เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย30

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยศาสนาศาสนาเป็นสถาบันที่สำคัญควบคู่กับสังคมมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่ว่า สังคมของชนชาติใด หรือภาษาใด เพราะศาสนาเป็นสิ่งที่มากับชีวิตมนุษย์ทุกคน และมีความ สัมพันธ์ ต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากศาสนา เป็นสื่อระหว่าง มนุษย์กับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ ฉะนั้นศาสนาจึงเป็นที่รวมของความ เคารพนับถือสูงสุดของมนุษย์เป็นที่พึ่งทางด้านจิตใจ และเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อให้ เข้าถึงสิ่งสูงสุดตามอุดมการณ์หรือความเชื่อถือนั้น ๆ และศาสนาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการสร้าง สรรค์วัฒนธรรมด้านอื่น ๆ แทบทุกด้าน เช่น วัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองเศรษฐกิจ ศิลปกรรม วรรณกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ พุทธศาสนากับชีวิตประจำวันของคนไทยคนไทยมีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานนับพันปีเศษมาแล้ว พุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายมีความรู้สึกเคารพและศรัทธาในพุทธศาสนาฝังอยู่ในสายเลือดของคนไทยมา ตั้งแต่เกิดจนตาย พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่จำเป็นต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก เพราะศาสนาพุทธ ได้ผูกมัดจิตใจคนไทยทั้งชาติให้เป็นคนรักสันติ รักอิสระเสรี มีนิสัยโอบอ้อมอารี  มีความเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน พุทธศาสนาได้ฝังรากลงในจิตใจของ คนไทยทั้งใน อดีตและปัจจุบัน คนไทยจึงได้แสดงออกทางศิลปกรรมต่าง ๆ เช่น จิตรกรรมมักจะเป็นเรื่องราว เกี่ยวกับชาดกต่าง ๆ ในพุทธประวัติด้านสถาปัตยกรรมก็มีการสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ เป็นต้น ส่วนดนตรีไทยก็ให้ความเยือกเย็นตามแนวทางสันติของพุทธศาสนา ด้วยอิทธิพลของ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาทำให้จิตใจของคนไทยแสดงออกมาในลักษณะที่เยือกเย็นมีความเกื้อกูลปรองดองกัน ให้การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และทำให้คนไทยพอใจในการดำรงชีวิต อย่าง สงบสุขมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ศิลปกรรมชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีเอกลักษณ์ทางศิลปกรรมสูงงานศิลปะเป็นงาน ที่ให้ความรู้สึกทางด้านสุนทรีย์ของมนุษย์ที่มีจิตใจสูง ซึ่งถ่ายทอดความรู้สึกที่มีคุณค่าทางจิตใจ ส่งผลให้คนไทยเป็นผู้มีวัฒนธรรมทางจิตใจที่ถ่ายทอดทางอารมณ์ได้ 2 ลักษณะคือ2.1. ถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรม ได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และประณีตศิลป์2. 2.  ถ่ายทอดออกมาไม่เป็นรูปธรรม ได้แก วรรณคดี ดนตรี และนาฏศิลป์ ศิลปวัฒนธรรมไทยที่ปรากฏจะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของพุทธศาสนา การถ่ายทอดทาง อารมณ์ทั้ง 2 ลักษณะ ก่อให้เกิดวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชาติของคนไทย ซึ่งจะกล่าว ต่อไปนี้ สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรม เป็นผลทางวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์ด้วยศิลปและวิทยาการในการก่อสร้าง เป็นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งในด้านความสะดวกสบาย ปลอดภัย และพึงพอใจ ควรสร้างสรรค์งานทางด้านศิลปแห่งการก่อสร้างมิให้จำกัดจำเพาะเพียงแต่การสร้าง ที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ในความเชื่อและศรัทธาในศาสนา ก็เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้คน สร้างสรรค์งานทางด้านสถาปัตยกรรมขึ้น ต่างไปจากความมั่นคงแข็งแรงและสวยงาม ซึ่งเป็นผล ต่อจิตใจของผู้คนส่วนรวมประเภทของสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ของ คนไทย จำแนกได้ 4 ประเภท กล่าวคือ                  1.  สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา  จัดเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้าง ขึ้นตามวัดวาอารามต่างๆ เพื่อประโยชน์ทางพุทธศาสนา มีดังนี้ พระสถูปเจดีย์ต่างๆ  พระมหาธาตุ เจดีย์  พระพุทธปรางค์  พระอุโบสถ  พระวิหาร  ศาลาการเปรียญ  กุฏิ  หอฉัน ซุ้ม  ระเบียง  กำแพงแก้ว  ศาลาราย เป็นต้น                  2.  สถาปัตยกรรมประเภทปูชนียสถาน  เป็นสถาปัตยกรรมที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานอันควรแก่การสักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จำแนกเป็นพระ สถูปเจดีย์และพระปรางค์ ปูชนียสถานดังกล่าวนี้ใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แต่เมื่อใดที่มีการสร้างพระอุโบสถเป็นประธานของวัดแล้วความสำคัญของพระสถูปและพระปรางค์ก็จะลดลงไปเพียงส่วนประกอบของเขตพุทธาวาสเท่านั้น                  3.  สถาปัตยกรรมประเภทอาคารสถาน คือ สถานที่ซึ่งก่อสร้าง ขึ้น เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุ  มีรูปแบบเป็นเรือนหรือโรงอันเป็นที่อยู่อาศัยประจำ เป็นที่ประชุมคณะสงฆ์หรือพุทธศาสนิกชนประกอบพิธีกรรมเช่น เป็นสถานที่ประกอบพิธีอุปสมบท และ เป็นที่รับกฐินตลอดจนประโยชน์อื่น ๆ ได้แก่ เป็นที่สวดพระอภิธรรม เป็นที่พักของอุโบสถ เป็นที่ บอกเวลา เป็นที่เก็บพระธรรม เป็นต้น สถาปัตยกรรมประเภทอาคารสถาน ได้แก่ วิหาร โบสถ์ และ สถาปัตยกรรมประเภทบริวารสถาน (พระระเบียง หอไตร ศาลาการเปรียญ ศาลาบาตร ศาลาราย ศาลาเปลื้องเครื่อง สีมาและซุ้มสีมา กำแพงแก้ว) เป็นต้น                  4.  สถาปัตยกรรมประเภทที่อยู่อาศัยหรือสถาปัตยกรรม พื้นบ้าน ของไทยคือศิลปะหรือวิธีการว่าด้วยการก่อสร้างที่ชาวบ้านยึดถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่สืบ ทอด ต่อกันมา ซึ่งประกอบด้วยคตินิยมในการเลือกใช้วัสดุ กรรมวิธีการสรรหา  ใช้รูปแบบ และ องค์ประกอบสำคัญ ที่มุ่งประโยชน์ใช้สอยของสิ่งก่อสร้างและการตกแต่งสิ่งเหล่านี้จะต้องปรากฏให้เห็นเป็นลักษณะร่วมของชุมชนนั้นอย่างปกติ                  ลักษณะของสถาปัตยกรรมพื้นบ้านจะมีความสัมพันธ์กับสภาพภูมิประเทศ ดินฟ้า อากาศทรัพยากรธรรมชาติในเขตของท้องถิ่น ขีดความสามารถในการผลิตและเทคนิควิทยาการของชุมชน คติความเชื่อพื้นฐานของชุมชน ตลอดจนคติของศาสนา และวัฒนธรรมของกลุ่มชนอื่นที่ชุมชนนั้น ๆ มีความพึงพอใจ ทั้งยังขึ้นอยู่กับประโยชน์ใช้สอยหลักของชุมชนอีกด้วย                  สถาปัตยกรรมพื้นบ้านของไทยจำแนกได้ตามสภาพภูมิศาสตร์ โดย จัดแบ่งสถาปัตยกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ซึ่งแต่ละภูมิภาคจะมีการปลูกสร้างทีอยู่อาศัย โดยสืบทอดเอกลักษณ์พิเศษของเรือแต่ละ ภูมิภาค ให้คงไว้ซึ่งรูปแบบของเรือนไทยเฉพาะภูมิภาคปรากฏในเรือนเครื่องผูกภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ ดังที่เรียกกันว่าเรือนพื้นถิ่น ส่วนเรือนเครื่องสับหรือเรือนไทย ปรากฏ ลักษณะเฉพาะแบบไทยตั้งแต่การมุงหลังคา การวางตัวเรือนหรือรูปเรือน ในภาคเหนือมีเอกลักษณ์ ส่วนบนหัวจั่วลักษณะกาแล ภาคกลางลักษณะป้านลมมีเหงา ภาคใต้เรือนที่มีหลังคาทรงปั้นหยา                  การสร้างเรือนไทย เป็นการแสดงภูมิปัญญาของคนไทยที่ปลูกสร้าง ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของแต่ละภูมิภาค การปลูกเรือนได้ ถ่ายทอดคตินิยมของคนไทย นับตั้งแต่ความเชื่อนั้นเป็นมงคลแก้ผู้อยู่อาศัย โดยเริ่มต้นจากการเลือกสถานที่ปลูกเรือน การลงเสา การดูฤกษ์ยาม รวมถึงการตั้งพระภูมิเจ้าที่ ซึ่งเป็นการนำคติ พราหมณ์ มาใช้ในการดำรงชีวิตเพื่อความสุขชั่วลูกชั่วหลาน ประติมากรรม                  งานประติมากรรมไทยทั่วไป หมายถึง รูปภาพที่เป็นรูปร่างปรากฏแก่สายตาสามารถสัมผัสได้โดยตรงด้วยการจับต้องซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยวิธีการปั้น หล่อ แกะสลัก เป็นต้น เพื่อตอบสนองความเชื่อ ความพึงพอใจ ความภาคภูมิใจ ร่วมไปกับการดำรงชีวิต ทั้งส่วนบุคคลและชนในสังคมไทยเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดประสบการณ์ ค่านิยมที่ได้รับ จากสิ่งแวดล้อมและได้แสดงออกมาเป็นงานประติมากรรมอันเป็นสัญลักษณ์ประจำชนชาตินั้น ๆลักษณะงานประติมากรรมไทย แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ                  1.  งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงลอยตัว (Sculpture in the round) งานสร้างสรรค์รูปทรงในลักษณะ เช่น เป็นการสร้างทำรูปภาพให้เกิดขึ้นจากส่วนฐานซึ่งรองรับอยู่ทางตอนล่างรูปทรงของงานประติมากรรม อาจแสดงรูปแบบที่แลดูได้ทุกด้าน หรือแสดงทิศทางและการเฉลี่ยน้ำหนักลงสู่ฐานงานประติมากรรมไทยที่มีลักษณะเป็นรูปทรงลอยตัวนี้ ตัวอย่าง พระพุทธรูปเทวรูปต่าง ๆ เช่น รูปพระนารายณ์ทรงปืน ที่หน้าพระที่นั่งพุทธไธยสวรรค์ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และรูปนางธรณีบีบมวยผม หน้ากระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น             2.  งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงแบบราบมีพื้นรองรับ (Sculpture in the relief) งานสร้างสรรค์รูปทรงประติมากรรมเช่นนี้ เป็นการสร้างและนำเสนอ รูปทรงแต่จำเพาะด้านใดด้านหนึ่งให้ปรากฏแก่ตา โดยลำดับรูปทรงต่าง ๆ ลงบนพื้นราบซึ่งรองรับ อยู่ทางด้านหลังแห่งรูปทรงทั้งปวงการเคลื่อนไหวและทิศทางของรูปภาพอาจกระทำได้ในทางราบขนานไปกับพื้นผิวระนาบของพื้นหลังงานประติมากรรมในลักษณะนี้ แสดงรูปทรงและเนื้อหาให้ ปรากฏเห็นได้จำเพาะแต่เพียงด้านเดียว ตัวอย่างเช่น รูปภาพปั้นปูนเรื่องเรื่องทศชาติชาดกที่วัดไล อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี   ลวดลายไม้บานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น             3.งานประติมากรรมที่มีลักษณะเป็นรูปทรงจมอยู่ในพื้น (Sculpture  in the mcise) งานประติมากรรมลักษณะเช่นที่ว่าเป็นผลอันเกิดแต่การสร้างสรรค์รูปทรงต่าง ๆ ให้ปรากฏและมีอยู่ในพื้นที่รองรับอยู่นั้น     งานประติมากรรมจึงมีลักษณะเป็นทั้งรูปภาพที่เกิดขึ้นด้วยเส้นขีดเป็นทางลึกลงในพื้น (Incise Line) อย่างหนึ่ง กับรูปภาพซึ่งเกิดขึ้นโดยการเจาะหรือฉลุส่วนที่เป็นพื้นออก(Craving)ให้คาไว้แต่ส่วนที่เป็นรูปภาพงานประติมากรรมลักษณะดังกล่าว เป็นการนำเสนอรูปแบบและเนื้อหาให้ปรากฏและแลเห็นได้จำเพาะแต่ด้านเดียว เช่นเดียวกับงานประติมากรรมลักษณะที่กล่าวมาแล้วในข้อ  2 ตัวอย่างเช่น ภาพลายเส้นในรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตัวอย่างงานประติมากรรมที่สร้างทำด้วยวิธีขีดเส้นเป็นทางลึกลงไปในพื้นรูปภาพหนังใหญ่ สลักเป็นตัวละครในเรื่อง รามเกียรติ์ นี้เป็นตัวอย่างทำงานประติมากรรมที่มีรูปทรงจมอยู่ในพื้น โดยการฉลุหรือเจาะส่วนพื้นออกทิ้ง เหลือไว้แต่ส่วนที่เป็นรูปภาพ             อนึ่งงานประติมากรรมไทย นอกเสียจากลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าว ในแต่ละข้อข้างต้นนี้แล้ว ยังมีงานสร้างสรรค์รูปทรงที่ว่าเป็นงานประติมากรรมได้อีกลักษณะหนึ่ง คืองานประติมากรรมลักษณะที่เป็นสิ่งห้อยหรือแขวน (Mobile) เช่นรูปพวงปลาตะเพียนสานด้วย ใบลาน ทำเป็นเครื่องห้อยรูปพวงกระจับทำด้วยเศษผ้าใช้แขวน รูปพวงกลางทำร้อยด้วยดอก ไม้สด ใช้แขวนต่างเครื่องประดับ เป็นต้น จิตรกรรมไทย                        งานจิตรกรรมไทยเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะด้วยการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นรูปภาพเพื่อสื่อความหมายก่อให้เกิดความรู้สึกยอมรับ ความพึงพอใจและมีความสุข             การเขียนรูปภาพจิตรกรรมในประเทศไทย นับแต่โบราณกาล จนถึง ปัจจุบันมักเขียนขึ้นเพื่อนำมาใช้อธิบายพรรณนา       หรือลำดับเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนา โดยเฉพาะเกี่ยวกับพุทธประวัติ การพรรณนาและลำดับเรื่องอดีตชาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อยังเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์หรืออธิบายความเชื่อและเหตุผลแห่งหลักธรรมต่างๆ ให้คนทั่วไปเกิด ความเข้าใจและยอมรับได้โดยง่าย นอกจากนั้นยังแสดงพฤติกรรมและความเป็นไปในวิถีชีวิตของ คนไทย โดยสามารถจำแนกออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้             1.  เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธประวัติ      เรื่องทศชาติ ไตรภูมิพระร่วง เป็นต้น รูปภาพแสดงเรื่องราวและเหตุการณ์เหล่านี้มักจะเขียนรูปภาพ ขนาดใหญ่เต็ม พื้นฝาผนังภายในพระอุโบสถ             2.  เรื่องเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมและประเพณี เขียนขึ้นเพื่อแสดง รูปแบบ ของความเชื่อในขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ถือปฏิบัติในเวลานั้นให้คนทั้งหลายได้รู้เห็น เข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้อง เช่น ประเพณีต่าง ๆ ที่มีใน 12 เดือน ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เป็นต้น             3.  เรื่องเกี่ยวกับวิชาการ เป็นตำราความรู้ต่าง ๆ ในเมืองไทย แต่ก่อนที่ทำเป็นสมุดมีรูปภาพประกอบ เพื่อแสดงตัวอย่างให้เห็นชัดเจน เช่น ตำราฟ้อนรำ ตำรา ดูแมว ตำราชกมวย ตำราพิชัยสงคราม เป็นต้น             4.  เรื่องเกี่ยวกับวรรณคดี ในสมัยก่อนคนที่ไม่รู้หนังสือมีอยู่มาก ดังนั้นการใช้รูปภาพเขียนลำดับความจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ช่วยทำให้คนทั่วไปสามารถรับรู้ และประจักษ์ในคุณค่าแห่งวรรณคดีได้ วรรณคดีเรื่องที่นิยมนำมาเขียนเป็นรูปภาพ มีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน อาทิเช่น รามเกียรติ์ อิเหนา สังข์ทอง เป็นต้น             5.  เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ซึ่งนิยมเขียนขึ้นมาในสมัยกรุง รัตนโกสินทร์เป็นเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์สมัยต่าง ๆ เช่น พระราชพงศาวดาร สมัยกรุงศรีอยุธยา  พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยุทธหัตถี เป็นต้น (จุลทัศน์  พยาฆรานนท์, 2521 : 225-226) ประณีตศิลป์                        ประณีตศิลป์เป็นศิลปกรรมที่งดงามและทรงคุรค่ามากอีกสาขาหนึ่ง ประณีตศิลป์ที่นิยมทำมากในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่             1.  งานช่างประดับมุก เป็นศิลปะที่นิยมทำกันมากในสมัยรัชกาลที่ 1 ผลงานชิ้นเอกในสาขานี้คือ พระแท่นราชบัลลังก์ประจำพระที่นั่งุสิตมหาปราสาท องค์พระแท่นสร้างด้วยไม้ประดับมุขเป็นลายกระหนก งานประดับมุกที่งดงามมากอีกชิ้นหนึ่งคือ บานประตูพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนั้นยังมีบานประตูประดับมุกวัดพระเชตุพนวิมล มังคลาราม วัดราชโอรสาราม ตู้ประดับมุขทรงมณฑป และพระแท่นบรรจถรณ์ประดับมุข เป็นต้น             2.  งานสลักไม้ งานสลักไม้ที่จัดเป็นศิลปะชิ้นเอกและ มีความสำคัญมากคือ การสลักไม้ประกอบพระมหาพิชัยราชรถและเวชยันต์ราชรถ             3.  เครื่องถ้วยเบญจรงค์ ในสมัยราชกาลที่ 2 นิยมสั่งเครื่องถ้วย เบญจรงค์จากประเทศจีน โดยชาวไทยออกแบบรูปทรงและลวดลายส่งไปให้ช่างจีนทำ ลายที่นิยมส่งไปให้ทำได้แก่ ลายเทพพนม ลายราชสีห์ และลายกินนร เป็นต้น ที่เรียกว่าเบญจรงค์ เพราะเขียน ด้วยสี 5 สี คือ สีแดง เขียว น้ำเงิน เหลือง และดำ นอกจากนั้นยังมีลายที่เขียนด้วยทอง เรียกว่า ลายน้ำทอง             4.  งานช่างทองรูปพรรณ รัชกาลที่ 1 ให้ฟื้นฟูและทะนุบำรุง ช่างทองรูปพรรณขึ้นใหม่ที่สำคัญได้แก่เครื่องราชกกุธภัณฑ์    ซึ่งประกอบด้วยพระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรีธารพระกร พระแส้ พัดวาลวิชนี และฉลองพระบาทเชิงงอน นอกจากนี้ยังมีเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชูปโภค เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทำด้วยทองคำจำหลัก ประดับอัญมณี             5.  งานช่างถมยาดำ รัชกาลที่ 2 ให้ฟื้นฟูและฝึกหัดวิชาการทำ เครื่องถมขึ้น วิชาการสาขานี้รุ่งเรืองและแพร่หลายมากที่เมืองนครศรีธรรมราช ผลงานชิ้นเอกของ สาขานี้คือ พระราชยานถมที่พระยานคร (น้อย) ทำขึ้นถวายรัชกาลที่ 2 พระราชยานถม นี้ทำอย่างพระยานมาส มีโครงเป็นไม้หุ้มด้วยเงิน ถมยาดำทาทอง (เสนอ  นิลเดช  และคณะ. 2537 : 20)  วรรณคดีวรรณคดีเป็นงานทางศิลปะที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินทางใจและให้อารมณ์แก่ผู้อ่าน ดังนั้นภาษาที่ใช้จึงต้องมีความประณีต งดงาม และส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักเป็นส่วนใหญ่ การอ่านวรรณคดีมักจะได้รับอารมณ์ ประทับใจ สุขใจ เห็นใจ หรือซาบซึ้งใจ            วรรณคดีไทยมีลักษณะการดำเนินเรื่องหลายรูปแบบ ดังนี้1.  วรรณคดีนิทานประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ  ซึ่งหมายถึงชื่อของ พระเอก มักมีคำว่า "จักร" หรือ "วงศ์" เช่น ลักษณะวงศ์ จักรแก้ว ศิลป์สุริวงศ์ เป็นต้น การดำเนินเรื่องวรรณคดี ประเภทนี้ มักมีโครงเรื่องอย่างเดียวกัน คือเป็นเรื่องที่พระเอกและนางเอกต้องพรัดพรากจากกัน พระเอกออกติดตามนางเอกและผจญภัยมากมายจนที่สุดก็พบนางเอกในปั้นปลาย 2.  วรรณคดีนิทานที่มีเค้าเรื่องจริง  ซึ่งมักเป็นเรื่องราวของบุคคล ที่เชื่อว่ามีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เช่น ลิลิตพระลอ ขุนช้างขุนแผน ผาแดงนางไอ่ เงาะป่า ไกรทอง อิเหนา3.  วรรณคดีที่เป็นการพรรณนาอารมณ์รักโดยตรง  วรรณคดีประเภทนี้มีเนื้อหาเป็นการรำพันความรักอันเกิดจากต้องพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก หรือบทที่กวีต้อง เดินทางจากนางไปในแดนไกล เช่น วรรณคดีนิราศ เช่น นิราศพระบาท กาพย์ห่อโคลง นิราศ ธารโศก4.  วรรณคดีที่เป็นการพรรณนาอันแฝงอารมณ์รัก  เป็นวรรณคดี ที่ผู้แต่งพรรณนาสิ่งต่าง ๆ โดยแฝงอารมณ์รักไว้ด้วย เช่น วรรณคดีประเภทกาพย์เห่เรือ5.  วรรณคดีพิธีกรรม  พิธีกรรมเป็นเรื่องของการกระทำ ในสังคม ที่มุ่งผลด้านจิตใจ ดังนั้นจึงมักมีบทสวดเพื่อให้เกิดผลทางใช้แก่ผู้ร่วมประกอบพิธี เช่น ลิลิตโองการ แช่งน้ำ ซึ่งเป็นงานประพันธ์ในสมัยอยุธยาตอนต้น6.  วรรณคดีศาสนา ศาสนาเป็นเรื่องของความเชื่อและศรัทธา ดังนั้น จึงมีวรรณคดีที่สร้างความประทับใจและเกิดศรัทธาขึ้นในหมู่ศาสนิกชน เช่น มหาชาติคำหลวง มหาชาติคำกลอนเทศน์ ปฐมสมโพธิกถา ซึ่งเป็นพุทธประวัติที่แต่งด้วยร้อยแก้ว กวีคือสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส7.  วรรณคดีคำสอน เป็นวรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่ออบรมจริยธรรม ขนบ ธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่ออันเป็นวัฒนธรรมของสังคม เป็นการถ่ายทอด วัฒนธรรม ของสังคม เช่น พระมาลัยคำหลวง นันโทนันทสูตรคำหลวง ทศชาติ พญาคำกองสอนไพร่ ซึ่งเป็นวรรณคดีคำสอนทางอีสานเป็นเรื่องอบรมประชาชน ในเมืองของตนในการครองเรือน การหาความรู้ หน้าที่พ่อบ้านแม่บ้าน กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สุภาษิตสอนหญิง สวัสดิรักษาคำกลอน  เป็นต้น8.  วรรณคดีประวัติศาสตร์  เป็นเรื่องราวข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใน ประวัติศาสตร์ โดยกวีสอดแทรกจินตนาการและการใช้ภาษาให้ไพเราะ เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น ดนตรีไทยดนตรีไทย หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง เครื่อง บรรเลง ซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน เกิดอารมณ์รัก โศก และรื่นเริง เป็นต้น ดนตรี มีรากศัพท์จากภาษาบาลีว่า  ตนฺติ    ภาษาสันสกฤตว่า ตนฺตริน เมื่อแผลงมาเป็นคำว่าดนตรีในภาษาไทยแล้วประกอบด้วย                  1)  คีตะ  การร้องเป็นการร้องอย่างมีศิลป์ ในภาษาไทยเรียกว่า คีตศิลป์                  2)  ตุริยะ เครื่องดนตรี เครื่องทำนองเพลง (ดีด สี ตี เป่า) ในภาษาไทยเรียกว่า ดุริยางคศิลป์ ซึ่งหมายถึง ศิลปการบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ                  3)  นาฏะ  การรำเต้น ในภาษไทยเรียกว่านาฏศิลป์ หมายถึง การแสดงออกซึ่งมีลีลาท่ารำต่าง ๆ ลักษณะเป็นระบำ รำ เต้น (หรือเรียกว่าโขน) ทั้ง 3 คำ รวมกันเรียกว่า ดนตรี ดังนั้นมิได้หมายถึงเครื่องบรรเลงเท่านั้น (เสรี  หวังในธรรม, 2525 : 150)ชื่อและชนิดของเครื่องดนตรี  เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย ก่อนที่คนไทยจะรับวัฒนธรรมแบบอินเดีย ได้แก่ เกราะ โกร่ง กรับ ฉาบ ฉิ่ง ปี่ ขลุ่ย เพี้ย ซอ ฆ้อง และกลอง เป็นต้น ในเวลาต่อมาคนไทยพัฒนาเครื่องดนตรีทำด้วยไม้ เช่น กรับ พร้อมทั้งการคิดฆ้องวงใช้ในการเล่นดนตรีเมื่อคนไทยเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแหลมสุวรรณภูมิ จึงได้รับอิทธิพลของอินเดียผสมกับมอญและเขมร จึงทำให้เครื่องดนตรีไทยเพิ่มจากเดิม อาทิ พิณ สังข์ ปี่ไฉน บัณเฑาะว์ กระจับ ปี่ จะเข้ โทน และทับ             ดนตรีไทยปรากฏมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากสมัยสุโขทัยสืบต่อมาสมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ดนตรีไทยจัดเป็นดนตรีที่มีแบบแผนหรือดนตรีคลาสสิก (Classic Music) เครื่องดนตรีไทยนั้นกรมศิลปากร จำแนกไว้รวมทั้งสิ้น 56 ชนิด ประกอบด้วยเครื่องตี เครื่องเป่า เครื่องดีด และเครื่องสี เครื่องดนตรีไทยที่นิยมใช้กันมาก ดังนี้
                  - เครื่องดีด ได้แก่ พิณน้ำเต้า พิณ เพ้ย กระจับปี่ ซึง จะเข้
                  - เครื่องสี ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ ซอสามสาย ซอล้อ
                  - เครื่องตีประเภทไม้       ได้แก่ เกราะ โกร่ง กรับ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม เครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ ได้แก่ ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง ฆ้อง หุ่ย และเครื่องตีที่ทำด้วยหนัง ได้แก่ กลองทุกประเภท
                  - เครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ แคน แตร สังข์ เป็นต้น (มนตรี  ตราโมท, 2503 : 47)
 นาฏศิลป์ไทยนาฏศิลป์ไทย หมายความถึง ศิลปะการละครและการฟ้อนรำ ซึ่งสืบทอดจากนาฏศิลป์ดั้งเดิม 3 ลักษณะดังกล่าวคือ                  1)  ระบำ ได้แก่การแสดงนาฏศิลป์ไทยที่ไม่เป็นเรื่อง ไม่มีตัว พระเอก นางเอก ตัวโกง เช่น การรำอวยพร ระบำดาวดึงส์ ระบำโบราณคดี เป็นต้น
                 2)  รำ ได้แก่  การแสดงเป็นเรื่องที่เรียกว่า ละครต่าง ๆ ดังเช่น การเล่นโนรา ได้รับอิทธิพล จากสมัยศรีวิชัย ซึ่งมีคำร้องทำนองเรียกว่า กำพระมีผู้แสดงเป็นพระเอก นางเอก และตัวประกอบ
                  3)  เต้น ได้แก่ การเล่นโขนจัดเป็นนาฏกรรมประเภทมหรสพ มีหลายชนิด เช่น โขนกลางแปลง โขนโรงนอก โขนโรงใน โขนนั่งราว โขนเป็นนาฏกรรม ประเภทแถวที่รับเอาเรื่องรามเกียรติ์จากอินเดียมาแสดงเป็นรามเกียรติ์ไทย
ลักษณะเฉพาะของนาฏศิลป์ไทย  นาฏศิลป์ไทยจัดเป็นศิลปะ แสดงออกในท่ารำ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นท่ารำที่อ่อนช้อย งดงาม มีความหมายในท่ารำทุกท่วงท่า โดยการฝึกหัดอบรมจึงจัดเป็นศิลปะไทยที่มีเอกลักษณ์ในความเป็นไทยและถือปฏิบัติเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดจาก บรรพบุรุษดังนี้
                  1)  เป็นการแสดงออกถึงความเป็นไทยในด้านท่ารำอันอ่อนช้อย งดงาม และแสดงอารมณ์ตามลักษณะที่แท้จริงของคนไทย มีเอกลักษณ์ในดนตรีประกอบ เนื้อร้อง และการแต่งกายพร้อมทั้งแบบแผนในการแสดง
                  2)  เป็นศิลปะที่เกิดจากการฝึกหัดอบรมและความรักในการ แสดง โดยเฉพาะผู้แสดงนาฏศิลป์จะต้องมีการไหว้ครูก่อนการแสดง การแสดงนาฏศิลป์จะต้อง มีการฝึกซ้อมเป็นเวลานานตั้งแต่วัยเยาว์การฝึกท่ารำแต่ละท่า ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึก
                  3)  เป็นศิลปะของคนทุกชนชั้น นาฏศิลป์ไทยสามารถ แสดง ได้ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ เจ้านาย และประชาชนทั่วไป โดยมีแบบแผนดังเช่นในท่ารำแบบสู้รบ จัดเป็นวิชาชั้นสูง แสดงจะต้องศึกษาตำรายุทธศาสตร์ในบางโอกาสมีการแสดงบนคอช้างพระที่นั่ง นอกจากนี้ได้มีการจัดแบบแผนการแสดงไว้สำหรับราชสำนักและประชาชนทั่วไป อาทิเช่น การ แสดงโขนละคร ระบำ รวมทั้งการแสดงเฉพาะในแต่ละภูมิภาคตามประเพณีท้องถิ่น
                  4)  เป็นศิลปะที่เน้นการแสดงทางอารมณ์ ดังปรากฏในท่าแสดง ความสนุกบันเทิงใจ ท่าโกรธแค้น อารมณ์รัก ซึ่งกรมศิลปากรได้รวบรวมไว้ถึง 68 ท่า การตีบท แสดง ตามภาษาท่า ตามคำร้อง คำเจรจา คำพากย์ในการแสดงโขน
                  5)  เป็นศิลปะที่มีรูปแบบและกระบวนการในตนเอง จัดเป็นเอก- ลักษณ์ในด้านรูปแบบโดยแบ่งผู้แสดงเป็น ตัวพระ ตัวนาง ยักษ์ ลิง เป็นต้น ซึ่งผู้แสดงมีท่ารำและคำกลอนที่มีความสอดคล้องกันดังเช่นการรำหน้าพาทย์ ผู้แสดงจะรำตามจังหวะเฉพาะกับเพลงต่างๆโดยไม่ต้องมีเนื้อร้องและทำนองในเพลงเชิด เพลงกราว เพลงช้า เพลงเร็ว เป็นต้น

             นาฏศิลป์ไทยเป็นวิชาการที่ละเอียดอ่อน ผู้แสดงระดับครูจัดเป็น ศิลปิน วิชาการนาฏศิลป์ไทยทั้งผู้แสดง ผู้ชมจะต้องมีพื้นความรู้ ขณะเดียวกันการแสดงประเภท ระบำได้รับการประดิษฐ์ท่ารำและลีลาใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับสภาพของวัฒนธรรมพื้นบ้าน กลายเป็นการละเล่นพื้นเมืองประจำภาค และเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในหมู่ประชาชนได้มากกว่าการแสดงนาฏศิลป์ ซึ่งจัดเป็นการแสดงเป็นละครเรื่องต่าง ๆ  และการแสดงโขน

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 434 คน กำลังออนไลน์