user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('สุขศึกษาและพลศึกษา', 'taxonomy/term/8', '', '18.225.55.4', 0, 'd6d410438d20f7cd2a0cab5e820400c7', 175, 1716853508) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การสำรวจดาวเคราะห์

 

 

นักดาราศาสตร์ประสบความสำเร็จในการสร้างภาพที่ได้จากการสำรวจดาวเคราะห์ที่ แสดงสภาพบรรยากาศของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นได้เป็นครั้งแรก

คณะนักดาราศาสตร์นำโดย เกรเกอรี ลาฟลิน จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาครูซ ได้สำรวจดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีชื่อว่า เอชดี 80606บี (HD 80606b) เป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ที่มีมวลมากกว่าดาวพฤหัสบดีสี่เท่า ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลที่สำรวจในย่านรังสีอินฟราเรดโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ของนาซาในช่วงเดือนพฤศจิกายน ทั้งก่อนหน้าและหลังที่ดาวเคราะห์ดวงนี้จะโคจรมาเข้าใกล้ดาวฤกษ์แม่ที่สุด

ภาพของเอชดี 80606 บีที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้นแสดงเสี้ยวสีน้ำเงินบางเฉียบในด้านที่หันออกจากดาวฤกษ์ ส่วนอีกด้านหนึ่งมีสีแดงสด แสดงถึงโลกที่มีความแตกต่างอย่างสุดขั้วระหว่างกลางวันและกลางคืน

การสำรวจนี้มีโชคเข้าข้างอยู่ด้วย จากมุมมองของกล้องสปิตเซอร์ ดาวเคราะห์ดวงนี้ลบไปอยู่หลังดาวฤกษ์ (ปรากฏการณ์อุปราคาทุติยภูมิ) ในช่วงก่อนที่อุณหภูมิของดาวเคราะห์จะขึ้นสูงสุด ทำให้ยานสามารถวัดอุณหภูมิของดาวเคราะห์และดาวฤกษ์แยกจากกันได้

สปิตเซอร์พบว่า ช่วงที่ดาวเคราะห์เข้าใกล้ดาวเฤกษ์ที่สุด อุณหภูมิจะพุ่งขึ้นสูงถึงประมาณ 1,230 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนยิ่งกว่าลาวาเหลวจากภูเขาไฟเสียอีก

 

เมื่อบรรยากาศของดาวเอชดี 80606บี ร้อนขึ้นและขยายใหญ่ขึ้น จะทำให้เกิดพายุใหญ่รุนแรงพัดจากด้านกลางวันไปยังด้านที่เป็นกลางคืนด้วยความเร็วถึงห้ากิโลเมตรต่อวินาที การหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์ก็ทำให้พายุม้วนเป็นวงก่อเป็นระบบพายุขนาดใหญ่ ซึ่งจะสลายตัวไปเมื่ออุณหภูมิของดาวลดลง

ดาวเอชดี 80606 บี ถูกค้นพบโดยคณะนักวิทยาศาสตร์ชาวสวิสที่หอดูดาวเจนีวาในปี 2544 โคจรรอบดาวฤกษ์เป็นวงรีครบรอบทุก 111.4 วันโลก เป็นหนึ่งในจำนวนดาวเคราะห์ระบบสุริยะอื่นประเภท "พฤหัสร้อน" ประมาณสิบสองดวงที่หมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเท่ากับการโคจรรอบดาวฤกษ์ จึงหันหน้าเข้าหาดาวฤกษ์เพียงด้านเดียวและเป็นกลางวันตลอด ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นกลางคืนตลอด

เนื่องจากวงโคจรเป็นวงรีมากเหมือนไข่ไก่ ช่วงที่ดาวเคราะห์อยู่ใกล้ดาวฤกษ์มากที่สุดได้รับรังสีรุนแรงกว่าช่วงที่อยู่ไกลดาวฤกษ์ที่สุดถึงกว่า 800 เท่า

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นมาแล้วร่วม 330 ดวง แต่นักดาราศาสตร์เชื่อว่ายังมีอีกจำนวนมากมายมหาศาลที่รอการค้นพบอยู่

 

 

อ้างอิงจาก เว็บ http://thaiastro.nectec.or.th/news/2009/news20090201.html

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 291 คน กำลังออนไลน์