.~. เส้นทางของสงคราม .~.

 

 

 

            เส้นทางของสงคราม

 

http://www.sema.go.th/files/Content/Social/k3/0007/web/a_(13).PNG

 

               ความสับสนภายในฝ่ายมหาอำนาจกลาง

 

       แผนการทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายมหาอำนาจกลางต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความไร้ประสิทธิภาพของการคมนาคมและการสื่อสารระหว่างกัน เยอรมนีให้คำมั่นแก่ออสเตรีย-ฮังการีว่าตนจะช่วยสนับสนุนในการรุกรานเซอร์เบีย    จึงทำให้เกิดความผิดใจกันในฝ่ายมหาอำนาจกลาง ออสเตรีย-ฮังการีนั้นเชื่อว่าเยอรมนีจะช่วยส่งกองทัพเข้ามาป้องกันประเทศทางชายแดนด้านทิศเหนือซึ่งติดกับรัสเซีย อย่างไรก็ตาม ออสเตรีย-ฮังการีได้มีความเห็นที่จะส่งกองทัพหลักของตนพุ่งเป้าไปยังรัสเซีย ขณะที่เยอรมนีจัดการกับประเทศฝรั่งเศส จากสาเหตุดังกล่าวได้สร้างความสับสนให้แก่กองทัพออสเตรีย-ฮังการี   ซึ่งจำเป็นต้องแบ่งกองทัพของตนเพื่อรบกับทั้งเซอร์เบียและรัสเซียทั้งสองด้าน

 

                เขตสงครามทวีปแอฟริกา

 

        ประกายแรกของสงครามก็ได้เข้ามาพัวพันกับอาณานิคมทั้งหลายของอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีในทวีปแอฟริกา เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1914 กองทัพอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้าโจมตีรัฐในอารักขาของเยอรมนี โตโกแลนด์ อีกสองวันต่อมา กองทัพเยอรมันในนามิเบียได้เข้าโจมตีแอฟริกาใต้ การรบในทวีปแอฟริกายังมีขึ้นอย่างประปรายและรุนแรงตลอดช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

 

                 เขตสงครามเซอร์เบีย

 

     กองทัพเซอร์เบียได้ต่อสู้กับกองทัพออสเตรีย-ฮังการีผู้รุกรานระหว่างยุทธภูมิเซอร์ ซึ่งเริ่มต้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ได้เข้ายึดตำแหน่งที่มั่นทางตอนใต้ของแม่น้ำดรินาและแม่น้ำซาวา อีกสองสัปดาห์ถัดมา กองทัพออสเตรีย-ฮังการีถูกโจมตีโต้กลับอย่างหนักประสบความเสียหายรุนแรง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะครั้งแรงของฝ่ายพันธมิตรและทำลายความหวังของกองทัพออสเตรีย-ฮังการีไปสิ้น ซึ่งทำให้กองทัพออสเตรีย-ฮังการีจำเป็นต้องรักษากองกำลังขนาดใหญ่ไว้ทางแนวรบเซอร์เบีย ซึ่งทำให้ความพยายามต่อต้านรัสเซียอ่อนแอลง   กองทัพเซอร์เบียยังได้ชัยชนะเหนือกองทัพออสเตรีย -ฮังการีอีกครั้งในยุทธภูมิคาลูบารา

           ในตอนเริ่มแรก กองทัพเยอรมันได้รับชันขนะใหญ่หลวงในยุทธภูมิแห่งชายแดน(14-24 สิงหาคม) อย่างไรก็ตาม รัสเซียได้โจมตีปรัสเซียตะวันออก ทำให้เยอรมนีจำเป็นต้องแบ่งกองทัพออกมาตั้งรับรัสเซียในแนวรบด้านตะวันออก   แทนที่จะไปสนับสนุนกองทัพของตนในแนวรบด้านตะวันตก   ด้านกองทัพเยอรมันก็ได้ชัยชนะเหนือกองทัพรัสเซียในการรบหลายคร้ง อย่างเช่น ยุทธภูมิทันเนนเบิร์กครั้งที่หนึ่ง (17 สิงหาคม - 2 กันยายน) แต่การรบในแนวรบด้านตะวันออกก็ต้องล่าช้าเนื่องจากความเร็วในการรุกเป็นไปอย่างเชื่องช้าและทางคมนาคมทางรถไฟของรัสเซียไม่ถูกค้นพบโดยกองเสนาธิการเยอรมัน แต่เดิม แผนการชลีฟเฟ็นได้มีเป้าหมายเพื่อให้ปีกขวาของกองทัพเยอรมันโจมตีเข้าสู่ทางตะวันตกของกรุงปารีส  อย่างไรก็ตาม  ด้วยความเชื่องช้า และ ความไร้ประสิทธิภาพของพาหนะม้าลาก     ขัดขวางรถไฟขนเสบียงของเยอรมนี   ทำให้กองทัพพันธมิตรสามารถหยุดยั้งการรุกของเยอรมนีได้ที่ ยุทธภูมิแม่น้ำมาร์นครั้งที่หนึ่ง (5-12 กันยายน) ฝ่ายมหาอำนาจกลางจึงสุญเสียความเร็วในการโจมตีและการโจมตีสายฟ้าแลบก็เริ่มประสบความล้มเหลว เนื่องจากเยอรมนีต้องสู้ศึกทั้งสองด้าน แต่ว่าทางด้านกองทัพเยอรมันก็ได้ประจำอยู่ในที่มั่นตั้งรับภายในฝรั่งเศสและสามารถสังหารทหารพันธมิตรได้มากกว่า  230,000  คน   ด้วยการคมนาคมที่ไร้ประสิทธิภาพและการบัญชาการที่เป็นปัญหา เยอรมนีจำเป็นต้องชดใช้ด้วยการทำสงครามยืดเยื้อในอนาคต

            

             ทวีปเอเชียและแถบมหาสมุทรแปซิฟิก

 

         นิวซีแลนด์ได้เข้ายึดครองซามัวตะวันตกเมื่อวันที่  30  สิงหาคม  เมื่อวันที่  11  กันยายน  ทหารเรือและกองทหารนอกประเทศของออสเตรเลีย ได้ขึ้นฝั่งบนเกาะนิว พัมเมิร์น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมันนิวกินี ญี่ปุ่นได้เข้าโจมตีดินแดนอาณานิคมของเยอรมนีในไมโครนิเซีย และภายในไม่กี่เดือน ดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลของเยอรมนีแถบมหาสมุทรแปซิฟิกก็ถูกกองทัพพันธมิตรยึดครองทั้งหมด

 

ขบวนทหารม้าหนักฝรั่งเศสขณะเดินทัพไปยังแนวหน้า เดือนสิงหาคม 1914

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/9f/French_heavy_cavalry_Paris_August_1914.jpg/200px-French_heavy_cavalry_Paris_August_1914.jpg

 

 

 

               

 

 

 

สร้างโดย: 
น.ส. พิชาภพ รัตนางกูร และ อาจารย์กัญฐินีภรณ์ ประถมด้วง โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 413 คน กำลังออนไลน์