ฮอร์โมนพืช (plant hormone)

 

ฮอร์โมนพืช (plant hormone)

 

 

ที่มา:http://1.bp.blogspot.com/_tdytnb8XGDw/SfqoP5EZMhI/AAAAAAAABT8/TUySyzLPh5M/s400/plant_life.jpg 


ฮอร์โมนพืช เป็นสารเคมีที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และใช้เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชด้วย
สารที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชนี้เรียกว่า ฮอร์โมนพืช มี 5 ประเภทคือ


1. ออกซิน(Auxin) หรือ กรดอินโดลแอซีติก(indoleacetic acid) เรียกย่อว่า IAA เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดอ่อนและรากอ่อนแล้วแพร่ไปยังเซลล์อื่น คุณสมบัติของออกซิน มีดังนี้ 

ที่มา:http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/81/2/image/F_htm1.jpg

- แพร่จากยอดลงสู่ต้น
- หนีแสงไปยังด้านที่มืดกว่า
- ช่วยให้เจริญเติบโต แต่ยับยั้งการแตกของตาด้านข้าง
- กระตุ้นการออกดอก และการกระตุ้นให้ ovary >>> fruit ( ไม่มีเมล็ด ) โดยไม่ต้องผสมพันธุ์
- กระตุ้นการแตกราของกิ่งในการเพราะชำ
- ชะลอการหลุดร่วงของใบ ดอก ผล
- กระตุ้นให้ยอดเจริญเติบโตรวดเร็ว แต่ในรากยับยั้งให้ช้าลง

2. จิบเบอเรลลิน ( gibberellin) หรือ กรด gibberellic acid เรียกว่า GA เป็นฮอร์โมนพืชพวกหนึ่งในพืชชั้นสูง สร้างมาจากใบอ่อนและผลที่ยังไม่แก่ มีหลายชนิด มีคุณสมบัติดังนี้

ที่มา:http://www.sripatum.ac.th/online/preeya/Image8.gif

- กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ระหว่างข้อปล้อง ทำให้ต้นไม้สูง
- กระตุ้นการงอกของเมล็ดและตา เพิ่มการเกิดดอก
- เปลี่ยนดอกตัวผู้ให้เป็นดอกตัวเมียในพืชตระกูลแตง
- ช่วยยืดช่อของผล

3. เอทิลีน (ethylene) เป็นฮอร์โมนพืช ซึ่งผลิตขึ้นมาขณะที่เซลล์กำลังมีเมแทบอลิซึม ตามปกติเอทิลีนทำหน้าที่กระตุ้นการหายใจ และยังทำหน้าที่อื่นๆดังนี้

ที่มา:http://farm4.static.flickr.com/3328/3609633182_faff3df4b9.jpg

- เร่งเมแทบอลิซึม ทำให้ผลไม้สุก
- กระตุ้นการออกดอกของพืชพวกสับประรด
- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบ
- เร่งการงอกของเมล็ด
- เร่งการไหลของน้ำยางพารา

4. กรดแอบไซซิก(abscisic acid) เรียกย่อว่า ABA เป็นฮอร์โมนพืชที่กระตุ้นในการร่วงของใบโดยตรง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่

 

ที่มา:http://3.bp.blogspot.com/_-mNbwy0ywfs/STZo2EgafEI/AAAAAAAAAAM/ZZUZ9nAqQo0/s320/111.gif

- กระตุ้นการหลุดร่วงของใบและผลที่แก่เต็มที่
- ยับยั้งการเจริญของเซลล์บริเวณตา
- กระตุ้นให้ปากใบปิดเมื่อขาดน้ำ
- ยืดระยะพักตัวของต้นอ่อนในเมล็ด


5. ไซโทไคนิน (cytokinin) เป็นฮอร์โมนพืชที่พบในน้ำมะพร้าวและสารที่สกัดได้จากยีสต์มีสมบัติกระตุ้นการเจริญและการเปลี่ยนแปลงของเซลล์
คุณสมบัติอื่นๆมีดังนี้

 

ที่มา:http://baptcb.org/cytokinin-N.jpg

- กระตุ้นการแบ่งเซลล์และการเจริญเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ใช้ผสมในอาหารเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้เกิดหน่อใหม่
- กระตุ้นการเจริญของกิ่งแขนง
- ชะลอการแก่ของผลไม้ 

 

สร้างโดย: 
อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.จุฑารัตน์ จริงธนสาร ผู้จัดทำ : นส.วิศัลยา ชินกาญจนโรจน์์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 371 คน กำลังออนไลน์