การปฐมพยาบาลกรณีถูกสัตว์ทำร้าย : หอยเต้าปูน

 

       หอยเต้าปูน มีเปลือกสวยงาม มีสีเหลือง น้ำตาล ดำลาย เป็นต้น มีขนาดความยาวตั้งแต่ 2 เซนติเมตร จนถึง 20 หรือ 30 เซนติเมตร ชอบอาศัยอยู่ตามซอกโพรงหินปะการัง และในพื้นทรายริมชายฝั่งทะเลทั่วไป     ส่วนที่เป็นอันตรายจากหอยเต้าปูนมีถุงน้ำพิษ ท่อน้ำพิษ แผงฟันและฟัน ถุงน้ำพิษนั้น ซ่อนอยู่ในลำตัว ก่อนทำร้าย ฟันที่อยู่บนแผงจะเปิด และขยายออกจากที่ซ่อนภายในลำตัว แล้วต่อมน้ำพิษจะปล่อยน้ำพิษพุ่งออกมาจากท่อตามฟัน ฟันของหอยเต้าปูนมีลักษณะคล้ายกับลูกศรอาบยาพิษสามารถแทงทะลุผิวหนังของศัตรู     เมื่อถูกหอยเต้าปูนทำร้ายจะเกิดอาการเจ็บปวด บาดแผลจะบวมเป็นผื่นแดงความเจ็บปวดจะขยายตัวออกไปสู่อวัยวะอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณปากและริมฝีปาก สำหรับผู้ที่ถูกพิษมากจะเกิดอาการชักกระตุก หายใจขัด และเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา

การปฐมพยาบาลและการป้องกัน                   

        เมื่อถูกหอยเต้าปูนกัด ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วนที่สุด สำหรับการป้องกันนั้นสามารถทำได้ คือ ก่อนที่หอยเต้าปูนจะลงมือทำร้ายศัตรู มันจะต้องจับหรือเกาะอยู่บนอวัยวะของศัตรูได้อย่างมั่นคงแข็งแรงเสียก่อนในช่วงนี้เราจะมีเวลาจับตัวมันออกไปได้และอย่าใช้มือเปล่าจับ หากจำเป็นต้องใช้มือเปล่าก็ให้จับตรงส่วนหลังที่เป็นเปลือกแข็งอย่าจับตรงส่วนล่างของลำตัวหรือส่วนปากเพราะจะถูกทำร้ายได้

 

สร้างโดย: 
Rattanaporn & Supitchaya

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 367 คน กำลังออนไลน์