ระบบสุริยจักรวาล

ระบบสุริยะ (The Solar System) คือระบบดวงดาวที่โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยดาวเคราะห์หลัก 9 ดวงซึ่งประกอบไปด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต  ดวงจันทร์บริวาลของดาวเคราะห์หลักทุกดวงรวมกันประมาณ 128 ดวง รวมทั้งวัตถุขนาดเล็ก เช่น ดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง อีกจำนวนมาก
     ปัจจุบัน ระบบสุริยะที่เรารู้จักมีขนาดประมาณ 15,000 ล้านกิโลเมตร ซึ่งกว้างกว่าขนาดที่รู้จักในสมัยกาลิเลโอถึง 10 เท่า และมีวัตถุที่ถูกค้นพบแล้วกว่า 220,000 วัตถุ
 ระบบสุริยะ มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดของเอกภพ แต่มีขนาดใหญ่โตมากหากแลดูจากโลก แต่จากการสังเกตจากกล้องโทรทรรศน์และจากภารกิจด้าวอวกาศต่างๆ ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอธิบายถึงการกำเนิดระบบสุริยะได้ ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อห้าพันล้านปีที่ผ่านมา ระบบสุริยะเกิดขึ้นตามขั้นตอนต้อไปนี้
1. หมอกไฟต้นกำเนิด  
     เมื่อประมาณห้าพันล้านปีก่อน กลุ่มหมอกของแก๊สและละอองธุลี (เนบิวลา) แยกตัวออกจากกลุ่มหมอกเมฆขนาดใหญ่กว่ากาแลกซี่ทางช้างเผือก เพื่อก่อตัวขึ้นเป็นระบบสุริยะ การดึงของแรงโน้มถ่วงในบริเวณศูนย์กลางของกลุ่มหมอกเมฆได้ดึงเอาสสารต่างๆ เข้าสู่ด้านใน ทำให้กลุ่มหมอกเมฆมีขนาดเล็กลงและหมุนไปรอบๆ
2. แผ่นจานที่กำลังหมุนตัว
ขณะที่กลุ่มหมอกเมฆหมุนไปรอบๆ สสารที่อยู่ตรงกลางมีการอัดแน่นมากขึ้น และมีสภาพร้อนจัดเกิดเป็นสิ่งซึ่งต่อมากลายเป็นดวงอาทิตย์หรือดวงอาทิตย์ยุคแรก แก๊สและละอองธุลีที่ล้อมรอบส่วนนูนตรงกลางของกลุ่มเมฆได้แฟบลงจนกลายเป็นแผ่นจานขนาดใหญ่
3. การเกิดดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่ง  
ในขณะที่ส่วนตรงกลางของแผ่นจานร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนขอบนอกเย็นตัวลง แก๊สและละอองธุลีจับตัวแน่นเป็นอนุภาค เป็นกลุ่มก้อนกลายเป็นดาวเคราะห์ดวงน้อยๆ ประกอบด้วย เหล็ก นิเกิล หิน และน้ำแข็ง บางทีอาจมีดาวเคราะห์น้อยยิ่งเป็นล้านๆ ดวงวนเป็นกลุ่มรอบดวงอาทิตย์ยุคแรก
4. การชนกันของดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่ง
     เมื่อดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งกระแทกเข้าหากัน ส่วนใหญ่จะแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แต่ก็มีบ้างที่รวมกันเข้าเป็นก้อนเดียวกัน โดยปกติแล้วดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งขนาดใหญ่ จะดึงเอาดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งขนาดเล็กเข้ามารวมไว้กันตัวเองเสมอ ดังนั้นการนกันในแต่ละครั้งจะทำให้ขนาดนั้นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
5. การก่อตัวของดาวเคราะห์ยุคแรก  
     ดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งที่มาขนาดเล็กใหญ่ที่สุดบางดวง สามารถรวมเอาสสารต่างๆเข้าไว้จนเปลี่ยนเป็นดาวเคราะห์ยุคแรก ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นดาวเคราะห์ทั้งเก้าดวงในระยะแรกๆ นี้ดวงอาทิตย์ยุคแรกก็มีการรวมกันสสารต่างๆเข้าสู่แกนของมันเช่นกัน จนมีความหนาแน่ขึ้นเรื่อย
6. การก่อตัวของดวงจันทร์
  ดาวเคราะห์ดวงน้อยยิ่งที่หลงเหลืออยู่บางส่วนลงเอยด้วยการโคจรไปรอบๆดาวที่เกิดขึ้นมา และกลายเป็นดวงจันทร์และแถบวงแหวนในที่สุด ดวงอาทิตย์ยุคแรกเกิดการเผาไหมที่แกนส่วนในจนร้อนแดง กำจัดเศษวัสดุที่ล่องลอยอยู่ส่วนบนออกไปกับการกรรโชกอย่างรุนแรงของลมสุริยะที่ยังคงปรากฏจนถึงทุกวันนี้

1.ดวงอาทิตย์ node51539

2.ดวงอาทิตย์ node 51551

3.ดาวพุธnode 51556

4.ดาวพุธ node51571

5.ดาวศุกร์ node51581

6.ดาวศุกร์..node51586

7.โลก node51590

8.ดาวอังคาร node51599

9.ดาวพฤหัส node51607

10.ดาวพฤหัส node 51616

11.ดาวเสาร์ node51622

12.ดาวเสาร์.. node51840

13.ดาวยูเรนัส node51850

14.ดาวเนปจูน node51855

15.ดาวเนปจูน..node51861

16.ดาวเนปจูน...node51864

สร้างโดย: 
อนัญญา วชิรชัยไพศาล

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 537 คน กำลังออนไลน์