ภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้

เรื่องที่ 2  ลักษณะของภาษาไทย


1.ลักษณะสำคัญของภาษาไทย
  1.1 เป็นภาษาคำโดด  เช่น  พ่อ แม่ ปู่ ย่า ป่า เขา ใหญ่ น้อย สูง ต่ำ ดำ ขาว
  1.2. มีเสียงสูงต่ำของเสียงดนตรีเมื่อออกเสียง เช่น ไปไหนมา , บางละมุง , รักกัน , นกเอี้ยงเลี้ยงความเฒ่า , จับปูดำขยำปูนา 
        ถ้าเราจะได้เห็นตำแหน่งของเสียง ก็ลองขีดเส้นเสียงไว้ดู เราจะพิจารณาคำ "น้องเป็นไม้ให้พี่เป็นนก"
  1.3. มีเสียงขาดห้วงเป็นคำๆ เช่น ความ วัว ยัง ไม่ ทัน หาย   ความ ควาย เข้า แทรก ไก่ แก่ แม่ ปลา ช่อน  นอน หลับ ไม่ รู้ นอน
         คู้ ไม่ เห็น    การเปล่งเสียงคำไทยจึงต้องดังทุกคำ ต่อมาเมื่อรับภาษาหลายพยางค์เข้ามาใช้ จึงมีเสียงหนักบ้างเบาบ้าง

2.คำไทยแท้
     คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย คำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใครและมีหลักในการี่สังเกตที่ตายตัวทำให้เราสามารถแยกแยะวิเคราะห์ได้ว่าคำไทยแท้นั้นมีลักษณะอย่างไร  มีหลักกาสังเกตดังนี้
           ๑. คำไทยแท้มีพยางค์เดียว
           ๒. คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา
           ๓. คำไทยแท้ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำ เพื่อแสดงลักษณะทางไวยกรณ์                                                        
           ๔. คำไทยแท้มีรูปวรรณยุกต์กำกับ
           ๕. คำไทยแท้มีลักษณนามใช้
           ๖. คำไทยแท้ไม่นิยมใช้ตัวการันต์
           ๗. คำไทยแท้ไม่นิยมใช้พยัญชนะบางตัวที่เขียนยาก
           ๘. มีหลักในการใช้ ไ  ใ

แต่ต้องระวังหน่อย : 
          1.คำไทยแท้เกิน 1 พยางค์ก็มี
             - ประ, กระ + คำไทย เช่น ประเดี๋ยว ประหนึ่ง กระดก กระดุม เป็นต้น
             - คำกร่อนเสียง เช่น มะพร้าว มะม่วง ตะเข้ ระริก
               คำบางคำ เช่นเสภา ระฆัง
           2.คำพยางค์เดียวสะกดตรงมาตรบางคำก็ไม่ใช่คำไทย
             - คำที่ใส่"ำ"(สระอำ) เข้าไปได้เป็นคำเขมร เช่น เกิดกราบ จง แจก ทาย เดิน อวย
             - คำที่อ่านโดยใส่สระ"ะ"ไปที่ตัวอักษรสุดท้ายได้ เป็นคำบาลี-สันสกฤต เช่น เอก ทาน นาม ชน พระ(วร) โลก กาม ครู

3.เสียงควบกล้ำของไทย
       มี 11 เสียง คือ  /กร/  /กล/  /กว/  /คร/  /คล/  /คว/  /ปร/  /ปล/  /พร/  /พล/  /ตร/
     ตัวอย่าง 11 เสียงในคำไทยเช่น กรุง กลาย ไกว ใคร คลาน ความ เปราะ ปลา พราน พลาด แตร

4.สำนวนภาษาต่างประเทศ
        1.เยิ่นเย้อ ดูได้จากมีคำว่า"มีความ, ให้ความ, ทำการ,ต่อการ, ต่อความ, ซึ่ง" แบบไม่จำเป็นเช่น ครูมีความดีใจมาก
        2.วางส่วนขยายหน้าคำหลัก เช่น ง่ายแก่ความเข้าใจ
        3.เอาคำว่า "มัน" มาขึ้นประโยคแบบไม่มีความหมาย เช่น มันดีจังเลย
        4. นิยมใช้ Passive Voice (ถูก+Verb)ในความหมายที่ดี เช่น ถูกชมเชย
        5. สำนวนบางสำนวน เช่น ในที่สุด ในอนาคตอันใกล้นี้ ในความคิดของผม พบตัวเอง ใช้ชีวิต

สร้างโดย: 
น.ส. ธัญวรรณ ศิรินพวงศากร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 283 คน กำลังออนไลน์