ปลายทางของขยะอิเลกทรอนิกส์

 ปลายทางของขยะอิเลกทรอนิกส์

 

การฝังกลบ : หากไม่มีการทำลายขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นให้มีฤทธิ์เป็นกลาง ก่อนที่จะใส่ในหลุมกลบที่มีคุณภาพ ไม่มีการรั่วซึมออกมาสู่ระบบน้ำใต้ดิน พร้อมการเฝ้าระวังต่อเนื่องที่ต้องใช้งบประมาณสูง สารพิษในขยะเหล่านั้นจะรั่วไหล ปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมในชุมชนได้
 
การเผา : การเผาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกต้องนับว่าเป็นอันตรายอย่างมาก ทำให้โลหะหนักอย่าง ตะกั่ว แคดเมียม และสารปรอท กลายเป็นเถ้าถ่านและแพร่กระจายเข้าสู่บรรยากาศได้   สารปรอท หากสะสมตัวอยู่ในห่วงโซ่อาหารหรือเมื่อตกค้างอยู่ที่สัตว์น้ำซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์ ก็จะเป็นการแพร่สารปรอทมาสู่คนได้ รวมทั้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนประกอบของสารทนไฟซึ่งทำจากโบรมีน หากทำการเผาก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของสารโบรไมเนตไดอ๊อกซินและสารฟิวแรน หรือถ้ามีส่วนประกอบของของพลาสติก PVC ก็จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของสารไดอ๊อกซินคลอไรด์และสารฟิวแรนที่เป็นอันตรายอีกเช่นกัน

 


การนำมาใช้ใหม่ : วิธีนี้ช่วยยืดอายุของผลิตภัณฑ์ และลดทรัพยากรที่ต้องเสียไปหากมีการต้องทำขึ้นมาใหม่ แต่บ่อยครั้งการนำกลับมาใช้ใหม่กลับเป็นปัญหาให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา เมื่อเป็นผู้รับเอาสินค้าที่มีอายุการใช้งานเหลือน้อย ก็ต้องเจอกับปัญหาใหญ่ในการจัดการกับขยะเหล่านี้เมื่อหมดสภาพการใช้งาน

 

รีไซเคิล : ช่วยประหยัดทรัพยากรและลดการเพิ่มขึ้นของขยะอันตรายได้ด้วยการนำของเก่าที่ยังดีมาใช้ใหม่ สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว การรีไซเคิลจะทำในโรงงานที่มีออกแบบมาโดยเฉพาะ ภายใต้การควบคุมตามมาตรฐาน แต่ในประเทศที่ยังไม่พัฒนากลับพบการแยกขยะที่ทำกันที่แหล่งแยกขยะตามมีตามเกิด รวมทั้งการรีไซเคิลโดยปราศจากความรู้และการป้องกันอันตรายที่ดี  กระบวนการที่ไม่ถูกต้องย่อมนำผลที่ไม่ดีตามมา  คนงานจะได้รับสารพิษโดยตรง อีกทั้งยังส่งผลไปถึงสิ่งแวดล้อมในชุมชนอีกด้วย


 

ส่งออก : ต้องยอมรับว่าต้นทุนในการกำจัดขยะในประเทศกำลังพัฒนาถูกมากเมื่อเทียบกับการที่ประเทศพัฒนาเหล่านั้นต้องจัดการกับขยะอันตรายเอง จึงเกิดการส่งออกขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศพัฒนาแล้วไปสู่ปลายทางยังตะวันออกไกล  อินเดีย อัฟริกา ที่ที่มีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมไม่รัดกุม  และหลายครั้งเป็นการละเมิดอนุสัญญาบาเซล  หรือทำไปด้วยความเห็นแก่ตัวไม่คำนึงถึงศีลธรรม ซึ่งการรีไซเคิลในประเทศเหล่านี้มักกระทำกันโดยประชาชน ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายในการคัดแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์  จึงทำกันโดยปราศจากอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากขยะเหล่านั้น

 

รูปที่ 1 จีนผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสุสานขยะอิเล็กทรอนิกส์ เมืองต่างๆในจีนหลายแหล่งเป็นแหล่งรองรับขยะที่รีไซเคิลได้แทบทุกประเภท  จอภาพซีอาร์ที (CRT) กองสุมเต็มไปหมด  ซากขยะที่เต็มไปด้วยมีตะกั่วและสารพิษอื่นๆ น่าเศร้าที่ในหมู่คนแยกขยะเหล่านั้นมีเด็กรวมอยู่ด้วย

 

รูปที่ 2 ประเทศอินเดีย ท่ามกลางกองไฟหลายกอง เป็นการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยการย่างแผงวงจรไฟฟ้า ด้วยความร้อนเพื่อแยกเอาตะกั่วกลับมาใช้ใหม่

 

 

รูปที่ 3 ในอาฟริกา การทุบเศษซากขยะที่ซื้อมา เพื่อแยกเอาส่วนที่ขายได้ เช่น ทองแดง ไดร์ฟและชิพความจำ  ออกมาก่อนที่จะดึงลวดทั้งหมดออก แล้วทำการเผาพลาสติกเพื่อเอาเฉพาะลวดทองแดง เนื่องจากผู้รับซื้อ จะซื้อสายทองแดงที่ได้ทำการเผาเอาพลาสติกหุ้มออกแล้วเท่านั้น ซึ่งชิ้นส่วนที่กระจายอยู่ทั่วพื้นมีทั้งตะกั่ว และแคดเมียม

 

สร้างโดย: 
นางสาวธิติญา ธำรงวัฒนา

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 296 คน กำลังออนไลน์