ต้นหอม

 

 

 

 

 

 

 

ต้นหอม
ชื่อสามัญ : Green Shallot
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alliumcepa var. aggregatum
ชื่ออื่น : หอมแบ่ง
ถิ่นกำเนิด : แถบตะวันออกกลางประเทศอิหร่าน และในประเทศปากีสถาน
ฤดูกาล : ตลอดปี

  สรรพคุณทางยา : ใช้แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยการใช้ใบหรือหัวทุบพอแตงใส่ในเหล้าขาว
คุณค่าอาหาร : ต้นหอมสด 100 กรัม ให้พลังงาน 32 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โซเดียม 16 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม เส้นใย 2.6 กรัม น้ำตาล 2.3 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม โพแทสเซียม 276 มิลลิกรัม
 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้นหอมเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กตระกูลเดียวกับกระเทียม มีหัวสีขาวอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่สะสมอาหาร ใบเป็นท่อยาว ปลายแหลม ภายในกลวง ดอกมีสีขาวออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ช่อดอกเมื่อบานมีลักษณะคล้ายร่ม มีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก
การกิน : ต้นหอมกินได้ทั้งใบ ดอก และหัว มีกลิ่นฉุนและรสซ่า นิยมนำไปกินเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ข้าวหมูแดง ส่วนใบใช้ตกแต่งโรยหน้าอาหาร และใส่ในต้ม ผัด ยำ แกงต่างๆ หรือนำไปดอง  
แหล่งที่มา แสงแดด . ผัก 333 ชนิด คุณค่าอาหารและการกิน . กรุงเทพฯ : แสงแดด , 2548 .

 

กลับหน้าหลัก 

สร้างโดย: 
pim

หอม หรือ Shallot ผัก พื้นบ้านที่เราแสนจะคุ้นเคย เราจะเจอต้นหอมได้บ่อยๆทั้งในไข่เจียว ไข่ตุ๋น ในน้ำแกงจืด หรือแม้แต่ในก๋วยเตี๋ยวหรือเมนูยำต่างๆ ล้วนต้องใส่ต้นหอมทั้งนั้นค่ะ เด็กมักจะเขี่ยต้นหอมทิ้ง เพราะดูแล้วชิ้นเล็กๆเขียวแกมขาว ดูไม่ค่อยจะเด่นและมีประโยชน์เท่าไร ทั้งรสชาติก็เผ็ดร้อนและมีกลิ่นฉุนอีกด้วย แต่ต้นหอมนี้เอง ที่มีคุณค่าอาหารหลายชนิด เช่น แคลเซียมและฟอสฟอรัส ในสัดส่วนที่เหมาะสมแก่ร่างกาย ทั้งยังมีเบต้าแคโรทีน และสารพวกฟลาโวนอยด์บางชนิด เช่น เควอทิซีน และสไปริโอไซด์ ที่เป็นเกราะสำคัญในการป้องกันมะเร็งที่เราพบในไวน์แดง

คุณประโยชน์ ต้นหอมแม้จะมีกลิ่นฉุน แต่รสเผ็ดร้อนของต้นหอมก็แกล้มอาหารจีน แก้เลี่ยนได้เป็นอย่างดี จะสังเกตุว่าบนโต๊ะจีนมักนิยมทานต้นหอมจิ้มมัสตาร์ด ให้รสชาติที่เข้มขึ้นอีกทั้งความฉุนของต้นหอมเมื่อนำไปบุบแล้วพอกตรงที่ถูก แมลง กัดต่อย ก็แก้ปวดได้ชะงัด แถมยังแก้อาการเป็นหวัด คัดจมูก เมื่อบุบต้นหอมดม ทำให้จมูกโล่งได้นะคะ เมื่อบริโภคต้นหอมสดๆ ยังได้เบต้าแคโรทีน มากถึง 76.30 ไมโครกรัม วิตามินซีสด 22 มิลลิกรัม แคลเซียม 47 กรัม และฟอสฟอรัสถึง 33 กรัมต่อต้นหอมที่บริโภค 100 กรัม ต้นหอมยังช่วยลดคลอเลสเตอรอลในเลือด ควบคุมความดันโลหิตสูง และป้องกันหลอดเลือดหัวใจอุดตันอีกด้วย

การปลูก
การเพาะปลูกต้นหอมนั้นทำได้ 2 วิธี คือ ใช้หัวปลูก หรือใช้เมล็ดหว่าน แต่การใช้เมล็ดจะประหยัดกว่า ใช้เวลาในการปลูก 45 วัน แต่ที่นิยมปลูกจะใช้หัวปลูกเพราะระยะเวลาการเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาประมาณ 30-32 วันต้องรดน้ำทั้งเช้าเย็น จนเมื่อต้นเริ่มมีใบยื่นยาว ลดน้ำลงเหลือเพียงวันละครั้ง เคล็ดลับปลูกต้นหอมให้งามอยู่ที่การคลุมดินให้คงความชื้นไว้ แต่ระบายน้ำได้ดี โดยการนำเอาฟางแห้ง หญ้าแห้ง เปลือกถั่วลิสง หรือแกลบดิน คลุมหน้าดินไว้ ต้นหอมโตเต็มที่สามารถนำมาใช้งานได้ สูงประมาณ 1 ฟุตกว่าๆ ก็ถอนมาได้เลยค่ะ ส่วนแมลงศัตรูตัวร้ายของต้นหอมคือ เพลี้ยไฟ ใช้แลนเนท 1 ช้อนโต๊ะผสมน้ำ 10 ลิตร แล้วฉีดพ่น 7-10 วันครั้ง เพื่อป้องกัน หากเกิดเพลี้ยไฟ ก็ฉีดพ่น 3-4 วันครั้ง

หอมแบ่งเท่าที่บ้านผมปลูกนะจะมี 3 สายพันธ์ คือ
1.พันธ์ที่มาจากนครพนม
2.พันธ์ที่มาจากเชียงใหม่ (หอมเหนือ)
3.พันธ์ที่มาอินโดนิเชีย

ลักษณะทั้ง 3 สายพันธ์นี้จะชอบฤดูการปลูกที่แตกต่างกัน
เช่นครั้ง
พันธ์ที่มาจากนครพนมจะมีความทนทานต่อหน้าฝน
พันธ์ที่มาจากเชียงใหม่ --จะให้ผลผลิตมากในช่วงหน้าหนาว
พันธ์ที่มาอินโดนิเชีย--พันธ์นี้จะพิเศษกว่าเพื่อนทนได้ทาน ต้นใหญ่ใบหนาทนต่อโรค และสภาพอากาศ แต่ข้อเสียกลิ่นค่อนข้างแรงกว่า 2 สายพันธ์ที่กว่ามา

ขั้นตอนการปลูกหอม
เริ่มต้นจากการเตรียมดิน
ก่อนที่เราจะเริ่มปลูกเราควรเตรียมดิน อย่างน้อย 1 อาทิตย์ โดยไถพรวนดิน ภายในอาทิตย์นั้นๆ 2 ครั้ง โดย
3 วันไถครั้งหนึ่ง เมื่อเตรียมดินเสร็จแล้วเราก็เริ่มลงมือปลูกเลย

สิ่งที่ต้องเตรียม
1.พันธ์หอมแบ่ง
2.ฟางข้าว หรือ แกลบ
3.อุปกรณ์ทำแปลงผัก เช่น จอบ คราด

เมื่อเราเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างแล้วเรามาลงมือเลย

1.เริ่มจากการไถแปลงขนาดกว้าง 1.5 เมตร ความยาวแล้วแต่ความสะดวกในการรดน้ำ
2.เมื่อไถเสร็จเราก็เริ่มเขี่ยแปลงโดยใช้คราด ให้ดินสม่ำเสมอกัน
3.เมื่อแปลงเรียบดีแล้ว ก็ลงมือ ปักพันธ์ หอมลงในดินเลย ก่อนที่เราจะปักลงเราควรแกะกรีบหอมออกก่อน ระยะห่างระหว่างหัวประมาณ 3x3 ซม
4.เมื่อปักพันธ์หอมเสร็จเราก็นำฟางข้าว หรือ ว่า แกลบ มาคุมแปลง เพื่อดูซับความชื่น ในแปลงผัก
5. หลังจากนั้นเราก็รดน้ำ เช้า-เย็น
6. เมื่อผักเริ่มงอกและลำต้นยาว ประมาณ 3 ซม ระยะนี้จะใช้เวลา 10 วัน ให้เราเริ่มใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 ปุ๋ย ชีวภาพ หรือ เคมีก็ได้ ถ้าเป็นเคมี แนะนำ สูตร 16-8-8 และก็ฉีดฮอร์โมน หรือ EM
7. ควรดูแลวัชพืช ช่วงนี้ด้วย
8.เมื่อผ่านไป 20 วัน เราก็เริ่มใส่ปุ๋ย ครั้งที่ 2 และก็ทำเหมือนกันกับ ขั้นตอนที่ 6
9.เมื่อผักมีอายุ 30-32 วัน เราก็เริ่มเก็บได้

โรคและศัตรู

1.โรคโครนเน่า เกิดจากช่วงที่ฝนตกติดต่อกัน หลายๆ วัน แล้วดินมันแชะ
2. หนอน กินใบ หนอนจะมีสองแบบ คือ กินในหลอด และกินนอกหลอด ให้สังเกต ว่าหอมเรามีอาการเหียวเฉา หรือ ไม ถ้ามีอาการ แบบนั้น ก็ให้ไป แกะดูในใบหอม เริ่ม หากเจอ หนอนในหลอด ก็ฉีดฉีดยา ฆ่ามันเลย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 301 คน กำลังออนไลน์