ทำความรู้จักกับ ไข้หวัดหมู (Influenza A virus subtype “H1N1″)

ทำความรู้จักกับ ไข้หวัดหมู (Influenza A virus subtype “H1N1″)  

H1N1 เป็น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ H1N1 โดยรหัส” H ” ย่อมาจาก Hemagglutinin ( ใช้ตัวย่อ HA )คือ โปรตีน ที่จะปรากฏเป็นตุ่มยื่นออกมาจากผิวของไวรัส หน้าที่หลักของ HA คือ เข้าจับกับเซลล์ receptor ในเซลล์ของคน และเมื่อยึดติดแล้วเชื้อไวรัส ก็จะบุกรุกเซลล์ โดย RNA ของไวรัสจะเข้าสู่นิวเคลียส เพื่อสร้างอนุภาคไวรัสตัวใหม่ โดจรหัส ” N ” ย่อมาจาก Neuraminidase ( ใช้ตัวย่อ NA ) คือ โปรตีน ที่จะทำหน้าที่ นำไวรัสที่ถูกสร้างใหม่ ออกจากเซลล์คนเดินทางสู่เซลล์อื่น ๆ ในร่างกายต่อไป
โดยไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ H1N1 หรือที่ตอนนี้เรียกันว่า ไข้หวัดหมู ที่เกิดการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์สเปน (Spanish Flu ) กับ ไข้หวัดสายพันธุ์ที่พบในหมู และ ไข้หวัดสายพันธุ์ที่พบในนก

ข้อมูลจาก : http://wowboom.blogspot.com อ่านเพิ่มที่นี่

คำถาม วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในคนมีกี่ชนิด
คำตอบ ชนิดของวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ในคน มี 4 ชนิด ดังนี้

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด เป็นวัคซีนเชื้อตาย 3 ชนิด ส่วนอีก 1 ชนิดเป็นวัคซีนเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์วัคซีนเชื้อตาย (Inactivated หรือ killed virus vaccine)

1.1 Whole virus vaccine เป็นวัคซีนที่นำเอาไวรัสทั้งอนุภาคไปผลิตวัคซีน โดยฆ่าเชื้อให้หมดสภาพในการติดเชื้อเสียก่อน วัคซีนที่ผลิตโดยวิธีนี้มักมีฤทธิ์ไม่พึงประสงค์มากกว่าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการไข้

1.2 Split virion vaccine เมื่อเพาะเชื้อไวรัสได้ตามต้องการแล้ว นำเชื้อไวรัสไปฝ่านกระบวนการที่ทำให้ส่วนประกอบต่าง ๆ ของไวรัส แยกตัวจากอนุภาคเดิม แต่ก็จะยังมีทั้ง external antigen ซึ่งเป็น glycoprotein (HA, NA) และ internal antigen nucleoprotein-NP และ Membrane protein-M) วัคซีนนี้ผลิตขึ้นเพื่อให้มีปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่ำลง เนื่องจากไม่มีสารก่อปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ (reactogenic lipid)

1.3 Subunit vaccine เป็นวัคซีนที่เอาเชื้อไวรัสไปผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ โดยแยกเอา Internal antigen ออกไปเหลือไว้เฉพาะ Hemagglutinin (H) และ Neuraminidase (N) หรือที่เรียกว่า surface antigen ทำให้มีฤทธิ์หรือปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่ำคล้าย ๆ กับ split virion vaccine

สำหรับวัคซีนเชื้อตายทั้ง 3 ชนิดนั้น การทดสอบในสนามและการใช้ในการป้องกันโรคจริง ๆ ปรากฏว่าชนิด split virus vaccine เป็นชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าชนิด subunit vaccine โดยมีปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ต่ำ ไม่ว่าจะใช้กับวัยหนุ่มสาว วัยกลางคน หรือวัยชรา และเหมาะอย่างยิ่งที่จะให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เพราะ whole virus vaccine จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์สูง

ไวรัสชนิดต่าง ๆ ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้นำมาเป็นองค์ประกอบในวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ในฤดูการระบาดของปีต่าง ๆ

ดังได้กล่าวไว้แล้ว ว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถผันแปรไปได้เสมอ องค์การอนามัยโลกได้อาศัยข้อมูลจากการเฝ้าระวังแยกเชื้อไวรัส และวิเคราะห์ลักษณะของแอนติเจนของแต่ละสายพันธุ์ โดยได้จัดประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญเป็นระยะ ๆ เพื่อกำหนดไวรัสที่จะใช้เป็นองค์ประกอบสำหรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สำหรับปีต่าง ๆ อาทิ เช่น

1. วัคซีนที่ใช้ป้องกันระหว่างฤดูการระบาด พ.ศ. 2524-2525 (1981-1982) คือ
A/Bangkok 1/79 (H3N2) – like strain*
A/Brazil /11/78 (H1N1) – like strain
B/Singapore /222/79 – like strain

2. วัคซีนที่ใช้ป้องกันในฤดูการระบาด พ.ศ. 2536-2537 (1993-1994) คือ
A/Beijing /32/92 (H3N2) – like strain
A/Singapore /6/86 (H1N1) – like strain
B/Panama /45/90 – like strain

3. วัคซีนที่ใช้ป้องกันในฤดูการระบาดระหว่าง พ.ศ. 2539-2540 (1996-1997) คือ
A Wuhan /359/95 (H3N2) – like strain
A/Singapore /6/86 (H1N1) – like strain
B/Beijing /184/93 – like strain

4. วัคซีนที่ใช้ป้องกันในฤดูการระบาด พ.ศ. 2545-2546 (2002-2003) สำหรับซีกโลกเหนือ คือ
A/New Caledonia/20/99 (H1N1) –like strain
A/Moscow /10/99 (H3N2) – like strain
B/Hong Kong /330/2001 – like strain

5. วัคซีนที่ใช้ป้องกันในฤดูการระบาด พ.ศ. 2545-2546 (2002-2003) สำหรับซีกโลกใต้คือสายพันธุ์เดียวกันกับที่ใช้ในซีกโลกเหนือ

6. วัคซีนที่ใช้ป้องกันในฤดูการระบาด พ.ศ. 2546-2547 (2003-2004) สำหรับซีกโลกใต้คือ
A/New Caledonia /20/99 (H1N1) – like strain
A/Fujian /411/02 (H3N2) – like strain
B/Hong Kong /330/2001 – like strain

โปรดสังเกตว่า

1. จากปี พ.ศ. 2536/2537 ไปถึง พ.ศ. 2539/2540 ยังคงใช้ H1N1 สายพันธุ์เดิมคือ A/Singapore /6/86 แต่ H3N2 จะเปลี่ยนจาก A/Beijing/32/52 ไปเป็น A/Wuhan/359/95 และ A/Wuhan นี้ยังคงใช้ต่อไปสำหรับฤดูการระบาดปี พ.ศ. 2540/2541 สำหรับไวรัส H1N1 ในปีพ.ศ. 2540/2541 จะเปลี่ยนจาก A/Singapore/6/86 (H1N1) ไปเป็น A/Bayern/7/95 (H1N1)

* ไวรัส A/Bangkok/1/79 (H3N2) เป็นไวรัสที่แยกได้จากตัวอย่างตรวจที่ได้จากผู้ป่วยที่โรงพยาบาลศิริราช และแยกเชื้อที่สาขาไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

2. คำว่า – like strain นั้นหมายความว่าอาจใช้สายพันธุ์อื่นที่มีลักษณะทางแอนติเจนคล้ายกับสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำอาทิเช่น
A/Wuhan/359/95 H3N2 – like strain บริษัทผู้ผลิตวัคซีนใช้ A/Nanchang/933/95 (H3N2) และ A/Singapore/6/86 (H1N1) – like strain มีผู้ใช้ A/Texas/36/96 (H1N1) และ B/Beijing/184/93 – like strain มีผู้ใช้ B/Harbin/7/94 เป็นต้น

3. เมื่อก่อนนี้ไม่มีการแนะนำการใช้สายพันธุ์ที่ประกอบในวัคซีนแยกกันระหว่างซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ แต่ปัจจุบันมีการศึกษาทางระบาดวิทยามากขึ้น ทำให้เข้าใจสภาวะทางระบาดดีขึ้น เพื่อให้เหมาะสม จึงมีการแยกคำแนะนำ อย่างไรก็ตามในบางปีก็ให้ใช้สายพันธุ์เหมือนกันก็ได้

ทุกสายพันธุ์เมื่อเพาะเลี้ยงในไข่ไก่ฟักแล้ว นำไปผ่านกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ และทำให้เข้มข้น จึงเข้าสู่กระบวนการแยกส่วนประกอบ (Splitting) โดยทำแยกกันแต่ละสายพันธุ์ และนำไวรัสสายพันธุ์อื่นที่ผ่านกระบวนการเช่นเดียวกันมาแล้ว นำมาผสมกันเป็น Polyvalent vaccine โดยมีไวรัส A สายพันธุ์ H3N2 กับ A สายพันธุ์ H1N1 และไวรัส B อีกหนึ่งสายพันธุ์ แล้วนำไปทดสอบความแรง ทดสอบความปลอดภัยตามข้อกำหนดในการผลิตวัคซีน แล้วจึงจะนำออกจำหน่ายได้โดยไม่ต้องนำไปทดสอบประเมินผล Phase I, Phase II ใหม่อีก

< กลับสู่หน้าหลัก

สร้างโดย: 
นายฌัฐพล ชัยศรี

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 263 คน กำลังออนไลน์