การทดลองสร้างปะการัง

                                                                                                                                                                                                                                                                           
การทดลองสร้างปะการังเทียมในประเทศไทย
    รมประมง โดยสถานีประมงทะเลจังหวัดระยอง ได้เริ่มทดลองสร้างปะการังเทียมเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “มีนนิเวศน์” ใช้วัสดุแตกต่างกันหลายชนิด เช่น ยางรถยนต์เก่า ท่อคอนกรีต ผูกมัดเป็นรูปทรงต่างๆกัน เพื่อศึกษาผลของการใช้วัสดุ และการดึงดูดสัตว์น้ำ โดยพบว่ามีสัตว์น้ำหลายชนิดเข้ามาอยู่อาศัย
     ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 สถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ได้ทดลองใช้วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็กรูปสามเหลี่ยมปิรามิด ยาวด้านละ 80 ซม. จัดสร้างที่บริเวณชายฝั่งด้านหน้าของสถาบันฯ โดยเรียกว่า “แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล”
     สำหรับทางฝั่งทะเลอันดามัน สถานีประมงทะเลจังหวัดภูเก็ต ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา ในการสร้างปะการังเทียมด้วยยางรถยนต์เก่า และคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดสี่เหลี่ยม ที่บริเวณอ่าวพังงา ในปี พ.ศ. 2525
     จากผลการทดลองมีการสรุปข้อดีข้อด้อย ของการใช้วัสดุต่างๆ ปัญหาอุปสรรค ในการจัดสร้างและแนวทางแก้ไข นำมาใช้เป็นบทเรียนของการจัดสร้างในปัจจุบัน
การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1. แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดเล็ก จัดสร้างในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ให้เป็นแหล่งทำการประมงหน้าหมู่บ้านสำหรับชุมชนประมงขนาดเล็ก งบประมาณในการก่อสร้าง แห่งละ 3 ล้านบาท ใช้แท่งคอนกรีตขนาด 1.5 เมตร จำนวน 700 แท่ง

2. แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ จัดสร้างในพื้นที่ 30-50 ตารางกิโลเมตร เพื่อการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ เป็นแหล่งทำการประมงสำหรับชุมชนประมงในเขตหลายตำบลติดต่อกัน งบประมาณในการก่อสร้าง แห่งละ 20 ล้านบาท ใช้แท่งคอนกรีตขนาด 1.5 เมตร จำนวน 5,400 แท่ง
    แหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ ทำให้สัตว์น้ำมีโอกาสเจริญเติบโตได้นานขึ้นโดยไม่ถูกจับขึ้นมาก่อนเวลาที่ควร โดยมีที่อาศัยหลบภัยเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ สามารถรอดพ้นจากการถูกจับโดยเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น อวนลาก อวนรุน หรือไม่ถูกจับคราวละมากๆ จากเครื่องมืออวนล้อมจับ
การเลือกสถานที่จัดสร้าง
1. มีความลึกของน้ำทะเล 6 เมตร ขึ้นไป

2. พื้นทะเลไม่เป็นโคลนเหลว ทำให้เกิดการจมตัวของวัสดุ

3. ไม่อยู่ใกล้ปากแม่น้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำทะเลอย่างรวดเร็วในฤดูน้ำหลาก
4. ไม่เป็นพื้นที่ซึ่งมีปริมาณตะกอนแขวนลอยในน้ำมาก ทำให้ตะกอนทับถมที่ผิวของวัสดุจนสิ่งมีชีวิตประเภทเกาะติดไม่สามารถอยู่อาศัยได้

5. ไม่กีดขวางการสัญจรทางน้ำ

6. ไม่เป็นพื้นที่หวงห้ามเพื่อการใช้ประโยชน์อื่นๆทางทะเล เช่น เขตร่องน้ำเดินเรือ เขตจอดเรือ เขตพื้นที่ท่าเรือ เขตสัมปทานขุดแร่และแก๊สธรรมชาติ เขตสัมปทานรังนก เป็นต้น

7. ไม่เป็นพื้นที่ที่อาจกระทบต่อปัญหาความมั่นคงของประเทศ เช่นเขตทหาร พื้นที่ฝึกซ้อมทางทะเล เขตชายแดนระหว่างประเทศ เป็นต้น

สร้างโดย: 
น.ส.พิณพิไล วิเศษศิริ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 199 คน กำลังออนไลน์