การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์

การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์

ขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสีย

1. Primary treatment เป็นขั้นตอนที่มีการกำจัดวัตถุหรือสิ่งปนเปื้อนที่มีขนาดใหญ่ออกก่อน อาจจะโดยการกรองผ่านตะแกรง หรือตกตะกอนของแข็งเหล่านั้นก่อน จากนั้นจึงจะปล่อยน้ำเสียผ่านสู่ขั้นตอนที่ 2

2. Secondary treatment เป็นขั้นตอนที่จะนำจุลินทรีย์มาช่วยในการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ โดยจะย่อยสลายของเสียที่ผ่านมาจากขั้นตอนที่ 1 ที่ยังมีสารอินทรีย์ปนอยู่ โดยในขั้นตอนนี้จะมีการให้อากาศเพื่อให้จุลินทรีย์พวก aerobic เจริญเติบโต ส่วนตะกอนที่ได้จากขั้นตอนนี้ก็จะถูกส่งไปยังถังย่อยตะกอนที่มีจุลินทรีย์พวก anaerobic เพื่อย่อยสลายต่อไป น้ำเสียที่ผ่านขั้นตอนนี้แล้วก็จะถูกส่งต่อไปยังขั้นตอนที่ 3 เพื่อกำจัดสารอนินทรีย์ เช่น ฟอสเฟต และไนเตรต ให้มีปริมาณน้อยลง

3. Tertiary treatment เป็นขั้นตอนในการลดปริมาณของสารอนินทรีย์ที่ปนเปื้อนในน้ำเสีย โดยจะใช้วิธีทางเคมีช่วยในการกำจัดฟอสเฟต และไนเตรตก่อนจะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ


จุดประสงค์ของการบำบัดน้ำเสียใน Secondary treatment นั้นก็คือ การใช้จุลินทรีย์ช่วยลดค่า
BOD ในน้ำเสียนั้นให้น้อยลง สำหรับขั้นตอนในการใช้จุลินทรีย์ช่วยในการบำบัดน้ำเสียนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ขั้นตอนคือ

1. Aerobic Secondary Treatment Process ในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่จุลินทรีย์พวก aerobic
เจริญเติบโต และย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียให้เป็นคาร์บอเนต ไนเตรต แอมโมเนีย ฟอสเฟต และซัลเฟต
โดยขั้นตอนนี้สามารถเลือกได้ 2 วิธีคือ

1.1 Trickling filter tank การบำบัดน้ำเสียโดยวิธีนี้จะต้องมีถังขนาดใหญ่ โดยในถังจะมีหินเป็น
support material ให้จุลินทรีย์เจริญเป็นฟิล์มเกาะอยู่ จากนั้นน้ำเสียที่ผ่านจากขั้นตอนที่ 1
จะถูกส่งเข้าไปในถังจากส่วนบน จากนั้นน้ำเสียก็จะซึมผ่านลงสู่ส่วนล่าง โดยจะมีการให้อากาศโดยพ่น
อากาศผ่านตัว support material ดังนั้นจุลินทรีย์พวก Heterotrophic ก็จะเจริญเกาะเป็นฟิล์ม
บริเวณชั้นบน เช่น แบคทีเรีย พวก Pseudomonas, Zoogloea ส่วนเชื้อราก็จะเป็นพวก Fusarium,
Ascoidea, Trisporon สำหรับจุลินทรีย์ที่เจริญในชั้นล่างส่วนใหญ่จะเป็นพวก Autotrophic nitrifying
bacteria เช่น Nitrosomonas ซึ่งจะ oxidize แอมโมเนียไปเป็นไนไตรต และ Nitrobacter จะ oxidize
ไนไตรตไปเป็นไนเตรต

1.2 Activated sludge process การบำบัดน้ำเสียโดยวิธีนี้จะมีการเติมจุลินทรีย์ลงไปในน้ำเสียที่
ผ่านจากขั้นตอนที่ 1และมีการให้อากาศตลอดเวลา เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ โดย
จุลินทรีย์ที่ใช้ในขบวนการนี้ก็จะเป็นจุลินทรีย์ พวกเดียวกับจุลินทรีย์ใน Trickling filter tank แต่จะมี
slime-forming bacteria คือ Zoogloea ramigera เป็นจุลินทรีย์สำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์
เมื่อจุลินทรีย์เจริญขึ้นก็จะจับตัวกันเป็นตะกอนตกอยู่ที่ ก้นถัง จากนั้นตะกอนเหล่านี้ก็จะถูกส่งต่อไปยังถัง
ที่มีจุลินทรีย์พวก anaerobic เพื่อย่อยสลายต่อไป

สำหรับตะกอนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้จากขั้นตอนนี้สามารถนำกลับมาใช้เป็น inoculum สำหรับบำบัด
น้ำเสียที่จะเข้ามาใหม่ได้อีก การบำบัดน้ำเสียโดยวิธี Aerobic Secondary Treatment จะสามารถลดค่า
BOD ได้ถึง 20 mg ออกซิเจนต่อลิตร

2. Anaerobic Secondary Treatment Process หลังจากการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์
จำพวก aerobic แล้ว ตะกอนที่เกิดจากการย่อยสลายจะถูกส่งไปยังถังย่อยสลายที่มีจุลินทรีย์พวก
anaerobic จุลินทรีย์พวกนี้ไม่ต้องใช้ออกซิเจนเพื่อการเจริญเติบโต และตะกอนส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวก
insoluble organic matter เช่น cellulose กระบวนการย่อยสลายจะแบ่งเป็น 2 stage ด้วยกันคือ
acid-forming และ methane-forming

สร้างโดย: 
คุณครูจุฑารัตน์ จริงธนสาร และ นางสาวพิชญา เปลี่ยนศิริ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 369 คน กำลังออนไลน์