• user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('การงานอาชีพ เทคโนโลยี', 'taxonomy/term/7', '', '18.116.41.133', 0, '77adb80f5beb4832ef61c985c63cf345', 177, 1716168765) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:28590be9c7beacd9699d2a48ecc2ed65' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<strong>วรรณคดีสมัยสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ - ๑๘๙๕) <br />\n</strong> <br />\nในสมัยนี้มีวรรณคดีมรดกที่สำคัญ เช่น ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง และไตรภูมิพระร่วง\n</p>\n<ul>\n<li><span style=\"color: #008000; background-color: #ff6600\"><strong><a href=\"/node/46536\" title=\"เพิ่มเติมจ้า\"><span style=\"color: #ffff99\">ศิลาจารึกที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง</span></a></strong></span> </li>\n</ul>\n<p>\n      <span style=\"color: #33cccc\"> </span><span style=\"color: #003366\">รูปแบบการแต่งเป็นร้อยแก้ว เขียนลงบนแท่งหินสี่เหลี่ยมทั้งสี่ด้าน ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทยตามแบบอย่างการใช้ภาษาสมัยสุโขทัย เนื้อเรื่องแบ่งเป็น ๓ ตอน <br />\n       ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ - ๑๘ เป็นอัตชีวประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์สุโขทัยราชวงศ์พระร่วง ดังตัวอย่างต่อไปนี้คำอ่านปัจจุบัน <br />\n      &quot;พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง...&quot; และอีกตอนหนึ่ง &quot;...ตนกูพุ่งช้างขุนสามชน ตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชน พ่ายหนี  พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน...&quot; <br />\nข้อความตัวอย่าง กล่าวถึงพระราชประวัติและความเก่งกล้าสามารถจนได้รับพระราชทานพระนาม &quot;พระรามคำแหง&quot; <br />\n       ตอนที่ ๒ เล่าเรื่อง เหตุการณ์และธรรมเนียมนิยมของคนสุโขทัย การดำเนินชีวิต การนับถือพุทธศาสนา การนับถือผี และการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย <br />\n       ตอนที่ ๓ เป็นคำสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของเมืองสุโขทัย จะเห็นได้ว่า  ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง มีคุณสมบัติเด่นในแง่ประวัติศาสตร์ ประวัติวรรณคดี และประวัติภาษาไทย </span>\n</p>\n<ul>\n<li><strong><span style=\"color: #99cc00\"><span style=\"background-color: #ff6600\"><a href=\"/node/46550\" title=\"เพิ่มเติมจ้า\"> </a><span style=\"color: #ff99cc\"><span style=\"color: #008000\"><a href=\"/node/46550\" title=\"เพิ่มเติมจ้า\"><span style=\"color: #ffff99\">ไตรภูมิพระร่วง</span></a></span> </span></span></span></strong></li>\n</ul>\n<p>\n<strong><span style=\"color: #99cc00\"></span></strong>     <span style=\"color: #993366\">  พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๘ โดยได้ทรงรวบรวมเรื่องราวทางศาสนาจากคัมภีร์โบราณต่างๆ ถึง ๓๐ คัมภีร์ กล่าวถึงไตรภูมิซึ่งแปลว่า แดน ๓ แดน คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ สัตว์โลกทั้งหลายย่อมวนเวียนเกิดและตายอยู่ใน ๓ ภูมินี้ การพรรณนาถึงแต่ละภูมิสร้างภาพอย่างชัดเจน อ่านแล้วได้รับความเพลิดเพลิน อีกทั้งมีการสั่งสอนให้ประพฤติดีและกลัวบาป ซึ่งเป็นพระราชประสงค์ในการแต่งคือ เพื่อเทศนาถวายพระราชมารดา และเพื่อเป็นธรรมทานแก่บุคคลทั่วไป     ตัวอย่างเช่น การพรรณนาถึงนรกตอนหนึ่ง ดังนี้ <br />\n       &quot;คนฝูงใดอันเจรจาซื้อสิ่งสินท่าน...แลตนใส่กลเอาสินท่านด้วยตาชั่งก็ดี...ครั้นว่ามันตายได้ไปเกิดในนรกนั้น ฝูงยมพะบาลเอาคีมคาบลิ้นเขาชักออกมา แล้วเอาเบ็ดเหล็กเกี่ยวลิ้นเขา  ลำเบ็ดนั้นใหญ่เท่าลำตาล เทียรย่อมเหล็กแดงลุกบ่มิเหือดสักเมื่อ...&quot; ความตอนนี้กล่าวถึงคนขายของที่โกงตาชั่ง เมื่อตายแล้วจะตกนรก ยมบาลเอาคีมหนีบลิ้นดึงออกมา แล้วเกี่ยวด้วยเบ็ดเหล็กที่ลุกเป็นไฟไม่มีวันดับ จะเห็นสำนวนการเขียนที่เรียบง่าย เป็นที่เข้าใจได้ดีสำหรับคนในสมัยนั้น เหมาะกับการเทศน์สั่งสอนบุคคลทั่วไป <br />\nนอกจากไตรภูมิพระร่วงจะมีคุณค่าทางศาสนาแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อคนไทยในอาณาจักรไทยอื่นๆ ในสมัยเดียวกันต่อลงมาจนถึงสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน  วรรณคดีมรดกไทยเรื่องนี้ปลูกฝังให้คนไทยนิยมยกย่องคนมีบุญที่มีจิตใจเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"background-color: #ff6600\"><span style=\"color: #ffff99\"><u><span style=\"color: #800080\"><span style=\"color: #99cc00\"><span style=\"color: #ffff99; background-color: #ff99cc\"><span style=\"color: #ffff99; background-color: #ff99cc\"></span></span></span></span></u></span></span>\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n<a href=\"/node/41694\" title=\"หน้าหลัก\"><img border=\"0\" width=\"193\" src=\"/files/u18980/2009-11-24_174343.png\" height=\"100\" style=\"width: 98px; height: 45px\" /></a>\n</p>\n', created = 1716168775, expire = 1716255175, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:28590be9c7beacd9699d2a48ecc2ed65' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

วรรณคดีสมัยสุโขทัย

วรรณคดีสมัยสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ - ๑๘๙๕)
 
ในสมัยนี้มีวรรณคดีมรดกที่สำคัญ เช่น ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง และไตรภูมิพระร่วง

       รูปแบบการแต่งเป็นร้อยแก้ว เขียนลงบนแท่งหินสี่เหลี่ยมทั้งสี่ด้าน ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทยตามแบบอย่างการใช้ภาษาสมัยสุโขทัย เนื้อเรื่องแบ่งเป็น ๓ ตอน
       ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ - ๑๘ เป็นอัตชีวประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์สุโขทัยราชวงศ์พระร่วง ดังตัวอย่างต่อไปนี้คำอ่านปัจจุบัน
      "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง..." และอีกตอนหนึ่ง "...ตนกูพุ่งช้างขุนสามชน ตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชน พ่ายหนี  พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน..."
ข้อความตัวอย่าง กล่าวถึงพระราชประวัติและความเก่งกล้าสามารถจนได้รับพระราชทานพระนาม "พระรามคำแหง"
       ตอนที่ ๒ เล่าเรื่อง เหตุการณ์และธรรมเนียมนิยมของคนสุโขทัย การดำเนินชีวิต การนับถือพุทธศาสนา การนับถือผี และการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย
       ตอนที่ ๓ เป็นคำสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของเมืองสุโขทัย จะเห็นได้ว่า  ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง มีคุณสมบัติเด่นในแง่ประวัติศาสตร์ ประวัติวรรณคดี และประวัติภาษาไทย

       พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๘ โดยได้ทรงรวบรวมเรื่องราวทางศาสนาจากคัมภีร์โบราณต่างๆ ถึง ๓๐ คัมภีร์ กล่าวถึงไตรภูมิซึ่งแปลว่า แดน ๓ แดน คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ สัตว์โลกทั้งหลายย่อมวนเวียนเกิดและตายอยู่ใน ๓ ภูมินี้ การพรรณนาถึงแต่ละภูมิสร้างภาพอย่างชัดเจน อ่านแล้วได้รับความเพลิดเพลิน อีกทั้งมีการสั่งสอนให้ประพฤติดีและกลัวบาป ซึ่งเป็นพระราชประสงค์ในการแต่งคือ เพื่อเทศนาถวายพระราชมารดา และเพื่อเป็นธรรมทานแก่บุคคลทั่วไป     ตัวอย่างเช่น การพรรณนาถึงนรกตอนหนึ่ง ดังนี้
       "คนฝูงใดอันเจรจาซื้อสิ่งสินท่าน...แลตนใส่กลเอาสินท่านด้วยตาชั่งก็ดี...ครั้นว่ามันตายได้ไปเกิดในนรกนั้น ฝูงยมพะบาลเอาคีมคาบลิ้นเขาชักออกมา แล้วเอาเบ็ดเหล็กเกี่ยวลิ้นเขา  ลำเบ็ดนั้นใหญ่เท่าลำตาล เทียรย่อมเหล็กแดงลุกบ่มิเหือดสักเมื่อ..." ความตอนนี้กล่าวถึงคนขายของที่โกงตาชั่ง เมื่อตายแล้วจะตกนรก ยมบาลเอาคีมหนีบลิ้นดึงออกมา แล้วเกี่ยวด้วยเบ็ดเหล็กที่ลุกเป็นไฟไม่มีวันดับ จะเห็นสำนวนการเขียนที่เรียบง่าย เป็นที่เข้าใจได้ดีสำหรับคนในสมัยนั้น เหมาะกับการเทศน์สั่งสอนบุคคลทั่วไป
นอกจากไตรภูมิพระร่วงจะมีคุณค่าทางศาสนาแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อคนไทยในอาณาจักรไทยอื่นๆ ในสมัยเดียวกันต่อลงมาจนถึงสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน  วรรณคดีมรดกไทยเรื่องนี้ปลูกฝังให้คนไทยนิยมยกย่องคนมีบุญที่มีจิตใจเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม

 

สร้างโดย: 
นส.อารียาและอ.เกวลิน โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 263 คน กำลังออนไลน์