ฟิสิกส์ ม.6 บทที่ 17 ไฟฟ้าและแม่เหล็ก 2

บทที่ 17 ไฟฟ้าและแม่เหล็ก 2
ศักย์ไฟฟ้าและความจุไฟฟ้า

ความแตกต่างของประจุไฟฟ้าใดๆ เป็นเหตุให้เกิดสนามไฟฟ้า เช่น สนามของแรง ซึ่งเกิดจากอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าออกแรงไฟฟ้ากระทำกัน ความเข้มของสนามไฟฟ้าที่จุดหนึ่งคือ แรงที่กระทำกับประจุไฟฟ้าบวกหนึ่งหน่วยที่จุดนั้น และมีทิศตามที่ประจุจะเคลื่อนที่ ถ้าวัตถุที่มีประจุไฟฟ้าอยู่ในสนามไฟฟ้าจะมีพลังงานศักย์ไฟฟ้า หรือเรียกว่า ศักย์ไฟฟ้า เพราะขึ้นอยู่กับตำแหน่ง


ศักย์ไฟฟ้า(Potential) เป็นพลังงานที่เกี่ยวข้องกับประจุไฟฟ้าที่จุดหนึ่งในสนามไฟฟ้า เนื่องจากแรงที่กระทำกับประจุไฟฟ้านั้น พลังงานของประจุไฟฟ้าขึ้นอยู่กับขนาดของประจุและศักย์ไฟฟ้าที่จุดนั้น ประจุไฟฟ้าบวกจะมีแนวโน้มเคลื่อนที่เข้าสู่จุดที่มีศักย์ไฟฟ้าตำ่กว่านั้นคือ เคลื่อนลงตาม เกรเดียนร์ของศักย์ไฟฟ้าเราไม่สามารถวัดศักย์ไฟฟ้าได้ แต่สามารถวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุดได้

ความต่างศักย์ไฟฟ้า( Potential difference) ความต่างศักย์ของศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุด 2 จุดมีค่าเท่ากับการเปลี่ยนแปลงพลังงานเมื่อประจุไฟฟ้าบวกหนึ่งหน่วยเคลื่อนที่จากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งในสนามไฟฟ้าหน่วยของความต่างศักย์ไฟฟ้าคือ โวลต์ บางทีเรียกความต่างศักย์ไฟฟ้าว่า โวลเตจ พลังงานไฟฟ้าจะเปลี่ยนไป 1 จูล เมื่อประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ เคลื่อนที่ระหว่างจุดสองจุดที่มีความต่างศักย์ 1 โวลต์ มีการกำหนดจุดอ้างอิงจุดหนึ่ง(ต่อลงดิน) ให้มีศักย์ไฟฟ้าศุนย์

ความจุไฟฟ้า(Capacitance)

เมื่อให้ประจุไฟฟ้ากับตัวนำจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ศักย์ไฟฟ้า ความจุไฟฟ้าเป็นอัตราส่วนระหว่างประจุไฟฟ้าที่วัตถุได้รับกับศักย์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น วัตถุที่มีความจุไฟฟ้ามาก ต้องการประจุไฟฟ้ามากกว่าวัตถุที่มีความจุไฟฟ้าน้อยในการทำให้ศักย์ไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงเท่ากัน

ฟารัด( Farad) เป็นหน่วยของความจุไฟฟ้าวัตถุที่มีความจุไฟฟ้า 1 ฟารัด จะมีศักย์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น1 โวลต์ เมื่อให้ประจุไฟฟ้ากับวัตถุนั้น 1 คูลอมบ์ ตัวเก็บประจุ ( Capacitor) เป็นอุปกรณ์ที่ใชเก็บประจุไฟฟ้าประกอบด้วยแผ่นโลหะขนานกัน และกั้นด้วยวัสดุที่เป็นฉนวนเรียกว่า ไดอิเล็กทริก ความจุของตัวเก็บประจุขึ้นอยู่กับไดอิเล็กทริกที่ใช้ ๙ึ่งจะถูกเลือกให้เหมาะกับความจุที่ต้องการและลักษะณะของตัวเก็บประจุตัวเก็บประจุชนิดกระดาษ(Paper capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่ใช้แผ่นโลหะบาง 2 แผ่น ขั้นด้วยกระดาษอาบไขบางๆ ทำหน้าที่เป็น ไดอิเล็กทริกตัวเก็บประจุชนิดพอลิเอสเตอร์ สร้างได้วิธีเดียวกัน

ระจุชนิดอิเล็กโทรไลต์ (Electrolytic capacitor)ตัวเก็บประจุที่ใช้ ไดอิเล็กทริก ที่มีลักษณะคล้ายเยลลี่หรือแป้งเปียกมีความจุสูงในปริมาตรเล็ก เนื่องจากสมบัติของไดอิเล็กทริกจะต้องต่อขั้วตัวเก็บประจุชนิดนี้กับแบตเตอรี่ให้ถูกต้องค่าคงตัวของไดอิเล็กทริก (Dielectric constant) เป็นสัดส่วนระหว่างความจุของตัวเก็บประจุเมื่อใช้ไดอิเล็กทริก ที่กำหนดให้กับความจุเมื่อเป็นสุญญากาศ ค่าที่ได้เป็นตัวเลขที่แสดงว่าเมื่อใช้ตัวเก็บประจุที่มีไดอิเล็กทริกที่กำหนดให้ จะเพิ่มความจุจากกรณีที่เป็นสุญญากาศ (มีผลใกล้เคียงกับอากาศ)

ตัวเก็บประจุเปลื่ยนค่าได้ (Variable capacitor) เป็นตัวเก็บประจุที่ประกอบด้วยแผ่นโลหะติดอยู่บนแกนหมุน ใช้ไดอิเล็กทริกเป็นอากาศ เมื่อหมุนแกนพื้นที่ระหว่างแผ่นที่ซ้อนกันจะเปลี่ยนมีผลให้ความจุเปลี่ยนไปขวดเลย์เด็น (Leyden jar) เป็นตัวเก็บประจุชนิดหนึ่งทำด้วยขดลวดแก้วซึ่งใช้แผ่นโลหะบางๆติดอยู่ทั้งภายในและภายนอก เป็นตัวเก็บประจุชนิดหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรก

 

สร้างโดย: 
นายอุกฤษฏ์ นันอุมาลี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 402 คน กำลังออนไลน์