ความหมายและความเป็นมาของเทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพคืออะไร?

เทคโนโลยีชีวภาพ ( Biotechnology ) ในความหมายโดยกว้างคือการศึกษาและนำความรู้ในสาขาชีววิทยา จุลชีววิทยา เคมีอณูพันธุศาสตร์ที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เช่น จุลินทรีย์ พืช และสัตว์มาใช้ประโยชน์ หรือกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีชีวภาพเป็นการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและผลิตผลของสิ่งมีชีวิตให้เป็นประโยชน์กับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสินค้า ได้แก่ ผงซักฟอกชนิดใหม่ที่มีเอนไซม์ การทำปุ๋ยไว้ใช้เองจากวัสดุเกษตรเหลือทิ้ง เช่น ฟางข้าว มูลสัตว์ การขจัดปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เช่น ปัญหาน้ำทิ้งจากโรงงานอุสาหกรรม โดยการนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์แทนที่จะปล่อยทิ้งให้เน่าเหม็น รวมทั้งการถ่ายฝากตัวอ่อนสัตว์เพื่อให้ได้สัตว์พันธุ์ดีไว้ใช้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าเดิม เป็นต้น

ความเป็นมาและความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพ

อาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีชีวภาพนั้นเริ่มขึ้นอย่างไม่เป็นทางการในสมัยโบราณ เมื่อประมาณ ๖,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียน และบาบิโลเนียน เริ่มรู้จักการนำยีสต์มาหมักเป็นเบียร์ ต่อมาชาวอียิปต์ได้ค้นพบการทำขนมปังโดยใส่เชื้อยีสต์ลงไปในแป้งสาลี ส่วนในเอเซียก็มีการค้นพบวิธีถนอมอาหารในรูปแบบต่างกัน เช่น คนไทยรู้จักการทำ ปลาร้า ปลาเจ่า แหนม ผักกาดดอง ซีอิ้ว หรือการนำข้าวมาหมักเป็นข้าวหมาก และสุราพื้นบ้าน ซึ่งเริ่มทำกันมาตั้งแต่ยุคสุโขทัย

ในแวดวงวิยาศาสตร์ถือว่าเทคโนโลยีชีวภาพเกิดขึ้นนับตั้งแต่ที่มีการค้นพบโครงสร้างของสารพันธุกรรม หรือDNA โดยเจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก ในปี พ.ศ. 2496 ต่อมามีการค้นพบเอนไซม์ตัดจำเพาะในแบคทีเรีย โดยเวอร์เนอร์ อาร์เบอร์ ในช่วงปี พ.ศ. 2500-2510 ในปี พ.ศ. 2516 เอนไซม์ตัดจำเพาะนี้ถูกนำไปทดลองใช้ในการทดลองตัดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่ง แล้วนำไปใส่ให้แบคทีเรียอีกเซลล์หนึ่งเป็นผลสำเร็จ  โดยแสตนลีย์ โคเฮน และเฮอร์เบิร์ด โบเยอร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 มีการนำยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น (ที่ไม่ใช่ของแบคทีเรีย) ไปใส่ในแบคทีเรียเป็นผลสำเร็จ ซึ่งนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าด้านนี้อย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ที่สำคัญมีการตัดต่อยีนของมนุษย์ที่ควบคุมการสร้สงฮอร์โมนใส่ลงในเซลล์แบคทีเรียที่ชื่อ escherichio  cioli  ซึ่งทำให้แบคทีเรียสร้างฮอร์โมนของมนุษย์ออกมาได้เป็นผลสำเร็จ

เทคโนโลยีชีวภาพได้ทวีความสำคัญมากขึ้นจากอดีตสู่ปัจจุบัน โดยเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาทางการแพทย์และเภสัชกรรม เช่นการค้นคิดและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ เป็นต้น ส่วนในด้านเกษตรกรรม เทคโนโลยีชีวภาพได้เป็นความหวังใหม่ที่จะนำมาประยุกต์ช่วยแก้ปัญหาผลผลิตด้านเกษตรของโลก เพราะเมื่อประชากรโลกเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกยังคงเท่าเดิม ปริมาณความต้องการผลิตอาหารจึงเพิ่มมากขึ้น จนเป็นที่คาดคะเนกันว่า ในอีก ๔๐ ปีข้างหน้านี้ โลกของเราจะต้องการผลิตอาหารเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ ๒๕๐ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงเพิ่มผลิตทางด้านการเกษตรและอาหาร

เอาล่ะ ถึงตอนนี้เพื่อนๆ ทุกคนก็คงพอจะเข้าใจและรู้จักเทคโนโลยีชีวภาพกันมากขึ้นแล้ว สิ่งต่อไปที่เพื่อนๆ ควรจะต้องรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพก็คือประโยชน์ละการนำไปใช้ในแวดวงต่างๆ ไปดูกันเลยค่ะ

สร้างโดย: 
คุณครูจุฑารัตน์ จริงธนสารและนางสาวพิชญา เปลี่ยนศิริ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 431 คน กำลังออนไลน์