• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:b6dba262685844d2234316d3d93071aa' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<span style=\"color: #0000ff\"><strong><u>ระบบแฟรนไชส์เริ่มที่เมืองไทยเมื่อใด</u></strong></span>\n</p>\n<p>\n  <span style=\"color: #3366ff\">ถ้าจะมองธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่มีการริเริ่มมากกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ต้องยอมรับว่าระบบแฟรนไชส์ของคนไทยมีการเติบโตช้า ธุรกิจแรกๆ ที่พยายามผลักดันการขยายงานโดยใช้รูปแบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจด้านอาหารและร้านค้าแบบมินิมาร์ท แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องของทั้งแฟรนไชส์ซอร์ที่เป็นเจ้าของสิทธิและแฟรนไชส์ซีที่เข้ามาซื้อสิทธิ ที่มักจะพบว่าแฟรนไชส์ซีทำตัวเป็นผู้ลงทุน ที่เน้นทำธุรกิจแบบซื้อเพื่อการลงทุน ไม่มีการมองถึงการสร้างธุรกิจของตนเอง บางครั้งยังใช้การบริหารแบบเก่าที่เน้นความเป็นระบบครอบครัวทำให้อัตราความล้มเหลวธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น บางครั้งการลงทุนของแฟรนไชส์ซีที่ประสบปัญหาเกิดจากการจัดการของตนเองบ้าง หรือก็เกิดจากระบบงานของบริษัทแม่ที่เน้นการขยายธุรกิจที่มุ่งผลทางการตลาด นอกจากนั้นบางที่แฟรนไชส์ซอร์หลายคนขายแฟรนไขส์โดยไม่ได้มองหาคนที่ทำจริงๆ เป็นการขายและเข้าใจผิดคิดว่าธุรกิจตรงนั้นสามารถวางรูปแบบของธุรกิจที่จัดจ้างหรือหาคนทำได้ หรือบางครั้งหาแฟรนไชส์ซีที่ทำเองได้ แต่กลับยังล้มเหลวได้ก็เพราะบางทีเจ้าของที่ซื้อระบบแฟรนไชส์ไปมาทำงานเองก็จริงแต่ตั้งเงินเดือนตัวเองสูงเกินกว่าที่ธุรกิจจะรับได้ ทำให้บริษัทมีภาระเกินความจำเป็น</span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #0000ff\"><u><strong>แฟรนไชส์ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร?</strong></u></span>\n</p>\n<p><strong><u><span style=\"color: #0000ff\"></span></u></strong></p>\n<p>\n<br />\n         <span style=\"color: #3366ff\">  ความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ที่ผิดอีกอย่างคือการสร้างแฟรนไชส์ที่มองเพียงแค่เม็ดเงินที่เข้ามาหมุนเวียน ไม่ได้มองถึงฐานของระบบธุรกิจจริงๆ ขาดระบบการควบคุมการจัดการที่ดี ขาดแฟรนไชส์ซีที่มีความเข้าใจการดำเนินการในรูปแบบสาขา ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากการที่ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ในแนวที่ถูกต้อง ไม่ได้วิเคราะห์ความต้องการทางการตลาด ความเป็นไปได้ของการสรรหาทำเลของร้านสาขา หรือการศึกษาผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ แฟรนไชส์ซอร์เร่งกระจายขายแฟรนไชส์ โดยมองผลของการรับสิทธิค่าธรรมเนียม เป็นเหตุให้แฟรนไชส์ยากที่จะประสบผลสำเร็จและล้มเหลวต่อเนื่อง</span>\n</p>\n<p><span style=\"color: #3366ff\"></span></p>\n<p>\n<br />\n           สิ่งที่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอีกอย่างคือ การสร้างแฟรนไชส์ที่มุ่งเน้นการขายระบบงานแบบ ลดแลก แจกแถม บางครั้งเป็นระบบแบบ ไม่ต้องมีค่าแรกเข้า ไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ ซื้อแล้วได้เลย ผู้ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ คิดว่า จะคิดค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในค่าวัตถุดิบแล้ว ลักษณะอีกอย่าง คิดว่าระบบแฟรนไชส์เป็นการให้ใช้ ป้ายที่มีสัญลักษณ์ของตัวเองเท่านั้น ไม่คิดจะบริหารสาขา หรือ ทำในลักษณะเป็น ตัวแทนจำหน่ายเสียมากกว่า ต้องบอกกันไว้ก่อนว่า การทำในลักษณะนั้นก็เหมือนกับสร้างธุรกิจ มาในอีกแบบที่ไม่ใช่ระบบแฟรนไชส์ ไม่มีการวางแผนในการดูแลมาตรฐานอื่นๆ หรือ การบริหารแบบอิสระมากกว่าจะเป็น ระบบสาขาในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์\n</p>\n<p>\n<br />\n           การที่สร้างระบบงานแบบแฟรนไชส์นั้น สภาพการบริหารงานจะเป็นเสมือนหนึ่งเป็นการสร้างสาขาของบริษัทเอง ดังนั้นการบริหารจัดการจะต้องเหมือนเป็นร้านค้าของบริษัทด้วย เพียงแต่การลงทุนเป็นของแฟรนไชส์ซี เท่านั้น ดังนั้นการทำรูปแบบแฟรนไชส์ที่ต้องการดูแลที่ดีจึงต้องมีค่าใช้จ่ายและทีมงานที่เพียงพอรวมถึงผลกำไรของบริษัทแม่ในการดูแลธุรกิจทั้งหมด ถ้าจะต้องมีการทำงานดังกล่าวโดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆก็มีความเป็นไปได้น้อยมาก\n</p>\n<p></p>\n', created = 1715591039, expire = 1715677439, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:b6dba262685844d2234316d3d93071aa' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ระบบแฟรนไชส์เริ่มที่เมืองไทยเมื่อใด

ระบบแฟรนไชส์เริ่มที่เมืองไทยเมื่อใด

  ถ้าจะมองธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่มีการริเริ่มมากกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ต้องยอมรับว่าระบบแฟรนไชส์ของคนไทยมีการเติบโตช้า ธุรกิจแรกๆ ที่พยายามผลักดันการขยายงานโดยใช้รูปแบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจด้านอาหารและร้านค้าแบบมินิมาร์ท แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องของทั้งแฟรนไชส์ซอร์ที่เป็นเจ้าของสิทธิและแฟรนไชส์ซีที่เข้ามาซื้อสิทธิ ที่มักจะพบว่าแฟรนไชส์ซีทำตัวเป็นผู้ลงทุน ที่เน้นทำธุรกิจแบบซื้อเพื่อการลงทุน ไม่มีการมองถึงการสร้างธุรกิจของตนเอง บางครั้งยังใช้การบริหารแบบเก่าที่เน้นความเป็นระบบครอบครัวทำให้อัตราความล้มเหลวธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น บางครั้งการลงทุนของแฟรนไชส์ซีที่ประสบปัญหาเกิดจากการจัดการของตนเองบ้าง หรือก็เกิดจากระบบงานของบริษัทแม่ที่เน้นการขยายธุรกิจที่มุ่งผลทางการตลาด นอกจากนั้นบางที่แฟรนไชส์ซอร์หลายคนขายแฟรนไขส์โดยไม่ได้มองหาคนที่ทำจริงๆ เป็นการขายและเข้าใจผิดคิดว่าธุรกิจตรงนั้นสามารถวางรูปแบบของธุรกิจที่จัดจ้างหรือหาคนทำได้ หรือบางครั้งหาแฟรนไชส์ซีที่ทำเองได้ แต่กลับยังล้มเหลวได้ก็เพราะบางทีเจ้าของที่ซื้อระบบแฟรนไชส์ไปมาทำงานเองก็จริงแต่ตั้งเงินเดือนตัวเองสูงเกินกว่าที่ธุรกิจจะรับได้ ทำให้บริษัทมีภาระเกินความจำเป็น

แฟรนไชส์ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร?


           ความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ที่ผิดอีกอย่างคือการสร้างแฟรนไชส์ที่มองเพียงแค่เม็ดเงินที่เข้ามาหมุนเวียน ไม่ได้มองถึงฐานของระบบธุรกิจจริงๆ ขาดระบบการควบคุมการจัดการที่ดี ขาดแฟรนไชส์ซีที่มีความเข้าใจการดำเนินการในรูปแบบสาขา ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากการที่ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ในแนวที่ถูกต้อง ไม่ได้วิเคราะห์ความต้องการทางการตลาด ความเป็นไปได้ของการสรรหาทำเลของร้านสาขา หรือการศึกษาผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ แฟรนไชส์ซอร์เร่งกระจายขายแฟรนไชส์ โดยมองผลของการรับสิทธิค่าธรรมเนียม เป็นเหตุให้แฟรนไชส์ยากที่จะประสบผลสำเร็จและล้มเหลวต่อเนื่อง


           สิ่งที่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอีกอย่างคือ การสร้างแฟรนไชส์ที่มุ่งเน้นการขายระบบงานแบบ ลดแลก แจกแถม บางครั้งเป็นระบบแบบ ไม่ต้องมีค่าแรกเข้า ไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ ซื้อแล้วได้เลย ผู้ที่เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ คิดว่า จะคิดค่าใช้จ่ายรวมอยู่ในค่าวัตถุดิบแล้ว ลักษณะอีกอย่าง คิดว่าระบบแฟรนไชส์เป็นการให้ใช้ ป้ายที่มีสัญลักษณ์ของตัวเองเท่านั้น ไม่คิดจะบริหารสาขา หรือ ทำในลักษณะเป็น ตัวแทนจำหน่ายเสียมากกว่า ต้องบอกกันไว้ก่อนว่า การทำในลักษณะนั้นก็เหมือนกับสร้างธุรกิจ มาในอีกแบบที่ไม่ใช่ระบบแฟรนไชส์ ไม่มีการวางแผนในการดูแลมาตรฐานอื่นๆ หรือ การบริหารแบบอิสระมากกว่าจะเป็น ระบบสาขาในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์


           การที่สร้างระบบงานแบบแฟรนไชส์นั้น สภาพการบริหารงานจะเป็นเสมือนหนึ่งเป็นการสร้างสาขาของบริษัทเอง ดังนั้นการบริหารจัดการจะต้องเหมือนเป็นร้านค้าของบริษัทด้วย เพียงแต่การลงทุนเป็นของแฟรนไชส์ซี เท่านั้น ดังนั้นการทำรูปแบบแฟรนไชส์ที่ต้องการดูแลที่ดีจึงต้องมีค่าใช้จ่ายและทีมงานที่เพียงพอรวมถึงผลกำไรของบริษัทแม่ในการดูแลธุรกิจทั้งหมด ถ้าจะต้องมีการทำงานดังกล่าวโดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆก็มีความเป็นไปได้น้อยมาก

สร้างโดย: 
ชญาดา ตั้งอิสริยยศ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 1 คน และ ผู้เยี่ยมชม 316 คน กำลังออนไลน์

รายชื่อสมาชิกที่ออนไลน์

  • dsp5746