นาฬิกาปรมาณู

 

นาฬิกาปรมาณู

อะตอมของแก๊สในธรรมชาติเคลื่อนที่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับเด็กเล็กที่วิ่งเล่นในสนาม โรงเรียน อะตอมเหล่านี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากเป็นพัน ๆ เมตรต่อวินาที มีการชนกัน ปะทะกันเป็นล้าน ๆ ครั้งในหนึ่งวินาที และหลังจากการชนกันแล้ว อะตอม จะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่
ดังนั้น การที่นักวิทยาศาสตร์จะเฝ้าจับตาดูอะตอมของแก๊สแต่ละตัว จึงเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง และแทบจะทำไม่ได้เลย
ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นวิธีทำให้อะตอมของแก๊สวิ่งช้าลง โดยทำให้อุณหภูมิของแก๊ส นั้นลดต่ำลง เมื่อแก๊สยิ่งเย็น พลังงานของแก๊สยิ่งลดผลที่ตามมาก็คือ อะตอมของแก๊สจะยิ่งวิ่งช้าลง แล้วนักวิทยาศาสตร์ฉายแสงเลเซอร์ สวนทิศการเคลื่อนที่ของอะตอมนั้น แสงเลเซอร์จะพุ่งเข้าชนอะตอม แรงปะทะจากแสง จะทำให้อะตอมของแก๊สวิ่งช้าลงไปอีก
วิธีการนี้เปรียบเสมือนการชะลอความเร็วของลูกโบว์ลิ่ง โดยการระดมยิงด้วยลูกปิงปอง นักวิทยาศาสตร์จึงมีโอกาสศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของ อะตอมเดี่ยว ๆ ได้นานขึ้น และมากขึ้น การค้นพบเทคโนโลยีด้านนี้ จะทำให้เรามีนาฬิกาปรมาณูที่มีประสิทธิภาพสูงยิ่ง เอาไว้ใช้ในอนาคต
เพราะเมื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสมอะตอมของธาตุ แต่ละธาตุเปล่งแสง คลื่นแสงที่เปล่งออกมามีความยาวคลื่น หรือความถี่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอะตอมนั้น ๆ อาทิเช่น อะตอมของเหล็กและของตะกั่ว เปล่งแสงออกมาไม่เหมือนกัน ความยาวคลื่นหรือความถี่ของแสง จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทราบทันทีทันใดว่า ธาตุที่ปล่อยแสงนั้นเป็นธาตุชนิดอะไร
ในภาษาธรรมดาทั่ว ๆ ไป ความถี่ของแสงคือจำนวนลูกคลื่นที่เคลื่อนที่ ผ่านจุด ๆ หนึ่ง ในเวลา 1 วินาที ในอดีตมาตรฐานของเวลา กำหนดไว้ว่าเวลา 1 วินาทีเป็น ของเวลาที่โลกใช้ในการหมุนรอบตัวเอง แต่เวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองก็ไม่คงที่ มีการแปรปรวนอยู่เสมอ
ดังนั้นเวลา 1 วินาที ตามคำจำกัดความนี้จึงไม่เหมาะสม มาตรฐานของเวลาปัจจุบันกำหนดว่า เวลา 1 วินาที คือเวลาที่คลื่นแสงจากธาตุซีเซียม(Caesium) ซึ่งอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม จำนวน 9,192,631,770 ลูก เคลื่อนที่ผ่านจุด ๆ หนึ่ง ว่ากันตามหลักการแล้วการวัดความถี่ของแสง ที่ปลดปล่อยจากอะตอมจะทำให้ถูกต้องที่สุด เมื่ออะตอมนั้นหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว หากอะตอมเคลื่อนไหวมาก ความถี่ที่วัดได้จะผิดพลาดมาก
เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ที่ National Bureau of Standard แห่งรัฐ Maryland สหรัฐอเมริกา ได้ทดลองทำให้อะตอมของโซเดียม มีอุณหภูมิต่ำถึง – 273oC คือใกล้อุณหภูมิศูนย์สัมบูรณ์มาก แล้วยิงแสงเลเซอร์มีความถี่ต่ำกว่าความถี่ธรรมชาติของโซเดียมเพียงเล็กน้อย (ความถี่ธรรมชาติของโซเดียม คือความถี่แสงที่อะตอมของโซเดียมจะดูดกลืน)
ดังนั้นเมื่อแสงเลเซอร์พุ่งเข้าชนอะตอมของโซเดียม ปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ (Doppler Effect) จะทำให้อะตอมของโซเดียมรับแสง ที่มีความถี่สูงกว่าความถี่จริงของแสงนั้น ซึ่งจะไปเท่ากับความถี่ธรรมชาติพอดี ทันทีที่ความถี่ของแสงเลเซอร์เท่ากับความถี่ธรรมชาติ อะตอมของโซเดียมจะดูดกลืนแสงนั้นและจะวิ่งช้าลง
ต่อมาอีกไม่นานอะตอมก็จะปล่อยแสงออกมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดความถี่ได้
ความละเอียดถูกต้องของการวัดความถี่แสงหรืออีกนัยหนึ่ง การวัดเวลา มีบทบาทสำคัญในการทำนาฬิกาปรมาณู นักวิทยาศาสตร์หวังที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่พบใหม่นี้ เพื่อทำให้ประสิทธิภาพของนาฬิกาปรมาณูในอนาคตเที่ยงตรง คือขนาดวัดได้ถูกต้องถึง 1 ส่วนใน 10 ล้าน ล้าน ล้านส่วน
พูดง่าย ๆ ก็คือ นาฬิกาปรมาณู ในอนาคตจะมีศักยภาพวัดเวลาได้คลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 วินาที ในเวลาทั้งหมด 3 หมื่นล้านปี

สร้างโดย: 
นายอุกฤษฏ์ นันอุมาลี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 387 คน กำลังออนไลน์