คำสันธาน

 คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ เชื่อมประโยคกับประโยค เชื่อมข้อความกับข้อความ หรือข้อความให้สละสลวย คำสันธานนั้นเป็นคำเดียวก็มี เช่น และ แต่ เป็นกลุ่มคำก็มี เช่น เพราะฉะนั้น แต่ทว่า หรือมิฉะนั้น เป็นกลุ่มแยกคำกันก็มี เช่น ฉันใด...ฉันนั้น คงจะ...จึง ถ้า...ก็

 หน้าที่ของคำสันธาน
1. เชื่อมคำกับคำ เช่น

         -ฉันเลี้ยงแมวและสุนัข นิดกับหน่อยไปโรงเรียน

2. เชื่อมข้อความ เช่น

         -คนเราต้องการปัจจัย 4 ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องประกอบอาชีพเพื่อให้ได้เงินมาซื้อ

3. เชื่อมประโยคกับประโยค เช่น

         -พี่สาวสวยแต่น้องฉลาด เพราะเขาขยันจึงสอบได้

4. เชื่อมความให้สละสลวย เช่น

         -เขาก็เป็นคนดีคนหนึ่งเหมือนกัน คนเราก็มีเจ็บป่วยบ้างเป็นธรรมดา

 ลักษณะการเชื่อมของสันธาน พอจะจำแนกได้ดังนี้
         1. เชื่อมความให้คล้อยตามกัน

         2. เชื่อมความที่ขัดแย้งกัน

         3. เชื่อมให้เลือกเอา

         4. เชื่อมความที่เป็นเหตุผล

         5. เชื่อมความให้แยกต่างตอน

         6. เชื่อมความแบ่งรับรอง

         7. เชื่อมความให้สละสลวย

         1. เชื่อมความให้คล้อยตามกัน สันธานพวกนี้ได้แก่ ก็...จึง, แล้วก็, กับ และ , ทั้ง…และ , ทั้ง…ก็ , ครั้น…ก็ , ครั้น…จึง , พอ…ก็ ตัวอย่างเช่น

        พออ่านหนังสือเสร็จก็เข้านอน

        พ่อและแม่ทำงานเพื่อลูก

        ฉันชอบทั้งทะเลและน้ำตก

        ครั้นได้เวลาเธอจึงไปขึ้นเครื่องบิน

        ฉันเรียนหนังสือ แล้วก็ กลับบ้าน

         2. เชื่อมความที่ขัดแย้งกัน ได้แก่คำ แต่ แต่ทว่า ถึง...ก็ กว่า…ก็ ตัวอย่างเช่น

        ถึง สิบปากว่า ก็ ไม่เท่าตาเห็น

        กว่าตำรวจจะมาคนร้ายก็หนีไปแล้ว

        เขาอยากมีเงินแต่ไม่ทำงาน

        ถึงเขาจะโกรธแต่ฉันก็ไม่กลัว

        เธอไม่สวยแต่ว่านิสัยดี

         3. เชื่อมความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่คำว่า หรือ หรือไม่ก็ , ไม่เช่นนั้น , มิฉะนั้น ตัวอย่างเช่น

        เธอต้องทำงานมิฉะนั้นเธอจะถูกไล่ออก

        ไม่เธอก็ฉันต้องกวาดบ้าน

        นักเรียนจะทำการบ้านหรือไม่ก็อ่านหนังสือ

        คุณจะทานข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว

        เธอจะยืน หรือ จะนั่ง

        เธอจะไป หรือ ไม่

         4. เชื่อมความที่เป็นเหตุผลกัน ได้แก่คำ จึง เพราะ…จึง เพราะฉะนั้น…จึง ฉะนั้น ดังนั้นตัวอย่างเช่น

        เขาวิ่งเร็วจึงหกล้ม ฉันกลัวรถติดเพราะฉะนั้นฉันจึงออกจากบ้านแต่เช้า

        เพราะเธอเรียนดีครูจึงรัก เขาไว้ใจเราให้ทำงานนี้เพราะฉะนั้นเราจะเหลวไหลไม่ได้

        เขาดูหนังสือ จึง สอบไล่ได

         5. เชื่อมความให้แยกต่างตอน ได้แก่คำ ส่วน ฝ่าย หนึ่ง

         เช่น กองทัพเราอยู่ใต้ลม

         ฝ่ายข้าศึกอยู่เหนือลม

         6. เชื่อมความแบ่งรับรอง ได้แก่ ถ้า ถ้า...ก็

         เช่น ถ้า ฝนไม่ตก ฉัน ก็ จะไปโรงเรียน

         7. เชื่อมความให้สละสลวย ได้แก่ อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ดี อันที่ จริง

         เช่น อย่างไรก็ดี ฉันจะพยายามทำให้ดีที่สุด

 


 

สร้างโดย: 
นางสาวอมรรัตน์ บุนนาค และคุณครูศรีสวาสดิ์ บุนนาค โรงเรียนสตีศรีสุริโยทัย กทม.

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 466 คน กำลังออนไลน์