ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง


                    ประชากร (Population) หมายถึง หน่วยทุกหน่วย (ซึ่งอาจมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้) ที่เรา สนใจเช่น จำนวนคนไทยที่เป็นเพศชาย ประชากรคือคนไทยทุกคนที่เป็นเพศชาย จำนวนรถยนต์ในจังหวัดพิษณุโลก ประชากรคือ รถยนต์ทุกคันที่อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ


                     ตัวอย่าง (Sample) หมายถึง หน่วยย่อยของประชากรที่เราสนใจ เช่น จำนวนรถยนต์ที่วิ่งในจังหวัดพิษณุโลกซึ่งไม่สามารถจัดเก็บได้ทัน จึงต้องใช้ตัวอย่างซึ่งตัวอย่างจะต้องเป็น รถยนต์ที่กำลังวิ่งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ฯลฯ
ประเภทของตัวอย่าง
ตัวอย่างแบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ
                    1. ตัวอย่างที่ทราบความน่าจะเป็นที่จะถูกเลือก
                    2. ตัวอย่างที่ไม่ทราบความน่าจะเป็นที่จะถูกเลือก


                    • ตัวอย่างที่ทราบความน่าจะเป็นที่จะถูกเลือก  เป็นการเลือกแบบเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยในประชากรได้รับการเลือกเท่าๆกัน  เรียกว่า  เลือกโดยการสุ่ม (Random)  ซึ่งมีหลายวิธี
                    1) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling)  หมายถึง  การสุ่มตัวอย่างที่ไม่เจาะจงหน่วยใดในประชากร  วิธีการเลือกใช้วิธีง่ายๆ  เช่น  วิธีจับฉลาก  มักใช้กับประชากรที่ไม่แตกตางกันมาก
                    2) การสุ่มตัวอย่างแบบระบบ (Systematic random sampling)  เริ่มต้นด้วยการจัดลำดับของหน่วยแต่ละหน่วยแบบสุ่มไว้ก่อน
N = จำนวนประชากร
n = จำนวนตัวอย่าง

เริ่มต้นด้วยลำดับที่ 4  ลำดับต่อไป คือ  4+5,4+5+5,4+5+5+5,………
                    3) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นกลุ่ม (Clustered random sampling)  โดยแบ่งประชากรเป็นกลุ่มๆ  แต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันน้อยที่สุด  แล้วสุ่มตัวอย่างจากแต่ละกลุ่มอีกครั้งจำนวนเท่าๆกัน
                    4) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้น (Stratified random sampling)  แบ่งประชากรออกเป็นชั้นๆ  ชั้นเดียวกันมีความแตกต่างกันน้อยที่สุด  แต่มีความแตกต่างระหว่างชั้นมาก  แล้วสุ่มตัวอย่างจากแต่ละชั้น  เช่น  แบ่งตามระดับการศึกษาที่จบ  (ต่ำกว่า ป.7,ม.3,ม.6,ปริญญาตรี,ปริญญาโท,ปริญญาเอก)

                    • ตัวอย่างที่ไม่ทราบความน่าจะเป็นที่จะถูกเลือก  ตัวอย่างประเภทนี้ได้มาจากการเลือกที่มีลักษณะดังนี้
1)  การเลือกโดยกำหนดสมบัติของหน่วยที่จะเลือก (Quata sampling)  เช่น  คนที่มีวุฒิปริญญาตรี 20 คน
2)  การเลือกโดยเจาะจงหน่วยที่ต้องการ (Purposive sampling)  เช่น  เลือกเพราะความคุ้นเคย  เลือกเพราะสะดวกในการเก็บข้อมูล

                    ค่าต่างๆ ที่คำนวณได้จากประชากรจะเรียกว่าค่า พารามิเตอร์ (Parameter) ส่วนค่าต่างที่คำนวณได้จากกลุ่มตัวอย่างจะเรียกว่าค่าสถิติ (Statistics)

สร้างโดย: 
นางสาวฑณิฎา วามะศิริ ม.6 โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 358 คน กำลังออนไลน์