หรือแก้ไขใหม่ได้ การพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ก็มีรูปแบบตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เอกสารจึงดูเรียบร้อยสวยงาม ปัจจุบันมีการเพิ่มขีดความสามารถของซอฟต์แวร์ประมวลคำอีกมากมาย ซอฟต์แวร์ประมวลคำที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เช่น Microsoft Word, NotePad, WordPad เป็นต้น
                                2) ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน (Spread sheet software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการ
คิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด ผู้ใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงานสามารถประยุกต์ใช้งานประมวลผลตัวเลขอื่น ๆ ได้กว้างขวาง ซอฟต์แวร์ตารางทำงานที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Excel, Lotus เป็นต้น
                                3) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (Data base management software) การใช้
คอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งคือการใช้เก็บข้อมูล และจัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์จัดการข้อมูล การรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ในคอมพิวเตอร์ เราก็เรียกว่าฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน การสรุปผลจากข้อมูล ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Access, Dbase, Paradox, FoxBASE
                               4) ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับ
นำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ ซอฟต์แวร์เหล่านี้จึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นอกจากสามารถแสดงข้อความในลักษณะที่จะสื่อความหมายได้ง่ายแล้วจะต้องสร้างแผนภูมิ กราฟ และรูปภาพได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น PowerPoint, Lotus Freehand
                              5) ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูล (Data communication software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้ไมโครคอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในที่ห่างไกล โดยผ่านทางสายโทรศัพท์ ซอฟต์แวร์สื่อสารใช้เชื่อมโยงต่อเข้ากับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้โอนย้ายแฟ้มข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูล อ่านข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมเข้าหามินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม เพื่อเรียกใช้งานจากเครื่องเหล่านั้นได้ ซอฟต์แวร์สื่อสารข้อมูลที่นิยมมีมากมายหลายซอฟต์แวร์ เช่น โปรคอม ครอสทอล์ค เทลิก 
  2.2 ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ     การประยุกต์ใช้งานด้วยซอฟต์แวร์สำเร็จมักจะเน้น การใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์โดยตรงกับงานทางธุรกิจบางอย่างไม่ได้ เช่นในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือในห้างสรรพสินค้าก็มีงานการขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุมสินค้าคงคลัง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะสำหรับงานแต่ละประเภทให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย

Link :

http://501204109104bcom.spaces.live.com/blog/cns!E9957E4602B55166!158.entry

http://www.jesbatc.ac.th/Hardware%20And%20Utility/bottee/s2.html

http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/index2.htm

http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/inkjet/inkjet-printerthai.htm

http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/electro-mag/electro-magthai1.htm

http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/plasma-display/plasma-displaythai.htm

http://www.rmutphysics.com/charud/howstuffwork/plasma-display/plasma-displaythai.htm

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/chanthaburi/komes_k/com_unit/index.html

http://www.wing2.rtaf.mi.th/w2data/comp/work.html

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/kanidta_v/computer/index.html

สรุป

การทำงานของคอมพิวเตอร์แบ่งการทำงานได้เป็น 4 ส่วน
ซึ่งได้แก่ รับคำสั่ง เก็บข้อมูล ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ออกมาให้เห็น
1. รับข้อมูลเข้า (Input Device)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์อินพุท ใช้สำหรับในการสั่งงานคอมพิวเตอร์
2. เก็บข้อมูล (Storage Device)
อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และเป็นเครื่องช่วยในการบันทึกข้อมูล
3. ประมวลผล (Processing Device)
 อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล คือ CPU (Central Processing Unit)
ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ "สมอง" สำหรับ CPU
4. แสดงผลลัพธ์ (Output Device)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์เอ้าต์พุต ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมา
 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 253 คน กำลังออนไลน์