ดอกขจร

                                                                           ดอกขจร

 

ชื่อวิทยาศาสตร์   :  Telosma minor

ชื่อวงศ์             :   Asclepiadaceae

ชื่อสามัญ          :   Cowslip Creeper

ชื่อพื้นเมือง        :   ดอกสลิด ผักสลิดคาเลา สลิดป่า ผักสลิด กะจอน ขะจอน ผักขิก

ลักษณะทั่วไป    :   ดอกขจร เป็นไม้เลื้อยเถาเล็กแตกยอดจำนวนมาก ทุกส่วน ของลำต้นมีน้ำยางขาว ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็น

ใบคู่เป็นรูปหัวใจ กว้างและยาว 6 – 10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเรียบ มีช่อดอกสีเหลืองอมชมพูอ่อนออกเป็นช่อ

แบบซี่ร่ม ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง เชื่อมติดกันส่วนปลายแยก 5 แฉกกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก ดอก

บานไม่พร้อมกันดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบาน เริ่มหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย ดอกออกมากตั้งแต่ต้นฤดูหนาว นำดอกขจรมาเป็นผัก ทำอาหารรับ

การปลูก    :    ขจรเป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ถ้าจะให้ดีควรปลูก ใน ดิน

                   ร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยมากๆ ขจรเป็นไม้ทีชอบแดด

                   จัด ไม่ต้องการน้ำมากนัก และทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี ดัง

                   นั้นการรดน้ำ ให้รด 2 วันต่อครั้ง

การขยายพันธุ์    :   การปักชำกิ่ง หรือทาบกิ่ง

สรรพคุณทางยา  :  ใช้รากผสมยาหยอดตารักษาตา ทำให้รู้รสอาหาร ดับพิษ   

                        ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะ

                        เป็นพิษ ราก ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา

                                  ที่มา : http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/913/15913/images/43423_002.jpg

 

   ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร  :  ยอดอ่อน ดอกตูมและบาน ผลอ่อน

   คุณค่าทางอาหาร    :   ยอดอ่อนและดอกขจรในปริมาณ 100 กรัม มีวิตามิน แร่ธาตุ

                                ต่างๆ คือวิตามินเอ มากถึง 3,150 I.U. วิตามินซี 45 มิลลิกรัม

                                แคลเซียม 70 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม ทั้งยอดอ่อน

                                ผลอ่อน และดอกของขจรสามารถนำมาทำอาหารได้ทั้งนั้น 

                                เฉพาะใช้เป็นผักต้มหรือผักลวกจิ้มน้ำพริก หรือทำเป็นอาหารอื่น

                                เช่น แกงส้มดอกขจร ยำดอกขจร แกงจืดดอกขจร ข้าวต้มดอก

                                ขจร เป็นต้น และส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารมากที่สุดคือส่วน

                                                                                  ยอดอ่อน ทั้งนี้ดอกขจรมีคุณค่าวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ

ที่มา  :   http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/913/15913/images/43423_002.jpg       

          

                                                              

สร้างโดย: 
น.ส. จินตนา ฝ่งใจเจริญ และ อาจารย์ วิริยะ โภคาพันธ์ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 452 คน กำลังออนไลน์