บทความสนุกกับการปั้น

  สนุกกับการปั้น   โดย: ดร.พัฒนา ชัชพงศ์

มาบริหารกล้ามเนื้อมือน้อยๆ ด้วยการปั้นกันเถอะ

จะปั้นดินน้ำมัน ดินเหนียว หรือแป้งโดก็ได้ไม่ว่ากัน แต่ก่อนปั้นเรามีเทคนิคและประโยชน์ของการปั้นมาฝากค่ะ

มาเยสกี้และคนอื่นๆ (Mayesky and others, 1995) กล่าวว่า เด็กๆ จะปั้นอยู่ 2 แบบคือ

1. การปั้นแบบวิเคราะห์ (Analysis) ปั้นโดยการใช้ดินทั้งก้อนแล้วดึงส่วนต่างๆ ย่อยออกมาเป็นแขน ขา เด็กจะมองเห็นสิ่งต่างๆ เป็นส่วนรวมก่อนแล้วจึงเห็นส่วนปลีกย่อยที่หลัง เช่น เห็นต้นไม้หรือนึกถึงต้นไม้ทั้งต้น ต่อมาจึงเห็นส่วนย่อยคือ ดอกไม้ กิ่ง ก้าน

2. การปั้นแบบสังเคราะห์ (Synthesis) คือการปั้นส่วนย่อยๆ ที่ต้องการจนครบแล้วจึงนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ เป็นการคิดส่วนย่อยและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน

ส่วนสเชอร์มาชเชอร์ (Schirrmacher, 1998) บอกว่าพัฒนาการทางการปั้นของเด็กแบ่งได้เป็น 4 ขั้นคือ

1. ขั้น “ นี่คืออะไร” อายุ 1 - 2 ปี เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทดสอบคุณสมบัติของดินน้ำมัน เด็กดม ชิม ขยำ กด บี้ ศึกษาดินน้ำมัน

2. ขั้น “ สำรวจและทดสอบดินน้ำมัน” อายุ 2 - 3 ปี เด็กจะใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายสำรวจและทดลองทำเช่น ม้วน จิ้มให้เป็นรู ดึงให้ยืด ตบให้แบน ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง

3. ขั้น “ ดูซิ ฉันทำอะไรได้บ้าง” เด็กอายุ 3 - 4 ปี วัยนี้เด็กเริ่มใช้ความคิดสร้างสรรค์ประกอบกับชิ้นงานที่ทำขึ้นเช่น ใช้มือคลึงดินน้ำมันเป็นเส้นยาวๆ เด็กอาจจะทำเสียงขู่ ฟ่อๆเหมือนงูที่เลื้อยส่งเสียงไปรอบๆ ห้อง

4. ขั้น “ ต้องการสื่ออื่นๆ ประกอบ” เด็ก 4 - 5 ปี วัยนี้สามารถเพิ่มรายละเอียดโดยการนำสื่อและอุปกรณ์ประกอบ เช่น มีไม้ไอศกรีม กระดุม ไม้จิ้มฟันและสามารถตั้งชื่อชิ้นงานและรู้สึกภาคภูมิใจในชิ้นงานของตัวเอง

การจัดกิจกรรมการปั้นสำหรับเด็กๆ วัยอนุบาลนั้น จึงควรมีความหลากหลายให้เด็กๆ ได้เลือกตามขั้นพัฒนาการ นอกจากนี้ยังควรจัดให้มีสื่อประกอบวางไว้คู่กันด้วยนะคะ เช่น ดินเหนียว ไหมพรม ไม้ไอกครีม ลูกปัดหลากสี กระดุม ฝาขวดน้ำอัดลม เด็กๆ จะได้รู้สึกท้าทายและสนุกเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ

 สนุกการปั้นช่วยเสริมพัฒนาการ
* ส่งเสริมทักษะการคิดวางแผนและการแก้ปัญหา
* ส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเองและการกล้าแสดงออก
* ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
* ส่งเสริมการรู้จักรูปทรงต่างๆ ตามจินตนาการ
* ฝึกทักษะการสื่อสาร
* ทำกิจกรรมด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน
* ส่งเสริมความสามารถของกล้ามเนื้อการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

 เทคนิคสนุกปั้นกับหนูๆ อนุบาล
* ล้อมวงพูดคุยเกี่ยวกับสื่อที่ใช้สำหรับการปั้น
* ปล่อยเด็กๆ ปั้นดินเหนียวเป็นรูปต่างๆ อย่างเสรี
* ให้หนูๆ เลือกไหมพรม ลูกปัดสีดำ หลอดกาแฟ ฝาขวดน้ำอัดลม ฯลฯ มาตกแต่งดินเหนียวที่ปั้นไว้ ระหว่างทำกิจกรรมอาจจะคอยชวนพูดคุยซักถามและต้องยอมรับความคิดเห็นของเด็กด้วยนะคะ
* ให้หนูๆ เล่าเรื่องเกี่ยวกับชิ้นงานของตัวเอง

ขอขอบคุณ : ดร.พัฒนา ชัชพงศ์ อาจารย์ ภาควิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร


 

 

สร้างโดย: 
ครูขวัญ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 284 คน กำลังออนไลน์