ภูมิปัญญาไทยกับความเชื่อทางศาสนา

รูปภาพของ sila15722


ภูมิปัญญาไทยกับความเชื่อทางศาสนา

 

รายงาน

    วิชา ประวัติศาสตร์

    เรื่อง ภูมิปัญญาไทยกับความเชื่อทางศาสนา

เสนอ

คุณครู วัชรี กมลเสรีรัตน์

     จัดทำโดย

1.   นายไตรรัตน์    เผือกผาสุข  เลขที่ 4

2.   น.ส.อริสา      แก้วทองมี   เลขที่ 8

3.   นายชญานนท์  ฤทัยสุขสกุล เลขที่ 21

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1

โรงเรียน ศีลาจารพิพัฒน์

    ภาคเรียนที่ 1                      ปีการศึกษา 2552

 

 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา ประวัติศาสตร์

 


คำนำ

 การนำเสนองานครั้งนี้เป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชา สังคมศึกษา ศาสนา เเละวัฒนธรรม โดยเน้นเนื้อหาผลงานเกี่ยวกับทางด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งงานชิ้นนี้มีเนื้อหาใจความหลักเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยกับความเชื่อทางศาสนา โดยทางเราคิดว่าการทำความเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเป็นเรื่องสำคัญบนฐานแห่งความคิดทางศาสนา ดังนั้น การบูรณาการแนวคิดทางศาสนามาใช้กับวิถีชีวิตประจำวัน จะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกันไปได้อย่างดีเพียงแต่คนไทยทุกคนต้องมีความมุ่งมั่น ไม่ท้อถอย ผู้มีอิทธิพลหรือผู้มีอำนาจต่างๆจะต้องยอมเลิกเห็นแก่ตัว เราต้องรัก เเละสามัคคีต่อเพื่อนบ้าน มีความห่วงใยอาทรลูกหลาน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ไม่คดโกงแผ่นดิน การคดโกงแผ่นดินเท่ากับดูหมิ่งเกีรติปู่ย่าตายายของพวกเรา นอกจากนี้พวกเราซึ่งเยาวชนของชาติศึกษา เเละช่วยกันดูเเลภูมิปัญญาเเละความเชื่อที่ดี ที่มีมาเเต่ก่อนไว้เพื่อเป็นสิ่งดีดีที่จะมีสืบไว้ให้บุตรหลานได้เรียนรู้ต่อไป เเละทางเราก็หวังว่าประโยชน์ต่างๆๆในนี้ ความเชื่อที่เกี่ยวศาสนาที่มีจะพอเป็นเเนวทางเเห่งการเรียนรุ้เเละศึกษาให้เเก่คนรุ่นหลัง หรือผู้ที่มาศึกษาได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อย เเละหากเนื้อหามีความบกพร่อง ไม่เหมาะสม หรือไม่ถูกต้องประการใดต้องขออภัยทุกท่านมาไว้ ณ เเห่งนี้ รวมถึงขอขอบคุน ข้อมูลดีดีที่มีไนเนื้อหาส่วนนี้ด้วย


 

เนื้อหา

ความหมายของภูมิปัญญาไทย

ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

การแบ่งสาขาของภูมิปัญญาไทย

ภูมิปัญญาไทยด้านความเชื่อทางศาสนา

ตัวอย่างภูมิปัญญาไทยด้านความเชื่อทางศาสนา 

      -ตำนานบั้งไฟพญานาค

สรุปเนื้อหา

แหล่งอ้างอิง

คณะผู้จัดทำ

 

 


 

 

 

ภูมิปัญญาไทย

 

 

                  ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนไทย ล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย

 

                ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม

2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน

4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม

5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ

6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง

7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม

ภูมิปัญญาไทยสามารถจัดแบ่งได้กี่สาขา        

          จากการศึกษาพบว่า มีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างหลากหลายขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่หน่วยงาน องค์กร และนักวิชาการแต่ละท่านนำมากำหนด ในภาพรวมภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งได้เป็น 10 สาขาดังนี้

1. สาขาเกษตรกรรม

2. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

3. สาขาการแพทย์แผนไทย

4. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน

6. สาขาสวัสดิการ

7. สาขาศิลปกรรม

8. สาขาการจัดการองค์กร

9. สาขาภาษาและวรรณกรรม

10. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่าให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ ให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักธรรมทางศาสนา การบวชป่า ประเพณีต่าง ๆ เช่น บวชพราหมณ์ เป็นต้น

ภูมิปัญญาไทยในด้านความเชื่อทางศาสนา

       ภูมิปัญญาไทยในด้านความเชื่อทางศาสนา เป็นความ ความสามารถปรับปรุง ประยุกต์คำสอนทางศาสนาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม คนไทยยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ โดยนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนไทยเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอม รักสงบ ใจเย็น มีความอดทนให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิด ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายปกติสุข

       ความเชื่อ คือการยอมรับอันเกิดอยู่ในจิตสำนึกของมนุษย์ ต่อพลังอำนาจเหนือ ธรรมชาติ ความเชื่อเป็นธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกรูปทุกนาม สิ่งที่มนุษย์ได้ สัมผัสทางใดทางหนึ่งจากอายตนะทั้ง ๖ ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) เป็นต้นเหตุของ ความเชื่ออันเป็นสัญญเจตนา เมื่อเกิดการเพาะบ่มความเชื่อโดยอาศัยสิ่งแวดล้อมที่ได้สัมผัสเป็นประจำ เป็นเครื่องช่วยให้ความเชื่อเจริญเติบโต จึงเกิดรูปเกิดสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงเกิดความเชื่อในรูปแบบความเชื่อที่เป็นรูปธรรม และความเชื่อที่เป็นนามธรรม

       ความเชื่อทางพุทธศาสนา เช่น ความเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ความเชื่อบาป บุญคุณโทษ ความเชื่อเรื่องชาติภพ ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ เป็นต้น โดยมีการผสมผสานความเชื่อแบบศาสนาพราหมณ์รวมอยู่ด้วย เช่น ความเชื่อเรื่องเทพเทวดา พระอินทร์ พระพรหมท้าวจตุโลกบาลผู้รักษาทิศทั้งสี่ เป็นต้น ซึ่งเห็นได้จากเมื่อมีการประกอบพิธีกรรมใด ๆ ก็ตามเมื่อมีการกล่าวถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว มักจะมีกล่าวถึงเทพเทวดาต่างๆด้วย              

"ตัวอย่างภูมิปัญญาไทยกับความเชื่อทางศาสนา" มีดังนี้   

 

ความเชื่อเกี่ยวกับตำนานบั้งไฟพญานาค   

         ครั้งเมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็น พญาคันคาก ได้จุติอยู่ในครรภ์ของพระนางสีดา เมื่อเติบใหญ่ได้บำเพ็ญเพียรภาวนา จนพระอินทร์ชุบร่างให้เป็นชายหนุ่มรูปงาม พระอินทร์ได้ประธานนางอุดรกุรุตทวีปเป็นคู่ครอง พญาคันคากและนางอุดรกุรุตทวีป ได้ศึกษาธรรม และเทศนาสอนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ                 

        มนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายครั้นได้ฟังธรรมจากพระโพธิสัตว์คันคากก็เกิดความเลื่อมใสจนลืม ถวายเครื่องบัดพลี พญาแถน ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ก่อกำเนิดเผ่าพันธุ์และบันดาลน้ำฝนแก่โลกมนุษย์                 

        พญาแถนครั้นไม่ได้รับเครื่องบัดพลีจากมนุษย์และสรรพสัตว์ รวมทั้งเทวดาที่เคยเข้าเฝ้าเป็นประจำ ไปฟังธรรมกับพญาคันคากจนหมดสิ้น จึงบังเกิดความโกรธแค้นยิ่งนัก                  

       พญาแถนโกรธแค้นที่เหล่ามนุษย์และสรรพสัตว์หันไปบูชาพญาคันคาก จึงสาปแช่งเหล่ามวลมนุษย์ไม่ให้มีฝนตกเป็นเวลาเจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวัน ทำให้เกิดความแห้งแล้งไปทุกหย่อมหญ้า เหล่ามวลมนุษย์จึงได้เข้าเฝ้าพระโพธิสัตว์ทูลถามและขอความช่วยเหลือ                  

        พญาคันคากรู้ด้วยญาณจึงบอกมนุษย์ว่า เพราะพวกเจ้าไม่บูชาพญาแถน ท่านจึงพิโรธ จึงบันดาลมิให้มีฝนตกลงมา ความแห้งแล้งมีมาเจ็ดปี พญานาคีผู้เป็นใหญ่ในเมืองบาดาลที่เข้าเฝ้าพระโพธิสัตว์คันคากอยู่ขณะนั้นได้รับฟังจึงยกทัพบุกสวรรค์โดยไม่ฟังคำทัดทานของพระโพธิสัตว์คันคาก                 

        แต่พญานาคีพ่ายแพ้กลับมาและบาดเจ็บสาหัสด้วยต้องอาวุธของพญาแถน พระโพธิสัตว์คันคากเกิดความสงสารด้วยเห็นว่าพญานาคีทำไปด้วยต้องการขจัดความทุกข์ให้เหล่ามวลมนุษย์ จึงได้ให้พรแก่พญานาคีและเหล่าบริวาร       “ขอให้บาดแผลเจ้าทั้งกายให้หายขาด กลายเป็นลวดลายงามดั่งเกล็ดมณีแก้ว หงอนจงใสเพริศแพร้วเป็นสีเงินยวง ความเจ็บปวดทั้งปวงจงเหือดหายไปจากเจ้า อันว่าตัวเจ้านั้นต่อแต่นี้ให้ศรีชื่น เป็นตัวแทนความเย็นในเวินแก้วแท้นอ” (คัดลอกจากบทการแสดง ปรับบางคำให้เป็นภาษากลาง)                 

        นับจากนั้นเป็นต้นมาพระพญานาคีได้ปวารณาตนเป็นข้าช่วงใช้พระโพธิสัตว์ไปทุกๆ ชาติ แต่ความแห้งแล้งยังคงอยู่กับเหล่ามวลมนุษย์ พระโพธิสัตว์คันคากจึงได้วางแผนบุกสวรรค์ โดยให้พญาปลวกก่อจอมปลวกสู่เมืองสวรรค์ พญาแมงงอด แมงเงาเจ้าแห่งพิษ (แมงป่องช้าง) ให้จำแลงเกาะติดเสื้อผ้าพญาแถน พญานาคีให้จำแลงเป็นตะขาบน้อยซ่อนอยู่ในเกือกพญาแถน เมื่อองค์พระโพธิสัตว์คันคากให้สัญญาณจึงได้กัดต่อยปล่อยพิษ  

          พญาแถนพ่ายร้องบอกให้พระโพธิสัตว์คันคากปล่อยตนเสีย แต่พระโพธิสัตว์คันคากกลับบอกว่าขอเพียงพญาแถนผู้เป็นใหญ่ให้พรสามประการ ก็จะมิทำประการใด      

หนึ่งให้ฝนตกลงมาตามฤดูกาล เหล่ามวลมนุษย์จะจุดบั้งไฟบวงสรวงพญาแถน      

สองแม้ว่าฝนตกลงมาดั่งใจมาดแล้ว ให้ในทุ่งนามีเสียงกบเขียดร้อง      

สามเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวขึ้นเล้า (ยุ้งข้าว) ตัวข้าพญาคันคากจะส่งเสียงว่าวสนูให้พ่อฟังเป็นสัญญาณว่า ปีนั้นข้าวอุดมสมบูรณ์             

        พญาแถนได้ฟังคำขอพรสามประการ(ความจริงแล้วสำหรับความคิดผมเองเป็นการขอประการเดียว และมีการบวงสรวงบูชา พญาแถนคงเห็นว่าคุ้ม) จึงได้ให้พรตามปรารถนา นับเนื่องจากนั้นมากลางเดือนหกของทุกๆ ปี ชาวอีสานจะร่วมกันทำบั้งไฟแห่ไปรอบๆ หมู่บ้านแล้วจุดบูชาพญาแถน              

        ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ พระองค์ได้เสด็จเผยแพร่ศาสนาไปทั่วชมพูทวีป พญานาคีผู้เฝ้าติดตามเรื่องราวพระองค์ บังเกิดความเลื่อมใสและศรัทธายิ่งนัก รู้ด้วยญาณว่าพระองค์คือพญาคันคากมาจุติ จึงจำแลงกายเป็นบุรุษขอบวชเป็นสาวก ตั้งใจปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธองค์              

        ค่ำคืนหนึ่งพญานาคีเผลอหลับไหลคืนร่างเดิม ทำให้เหล่าภิกษุที่ร่วมบำเพ็ญเพียรทั้งหลายตื่นตระหนก ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องจึงขอให้พญานาคีลาสิกขา เนื่องจากนาคเป็นเดรัจฉานจะบวชเป็นภิกษุมิได้              

        พญานาคียอมตามคำขอพระพุทธองค์ แต่ขอว่ากุลบุตรทั้งหลายทั้งปวงที่จะบวชในพระพุทธศาสนาให้เรียกขานว่า นาคีเพื่อเป็นศักดิ์ศรีของพญานาคก่อนแล้วค่อยเข้าโบสถ์ จากนั้นเป็นต้นมาจึงได้เรียกขานกุลบุตรทั้งหลายที่จะบวชว่า พ่อนาค              

        ต่อมาเมื่อครั้งพระพุทธองค์ได้เสด็จไปแสดงธรรมและจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดาและเหล่าเทวดา กระทั่งครบกำหนดวันออกพรรษา พญานาคี นาคเทวี พร้อมทั้งเหล่าบริวารจัดทำเครื่องบูชาและพ่นบั้งไฟถวาย ขณะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

      นับเนื่องจากนั้น ทุกวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 จึงได้มีปรากฏการณ์ประหลาดลูกไฟสีแดงพวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขงสู่ท้องฟ้า ปรากฏมาให้เห็นตราบเท่าทุกวันนี้ ทุกคนเรียกขานว่า บั้งไฟพญานาค

สรุปเนื้อหา

ภูมิปัญญาไทย ก็คือ ความรู้ความสามารถที่คนไทยถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่งทีมีผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ ความเชื่อทางศาสนา คือ การเชื่อใน เทพเทวดา หรือพระผู้เป็นเจ้าต่างๆ เชื่อในเรื่องชาติภพ รวบถึงคำสอนในศาสนา บาปบุญคุณโทษ รวบแล้ว ภูมิปัญญากับความเชื่อทางศาสนา ก็พอสรุปได้ว่า เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวความเชื่อเรื่องเทพเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธ์ ชาติภพที่ผ่านมา โดยถ่ายทอดจากบรรพบุรุษมาถึงคนรุ่นปัจจุบัน ดังตัวอย่างที่ข้าพเจ้าได้ยกมานั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับอดีตชาติของพญนาคตนหนึ่งที่อยากบวชแต่มิได้บวชจึงเป็นเหตุแล้ะได้มีการใช้คำว่า”พ่อนาค”ใหกับบุคคลที่กำลังจะบวชด้วย หรือจะเป็นการที่พญานาคต่างรวมใจกันสรรเสริญพระพุทธเจ้าหลังจากเสด็จลงจากดาวดึงส์โดยการพ่นลูกไฟ หรือที่เราๆเรียกกันว่า “บั้งไฟพญานาค” นี่ก็พอสรุปเรื่องราวเกี่ยวภูมิปัญญาไทยกับความเชื่อทางศาสนาได้พอสังเขป


เเหล่งอ้างอิง

http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84/

http://www.monnut.com/content.php?content_id=56&content_group_sub=4&content_group=4&content_menu=5

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2 

http://www.lannaworld.com/believe/lannabelieve.htm

http://www.mahamodo.com/modo/bungfire.asp

http://www.thaifolk.com/doc/literate/payanak/payanak.htm


คณะผู้จัดทำ

1.    นายไตรรัตน์    เผือกผาสุข     เลขที่ 4

2.     น.ส.อริสา     แก้วทองมี     เลขที่ 8

3.    นายชญานนท์   ฤทัยสุขสกุล    เลขที่ 21

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1      

 

...........................................................................................................................

** เนื้อหาในนี้จัดทำเพื่อให้ความรุ้แก่ผู้ศึกษาและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ จึงขอสงวนสิขสิทธิ์ที่จะ คัดลองหรือทำซ้ำอีก หากผู้ใดละเมิดจักต้องรับโทษอาญาและชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งแก่ผู้สร้างสรรค์งาน **

รูปภาพของ silavacharee

Kiss

เป็นผลงานที่ดีมากเท่าที่เคยเจอมา!!

ฮ่ะๆ สวยงามอ่ะ

CoolKissTongue outSmile

รูปภาพของ sila15722

คุนคนข้างล่างตาถึงมากเรยนะ!!!!

V

V

V

V

v

 

 

รูปภาพของ sila15746

สวยงามๆ !

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 316 คน กำลังออนไลน์